เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานีเรียกร้องให้ ปชป. แก้ไขปัญหาที่ดินให้คนจน

เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกร้องให้“พรรคประชาธิปัตย์” ในฐานะแกนนำรัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ต้องมารับผิดชอบ แก้ปัญหาความยากจนของคนสุราษฎร์ฯ โดยเฉพาะ เรื่องที่สำคัญ คือ“การปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน” 

เรียกร้องให้พรรคประชาธิปัตย์แก้ปัญหาคนจน โดยเฉพาะเรื่องที่ดินทำกิน

18 ก.ค. 52 - เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี เรียกร้องให้“พรรคประชาธิปัตย์” ในฐานะแกนนำรัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ต้องมารับผิดชอบ แก้ปัญหาความยากจนของคนสุราษฎร์ฯ โดยเฉพาะ เรื่องที่สำคัญ คือ“การปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน”
 
 
 
แถลงการณ์ฉบับที่ 2
 
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
เรื่อง ความรับผิดชอบของรัฐบาลประชาธิปัตย์ต่อการแก้ปัญหาการปฏิรูปที่ดินในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
เรียน พี่น้องประชาชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่เคารพ
 
ในสถานการณ์ที่การเมืองมีความขัดแย้งสูงยิ่งขึ้น ใน 4 - 5 ปี ที่ผ่านมา ทำให้ข้าราชการบางส่วนฉวยโอกาสแสวงหาผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น และข้าราชการต่างขึ้นต่อเจ้ากระทรวงของตนเองมากกว่าขึ้นกับฝ่ายการเมืองหรือราชการส่วนอื่น ๆ การเฉื่อยชาต่อการปฏิบัติหน้าที่แก้ปัญหาประชาชน การปัดปัญหาให้พ้นความรับผิดชอบ ลักษณะเช้าชามเย็นชาม ยิ่งหนักหน่วงยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดวิกฤติศรัทธาความเชื่อต่อระบบราชการของประชาชน
ระบบตำรวจในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไม่รู้เห็นการทำลายป่าต้นน้ำ 4 - 5 พันไร่ ในอำเภอท่าชนะ และการบุกรุกครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมายของกลุ่มนายทุน กลุ่มอิทธิพล ในอำเภอชัยบุรี และอำเภออื่น ๆ จำนวนมาก ในที่ดินหลายประเภท ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดอื่น ๆ ในภาคใต้
 
ข้าราชการบางคนกลับเรียกร้องผลประโยชน์จากผู้ประกอบการอย่างไร้ยางอาย ไม่คิดถึงการแก้ปัญหาแต่เป็นส่วนสร้างปัญหาเสียเอง โดยอาศัยช่องทางกฎหมายเอื้อประโยชน์กลุ่มทุนโดยคิดว่าไม่มีใครกล้าตรวจสอบ
 
ในขณะเดียวกันข้าราชการบางส่วนกลับว่องไวและขยันต่อการปราบปรามประชาชน โดยเฉพาะคนยากจนที่ไร้ทางออกและอ่อนแอ เปรียบเสมือนขยะของสังคมที่ต้องคอยกวาดทิ้งอยู่เสมอ
 
การเข้าไปค้นอาวุธของตำรวจ ที่ยกกำลังเข้าค้นอาวุธคนจนที่รุกเข้าไปในแปลงที่ดินที่หมดสัญญาเช่าจากนายทุนและเมื่อตำรวจออกไป ก็มีการทำลายเพิงที่พักของคนจนในปี 2550 ที่อำเภอชัยบุรี ล่าสุดการฆ่าคนจน 2 ศพ ที่อำเภอชัยบุรี ในเดือนมีนาคมนี้มีหลักฐานคนร้ายชัดเจนแต่เรื่องกลับเงียบหาย แต่กลับสั่งให้เจ้าหน้าที่เข้าดูแลความสงบในพื้นที่ ที่แท้เหมือนเป็นการคุ้มครองนายทุนขโมยผลปาล์มในที่ดิน สปก. โดยทางอ้อม
 
ถึงเวลาที่ “พรรคประชาธิปัตย์” ในนามของรัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ต้องมารับผิดชอบ แก้ปัญหาความยากจนของคนสุราษฎร์ฯ โดยเฉพาะ เรื่องที่สำคัญ คือ“การปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน”
 
ประชาชนสุราษฎร์ฯ มีความพร้อมในการปฏิรูปที่ดินและมีปัญหาไม่มากนัก เพราะปัญหาที่แท้จริง ไม่ใช่อยู่ที่คนจน แต่เหตุเกิดจากความผิดพลาดจากนโยบายของรัฐฯ คือการกระจายสิทธิที่ดินอย่างไม่เป็นธรรม
 
 “ขอให้ข้าราชการจังหวัดช่วยเปลี่ยนทัศนะคติต่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อคนจน ให้ถูกต้อง” เพราะเป็นแนวทางประชาธิปไตยทางด้านทรัพยากร อย่าแช่แข็งและดองปัญหา
 
ตำรวจและหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงช่วยหยุดปราบปรามคนอ่อนแอไร้ทางต่อสู้
 
รัฐบาลประชาธิปัตย์ หยุดนิ่งเฉยต่อการแก้ปัญหา อันจะทำให้เรื่องนี้บานปลายมากยิ่งขึ้น โดยการสั่งการทางนโยบาย ให้ข้าราชการในจังหวัดดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับคนจนผู้เดือดร้อนด้านที่ดินทำกินในจังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยด่วน
เรียนมาด้วยความเคารพยิ่ง
เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
 
 
ข้อเรียกร้องของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยข้อเรียกร้องเพื่อเร่งรัดการจัดสรรที่ดินสวนปาล์มและปัญหาเกษตรกรสวนปาล์มรายย่อย ของเครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานีมีดังนี้
 
1. เร่งดำเนินการนำที่ดินสวนปาล์มที่ผู้ประกอบการหรือเอกชน สิ้นสุดสัญญาเช่าหรือครอบครอง โดยผิดกฎหมาย ในที่ดินของรัฐทุกประเภท มาจัดสรรให้ราษฎรผู้เดือดร้อนด้านที่ดินทำกิน โดยให้ยึดถือตามมติคณะรัฐมนตรี 26 สิงหาคม 2546 และสรุปผลการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหากรณีราษฎรบุกรุกสวนปาล์มเอกชน ครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2547 ณ ตึกบัญชาการทำเนียบรัฐบาล
 
2. ให้จังหวัดนำบัญชีรายชื่อผู้เดือดร้อนของกลุ่ม / องค์กร / เครือข่ายที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี มาตรวจสอบคุณสมบัติตามที่คณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดิน (ศจพ.จ.สฎ.) กำหนด ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
 
3. ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดิน เร่งสรุปความคืบหน้าประเด็นแปลงที่ดิน ตามมติที่ประชุมของคณะทำงานแก้ไขปัญหาที่ดิน (ศจพ.จ.สฎ.) เห็นชอบ โดยให้สรุปความชัดเจนอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดวัน เวลา ในการนำที่ดินมากำหนดรูปแบบเพื่อจัดสรรให้กับราษฎรโดยเร็ว
 
4. ห้ามมิให้รัฐจ่ายค่าชดเชยหรือค่าตอบแทนใดๆให้กับผู้ประกอบการหรือเอกชนที่บุกรุกครอบครองที่ดินของรัฐ และให้เร่งดำเนินคดีฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกโดยเร่งด่วน ในระหว่างการฟ้องขับไล่ หากหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นโจทย์ ให้ขออำนาจศาล สั่งคุ้มครองชั่วคราว เพื่อนำที่ดินมาดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน โดยไม่ต้องรอคำสั่งศาลตัดสินจนถึงที่สุด
 
5. ให้กรมธนารักษ์ กำหนดการต่ออนุญาตการเช่าคราวละ 30 ปีในที่ดินราชพัสดุ แปลงหมายเลขทะเบียนที่ สฎ. 848 ที่ได้จัดสรรให้ราษฎร ในท้องที่อำเภอพุนพินและเคียนซา และขอให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนในการปลูกสร้างสวนปาล์มใหม่แทนปาล์มเก่าที่ เสื่อมสภาพ
 
6. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนพัฒนาแปลงที่ดินที่ได้จัดสรรไปแล้ว เช่น จัดสร้างสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่าง ๆ โครงการบ้านเอื้ออาทร บ้านมั่นคงชนบท จัดตั้งชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
 
7. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี หรือผู้แทน เสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล โดยกลุ่ม / องค์กร/เครือข่ายฯผู้เดือดร้อนที่ดินทำกิน และจะนัดมาชุมนุมหน้าศาลากลางจังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกครั้ง เพื่อรอรับฟังคำตอบและการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจนแล้วเสร็จและนำที่ดินจัดสรรให้กับราษฎร ผู้เดือดร้อนได้อย่างเป็นรูปธรรม
 
เผยรายละเอียดข้อมูลพื้นที่ป่าที่เอกชนได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาต
นอกจากนี้เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เปิดเผย รายละเอียดข้อมูลพื้นที่ป่าที่เอกชนได้รับอนุญาตและไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์เพื่อปลูกปาล์มน้ำมันในท้องที่จังหวัดสุราษฎรธานี จำนวน 16 ราย ดำเนินการสำรวจตามมติ ครม. 26 สิงหาคม 2546 และสรุปแนวทางการแก้ปัญหาที่ประชุม 4 กระทรวงหลัก 13 มกราคม 2547
 
 ที่
รายชื่อผู้ประกอบการ
เนื้อที่อนุญาต
ไร่
สำรวจตามมติ ครม.
26 สิงหาคม 2546
สำรวจรังวัดจริง
ได้เนื้อที่ปลูก
พื้นที่ราษฎรบุกรุก
ทำประโยชน์
ท้องที่อำเภอ
สัญญาสิ้นสุด
ประเภท
พื้นที่
หมายเหตุ
 
1.
2.
3.
4.
5.
6.
บริษัทที่ใบอนุญาตยังไม่สิ้นสุด
บริษัท ประจักษ์วิวัฒน์ จำกัด
บริษัท แสงสวรรค์ปาล์มน้ำมัน จำกัด
บริษัท พรทวีปาล์ม จำกัด
บริษัท ไทยอุตสาหกรรม จำกัด
บริษัท พันธ์ศรี จำกัด
บริษัท ภูสวัสดิ์ จำกัด
 
10,600
20,000
3,246-3-28
8,250
20,000
700
 
8,588
10,730
2,514
6,863
12,874
698
 
 
 
 
2,406-1-95
 
 
704-3-64
 
2,012
9,270
732
1,387
7,126
 
เคียนซา
พระแสง
กาญจนดิษฐ์
พระแสง
ชัยบุรี
ชัยบุรี
 
กรกฎาคม 2557
มกราคม 2558
มีนาคม 2560
พฤศจิกายน2566
มกราคม 2558
มกราคม 2567
 
ที่ราชพัสดุ
ที่ราชพัสดุ
ที่ป่าสงวนฯ
ที่ป่าสงวนฯ
ที่ป่าสงวนฯ
ที่ป่าสงวนฯ
 
ยื่นขอเช่าต่อกรมป่าไม้
ยื่นขอเช่าต่อกรมป่าไม้
แปลงที่1 1,765-1-63ไร่แปลงที่2 641 ไร่
 
 
 รวม
62,796
42,267
 
20,527
 
 
 
 
 
1.
2.
3.
4.
5.
6.
บริษัทที่ใบอนุญาตสิ้นสุด
บริษัท นำบี้พัฒนาการเกษตร จำกัด
บริษัทกุ้ยหลิมพัฒนาการเกษตร จำกัด
บริษัท สามชัยสวนปาล์ม จำกัด
บริษัท ไทยบุญทอง จำกัด
บริษัท สุราษฎร์ปาล์มทอง จำกัด
บริษัท ชัยบุรีปาล์มทอง จำกัด
 
20,000
20,000
1,850
3,000
1,168
15,000
 
6,182
3,572
3,775
3,420
747
7,534
 
 
 
 
 
 
985-1-15
 
13,818
16,428
 
 
182-3-85
7,466
 
พุนพิน
พุนพิน
พุนพิน
ชัยบุรี
กาญจนดิษฐ์
ชัยบุรี
 
กุมภาพันธ์ 2542
กุมภาพันธ์ 2542
กุมภาพันธ์ 2542
ธันวาคม 2543
ธันวาคม 2543
มกราคม 2543
 
ที่ราชพัสดุ
ที่ราชพัสดุ
ที่ราชพัสดุ
ที่ป่าสงวนฯ
ที่ป่าสงวนฯ
ที่ สปก.
 
ยื่นขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมธนารักษ์
ยื่นขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมธนารักษ์
ยื่นขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมธนารักษ์
ระหว่างขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมป่าไม้
ยื่นขออนุญาตแบ่งครึ่งต่อกรมป่าไม้
อยู่ระหว่าง สปก.ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
 
 รวม
61,018
25,230
985-1-15
37,894-3-85
 
 
 
 
 
1.
2.
3.
4.
บริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาต
บริษัท วรการปาล์ม จำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ช.เกียรติเจริญ
บริษัท เกษตรกรรมปาล์มน้ำมัน จำกัด
บริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด
 
 
 
3,373
2,057
10,561
3,000
 
 
 
เคียนซา
เคียนซา
พุนพิน
ชัยบุรี
 
 
ที่ราชพัสดุ
ที่ราชพัสดุ
ที่ราชพัสดุ
ที่ สปก.
 
ยื่นฟ้องศาลปกครองเรียกค่าชดเชย
ยื่นฟ้องศาลปกครองเรียกค่าชดเชย
ยื่นทบทวน ครม. แบ่งเช่าที่ดิน 40 %
อยู่ระหว่าง สปก. ฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
 
 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท