Skip to main content
sharethis

จดหมายเปิดผนึกจากองค์กรประชาสังคมไทย-พม่า 75 องค์กรถึงนายกฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอให้ยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่บ้านหนองบัว อ.ท่าสองยาง ตาก เตือนระวังละเมิดหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่ห้ามส่งผู้ลี้ภัยไปเผชิญอันตราย

เมื่อวันที่ 3 ก.พ. องค์กรประชาสังคมไทย-พม่า 75 องค์กรได้เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง “ขอให้ยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักรอชั่วคราวบ้านหนองบัว และบ้านแม่อุสุทะ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.หวัดตาก” ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. และจะส่งกลับทั้งหมดภายในวันที่ 15 ก.พ. โดยตอนหนึ่งในจดหมายระบุว่า “การส่งกลับผู้ลี้ภัยของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ อาจจะเป็นการการบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยไปสู่ภัยแห่งความตาย อันเป็นการละเมิดกฎจารีตระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักการการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non- refoulement principle)"

สำหรับรายละเอียดของจดหมายเปิดผนึก ซึ่งมีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 5 มาตรการ และรายนามของบุคคล และองค์กรประชาสังคมไทย-พม่า 75 องค์กร มีดังนี้

000

 

จดหมายเปิดผนึกถึง ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและระดับสากล เรื่องขอให้ยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักรอชั่วคราวบ้านหนองบัว และบ้านแม่อุสุทะ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.หวัดตาก

 

เรื่อง ขอให้ยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยศูนย์ที่พักพิงชั่วคราวบ้านหนองบัว ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.หวัดตาก

ถึง ฯพณฯ ท่านนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและระดับสากล

ตามที่ปรากฏข่าวต่อสาธารณะในกรณีของกองทัพภาคที่ 3 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่จะมีการดำเนินการส่งกลับผู้อพยพในพื้นที่พักรอชั่วคราวบ้านหนองบัว และบ้านแม่อุสุทะ ต.แม่อุสุ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก ทั้งหมด ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 นั้น พวกเราในฐานะตัวแทนของกลุ่มประชาสังคมจากภาคส่วนต่างๆ ได้แก่ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา นักกิจกรรมทางสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน ศิลปิน นักเขียน และประชาชนไทยทั่วไป มีความห่วงใยอย่างยิ่งในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาหากมีการส่งกลับผู้ลี้ภัยดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากกับระเบิด ซึ่งไม่มีฝ่ายใดสามารถยืนยันถึงความปลอดภัยได้ ซึ่งจะถือได้ว่าการส่งกลับผู้ลี้ภัยของรัฐบาลไทยในครั้งนี้ อาจจะเป็นการการบังคับส่งกลับผู้ลี้ภัยไปสู่ภัยแห่งความตาย อันเป็นการละเมิดกฎจารีตระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักการการไม่ส่งผู้ลี้ภัยกลับไปสู่อันตราย (non-refoulement principle) ตลอดจนมาตรการดังกล่าวนี้ไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว ที่ผู้ได้รับผลกระทบมีส่วนร่วมและปัญหาความไม่มั่นคงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งมีแนวโน้มเมื่อผู้อพยพเหล่านี้ไม่ได้รับความปลอดภัยหรือถูกคุกคามในพื้นที่ พวกเขาอาจะย้อนกลับเข้ามาประเทศไทยอีกโดยวิธีการอื่นๆ อันจะทำให้เกิดปัญหาทางสังคม ปัญหาค้ามนุษย์ หรือกลายเป็นแรงงานผิดกฎหมายได้ต่อไป

ด้วยความห่วงใยในสถานการณ์ดังกล่าว พวกเราจึงมีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐบาลไทย ตลอดจนหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและระดับสากล ดังต่อไปนี้

1.ขอให้รัฐบาลไทยยุติการส่งกลับผู้ลี้ภัยทั้งหมดชั่วคราว จนกว่าจะมีการกระบวนการแก้ไขปัญหาและตรวจสอบที่โปร่งใส โดยการมีส่วนร่วมของสำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน ตัวแทนจากผู้ลี้ภัย ชุมชนท้องถิ่น สื่อมวลชน และภาคประชาสังคม เพื่อเป็นการรับประกันว่าผู้ที่กลับไป จะไม่ถูกประหัตประหารหรือเสี่ยงภัย เช่น กับระเบิด ตลอดจนมีกระบวนการตรวจสอบความสมัครใจของผู้ลี้ภัยอย่างแท้จริงก่อนมีกระบวน การส่งกลับอย่างสมศักดิ์ศรี และสอดคล้องกับขั้นตอนปฏิบัติของผู้ลี้ภัยที่ บัญญัติไว้ในกฎบัตรสากลที่เกี่ยวข้องต่อไป

2.ขอให้นายกรัฐมนตรีสั่งการไปยังหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยุติการกระทำอันเป็นการข่มขู่ คุกคาม หรือสร้างความวิตกกังวลต่อผู้ลี้ภัย จนกว่าการแก้ไขปัญหาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมที่ยืนอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยของผู้ภัยจะมีหลักประกันจักแล้วเสร็จ

3.ขอให้รัฐบาลมีการเปิดพื้นที่เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและการรับรู้ต่อกรณีการส่งกลับผู้ลี้ภัยในครั้งนี้ โดยการเชิญสื่อมวลชนและเปิดรับกลุ่มประชาสังคม ชุมชนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนและกลุ่มองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องกับประเด็นพม่า ที่มีความประสงค์ในการเข้าร่วมสังเกตการณ์การส่งกลับผู้ลี้ภัย ทั้งนี้เพื่อเป็นสักขีพยานต่อความสมัครใจของผู้ลี้ภัยในการกลับภูมิลำเนา

4.ขอให้มีการร่วมกันแสวงหามาตรการที่เหมาะสม เพื่อสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในอนาคต ภายหลังการส่งกลับผู้ลี้ภัย รวมทั้งสร้างเวทีเพื่อระดมการพูดคุยแลกเปลี่ยน ในการแสวงหาทางออกต่อกรณีปัญหาผู้ลี้ภัยในระยะยาว เพื่อกำหนดเป็นแนวทางในการรับรู้และปฏิบัติร่วมกันต่อไป

5.ขอให้หน่วยงานและองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนได้มีการช่วยเหลือและติดตามตรวจสอบให้มีการแก้ไขปัญหาที่ยืนอยู่บนหลักสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยของผู้ลี้ภัย ให้ได้รับการปกป้องจนถึงที่สุด

จากข้อเสนอดังกล่าวนี้ เรามีความหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับการตอบรับจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้วยเจตนาเพื่อลดความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกัน และเพื่อแสวงหาความร่วมมือเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาร่วมกันต่อไป

สุดท้ายนี้ เรามีความเชื่อว่ากระบวนการการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ จะสร้างทางออกของกรณีปัญหานี้ร่วมกัน บนตรรกะเหตุผลของการเคารพและยอมรับซึ่งสิทธิศักดิ์ศรีแห่งการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ทุกผู้คน รวมถึงภาพลักษณ์ของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลก

ด้วยความเคารพในหลักสิทธิของความเป็นมนุษย์ร่วมกัน

3 กุมภาพันธ์ 2553

 

องค์กรไทย Thai Organizations

1.ศูนย์ภูมิภาคศึกษาด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาที่ยั่งยืน (RCSD) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Regional Center for Sustainable Development (RCSD), Chiangmai University
2. ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์วิทยาและการพัฒนา Center of Ethnic Studies and Development (CESD)
3. ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน Cross Border News Agency
4. ศูนย์ศึกษากะเหรี่ยงและพัฒนา Karen Study Center and Development
5. เครือข่ายกลุ่มเกษตรกรภาคเหนือ (คกน.)  Northern Farmer Network
6. เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคเหนือ Northern Indigenous Peoples Network of Thailand
7. กลุ่มเพื่อนประชาชนบนพื้นที่สูง Friends of Highland People
8. ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง Joint Action Center for Solution of Peoples in Highland Area
9. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.) Northern Non-Government Organization Coordinating Committee for Development ( NGO-COD)
10. มูลนิธิภูมิปัญญาชาติพันธุ์ Local Wisdom of Ethnic Foundation

11. มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ Northern Development Foundation
12. มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ MAP Foundation
13. มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) โครงการประสานความร่วมมือคนรุ่นใหม่ลุ่มน้ำโขง Thai Volunteer Service Foundation(TVS), Collaboration for Youth in the Mekong Region Program
14. โครงการประสานชาติพันธุ์อันดามัน จ.พังงา     Andaman Ethnic Coordinating Project, Pangnga
15. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ Northern Activist Community
16. ครอบครัวนักกิจกรรมรุ่นใหม่ภาคใต้ Southern Activist Family
17. เครือข่ายคนรุ่นใหม่ภาคอีสาน Northeastern Young Activist Network
18. กลุ่มขบวนการก้าวใหม่ภาคใต้ New Step Movement
19. กลุ่มเพื่อนพม่า Friends of Burma
20. กลุ่มละครชุมชน กั๊บไฟ Kabfai Community Theater Group

21. กลุ่มมะขามป้อม Makhampom Group
22. โครงการแม่น้ำเพื่อชีวิต Siam River Project
23. โครงการอบรมเยาวชนเพื่อการพัฒนาภาคเหนือ Youth Training for Development Project (YT)
24. Local Talk
25. สำนักข่าวประชาธรรม Prachadham News Network
26. เครือข่ายศิลปินนักเขียนจังหวัดเชียงใหม่ Chiang Mai Artist Network
27. โครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม International Women’s Partnership for Peace and Justice (IWP)
28. สถาบันสันติประชาธรรม Santhi Prachadram Institute
29. EMPOWER เชียงใหม่ EMPOWER, Chiang Mai
30. ศูนย์ประสานงานเยาวชนสังคมนิยมประชาธิปไตย Young Progressives for Social Democracy (YPD)

31. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) Students Federation of Thailand
32. ชมรมนักศึกษาชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Ethnic Students Club, Chiang Mai University
33. ชมรมสื่อเพื่อปัญญา คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ Media for Wisdom Club Faculty of Information and Communication Mae Jo University
34. กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม (ดาวดิน) ม.มหาสารคาม    Law and Human Rights for Society Group (Dao Din), Mahasarakham University
35. กลุ่มนิติศาสตร์สัมพันธ์ ม. มหาสารคาม Law Club, Mahasarakham University
36. กลุ่มเถียงนาประชาคม ม.มหาสารคาม Thiang Na Prachakhom Group, Mahasarakham University
37. ชมรมวัยใสใส่ใจสุขภาพ ม.มหาสารคาม Waisai Sai Jai Sukkhaphap, Mahasarakham University
38. ชุมนุมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา ม.ขอนแก่น Students for Development Club, Khonkaen University
39. อาศรมบ่มเพาะชีวิตและจิตวิญญาณ จ.ขอนแก่น Ashram for Life and Spirit, Khonkaen
40. โรงเรียนการเมืองประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนภาคอีสาน Northeastern Political School for Democracy and Human Rights

 

องค์กรประเด็นพม่า Burma organizations

1. Campaign Action Coordination Team (CACT)
2. Arakan Oil Watch
3. Arakan Shwe Ges Movement
4. Back Pack Health Worker Team
5. Burma Rivers Network
6. Arakan River Network
7. Kachin Development Network group
8.Karen River Watch
9. Karenni Development Research Group
10. Kayan New Generation Youth

11. Kuki Students Democratic Front
12. Lahu National Development Organization
13. Mon Youth Progress Organization
14. Network for Environment and Economic Development
15. Shan Sapawa Environmental Organization
16. Ta’ang Youth Network Group
17. Chin Health Committee
18. Ethnic Community Development Forum
19. Kachin Development Network group
20. Karen Office for Relief and Development

21. Karenni Social Welfare and Development Committee
22. Network for Chin Community Development
23. Mon Relief and Development Committee
24. All Arakan Students' and Youths' Congress
25. Shan Relief and Development Committee
26. Kachin Women’s Association – Thailand
27. Karen Women Organization (KWO)
28. Pa- O Youth Organization
29. Shan Women's Action Network (SWAN)
30. Salween Watch Coalition

31. Burmese Women’s Union (BWU)
32. Forum for Democracy in Burma (FDB)
33. Central Executive Member of All Kachin Students and Youth Union
34. Women League of Burma (WLB)
35. All Burma Federation of Student Unions - Foreign Affairs' Committee

 

บุคคล

Aung Marm Oo
Siriluk  Sriprasit
Nattaya Davidson
Pat Thimakham
Pongpachara Yusuk
Sarah Armitage
David Ellem
Bruce Van Voorhis
Professor Nyunt Lwin 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net