Skip to main content
sharethis

องค์กรนานาชาติ  เอ็นจีโอ สื่อมวลชน ร่วมเวทีรับฟังราชการ ชี้แจงกระบวนการจัดการค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราว  ด้านผู้ลี้ภัยไม่มีพื้นที่สาธารณะบอกเล่าความต้องการที่แท้จริง

สืบเนื่องจากกระแสข่าวที่เกี่ยวกับผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยง สัญชาติพม่า ในค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราวบ้านแม่หนองบัว บ้านแม่อุสุทะ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ที่มีความไม่ชัดเจนและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ห่วงก่อนวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 มีรายงานสถานการณ์จากเอ็นจีโอที่ทำงานในพื้นที่ระบุว่า ทหารได้ใช้วิธีการบังคับและกดดันผู้ลี้ภัยให้เดินทางกลับไปยังประเทศพม่า โดยไม่คำนึงถึงอันตรายที่ผู้ลี้ภัยจะได้รับจากทหารในพม่า และกับระเบิดที่กระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่

ด้านข่าวจากสื่อมวลชนไทยรายงานว่า ทหารยืนยันส่งผู้ลี้ภัยกลับไปยังประเทศพม่าโดยไม่สนใจคำทักท้วงขององค์ด้านสิทธิมนุษยชนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553

ในขณะที่ UNHCRได้สัมภาษณ์ผู้ลี้ภัย 30 ครอบครัวที่บ้านหนองบันซึ่งเดิมมีกำหนดส่งตัวกลับในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 พบว่ามีถึง 22 ครอบครัวที่ไม่มีความประสงค์จะเดินทางกลับภูมิลำเนาเพราะกังวลเรื่องกับระเบิด การบังคับใช้แรงงาน ถูกเกณฑ์เป็นทหาร และความมั่งคงด้านอาหารและที่อยู่อาศัย

เครือข่ายสตรีกะเหรี่ยงรายงานว่ามีผู้ลี้ภัยเดินทางกลับพม่าแล้วไปเหยียบกับระเบิด ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บขาขาด และได้ข้ามเข้ามารับการรักษาที่โรงพยาบาลในอำเภอแม่สอด

ด้วยความความห่วงใยต่อชะกรรมของผู้ลี้ภัยและความสับสนจากข้อมูลข่าวสารที่ไม่มีความชัดเจน ระหว่างวันที่ 4 - 6 กุมภาพันธ์ 2553 องค์ภาคประชาสังคม องค์พัฒนาเอกชนทั้งไทย และพม่า รวมทั้งองค์ด้านสิทธิมนุษยชนกว่า 100 องค์กร ได้ออกแถลงการณ์ ส่งเรื่องร้องเรียนไปยังคระกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายรัฐมนตรี เพื่อเรียกร้องให้ชะลอการส่งกลับผู้ลี้ภัย  เรียกร้องทหารเปิดพื้นที่ให้ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วม ตลอดจนประสานหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศเพื่อเก็บกู้ระเบิดในประเทศพม่า

ส่วนผู้ลี้ภัยซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงไม่มีโอกาสสื่อสารความต้องการที่แท้จริงต่อสาธารณะชน

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมาตัวแทนจากกระทรวงการต่างประเทศ  สภาความมั่งคงแห่งชาติ (สมช.) กองทัพบก และกองทัพภาคที่ 3 ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราวทั้ง 2 จุด ได้เข้าชี้แจงนโยบายตลอดจนกระบวนการส่งกลับผู้ลี้ภัยในเวทีที่กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้จัดขึ้น

สำหรับรายละเอียดในการประชุมชี้แจงเมื่อวันที่ 10 ฝ่ายทหารยืนยังไม่มีนโยบายผลักดันหรือบังคับส่งกลับผู้ลี้ การเดินทางกลับจะเป็นไปด้วยความสมัครใจเท่านั้น ทหารมีหน้าแค่เพียงอำนวยความสะดวกในการเดินทางกลับเท่านั้น  ทุกขั้นตอนของการดำเนินงานคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน มีรายงานและมีบันทึกเป็นรายลักษณ์อักษรทุกขั้นตอน เปิดให้ทุกภาคส่วนเข้ามาส่วนร่วม ทั้งเอ็นจีโอ สื่อมวลชน  UNHCR

นายจอน อึ้งภากรณ์ ผู้เข้าร่วมรับฟังการชี้แจง ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการส่งกลับผู้ลี้ภัยที่มีความสมัครใจว่า  "มีความสมัครใจอย่างเดียวไม่พอต้องมีหลักประกันความปลอดภัยด้วย ข้อมูลที่ฟังมายังไม่ปลอดภัยแสดงว่ากลับไม่ได้ ผมคิดว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของกองทัพไทย เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องแก้ไข  วิธีการแก้ไขนั้นคือจะต้องสร้างหลักประกันด้านความปลอดภัยให้ก่อนเป็นอันดับแรกสุด รายงานต่าง ๆ ที่เข้ามาจากประเทศพม่าในขณะนี้การสู้รบกันยังมีอยู่แม้ไม่ใช่การรบในพื้นที่นี้ เพราะฉะนั้นการส่งชาวบ้านกลับไปผมคิดว่าควรจะต้องทำอย่างรอบคอบและเป็นระบบมากกว่านี้ ผมเห็นด้วยว่าน่าจะให้เขากลับไปโดยความสมัครใจ แต่จะต้องเป็นเป้าในการสร้างสันติภาพในพื้นที่ สร้างหลักประกันให้กับการที่อยู่ดี ๆ ลักษณะของการประท้วงทั่วโลกในกรณีนี้ จะบอกว่าการประท้วงเหล่านี้เป็นคนไม่หวังดีไม่ได้"

ด้านสุริยันต์ ทองหนูเอียด ผู้เข้าร่วมรับฟังการชี้แจง ได้กล่าวเพิ่มเต็มว่า "โดยรวมแล้วพี่น้องก็ไม่มีใครอยากอยู่ในแผ่นดินไทย แต่สิ่งที่เขายังกลับไม่ได้เพราะเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยในชีวิต สิ่งที่เรารู้คือสถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านยังไม่สงบและไม่เป็นประชาธิปไตย ถ้าให้ผู้ลี้ภัยกลับประเทศในสถานการณ์เช่นนี้ เขาก็จะกลับมาอีกโดยอาจจะใต้ดินมากกว่าเดิม ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่รัฐไทยต้องมีมาตรการมากขึ้นกว่าเดิม หมายถึงในความเป็นรัฐไทยที่ได้ประโยชน์จากรัฐบาลเพื่อนบ้านในทางเดียวกันเราก็ต้องดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของประเทศเพื่อนบ้านเหมือนกัน ในมิติที่ไทยเป็นรัฐต้องเคารพข้อตกลงของสนธิสัญญาสากลด้วย"

ขณะเดียวกันตัวแทนสมช. ก็ยอมรับว่าการแก้ไขปัญหาผู้ลี้ภัยของประเทศไทยในขณะนี้เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จริงๆแล้วนโยบายไทยต่อปัญหานี้มีลักษณะเป็นการปรองดองระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน ยุทธศาสตร์การพัฒนาในชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านเราต้องมีความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านให้มีระดับการพัฒนาสูงขึ้น สิ่งที่ไทยอยากจะเห็นคือคนเหล่านี้กลับไปอยู่บ้านเขาอย่างถาวร มีอนาคต เพราะฉะนั้นจริง ๆ แล้วไทยพยายามอย่างมาก แก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุทุกทาง

กระทรวงการต่างประเทศ มองว่าจากปัญหาภายในประเทศส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยหนี้เข้ามาในประเทศไทย ที่ผ่านมาทางรัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ลี้ภัยจากการสู้รบ โดยอาศัยหลักมนุษยธรรมและเคารพต่อหลักมนุษยชน ทั้งนี้คำนึงถึงความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งสิทธิของประชาชนชาวไทยที่อยู่ตามแนวชายแดนนั้นด้วย นอกจากนั้นยังมีการสนับสนุนให้มีกรรมการสิทธิมนุษยชนของอาเซียน แต่ตามหลักการของอาเซียนไม่สามารถเข้าไปแทรกแซงเรื่องภายในได้ แต่ก็เฝ้าดูด้วยความเป็นห่วง พยายามที่จะมีบทบาทที่สร้างสรรค์ เพราะฉะนั้นปัญหาผู้ลี้ภัยจากการสู้รบจากพม่าเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนต้องใช้ระยะเวลา  ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลจะดำเนินการด้วยความระมัดระวัง

อธิชา วงเวียน ผู้ประสานงานกลุ่มสมาชิกอาเซียนประชาธิปไตยในพม่า เป็นตัวแทนของสมาชิก กล่าวสนับสนุนคำกล่าวของอาจารย์จอร์น "ปัญหาผู้ลี้ภัยมีต้นเหตุที่แท้จริงอยู่ที่สิทธิมนุษยชนในประเทศพม่า ปัญหาการเมืองที่เกิดในประเทศพม่า ทำให้ประชาชนหนีออกมาแล้วสร้างปัญหาในประเทศไทย เพราะฉะนั้นการที่แก้ปัญหาต้องช่วยกันทุกๆฝ่าย เพื่อเข้าสู่การปรองดอง ชนกลุ่มน้อยทั้งหลายให้ไปสู่ประชาธิปไตยนี่คือข้อที่หนึ่ง ข้อสองอยากให้อาเซียนใช้กลไกที่มีอยู่ในเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปดำเนินการ  ที่ผ่านมาพม่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างไรบ้าง และต้องไม่ให้รัฐบาลพม่าดำเนินการต่อไปได้อีก"

จากรายงานสถานการณ์ผู้ลี้ภัยที่บ้านหนองบัว เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2553 ของศูนย์ข่าวข้ามพรมแดนที่ระบุบว่า
1. สภาพการณ์ในพื้นที่ดูเข้มงวดกว่าเดิม ตอนเย็นได้มีทหารเข้ามาตรวจพื้นที่พักพิงชั่วคราวหนองบัวอีกและถามผู้ลี้ภัยด้วยถ้อยคำกดดันเดิมๆ ผู้ลี้ภัยจำนวนหนึ่งที่ศูนย์ข่าวฯได้มีโอกาสพูดคุยดูเหมือนจะสิ้นสุดความอดทนในการสื่อสารกับทหาร ทำให้ผู้ลี้ภัยจำนวนหนึ่งพยายามหาหนทางไปอยู่ที่อื่น ถ้าใครสามารถออกไปได้ก็ไป

2. ตกกลางคืนมีหน่วยลาดตระเวนเดินไปมานอกพื้นที่พักพิงชั่วคราวอย่างผิดปกติ

3. คนที่ถูกส่งกลับในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2553 พบว่ามาจากบ้านเลขที่ C9 (หญิง 2 ชาย 2), บ้านเลขที่ C 13 (หญิง 2 ชาย 2), บ้านเลขที่ C93 (หญิง 2 ชาย 2) (เด็กครึ่งหนึ่ง) มาจากหมู่บ้านเล่อป่อเฮอ และส่งกลับไปที่เล่อป่อเฮอเช่นเดียวกัน เหตุผลที่กลับผู้ลี้ภัยให้การว่า "เข้าใจว่าอย่างไรก็ต้องถูกส่งกลับอยู่แล้ว ก็เลยยอม ๆ ไป ยอมไปน่าจะดีกว่าถูกบังคับจับส่งกลับ อยู่ที่นี่กลัว เป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยที่ทหารไทยคอยตรวจ ถ้าไปแล้ว ยังกลับมาทำมาหากินได้"

4. คนที่ถูกส่งกลับในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 พบว่า (1) มาจากบ้านเลขที่ A 24 (ชาย 2 หญิง 5) จากหมู่บ้านทีบอเด เหตุผลที่กลับผู้ลี้ภัยให้การว่า "อยู่ที่นี่ถูกตรวจสอบจากทหารไทยบ่อย ๆ แล้วก็อยู่ไปวัน ๆ ทำกินไม่ได้ และมีญาติพี่น้องอยู่ทางนั้น จึงจะไปหาที่อยู่แถวนั้น" (2) จากบ้านเลขที่ B 20 (หญิง 3 ชาย 2) มาจากหมู่บ้านบ้านทีพาแระและส่งกลับไปที่นั่น เหตุผลที่กลับ "ที่นี่ไกลบ้านเดิมมาก และกลัวว่าจะถูกบังคับกลับ ไม่รู้จะเป็นไง ไปเองดีกว่า" (3) จากบ้านเลขที่ C 45 (ชาย 1 หญิง 3) มาจากแถวๆแม่สลิดและกลับไปบริเวณนั้น เหตุผลที่กลับ ยังไม่ทราบแน่ชัด

5. คนที่กลับในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2553 พบว่ามาจากบ้านเลขที่ C 43 (ชาย 1 หญิง 3) มาจากบ้านทีมูคีและส่งกลับไปที่นั่น เหตุผลที่กลับผู้ลี้ภัยให้การว่า “อยู่ที่นี่ทำมาหากินไม่ได้ อยากกลับไปหาหนทางดู

6. คนที่กลับในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2553 พบว่ามาจากบ้านเลขที่ C34 (ชาย 3 หญิง 1) และ C 13 จากหมู่บ้านเพทอโกลและส่งกลับไปที่นั่น เหตุผลที่กลับผู้ลี้ภัยให้การว่า “ต้องการไปบ้าน”

7. คนที่กลับในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน

 

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 เอ็นจีโอในพื้นที่ระบุว่ามีผู้ลี้ภัย จากค่ายพักชั่วคราวบ้านหนองบัว จำนวน 26 ครอบครัว 154 คน โดยทหารให้ผู้ลี้ภัยเซ็นบันทึกความสมัครใจในครั้งนี้ด้วย  เดินทางกลับไปยังประเทศพม่าด้วยเอง สำหรับเหตุผลของการเดินทางกลับยังไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่สิ่งที่ต้องคำนึงอะไรคือสาเหตุที่ทำให้ผู้ลี้ภัยต้องรีบเร่งเดินทางกลับไปยังพื้นที่ที่ไม่มีใครกล้ารับประกันความปลอดภัยทั้งจากกับระเบิด การบังคับใช้แรงงาน การถูกเกณฑ์ทหาร  ไม่มีความมั่งทางอาหารและที่อยู่อาศัย
นอกจากนั้นยังมีรายงานว่าเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 เจ้าหน้าตำรวจไทยได้เข้าตรวจค้นสำนักงานเอ็นจีโอในอำเภอแม่สอด ที่ร่วมลงนามในแถลงการณ์ของภาคประชาสังคมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553

จากถ้อยแถลงของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในเวทีกรรมสิทธิ์ฯเมื่อวันที่ 10 ที่ผ่าน พบว่าทุกหน่วยงานล้วนมีนโยบายและความปรารถนาดีต่อการแก้ไขปัญหาในประเทศพม่า เพียงแต่ที่ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมยังไม่ตัวตน องค์พัฒนาเอกชนไม่มีส่วนร่วมในแผนงานของหน่วยงานภาครัฐ 

สิ่งที่ภาคประชาสังคมอยากทำความเข้าใจกับรัฐบาลไทย คือสิทธิการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ 2553 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติร่วมกับภาคส่วนต่างๆจะลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงในค่ายผู้ลี้ภัยชั่วคราว ประเด็นสำคัญที่ภาคประชาสังคมคาดหวังคือกรรมการสิทธิจะมีโอกาสได้สอบถามความต้องการที่แท้จริงของผู้ลี้ภัยอย่างอิสระปราศจากการดูแลอย่างใกล้ชิดของทหาร  ตลอดจนมีการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งมีตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆซึ่งรวมถึงผู้ลี้ภัยเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาวบนพื้นฐานของหลักสิทธิมนุษยชน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net