Skip to main content
sharethis

 

 

วันที่ 28 พ.ค. ที่ผ่านมา สถานกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกา เชียงใหม่ร่วมกับวิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ จัดบรรยายในหัวข้อ “การสร้างเสริมความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาสังคม โดย นางสาวจูเลีย เอ. เดมิเชลิส (Ms. Julia A. Demichelis) นักวางผังเมืองที่ทำงานด้านการสร้างทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ ระหว่างภาคและวัฒนธรรมต่างๆ และมีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำการพัฒนาระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ปัจจุบันทำงานเป็น Chief of Party ในโครงการขององค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐฯ (USAID) เพื่อสนับสนุนรัฐสภาของโมร็อกโก

โดย การบรรยายได้จัดขึ้นที่ศูนย์การศึกษาเชียงใหม่ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา อาคารโสภณ ดำนุ้ย ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

 

ประชาสังคมต้องมีพื้นที่แสดงความเห็น

จู เลียกล่าวว่าการจะสร้างความเข้มแข็งขององค์กรภาคประชาสังคมนั้นจำเป็นที่จะ ต้องมีการเปิดพื้นที่ให้มีการแสดงความคิดเห็น โดยกฎหมายรัฐธรรมนูญในสหรัฐอเมริกานั้นได้กำหนดให้มีช่องทางที่ส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม ซึ่งประเทศที่กำลังพัฒนาไปสู่สังคมประชาธิปไตยนั้นก็จำเป็นต้องมีกฎหมาย คุ้มครองเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกัน

กฎหมาย ที่ช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมนั้นมีหลักการที่ตั้งอยู่บน ความเชื่อว่าผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการหรือการตัดสินใจใดๆ นั้นจะต้องมีสิทธิที่จะตัดสินใจในเรื่องนั้นๆ ด้วย ซึ่งจะต้องเป็นในลักษณะการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพียงแค่การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมอย่างผิวเผิน

“รัฐบาล ต้องออกไปรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ ไม่ใช่แค่การขอความคิดเห็นจากผู้ที่มีชื่อเสียงในชุมชน หรือรอให้คนมาแจ้งหรือร้องทุกข์ ซึ่งบางทีเขาอาจไม่สะดวก เช่นคนกลุ่มน้อยที่ไม่กล้าแจ้งหรือเข้าหาหน่วยงานรัฐ”

 

ภาครัฐต้องไม่โฆษณาชวนเชื่อ แนะเปิดเผยข้อมูลรอบด้าน

นอก เหนือจากการสร้างพื้นที่ในการแสดงความคิดเห็นแล้วจูเลียมองว่าหน่วยงานภาค รัฐควรจะต้องมีการให้ข้อมูลของโครงการแก่ประชาชนก่อนที่จะมีการตัดสินใจ และต้องเป็นข้อมูลที่รอบด้านไม่ใช่เพียงการให้ข้อมูลในลักษณะการ ประชาสัมพันธ์ซึ่งจะกลายเป็นการโฆษณาชวนเชื่อในที่สุด จะมียกเว้นก็แต่เรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงที่ถือเป็นสิทธิที่ทางภาค รัฐไม่จำเป็นต้องเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้

“สำหรับ เรื่องกฎหมายนั้นในสหรัฐอเมริกาเองก็มีความแตกต่างกันในแต่ละมลรัฐ ขึ้นกับรัฐและท้องถิ่นเองที่มีก้าวหน้าในเรื่องดังกล่าวไม่เท่ากัน จากการที่เคยทำงานในประเทศแถบตะวันออกกลางเพื่อแก้กฎหมายให้มีการรับฟังความ คิดเห็นของประชาชนมากขึ้นนั้นพบว่าความเคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าวนั้นเป็น ไปอย่างช้าๆ สำหรับประเทศที่มีการปกครองรวมศูนย์อย่างประเทศไทยนั้นอาจต้องอาศัยกลไกทาง รัฐสภา”

 

ประสบการณ์จาก Los Alamos

จูเลีย ได้เล่าถึงประสบการณ์ของภาคประชาสังคมในเมือง Los Alamos ซึ่งเป็นเมืองที่จูเลียอาศัยอยู่โดยมีที่ตั้งอยู่ในรัฐนิวเม็กซิโก ซึ่งได้มีการรับสมัครกรรมการเมืองเพื่อการพัฒนาภาคประชาชน หรือ Government County Council โดย ได้มีการประกาศรับสมัครทั้งทางป้ายประกาศรวมถึงการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ ต่างๆ และผู้สมัครทั้งหมดที่สมัครเข้ามานั้นประชาชนจะเป็นผู้ตัดสินใจเลือกว่าใคร ที่จะเหมาะสมในการทำหน้าที่ดังกล่าว โดยเน้นไปที่ความสามารถในการทำงานแทนที่จะเป็นมุมมองทางการเมือง

“แต่ ก็เป็นไปได้ว่าผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ในส่วนนี้นั้นอาจจะมีผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจแอบแฝงอยู่ ซึ่งถ้าทำให้การดำเนินงานต่างๆ ยิ่งมีการเปิดเผยต่อสาธารณชนมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะปัญหาการทุจริตหรือความไม่โปร่งใสต่างๆ ก็จะยิ่งน้อยลง”

กลุ่มภาคประชาสังคมในเมือง los Alamos ได้ มีการทำกิจกรรมกับชุมชนทั้งในประเด็นทางด้านครอบครัว เยาวชน และผู้สูงอายุ เนื่องจากในรัฐนิวเม็กซิโกมีการจัดเก็บภาษีในอัตราที่ต่ำจึงทำให้งบประมาณใน การพัฒนาหรือสวัสดิการน้อยลงด้วย จึงต้องอาศัยองค์กรภาคประชาชนเข้ามาดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ เช่น โครงการ New Mexico Interfaith Power & Light โดย รณรงค์ให้มีการประหยัดพลังงานร่วมกับผู้นำทางศาสนาเพื่อให้ช่วยโน้มน้าวคน ให้มาร่วมมือกัน หรืออย่างกลุ่มนักล่าสัตว์ก็ได้มีการรวมตัวกันเพื่อมาดูแลพื้นที่สำหรับล่า สัตว์ให้เป็นไปตามกฎข้อบังคับ เนื่องจากทางรัฐไม่มีงบประมาณมาจัดหาเจ้าหน้าที่

ด้านผู้ประกอบการก็สามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินการกิจกรรมเพื่อสังคมได้เช่นกัน โดยจูเลียได้ยกตัวอย่าง ร้าน Body Shop ที่ได้มีการรณรงค์ยุติการใช้ความรุนแรงในครอบครัว โดยการจำหน่ายนกหวีดภายใต้ชื่อ Stop Family Violence เพื่อ นำเงินที่ได้มาใช้โครงการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งก็สามารถสร้างภาพลักษณ์ให้กับองค์กร อีกทั้งค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็สามารถนำไปลดหย่อนการเสียภาษีได้

 

ภาคประชาชนสังคมต้องถูกตรวจสอบ ไม่เช่นนั้นอาจมีปัญหาแบบหน่วยงานรัฐ

จู เลีย ได้ชี้ให้เห็นว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาสังคมนั้นต้องมีกฎหมาย ที่รัฐให้ความคุ้มครองและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และต้องประกอบด้วยหลายๆ ภาคส่วนไม่ใช่แค่องค์กรพัฒนาภาคเอกชนเท่านั้น เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐเพียงอย่างเดียวไม่สามารถทำงานตอบสนองความต้องการ ของประชาชนทุกอย่างได้ และควรตระหนักว่าไม่ว่าองค์กรภาคประชาชนหรือหน่วยงานรัฐนั้นต่างก็ทำงานโดย มีประชาชนเป็นเป้าหมายทั้งสิ้น จึงไม่ควรตั้งแง่กัน แต่ควรสร้างความร่วมมือร่วมกันให้เป็นเครือข่ายหรือภาคี ทั้งนี้ความสัมพันธ์ระหว่างภาคประชาชนกับหน่วยงานภาครัฐย่อมจะมีความแตกต่าง กันในแต่ละประเทศ

อย่างไร ก็ตามการทำงานของภาคประชาสังคมเองก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการตรวจสอบด้วย เช่นกัน ถึงแม้ว่าการตรวจสอบอาจจะทำได้ยากกว่า เนื่องจากไม่ได้มีลักษณะโครงสร้างชัดเจนเหมือนหน่วยงานราชการว่าต้องถูกตรวจ สอบโดยหน่วยงานใด หรือความผิดที่เกิดขึ้นต้องรายงานไปยังส่วนใด โดยแต่ละองค์กรหรือพื้นที่ก็ย่อมจะมีวิธีที่แตกต่างกัน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องมีการจัดการที่ดีไม่เช่นนั้นการทำงาน ของภาคประชาสังคมก็อาจจะพบปัญหาเดียวกับหน่วยงานรัฐ

ทั้งนี้จูเลียได้แนะนำเว็บ http://www.icnl.org ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net