Skip to main content
sharethis

นาย มานะ นิติกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานร่วมกับรัฐบาลลาว เตรียมร่วมทุนโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ  กำลังผลิต 1,000 เมกะวัตต์  บริเวณ แม่น้ำโขง มีจุดเชื่อมต่อฝั่งไทยที่ อ.ปากชม จ.อุบลราชธานี ขณะนี้ได้รับงบประมาณ 60 ล้านบาท จ้างบริษัทเอกชนศึกษารายละเอียด ภายใน 18 เดือน  ก่อนเสนอนายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงพลังงาน พิจารณาส่วนลาวนั้นเบื้องต้นรัฐบาลเห็นชอบดำเนินโครงการแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการด้านเอกสาร

 

“การ ศึกษารายละเอียดโครงการ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมด้านพื้นที่ก่อสร้างโครงการ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่ หากผลศึกษาผ่านความเห็นชอบทั้งประชาชนและรัฐบาลแล้ว ก็ต้องหารือการแบ่งปันผลประโยชน์ของไทยกับลาว รวมถึงประมูลหาผู้รับเหมาก่อสร้าง”

 

นาย มานะ กล่าวอีกว่า โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งนี้ เดิม พพ.ศึกษาไว้ 2 แห่งคือ อ.ปากชม จ.อุบลราชธานี กำลังผลิตไฟฟ้า 1,000 เมกะวัตต์ และ อ.บึงกุ่ม จ.เลย กำลังผลิต 1,800 เมกะวัตต์ แต่โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำที่ อ.บึงกุ่ม ไม่สามารถตกลงกับลาว เรื่องการจ้างบริษัทก่อสร้างได้ ไทยจึงปล่อยให้เอกสนที่สนใจพัฒนาโครงการไป

 

ทั้งนี้โรงไฟฟ้าพลังน้ำนับว่าจำเป็น เพราะปัจจุบันไทยมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวม 26,000 เมกะวัตต์  ปริมาณ การใช้ 22,000 เมกะวัตต์ ดังนั้นหากเศรษฐกิจฟื้นตัวความต้องการใช้จะสูงขึ้นอีก หากไม่เตรียมแหล่งผลิตเพิ่ม อาจมีปัญหาไฟฟ้าไม่พอใช้ ซึ่งไฟฟ้าพลังน้ำ ถือเป็นพลังงาน สะอาด หากสร้างที่ อ.ปากชม ได้ จะทดแทนไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ 1 เครื่อง

 

แหล่ง ข่าวจากวงการพลังงาน กล่าวว่า สมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำบ้านกุ่ม ต.โพธิ์ไทร อ.โขงเจียม กับรัฐบาลลาว กำลังผลิต 1,800 เมกะวัตต์ มูลค่า 9 หมื่นล้านบาท คาดเข้าระบบปี 2555 โดยโรงไฟฟ้าพลังน้ำปากชม จ.เลย กำลังผลิต 1,000 -1,100 เมกะวัตต์ คาดว่าใช้งบพัฒนาโครงการกว่า 5 หมื่นล้านบาท

 

ทั้งนี้ แม่น้ำโขงมีศักยภาพผลิตไฟฟ้าได้กว่า 21,000 เมกะวัตต์ ขณะที่ลำน้ำสาขาผลิตได้อีก 23,000 เมกะวัตต์ ขณะนี้ไม่เฉพาะไทยเท่านั้น ยังมีอีกหลายประเทศสนใจพัฒนาโครงการ เช่น จีน เวียดนาม เพราะ ต้นทุนต่ำสุด มีศักยภาพรองรับความต้องการไฟฟ้าในอนาคต

 

“ไทยมีข้อจำกัดเรื่องสรรหาทรัพยากร และการเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศ นอกจากนี้อัตราการใช้ไฟฟ้าเติบโต 1,400 -1,500 เมกะวัตต์ต่อปี ทำให้ต้องเน้นการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในประเทศเพื่อนบ้าน”

 

ที่มา: เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net