Skip to main content
sharethis

 

พู่กันในมือกวี

 

บทกวีวรรคแรกของไม้หนึ่ง ก. กุนที ที่เขาประเดิมเขียนด้วยตัวเอง

โคลสอัพรอยเนื้อสีและฝีแปรง

 วิสา คัญทัพ กับ “เลือดไพร่...”

พู่กันกับถุงมือ และรายชื่อผู้อาสามาเขียนกวี

สีในหลอด

วิสา คัญทัพ: “เราไม่ได้เน้นศิลปินกวีมีชื่อ แต่เป็นคนที่มีอารมณ์ร่วม เป็นศิลปินที่มาจากมวลชนอย่าง
แท้จริง บางคนเป็นครูสอนภาษาไทย  พอเขียนกลอนได้ก็มาเขียน”

จุฑาทิพย์ แสงนภาเพ็ญ “ดิฉันตั้งใจจะมาร่วมเขียนรูป แต่เดี๋ยวต้องเขียนบทกวีที่คุณสมชาย แสงสาคร
ฝากมาก่อน”

รูปที่ขาดไม่ได้ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

พานและนก อีกสองสัญลักษณ์คลาสสิคในภาพเขียนเกี่ยวกับการต่อสู้ทุกยุคสมัย
 

หมดก็เติมใหม่

 

พู่กันเข้าแถว

สองกวีสาวรุ่นใหม่ เพียงคำ ประดับความ, พัชนีย์ คำหนัก และศิลปินหนุ่มใหญ่ ฮาเมอร์ ซาลวาลา

ภาพกับคำ

ลงลายเซ็น

ระหว่างกล้องกับพู่กัน 

The picture of Dorian Prem

วิจักร ศรไชย ครูสอนศิลปะ จากอ.บุณฑริก จ.อุบลฯ : “ผมทำงานชิ้นนี้ไว้ตั้งแต่หลังรัฐประหาร วันนี้เอา
มาร่วมด้วย มือที่เห็นนั่นเป็นรอยมือของชาวบ้านจริงๆ นะ ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่  มือใหญ่ๆ ตรงกลางแถว
สุดท้ายนั่นมือคนเฒ่าคนแก่เลยนะ”

วิจักร ศรไชย “นี่งานชิ้นใหม่ ทำขึ้นสดๆ จะเอามาประกบเข้าคู่กับชิ้นเดิมที่ผมทำไว้รูปเมื่อกี้  ชิ้นใหม่นี้ก็
เทคนิค “มัดย้อม” เราดีๆ นี่ล่ะ ...ย้อมเลือด”

ไม้หนึ่ง ก. กุนที  “นี่คืองานศิลปะชนิดที่เป็นเนื้อเดียวกันจริงๆ ทั้งรูปแบบ เนื้อหา และวัสดุที่ใช้   คุณดูสิ
คุณจะไม่เห็นความย่างเยื้องชำเลืองเดินอะไรทั้งนั้น เขาจะพูดออกมาตรงๆ ทั้งโดยเนื้อหาและรูปแบบ และ
โดยวัตถุดิบที่มาจากเนื้อตัวโดยตรงด้วย มันมาในแนวทางเดียวกัน มันเป็นเอกภาพ”

ไม้หนึ่ง ก. กุนที  “นี่คืองานศิลปะที่พ้นไปจากรสนิยมและจริตแบบเดิมๆ พ้นไปจากมาตรฐานความ
สวยงามที่เราคุ้นเคยกัน  แต่มันคือความเป็นจริงของสังคมไทย ที่ไม่ได้สวยงามเพอร์เฟ็ค ลายมือก็ไม่
สวย เป็นสังคมที่แค่พอจะอ่านออกเขียนได้”

ไม้หนึ่ง ก. กุนที  “เมื่อเขียนเสร็จหมดแล้ว ก็จัดแสดงโดยขึ้นโชว์บนเวทีและแขวนที่ป้อม เสร็จงานแล้วก็
จะต้องเก็บรักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ”

ไม้หนึ่ง ก. กุนที  “นี่คือการพลิกเหลี่ยมจากสัญลักษณ์ความรุนแรง มาเป็นสัญลักษณ์อหิงสา”

 

ไม้หนึ่ง ก. กุนที “มันเป็น realistic แต่มันก็เป็น idealistic ด้วย”

ยิ่งกว่าไฟลามทุ่งพุ่งท่วมฟ้า (บทกวีโดย ไม้หนึ่ง ก. กุนที)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net