Skip to main content
sharethis

 

27 พ.ค.52 เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 โฉนดชุมชน ฟางเส้นสุดท้ายของเกษตรกรรายย่อย ระบุถึงการแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธ.ค.51 เรื่องการจัดการที่ดิน มีสาระสำคัญในเรื่องการคุ้มครองและรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรม จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร โดยนโยบายดังกล่าวสร้างความหวังในการพัฒนาระบบการถือครองที่ดินของเกษตรกร ให้เกิดความเป็นธรรมและยั่งยืน ซึ่งเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ได้มีการเคลื่อนไหว ผลักดัน มาเป็นเวลากว่า 35 ปี

 

แถลงการณ์ ระบุต่อมาว่า ภาระหน้าที่ต่อไปที่ต้องดำเนินการ คือ การแปลงนโยบายนี้ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดรูปธรรม โดยครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย มีความเชื่ออย่างหนักแน่นว่า การปฏิบัติการโฉนดชุมชนในพื้นที่ต่างๆ จะเป็นหน่ออ่อนสำคัญของการปฏิรูประบบการถือครองที่ดิน และการผลิตขึ้นในสังคมไทย

 

“หาก รัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มีกระบวนการสนับสนุนอย่างเป็นระบบแก่กลุ่มเกษตรกรที่เข้าไปปฏิรูปที่ดินใน พื้นที่ได้ ทั้งในเรื่องของการยุติการข่มขู่ คุกคาม การดำเนินการทางกฎหมาย การคุ้มครองความปลอดภัยจากกลุ่มนายทุนอิทธิพลที่คอยจ้องทำร้าย ดังเช่นที่เกิดขึ้นแล้ว รวมทั้งการรับรองแผนการจัดการที่ดินของเกษตรกรเหล่านั้นด้วย ซึ่งหากการดำเนินการสำเร็จลุล่วงเช่นนี้แล้ว ความหวังเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกร จะต้องเกิดขึ้นเป็นจริงแน่นอน” แถลงการณ์ระบุ

 

อย่างไร ก็ตาม ที่ผ่านมาแนวทางการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน ภายใต้รูปแบบโฉนดชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้อย่างง่ายดาย เพราะโครงสร้างการจัดการที่ดินของสังคมไทยใช้เงินหรือทุนเป็นเครื่องมือหลัก ในการบริหารจัดการ จึงพบว่าช่องว่างการถือครองที่ดินระหว่างคนรวยกับคนจนมีระยะที่ห่างกันมาก และอีกด้านหนึ่งเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ คนจนเมือง เข้าไม่ถึงสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน ทั้งมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการถูกจำกัดสิทธิของหน่วยงานภาครัฐในการ บังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับที่ดิน จึงพบเห็นปรากฏการณ์ความขัดแย้งมาโดยตลอด รวมทั้งกรณีที่เกิดขึ้นกับสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

 

 

 

แถลงการณ์เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 2

โฉนดชุมชน ฟางเส้นสุดท้ายของเกษตรกรรายย่อย

 

การแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ว่าด้วยเรื่องการจัดการที่ดิน มีสาระสำคัญคือ คุ้มครอง และรักษาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมที่ได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้น ฐานด้านชลประทานแล้ว เพื่อเป็นฐานการผลิตทางการเกษตรในระยะยาว ฟื้นฟูคุณภาพดิน จัดหาที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรยากจนในรูปของธนาคารที่ดิน และเร่งรัดการออกเอกสารสิทธิให้แก่เกษตรกรยากจนและชุมชนที่ทำกินอยู่ใน ที่ดินของรัฐที่ไม่มีสภาพป่าแล้วในรูปของโฉนดชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาการเกษตรในรูปของนิคมการเกษตร

 

นโยบาย ดังกล่าวข้างต้น นำมาสู่ความหวังในการพัฒนาระบบการถือครองที่ดินของเกษตรกรให้เกิดความเป็น ธรรมและยั่งยืน ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวเกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ได้มีการเคลื่อนไหว ผลักดัน มาเป็นเวลากว่า 35 ปีแล้ว ดังนั้น ภาระหน้าที่ต่อไปของพวกเราคือ การแปลงนโยบายนี้ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดรูปธรรมอย่างไร

 

อย่างไร ก็ตาม มิใช่ว่าแนวทางการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน ภายใต้รูปแบบโฉนดชุมชนจะสามารถดำเนินการได้อย่างง่ายดาย ไม่เช่นนั้นเราคงได้เห็นกันมานานหลายสิบปีแล้ว ทั้งนี้ มีมูลเหตุสำคัญมาจากโครงสร้างการจัดการที่ดินของสังคมไทย ที่ใช้เงินหรือทุนเป็นเครื่องมือหลักในการบริหารจัดการ เราจึงพบว่าช่องว่างการถือครองที่ดินระหว่างคนรวยกับคนจนมีระยะที่ห่างกัน มาก

 

ใน อีกด้านหนึ่ง เกษตรกร ชาวนา ชาวไร่ คนจนเมือง กลับเข้าไม่ถึงสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน ทั้งมาจากปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ และการถูกจำกัดสิทธิของหน่วยงานภาครัฐในการบังคับใช้กฎหมายประเภทต่างๆ เกี่ยวกับที่ดิน เราจึงพบเห็นปรากฏการณ์ความขัดแย้งเรื่องที่ดินมาโดยตลอด รวมทั้งในปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับสมาชิกเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และอำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์

 

เครือ ข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย มีความเชื่ออย่างหนักแน่นว่า การปฏิบัติการโฉนดชุมชนในพื้นที่ต่างๆจะเป็นหน่ออ่อนสำคัญของการปฏิรูประบบ การถือครองที่ดิน และการผลิตขึ้นในสังคมไทย หากรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มีกระบวนการสนับสนุนอย่างเป็นระบบแก่กลุ่มเกษตรกรที่เข้าไปปฏิรูปที่ดินใน พื้นที่ได้ ทั้งในเรื่องของการยุติการข่มขู่ คุกคาม การดำเนินการทางกฎหมาย การคุ้มครองความปลอดภัยจากกลุ่มนายทุนอิทธิพลที่คอยจ้องทำร้าย ดังเช่นที่เกิดขึ้นแล้ว รวมทั้งการรับรองแผนการจัดการที่ดินของเกษตรกรเหล่านั้นด้วย ซึ่งหากการดำเนินการสำเร็จลุล่วงเช่นนี้แล้ว ความหวังเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตที่ดีของเกษตรกร จะต้องเกิดขึ้นเป็นจริงแน่นอน

 

 

สมานฉันท์

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง:

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทยเรียกร้องรัฐบาลกล้าตัดสินใจแก้ไขปัญหาที่ดิน (27/5/2552)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net