Skip to main content
sharethis

กรุงเทพ, 28 กันยายน 2552 (IUCN) - การประชุมของรัฐบาลนานาชาติเรื่องการเจรจาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสห ประชาชาติที่กรุงเทพครั้งนี้ จะต้องคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้ดีขึ้นเพื่อช่วยประชาชนสามารถ รับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างยั่งยืน

“ธรรมชาติได้ยื่นทางออกที่เป็นต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อชนบทที่ยากไร้อยู่แล้ว” นินนิ อิคคาลา ผู้ประสานงานการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของ IUCN  กล่าว “เป็นที่รู้กันดีว่าป่าไม้มีศักยภาพในการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่นเดียวกับตัวอย่างการจัดการป่าชายเลนที่ดีก็จะสามารถลดผลกระทบจากน้ำท่วมในพื้นที่ชายฝั่งที่อยู่บริเวณต่ำด้วย”

IUCN กำลังเรียกร้องให้ผู้เข้าประชุมที่สหประชาชาติหยิบยก ประเด็นการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนฐานของระบบนิเวศต่อเวทีเจรจา ในกรอบการรับมือหลัง 2012 (the post-2012 adaptation framework) ซึ่งจะถูกบัญญัติออกมากในการลงนามข้อตกลงว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เมืองโคเปนเฮเก้นเดือนธันวาคมศกนี้

“การอนุรักษ์และจัดการธรรมชาติจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวกลับมาสู่สภาพเดิมและลดความเปราะบางของประชาชนต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”  เนวิลล์ อาส์ หัวหน้าโครงการการจัดการระบบนิเวศของ IUCN “รัฐบาลควรจะส่งเสริมการรับมือที่อยู่บนฐานของระบบนิเวศในการลงนามข้อตกลงที่โคเปนเฮเก้น

การลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและการลดลงของป่าไม้ หรือ Reducing Emissions from Deforestation and forest Degredation (REDD) เป็นทางออกเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ทำได้ในทันทีและยังส่งผลประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นและความหลากหลายทางชีวภาพ IUCN กำลังเรียกร้องขอให้ใช้กลไกของ REDDเพื่อความยุติธรรมและยั่งยืนเป็นฐานของการตกลงที่โคเปนเฮเก้น

“เรารู้ว่าเราจะช่วยกันนำหลักการของ REDD มาใช้กันอย่างไร เราไม่ต้องรอการพัฒนาเทคโนโลยีการลดคาร์บอน” สจ๊วต มาจินนิส์ ผู้อำนวยการการพัฒนาและสิ่งแวดล้อมของ IUCN “วิทยาศาสตร์สมัยใหม่แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องลงมือโดยด่วนมากกว่าที่ก่อนๆ เพียงใด เราไม่สามารถจะคอยเพื่อเริ่มการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกต่อไปแล้ว"

 
............................................................................................

เกี่ยวกับ IUCN: IUCN องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของโลก ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชนกว่า 1,000 แห่ง และมีอาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญกว่า 11,000 คนใน 160 ประเทศทั่วโลก IUCN มีเจ้าหน้าที่มากกว่า 1,000 คนใน 60 ประเทศและภาคีพันธมิตรทั้งที่เป็นสาธารณชน องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคเอกชนหลายร้อยทั่วโลก

www.iucn.org

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net