SIU: ศึกดวลระหว่างสื่อใหม่สื่อเก่า: ทวิตเตอร์ยิงประตูเชือด CNN 1 – 0

June 21, 2009
 

เมื่อ วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา ประชาชนพากันลงไปชุมนุมประท้วงบนท้องถนนในอิหร่าน ตอน 10 โมงเช้า ผู้ชมทีวีชาวอเมริกันกดรีโมทโทรทัศน์ไปยังช่อง CNN เครือข่ายเคเบิ้ลทีวีที่ก่อตั้งในช่วง 1980 มันเป็นความตกลงปลงใจของผู้ชมที่มีฐานบนความเชื่อมั่นต่อสื่อสารมวลชน มาตรฐาน แต่โชคร้าย, แทนที่จะได้เห็นข่าวการประท้วง พวกเขากลับเห็น ลาร์รี่ คิง กำลังสัมภาษณ์ผู้ชายร่างกำยำที่เป็นคนสร้างรถจักรยานยนต์ แถมยังเป็นรายการถ่ายทอดซ้ำอีกต่างหาก



ภาพประกอบจาก - Shahram Sharif
 
แต่ก็ไม่มีรายการข่าวโทรทัศน์ของอเมริกันช่องใด ไม่ว่าจะเป็นเคเบิลหรือคลื่นแพร่ภาพทำได้ดีกว่า CNN นัก (แม้ว่า BBC และ อัลจาซีราจะตามข่าวอยู่บ้าง) ต้องขอบคุณอินเทอร์เน็ต เพราะพวกกระหายตามข่าวรู้ว่า พวกเขาจะหาข่าวที่หายไปได้จากที่ไหน ทวิตเตอร์และยูทิวป์ ล้วนแต่เต็มไปด้วยการรายงานข่าว, ภาพ และวิดิโอจากท้องถนนในอิหร่าน ไม่เพียงแต่เท่านั้นอินเทอร์เน็ตยังเป็นสถานที่วิพากษ์วิจารณ์การทำหน้าที่ ของสื่อมวลชนอีกด้วย ผู้คนจำนวนมากก่นด่า CNN และสำนักข่าวต่างๆ ผ่านทวิตเตอร์ด้วยความเดือดดาล ด้วยประโยคอย่างเช่น “อิหร่านกำลังเดือด แต่สื่อกลับนอนหลับอุตุ”
 
ดูผิวเผินเหมือนการประกาศชัยชนะของสื่อใหม่ต่อสื่อเก่า คือเคเบิ้ลทีวีที่เคยรายงานข่าวการหายตัวไปอย่างลึกลับของ จอห์น เอฟ เคเนดี้ จูเนียร์เมื่อสิบปีก่อนหน้านี้ แต่ตอนนี้กลับไม่ใส่ใจข่าวใหญ่เอาเสียเลย สื่อเก่าจำต้องโงหัวขึ้นเพื่อตอบสนองต่อสิ่งที่ โทนี่ แมดด็อกซ์ หัวหน้าของ CNN International เรียกว่า “การตอบสนองต่อผู้ชมแบบทันทีทันควัน” เครือข่าย CNN เข้ารายงานข่าวจากอิหร่าน
 
ต้องเป็นวันที่ 16 มิถุนายน อเมริกันชนจึงจะได้รับรายงานข่าวจากอิหร่านอย่างครอบคลุม แม้แต่ ลาร์รี่ คิง ก็ยังต้องให้ความสนใจเรื่องในอิหร่าน แต่นี่ก็ต้องแลกกับการที่พยายามฝ่าด่านเจ้าหน้าที่อิหร่านที่พยายามกีดกันนักข่าวอย่างหนัก
 
แต่ไม่ทันไรสื่ออย่างทวิตเตอร์ที่เป็นช่องทางสื่อสารที่ได้รับความสนใจ อย่างสูงกลับลดระดับลงมากลายเป็นการนำเสนอเรื่องราวแบบไม่สามารถตามประเด็นสำคัญได้เลย กระแสความเห็นในแท็ก Iranelection เต็มไปด้วยเสียงขอให้สนับสนุนผู้ประท้วง ชาวอเมริกันและอังกฤษต่างก็มองว่านี่เป็นช่องทางรายงานข่าวที่มีประโยชน์น้อยเกินไป - ซึ่งจริงๆ นี่เป็นสิ่งที่รัฐบาลอิหร่านพยายามทำ และล้มเหลวที่จะทำเสียด้วย
 
แม้แต่เว็บไซต์ที่ดีที่สุดก็ให้ข่าวแบบเสี้ยวส่วน และรายงานจากแหล่งข่าวเพียงด้านเดียว ทั้งทวิตเตอร์และยูทิวป์เป็นสื่อที่รายงานข่าวแบบพิการจากเครื่องมือค้นหา ที่ไม่ค่อยฉลาดนัก
 
สื่อรุ่นใหม่ที่น่าประทับใจกลับกลายเป็นพวกบล็อกเกอร์นั่งโต๊ะ อย่าง นิโค พิตนี่ย์ จาก ฮัฟฟิงตันโพสต์, แอนดรูว์ ซัลลิแวน จาก แอตแลนติค และ โรเบิร์ต แมคคีย์ จาก นิวยอร์ค ไทมส์ พวกเขาควานหาชิ้นของข้อมูลที่มีประโยชน์จากขยะข่าวออกมา พวกเขาดึงข้อความจากทวิตเตอร์ขึ้นมาแปะไว้บนเว็บไซต์ รายงานวิเคราะห์จิตวิทยามวลชน
 
คลิปวิดีโอ และลิงค์ไปยังรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ แม้รูปแบบจะดูไม่สวยงามนัก ข้อมูลก็อาจไม่เที่ยงตรงเท่าไหร่ แต่มันก็เป็นเว็บภาษาอังกฤษที่มีความครอบคลุมข่าวที่ดีที่สุดเท่าที่มี ผู้ชนะในการรายงานข่าวการชุมนุมประท้วงที่อิหร่านจึงไม่ใช่ทั้งสื่อเก่าหรือ สื่อใหม่ หากแต่เป็นสื่อพันธ์ผสมของทั้งสองแบบเสียมากกว่า
 
 
เรียบเรียงจาก - The Economist
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท