Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 

การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ (Influenza type A,H1N1) สร้าง ความสั่นสะเทือนและหวาดวิตกให้กับคนทั้งโลก นับตั้งแต่เริ่มมีการพบว่าเกิดการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่จากคนสู่ คนเป็นครั้งแรกที่ประเทศเม็กซิโก จนถึงขณะนี้(18 พ.ค.)ได้ระบาดใน  40 ประเทศ (ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย) ข้อมูลจนถึงขณะนี้พบผู้ติดเชื้อกว่า 8,800 ราย  มีผู้เสียชีวิต 74 ราย และประเทศสหรัฐอเมริกาพบการแพร่ระบาดกระจายในแต่ละรัฐอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นประเทศที่มีผู้ติดเชื้อมากที่สุดในโลกในขณะนี้ คือกว่า 4,700 ราย องค์การอนามัยโลกประกาศระดับการเตือนภัยเป็นระดับ 5  ซึ่งหมายความว่ามีการระบาดจากคนสู่คนอย่างกว้างขวาง

เพื่อควบคุมการระบาดของโรคนี้ไม่ให้แพร่กระจายทั่วโลก ธนาคารโลกต้องให้เงินกู้กับประเทศเม็กซิโกเกือบ 4,000 ล้านบาท และองค์การอนามัยโลกยังเตือนให้ทุกประเทศเฝ้าระวังและติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

การแพร่ระบาดของโรคในลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในปี 2546 ได้เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน (SARS) ในประเทศเวียดนาม และกระจายไปยังอีกหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง สิงค์โปร์ การระบาดของโรคติดเชื้อทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน (SARS) ครั้งนั้นได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ของประเทศในภูมิภาคนี้อย่างรุนแรง

ในปี 2547 ได้เริ่มมีการระบาดของโรคไข้หวัดนก (Avian influenza, H5N1) ทำให้ ประเทศต่างๆทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย เกิดความหวั่นวิตกว่าเชื้อไข้หวัดนกจะกลายพันธุ์และสามารถแพร่เชื้อจากคนไป สู่คน ซึ่งจะก่อให้เกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลกได้เช่นเดียวกับการระบาดของไข้หวัดสเปน ( Spanish Influenza1) ในทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ในช่วง พ.ศ. 2461-2462 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 21 ล้านคนทั่วโลก

ในปี 2550 ประเทศไทยได้ประกาศ การใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (Compulsory Licensing) ต่อยารักษาโรคเอดส์ โรคหัวใจและโรคมะเร็ง จำนวน 7 รายการ แม้การประกาศดังกล่าวจะเป็นกระทำเพื่อการเข้าถึงยาของผู้ป่วยภายในประเทศ ซึ่งถูกต้องทั้งกฏหมายของไทยรวมทั้งข้อตกลงระหว่างประทศ แต่การบังคับใช้สิทธิดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทยาข้ามชาติ ทำให้ประเทศมหาอำนาจที่ได้รับผลกระทบพยายามกดดันประเทศไทยในรูปแบบต่างๆ ให้ยกเลิกการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร เพราะเกรงว่าประเทศกำลังพัฒนาประเทศอื่นๆจะเอาเป็นแบบอย่าง

การแพร่ระบาดของโรคต่างๆ มีความสัมพันธ์อย่างไรกับการที่ไทยประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตร ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์นี้

จาก กรณีตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่างานสาธารณสุขในในปัจจุบัน มิได้เป็นเพียงกิจกรรมภายในประเทศหรือของกระทรวงสาธารณสุขเพียงหน่วยงาน เดียวอีกต่อไป หากแต่มีผลเกี่ยวเนื่องถึงด้านการค้า เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศอย่างหลีกเหลี่ยงไม่ได้

ทั้งนี้โลกาภิวัฒน์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อต่องานสาธารณสุขอย่างน้อย 4 ประการ ได้แก่ ประการแรก ผลของโลกาภิวัฒน์ที่ประชาชนมีการเดินทางไปมาหาสู่กันทั่วโลก ทำให้แต่ละประเทศมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับโรคติดต่อมากขึ้น ทั้งโรคอุบัติใหม่ โรคอุบัติซ้ำ (emerging and re-emerging diseases) เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็น การระบาดของโรคไข้หวัดใหญสายพันธุ์ใหม่ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน (SARS), ไข้หวัดนก, มาเลเรีย ไข้เลือดออก เอดส์ ไม่เพียงแต่โรคติดต่อเท่านั้น ยังมีโรคไม่ติดต่อ (non-communicable disease) เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ การกินอาหารเร่งด่วน (fast food) ที่เกิดจากการถ่ายทอดวัฒนธรรม การเลียนแบบวัฒนธรรมจากประเทศตะวันตก

ประการ ที่สอง โลกาภิวัฒน์ได้ส่งผลต่อตัวระบบสาธารณสุข เช่น เกิดการเดินทางของผู้ป่วยไปรับบริการการแพทย์ในประเทศที่มีค่ารักษาพยาบาล ที่ถูกกว่า (medical tourism) ทำให้ ประเทศดังกล่าวมีการปรับระบบบริการในการรองรับการให้บริการการแพทย์สำหรับ ชาวต่างชาติ เช่น ประเทศไทย รัฐบาลได้ประกาศนโยบายการเป็นศูนย์กลางการแพทย์แห่งเอเชีย (Center for excellent health care of Asia) มีผู้ป่วยมารับบริการทางการแพทย์มากกว่าปีละ 2 ล้านคน อย่างไรก็ตามนโยบายนี้ได้ส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนบุคลากรการแพทย์ในชนบท เป็นต้น

ประการ ที่สาม การมีเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า และการค้าระหว่างประเทศอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ประเทศต่างๆเข้าถึงวัคซีน ยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มีสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น บุหรี่ เหล้า ที่เข้าไปทำตลาดในหลายๆประเทศและก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ ได้

ประการ ที่สี่ การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่มีมากขึ้น ไม่ว่าสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมทั้งอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถดูแลรักษาตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความคาดหวังต่อการให้บริการมากขึ้นส่งผลให้มีการฟ้องร้องสูง ขึ้น

จะ เห็นได้ว่าผลกระทบจากโลกาภิวัฒน์ต่องานสาธารณสุขจึงเป็นสิ่งที่ทุกๆประเทศ ต้องเผชิญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นทุกๆประเทศจะต้องเข้าใจและเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะ เกิดขึ้นต่อไป ยกตัวอย่างเช่น

ประการ ที่หนึ่ง การเตรียมความพร้อมในนโยบายการควบคุม เฝ้าระวัง และป้องกันโรคระบาดที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นในภูมิภาคจากการเดินทางไปมาหาสู่ ของประชากรทั่วโลก ซึ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องเตรียมความพร้อมและมาตรการรองรับ ไม่เพียงเท่านั้น อาจจะต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อเตรียมความพร้อมร่วม กัน

ประการ ที่สอง การเตรียมมาตรการรองรับและการแก้ไขปัญหาขาดแคลนบุคลากรการแพทย์ในชนบท ซึ่งเป็นผลจากการปรับบริการเพื่อรองรับผู้ป่วยจากต่างประเทศ โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ให้เท่าเทียม สร้างแรงจูงใจให้แพทย์อยู่ในระบบ เป็นต้น

ประการ ที่สาม รัฐบาลต้องมีนโยบายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็น ธรรม ในประเทศไทยคือการมีหลักประกันสุขภาพ ซึ่งต้องได้รับการพัฒนาและสนับสนุนอย่างจริงจัง ขณะเดียวกันต้องมีมาตรการที่ชัดเจนในการแก้ไขปัญหาการเข้าไม่ถึงยา เนื่องจากยามีราคาแพงเพราะการผูกขาดของบริษัทยาข้ามชาติด้วย

ท้าย ที่สุด คือ การประสานงานและทำความเข้าใจในระดับนโยบายร่วมกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงสาธารณสุข เพื่อกำหนดกรอบการทำงานร่วมกัน จะทำให้การเตรียมมาตรการต่างๆเพื่อรองรับผลกระทบของโลกาภิวัตน์ต่องาน สาธารณสุขเป็นไปอย่างเป็นเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ คนละทีสองที เพราะวันนี้เราเสียโอกาสจากความขัดแย้งมามากพอแล้ว ถึงเวลาแล้วที่จะร่วมมือกันเดินไปข้างหน้า แก้ไขปัญหาของชาติบ้านเมืองต่อไป

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net