Skip to main content
sharethis

ศาลพม่าเชื่อถือได้แค่ไหน

รัฐบาลทหารพม่าประกาศจะเปิดการไต่สวนคดีของนางออง ซาน ซูจี อีกครั้งในวันที่ 26 ที่จะถึงนี้ โดยการพิจารณาคดีอาจจบลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากอัยการยกเลิกการสอบปากคำพยานผู้เห็นเหตุการณ์ 9 ราย ทนายความของซูจี นาย เนียน วิน ให้ความเห็นว่าหลังจากที่มีการยกเลิกสอบปากคำพยาน 9 คนไป คดีของอองซานซูจีอาจมีผลตัดสินในวันที่ 26 พ.ค.

 

โดยก่อนหน้านี้ในวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา ศาลพิเศษของรัฐบาลพม่าได้ยอมรับคำร้องข้อหาที่นางอองซานซูจีละเมิดสภาพการ ถูกกักบริเวณโดยการอนุญาตให้นายจอห์น วิลเลี่ยม ยิตทอว์ อาศัยค้างคืนอยู่ในที่พักที่เธอของเธอหลังจากที่เขาว่ายน้ำข้ามทะเลสาบเพื่อ ไปยังบ้านพักของนางอองซานซูจี ทนายของนางอองซานฯ รายงานว่า ทั้งนางอองซานซูจี หญิงผู้ดูแลเธออีกสองคนในบ้าน และนายยิตทอว์ จะได้ให้การในวันที่ 26 พ.ค.

 

ทนายของอองซานซูจียังได้บอกอีกว่า ในการดำเนินคดีในศาลเมื่อวันที่ 25 พ.ค. ทีมทนายฝ่ายนางอองซานฯ ร้องขอเวลาพักระหว่างการดำเนินการของศาลหนึ่งชั่วโมง แต่ผู้พิพากษาไม่อนุญาต ซึ่งนายเนียน วิน บอกกับนักข่าวว่าพวกเราต้องการเวลาเพื่อพูดคุยกับนางอองซานซูจี ผู้ดุแลเธออีกสองคน และนายยิตทอว์เรื่องข้อกล่าวหา หากศาลไม่อนุญาต ก็ถือว่าการดำเนินคดีในครั้งนี้ไม่มีความยุติธรรมเลย

 

ใน จดหมายของรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศระบุว่า นางอองซานซูจีและผู้ดูแลทั้งสองคน ไม่ได้ถูกขังอยู่ในคุกอินเส่นอย่างที่ข่าวรายงาน แต่ถูกควบคุมตัวไว้ในส่วนสำนักงานของกรมควบคุมประพฤติพม่า (Myanmar Correctional Department) แล้วยังได้บอกอีกว่าการดำเนินคดีจะเป็นไปอย่างโปร่งใสและยุติธรรม

 

การพิจารณาคดีในวันที่ 25 พ.ค. นี้ไม่มีการอนุญาตให้ประชาชน, นักการ ทูต และนักข่าว เข้าร่วมรับฟังการไต่สวนคดี โดยนักการฑูตและนักข่าวได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมรับฟังเพียงวันเดียวใน สัปดาห์ที่แล้ว คือในวันที่ 20 พ.ค. ที่ผ่านมา แต่ในวันที่ 26 พ.ค. ก็จะมีการอนุญาตให้นักข่าว 11 คนเข้าไปสังเกตการณ์การพิจารณาคดีได้ แต่ทางรัฐบาลยังไม่ได้ระบุว่าจะอนุญาตให้นักการทูตเข้าร่วมด้วยหรือไม่

 

และ แม้ว่าทางรัฐบาลพม่าจะบอกว่าการดำเนินคดีในครั้งนี้ทำไปตามหลักกฎหมาย แต่ทนายเนียน วิน ก็บอกว่า การดำเนินคดีครั้งนี้อาจถูกเขียนขึ้นมาแต่แรกแล้ว

 

 

การดำเนินคดีกับซูจี อาจยิ่งทำให้พม่ายิ่งโดดเดี่ยว

ทางประเทศตะวันตกได้ประณามการดำเนินคดีในครั้งนี้ของพม่าว่า เป็นเพียงแค่การหาวิธียืดการกักขังนางอองซานซูจีไปจนถึงการเลือกตั้งในปี 2010 เท่านั้น ซึ่งก็คือโครงการ "แผนทางเดินสู่ประชาธิปไตย" (Roadmap to democracy) ของรัฐบาลพม่า แต่ก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นแค่การสร้างภาพของรัฐบาลทหารเพื่อหาทางดำรงตำแหน่งตอไปเท่านั้น

 

การดำเนินคดีเกิดขึ้นไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่สหภาพยุโรป (EU) ประกาศ ว่าจะให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมกับประเทศยากจน ซึ่งรวมถึงพม่าด้วย แล้วก็เป็นช่วงที่สหรัฐฯ กำลังทบทวนนโยบายของตน รวมถึงการอาจลดหย่อนการคว่ำบาตรทางการค้าที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลพม่าบอกว่า เป็นการทำให้เศรษฐกิจพม่าพิการ

 

แต่ กลายเป็นว่าตอนนี้ ทางสหภาพยุโรปหันมาดำเนินการคว่ำบาตรพม่าหนักขึ้นเพื่อเป็นการโต้ตอบการ ดำเนินคดีกับนางอองซานซูจีของพม่า ส่วนรัฐบาลของประธานาธิบดี บารัค โอบามา ก็ประกาศเช่นกันว่าจะดำเนินการกีดกันทางเศรษฐกิจกับพม่าต่อไป นอกจากนี้โอบามายังได้ประกาศสถานการฉุกเฉินกับพม่าหลังมีการจับกุมนางอองซาน ซูจีอีกด้วย

 

ในวันที่ 25 พ.ค. เบนิตา เฟอร์เรโร-วัลเนอร์ คณะกรรมการความสัมพันธ์ภายนอกของ EU เรียก ร้องให้จีนกับอินเดียช่วยกดดันให้พม่าเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเป็นประชาธิปไตย และให้พม่ายอมรับฟังคำวิจารณ์จากอาเซียน ซึ่ง เบนิตา ยังได้กล่าวอีกว่าในช่วงที่หวังจะได้เห็นอองซานซูจีถูกปลดปล่อย กลับต้องมาถูกจับเข้าคุกอีกครั้งถือเป็นการสร้างความประหลาดใจในแง่ลบกับ ประชาคมโลก

 

ส่วน ฌอง เทอร์เนลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพม่าจากมหาวิทยาลัยแมควอรี่ ประเทศออสเตรเลียให้ความเห็นว่า ช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารพม่าตัดสินดำเนินคดีแสดงให้เห็นว่าพวกเขา "ไม่เคยพลาดที่จะพลาดโอกาส" เทอร์เนลล์ ยังได้บอกอีกว่า ทั้งที่ยุโรปและสหรัฐฯ กำลังอ่อนข้อกับพม่าลง และการคว่ำบาตรบางอย่างอาจถูกนำมาพิจารณาอีกครั้ง แต่กลายเป็นว่ารัฐบาลทหารพม่า "ยิงโดนเท้าตัวเอง" จนทำให้อาจไม่ได้รับการพิจารณาอีกต่อไป

 

เดวิด สเตนเบิร์ก มาช่วยยืนยันว่า จากที่รัฐบาลโอบามาคิดจะประสานความสัมพันธ์สักเล็กน้อยกับพม่า แต่การดำเนินคดีกับนางอองซานซูจีก็คงเป็นไปได้ยากแล้วตอนนี้

 

นอกจาก ความสัมพันธ์กับต่างชาติแล้ว ผู้บริจาคที่ต้องการบริจาคให้กับการฟื้นฟูพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิราวะ ดีที่ถูกทำลายไปโดยพายุนากิส ก็อาจมีความอยากบริจาคน้อยลงไป ซึ่งการฟื้นฟูนี้เป็นโครงการระยะสามปีที่ต้องใช้เงินจำนวน 700 ล้านดอลลาร์ (ราว 23,856 ล้านบาท)

 

 

รัฐบาลพม่าอัดไทยอย่าก้าวก่าย

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้มีแถลงการณ์ของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ที่ กล่าวประณามการดำเนินคดีนางอองซานซูจีของรัฐบาลทหารพม่า โดยไทยได้แสดงท่าทีเป็นห่วงพม่าว่า "ชื่อเสียงและเกียรติ์ยศของพม่ากำลังแขวนบนเส้นด้าย" ซึ่งทางพม่าก็ออกมาตอบโต้ว่า "มันน่าเศร้าที่ประเทศไทยไม่สามารถรักษาเกียรติภูมิของอาเซียน เกียรติภูมิของพม่า เกียรติภูมิของไทยได้"

 

โดยพม่ายังได้ออกแถลงการณ์ออกอากาศตอบโต้เมื่อคืนวันที่ 24 พ.ค. ว่าไทยแถลงการณ์ของไทยเบี่ยงเบน "ไปจากหลักการของกฏบัตรอาเซียน และประหนึ่งเป็นการก้าวก่ายในกิจการภายในของพม่า" ทางด้านนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศกล่าวกับนักข่าวในกรุงฮานอยว่าจะไม่มีการถอน แถลงการณ์ของอาเซียน และยังบอกอีกว่า อาเซียนต้องการให้เกิดการให้เกิดความปรองดองกันในชาติของชาวพม่า และอยากให้รัฐบาลทหารพม่าดำเนินการเลือกตั้งในปีหน้าอย่างครอบคลุมทั่วถึง "ซึ่งหมายความว่าต้องมีการปล่อยตัวนักโทษการเมืองและนางซูจีเพื่อให้การ เลือกตั้งเป็นไปโดยชอบด้วยกฏหมาย"

 

 

ที่มา: แปลและเรียบเรียงจาก

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net