Skip to main content
sharethis

องค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.)ในภูมิภาคทวีปเอเชียขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยและกลุ่มผู้ชุมนุมละเว้นจากการใช้ความรุนแรงโดยทันทีและให้กลับมาเจรจาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยสันติอีกครั้งหนึ่ง

โดยมีรายละเอียดดังนี้

(กรุงเทพ, 27 เมษายน 2553) พวกเรา, เหล่าองค์การองค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.), ในภูมิภาคทวีปเอเชียที่ได้ลงนามในแถลงการณ์ฉบับนี้, ได้รู้สึกความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ และขอประณามเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งทางการเมืองดังกล่าว ทั้งนี้ในวันที่ 10 เมษายน ๒๕๕๓ ได้เกิดการประทะกันอย่างรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐและผู้ประท้วงจากเเนวร่วมประชาธิบไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 25 คน (ประกอบไปด้วยพลเรือนจำนวน 18 คน เจ้าหน้าที่ทหาร 6คน และผู้สื่อข่าวชาวต่างชาติ1 คน ) และมีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 800 คน

พวกเรารู้สึกเสียใจที่เหตุการณ์ความรุนแรงยังได้ดำเนินต่อไปอีก ในวันที่ 22 เมษายน 2553 ได้เกิดเหตุระเบิดขึ้นที่ถนนสีลมซึ่งเป็นเขตธุรกิจที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และได้ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนห้าคน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งหมดนี้มีชาวต่างชาติรวมอยู่ด้วย เราเกรงสิ่งเลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้น เนื่องด้วยทหารและตำรวจได้รับคำสั่งจาก ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)ให้ใช้กระสุนจริงในการสลายการชุมนุมซึ่งเกิดขึ้นครั้งล่าสุดในวันที่ ๒๘ เมษายน บนถนนวิภาวดี รังสิต ทำให้ทหารเสียชีวิต 1ราย ผู้ชุมนุมบาดเจ็บ 18 ราย
พวกเราขอเรียกร้องอย่างจริงจังให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ประท้วงจากเเนวร่วมประชาธิบไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ละเว้นอย่างเต็มที่ซึ่งการใช้ความรุนแรงและหันกลับมาใช้วิธีการเจรจาเพื่อแสวงหาทางออกทางการเมืองโดยสันติสำหรับความขัดแย้งครั้งนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายรัฐบาลไทยนั้นจะต้องรับรองว่ามาตรการใดๆที่ฝ่ายตนจะใช้ในการสลายการชุมนุมนั้น เป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักการใยระดับระหว่างประเทศ ดังที่ได้ระบุไว้ในหลักการข้อที่ 14 ของหลักการพื้นฐานว่าด้วยการใช้กำลังและอาวุธปืน การใช้กำลังโดยฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐต่อผู้ชุมนุมในรูปแบบใดๆที่มีลักษณะไม่สมควรแก่เหตุถือเป็นการกระทำที่สมควรแก่การคัดค้าน
นอกจากนี้ พวกเราขอเรียกร้องให้ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายผู้ประท้วงจากเเนวร่วมประชาธิบไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ร่วมมือกันสร้างความสมานฉันท์ภายในประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนชาวไทยโดยทั่วกัน
พวกเรายังขอเรียกร้องเพิ่มเติมให้รัฐบาลแห่งประเทศไทยจัดตั้งคณะกรรมการอิสระขึ้นในทันที เพื่อทำการสืบสวนในกรณีการใช้ความรุนแรง และนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ไม่ว่าผู้นั้นจะฝักใฝ่การเมืองฝ่ายใด ทั้งนี้เพราะข้อมูลต่างๆ ทั้งจากรายงานข่าวและประจักษ์พยานในเหตุการณ์ล้วนยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของลักษณะการเกิดเหตุ และประเภทของอาวุธและกระสุนที่ใช้ในเหตุการณ์ความขัดแย้งดังกล่าว พวกเรารู้สึกยินดีที่ทางคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นเพื่อทำการสอบสวนกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีขึ้นระหว่างวิกฤตทางการเมืองนี้ พวกเราขอเน้นย้ำว่าการสอบสวนที่มีขึ้นนั้นจะต้องเป็นไปอย่างอิสระ โปร่งใส และมีความเป็นมืออาชีพ นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการคณะนี้ควรที่จะให้ความสำคัญไปยังการสืบสวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นร้ายแรงที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2553 เป็นต้นไป และแสวงหาหลักฐานที่ชัดเจนในการระบุตัวตนของผู้กระทำผิดว่าเป็นผู้ใด
พวกเรากังวลเป็นอย่างยิ่งต่อการปิดช่องโทรทัศน์ทางดาวเทียมและทางเคเบิ้ลเป็นจำนวนกว่า 10 ช่อง และการปิดเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตกว่า 36 แห่ง เพราะนั่นย่อมก่อให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีสำหรับการเปลี่ยนผ่านและพัฒนาการทางประชาธิปไตยของประเทศไทย และไม่จำเป็นต่อภาวะเร่งด่วนของสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น หากสื่อมวลชนแห่งใดได้ทำการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ยุยงปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังจริง ทางรัฐบาลก็สามารถดำเนินคดีในชั้นศาลต่อสื่อมวลขนแห่งนั้นได้ การห้ามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไม่ถือเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องแต่อย่างใด พวกเราจึงเรียกร้องให้มีการยกเลิกการห้ามเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนเหล่านั้นโดยทันที  
เนื่องด้วยประเทศไทยเป็นรัฐภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง พวกเราจึงขอย้ำเตือนรัฐบาลประเทศไทยว่า ถึงแม้ว่าการจำกัดสิทธิมนุษยชนบางประการนั้น สามารถที่จะมีขึ้นได้ในภาวะฉุกเฉินสาธารณะที่ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการก็ตาม มาตรการสำหรับการจำกัดสิทธินั้นควรที่จะเป็นไปโดยสอดคล้องอย่างเคร่งครัดกับภาวะจำเป็นของสถานการณ์ฉุกเฉินที่อยู่ภายใต้การประกาศนั้น และไม่ควรที่จะขัดแย้งกับพันธะกรณีประการอื่นใดภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ      
อย่างไรก็ตาม มีสิทธิมนุษยชนบางประเภทที่ไม่สามารถทำการจำกัดได้ แม้ว่าการจำกัดสิทธิดังกล่าวจะมีขึ้นในยามฉุกเฉินก็ตาม สิทธิประเภทนี้ได้แก่ สิทธิในการมีชิวิตอยู่ สิทธิที่จะเป็นอิสระจากการถูกทรมาน หรือถูกปฏิบัติหรือถูกลงโทษในลักษณะที่ทารุณโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือเหยียดหยามเกียรติ เป็นต้น รัฐบาลไทยมีพันธะกรณีที่จะต้องใช้มาตรการทุกรูปแบบเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิในประเภทที่ไม่สามารถทำการจำกัดได้เหล่านี้ 
เนื่องด้วยในปี 2554 จะมีการตรวจสอบบันทึกประวัติทางด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยโดยคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเนื่องในโอกาสที่มีกระบวนการ Universal Periodic Review   พวกเราจึงขอเรียกร้องให้ประเทศไทยยังคงเคารพพันธะกรณีของตนภายใต้กฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศต่อไป แม้จะเป็นในช่วงเวลาอันยากลำบากนี้ก็ตาม
พวกเราหวังว่าหนทางการแก้ปัญหาที่ดีกว่า จะมีขึ้นได้ด้วยการเจรจากันและการใช้วิธีการที่สันติและชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้ พวกเรายังปรารถนาที่จะเห็นพัฒนาการ สันติภาพ และความสามัคคีบังเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของประชาชนชาวไทยด้วย ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ทางสิทธิมนุษยชนนั้น จะไม่มีวิธีการใดที่ได้รับการยอมรับนอกเหนือไปจากวิธีการที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับกันในระดับระหว่างประเทศและชอบด้วยกฎหมาย 
แถลงการณ์ฉบับนี้ ได้รับการสนับสนุนโดย
ENDORSEMENT:
1.     Ain O Salish Kendra (ASK), Bangladesh
2.     ALTSEAN BURMA, Thailand
3.     Asian Centre For Human Rights, India
4.     Asian Forum For Human Rights And Development (FORUM-ASIA), Thailand
5.     Burma Partnership, Burma-Thailand Border
6.     Burma Centre - Delhi, India
7.     Cambodian Human Rights And Development Association (ADHOC), Cambodia
8.     Center For Human Rights And Development (CHRD), Mongolia
9.     Commission For The Disappeared And Victims Of Violence (Kontras), Indonesia
10. Dignity International
11.    Forum For Protection Of People’s Rights (PPR), Nepal
12. Foundation For Media Alternatives (FMA), Philippine
13. Global Partnership For The Prevention Of Armed Conflict -Southeast Asia And Asia-Pacific Solidarity Coalition, The Philippines
14. Human Rights Working Group (HRWG), Indonesia
15. Human Security Alliance (HSA), Nepal
16. Imparsial, Indonesia
17. Indonesian Solidarity, Australia
18. Informal Sector Service Center, Nepal
19. Indigenous Peoples Rights Monitor, The Philippines
20. Initiatives For International Dialogue, The Philippines
21. International NGO Forum On Indonesian Development (INFID), Indonesia
22. Indonesian Corruption Watch, Indonesia
23. Korean House For International Solidarity, South Korea
24. Migrant CARE, Indonesia
25. Migrant Forum In Asia, Philippine
26. Nonviolence International Southeast Asia, Thailand
27. Odhikar, Bangladesh
28. Ovibashi Karmi Unnayan Program (OKUP), Bangladesh
29. People Empowerment, Thailand
30. Peoples Vigilance Committee For Human Rights (PVCHR), India
31. People's Solidarity For Participatory Democracy (PSPD), South Korea
32. Southeast Asian Press Alliance (SEAPA) Thailand
33. Southeast Asia Coalition To Stop The Use Of Child Soldiers (SEASUCS), Philippine
34. Student Federation Of Thailand
35. Task Force Detainees Of The Philippine (TFDP), Philippine
36. Taiwan Association For Human Rights, Taiwan
37. The Asian Federation Against Involuntary Disappearances (AFAD), Philippine
38. The International Federation For Human Rights (FIDH)
39. Think Centre, Singapore
40. Tibetan UN Advocacy, Switzerland
41. Working Group On Justice Peace, Thailand
42. Yayasan Sekretariat Anak Merdeka (SAMIN), Indonesia
43. Young Progressives For Social Democracy (YPD), Thailand
 For more information please contact: Chalida Tajaroensuk (+66) 0818085622
email dewi@forum-asia.org

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net