Skip to main content
sharethis

เปรียบเทียบตัวเลขการเยียวยากลุ่มเสื้อแดงกับผู้ได้รับผลกระทบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อผู้สูญเสียในทางการเมืองได้รับเงินช่วยเหลือสูงกว่าเท่าตัวถ้าเทียบกับประชาชนทั่วไปในชายแดนใต้

 

เทียบตัวเลขการเยียวยาเสื้อแดง

ความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงที่มีการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงในกรุงเทพมหานคร ช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านจนมีผู้เสียชีวิตถึง 88 คน รัฐบาลได้ควักเงินช่วยเหลือเยียวยาให้ด้วย ทั้งผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ ทรัพย์สินเสียหายและชดเชยเรื่องการประกอบอาชีพ

หากเปรียบเทียบการให้เงินช่วยเหลือเฉพาะผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกับการช่วยเหลือผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในจังหวัดชายแดนภาคใต้พบว่าต่างกันเท่าตัว รัฐบาลได้มอบเงินชดเชยให้แก่ครอบครัวญาติผู้เสียชีวิตในกรุงเทพมหานคร ศพละ 400,000 บาท และกระทรวงสาธารณสุขมอบให้อีก 50,000 บาท ส่วนผู้ได้รับบาดเจ็บรายละ 6 หมื่นบาท บาดเจ็บเล็กน้อย รายละ 2 หมื่นบาท

ในขณะที่การช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในจังหวัดชายแดนภาคใต้สำหรับประชาชนทั่วไป กรณีเสียชีวิตศพละ 100,000 บาท บาดเจ็บให้เงินช่วยเหลือตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 80,000 บาท ส่วนประชาชนที่ปฏิบัติหน้าที่ช่วยเหลือราชการในการรักษาความสงบในพื้นที่ที่เสียชีวิต ศพละ 200,000 บาท ส่วนบาดเจ็บให้การช่วยเหลือเหมือนประชาชนทั่วไป

ยกฟ้อง - แต่ไม่ได้รับเงินชดเชย

การใช้กฎหมายพิเศษในการควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยในพื้นที่จำนวนมาก ทั้งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก และกฎหมายปกติ คือประมวลกฎหมายอาญา ส่งผลกระทบให้กับญาติพี่น้องพอสมควร เนื่องจากหลายคนเป็นกำลังหลักของครอบครัว จึงมีการเรียกร้องให้มีการชดเชยในส่วนนี้ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ถูกควบคุมตัวที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว

นายแพทย์สุภัทร กล่าวว่า ที่ผ่านมามีการเรียกร้องไปยังศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีการชดเชยผู้ที่ถูกควบคุมตัวตามกฎหมายปกติและกฎหมายพิเศษทั้งหลายที่ได้รับการปล่อยตัวออกมาแล้ว แต่ได้รับการปฏิเสธโดยระบุว่า ไม่เข้าหลักเกณฑ์เรื่องการช่วยเหลือเยียว แต่เป็นเรื่องกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม

กล่าวสำหรับผู้ที่ถูกดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายอาญา ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระบุว่า ตลอด 6 ปีที่ผ่านมา มีคดีที่ขึ้นสู่ศาลและมีคำพิพากษารวม 216 คดี จากทั้งหมด 7,004 คดี แต่ศาลตัดสินลงโทษเพียง 130 คดี ยกฟ้องถึง 86 คดี หรือคิดเป็นร้อยละ 40 ขอคดีที่ขึ้นสู่ศาล

ทั้ง 7,004 คดี แยกเป็นคดีที่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งฟ้องแล้ว 1,388 คดี อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องแล้ว 562 คดี โดยในปี 2552 ปีเดียว มีผู้ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับการประกันตัวมากถึง 548 คน

นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ หัวหน้าศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา ไม่มีผู้ที่ถูกยกฟ้องแม้แต่รายเดียวในคดีความมั่นคงที่ได้รับการชดเชยในระหว่างถูกคุมขัง จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 ซึ่งเจ้าหน้าที่ยุติธรรมจังหวัดยะลาให้เหตุผลว่า ศาลไม่ได้ยกฟ้องเพราะไม่ได้กระทำผิด แต่ยกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานอ่อน จึงมีการอุทธรณ์ไปอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 จำนวนมาก แต่ยังไม่มีคำสั่งอุทธรณ์ใดๆ ออกมา

การเยียวยาของภาคประชาชน

ภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จากนอกพื้นที่ ที่มีบทบาทในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบในพื้นที่อยู่ไม่น้อย ทั้งยังช่วยเสริมการทำงานของฝ่ายรัฐด้วย ในช่วงแรกๆ โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่กล้าเข้าไปทำงาน

นางเตะหาวอ สาและ หัวหน้าศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือเด็กกำพร้า 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า หลายเรื่องที่องค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่มีส่วนจุดประกายหลายเรื่องให้กับรัฐ จนกลายมาเป็นหลักเกณฑ์การช่วยเหลือในปัจจุบัน

หลายองค์กรที่ลงไปทำงาน ไม่ว่าการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายแก่ชาวบ้าน การช่วยเหลือกลุ่มสตรีหรือเด็กกำพร้า ซึ่งหลายกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมีความเข้มแข็งขึ้นมา จนสามารถไปช่วยเหลือคนอื่นได้อีกด้วย

ตัวอย่างกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบที่สามารถรวมตัวขึ้นมาได้ เช่น กลุ่มสตรีสานสัมพันธ์สู่สันติสุข (สอซิกหรือ ส.6) ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้หญิงทั้งชาวไทยพุทธและมุสลิม มีนางณัฐกานต์ เต๊ะละ ผู้สูญเสียลูกชายการสลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นประธานกลุ่ม

กลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้า เยี่ยมเยียนและฟื้นฟูจิตใจผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งติดตามสิทธิอันควรจะได้รับของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภาครัฐ และจัดหาและส่งเสริมอาชีพของผู้ที่ได้รับผลกระทบ เป็นต้น ในขณะที่หลายองค์กรได้พัฒนารูปแบบขยายบทบาทและกิจกรรมออกไป

นายเตะหาวอ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันองค์กรภาคประชาสังคมจำเป็นต้องทำงานเยียวยาอีกหรือไม่ ในเมื่อการเยียวยาได้เข้าสู้ระบบของราชการแล้ว บทบาทที่ดีที่สุดขององค์กรภาคประชาสังคมคือ การเป็นชุมทางในการนำผู้ได้รับผลกระทบเข้าสู่ระบบการเยียวยาของรัฐ เป็นเพียงผู้ประสานงาน

“อีกบทบาทที่สำคัญคือ การตรวจสอบเรื่องการใช้งบประมาณในการเยียวยา เนื่องมีงบประมาณจำนวนมากที่ลงมาในพื้นที่ งบเหล่านี้ถูกตัดตอนก่อนถึงมือผู้ได้รับผลกระทบจริงๆ หรือไม่ มีการใช้งบประมาณอย่างไร ขณะเดียวกันภาครัฐก็ต้องยอมให้มีการตรวจสอบด้วย” นางเตะหาวอ กล่าว

เยียวยาด้วยการให้ความยุติธรรม

กระบวนการยุติธรรมที่เป็นปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเงื่อนไขหนึ่งของการก่อความไม่สงบ หลายคนปฏิเสธการช่วยเหลือเยียวยาจากจากรัฐ แต่ต้องการให้รัฐให้ความยุติธรรมมากกว่า

อย่างกรณีของนายนิเลาะ บาเห๊ะ อายุ 16 ปี ชาวบ้านตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา ซึ่งถูกอาสาสมัครทหารพรานยิงเสียชีวิตหลังเรียกตรวจ แต่นายนิเลาะขับรถจักรยานยนต์หนี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2552กรณีนี้ฝ่ายทหารพรานเสนอชดใช้ 290,000 บาท

ต่อมาพนักงานอัยการจังหวัดยะลา เป็นโจทย์ยื่นฟ้องอาสาสมัครทหารพรานนิรันดร์ หนูเชื้อเป็นจำเลยในข้อหาทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายอัตราโทษจำคุก 3 – 15 ปี แต่นายนิแม พ่อของนายนิเลาะ ได้โต้แย้งคำสั่งของพนักงานอัยการ โดยอ้างว่า ก่อนหน้านั้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น ซึ่งมีอัตราโทษสูงกว่า

นายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ หัวหน้าศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดยะลา กล่าวว่า พ่อของนายนิเลาะต้องการให้ตั้งข้อหาพยายามฆ่า ซึ่งเป็นการตั้งข้อหาเช่นเดียวกับคดีความมั่นคงอื่นๆในพื้นที่ ไม่ใช่คดีทะเลาะกัน แล้วมีการทำร้ายร่างกาย

ต่อมาศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดลงโทษจำคุก 3 ปี จำเลยสารภาพ จึงลดโทษเหลือกึ่งหนึ่งคงจำคุก 1 ปี 6 เดือน แต่เนื่องจากจำเลยช่วยเหลือราชการ และได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ญาติผู้ตายไปแล้ว รวมทั้งไม่เคยติดคุกมาก่อน โทษจำคุกจึงให้รอไว้ก่อน 1 ปี ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์

การเยียวยาคุณภาพ

จากปัญหาเรื่องเงินเยียวยาที่มีอยู่มากมายทำให้เกิดแนวคิดเรื่อง การเยียวยาคุณภาพขึ้นมาโดยการผลักดันของมูลนิธิเพื่อการเยียวและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้

นพ.สุภัทร กล่าวถึงถึง การเยียวยาคุณภาพว่า จุดเริ่มต้นของแนวคิดนี้มาจากที่การให้เงินชาวบ้าน 1 แสนบาทขึ้นไปนั้น พบว่าใช้หมดไปภายในเดือนเดียว เช่น นำไปชำระหนี้ โอกาสที่เงินก้อนนี้จะถูกนำมาพัฒนาคุณภาพชีวิตน้อยมาก

“บทเรียนสำคัญที่ทีมผมได้สัมผัส คือบทเรียนของ อาจารย์ปิยะ กิจถาวร (คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี) ที่ช่วยเหลือคนยากลำบาก ด้วยการให้เงินทุน 5,000 บาท เพื่อพัฒนาอาชีพให้ยั่งยืน”

ยกตัวอย่างที่อำเภอจะนะ มีคนสานเศษกระจูด เดิมเขาซื้อกระจูดมาทีละนิด เนื่องจากไม่มีทุน สานเสร็จก็รอคนมารับซื้อผืนละ 40 บาท วันหนึ่งสานได้อย่างมากก็ 2 ผืน แต่พอได้เงินทุน 5,000 บาท เขาสามารถซื้อเศษกระจูดได้มากขึ้น สานเสร็จก็ไม่ต้องรีบขายเพราะมีทุนอยู่ รอเอาไปขายวันตลาดนัด จะราคาก็สูงขึ้น เป็นต้น

วงจรจากเงิน 5,000 บาท ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น แต่เงินนี้ต้องชำระคืน รูปธรรมอย่างนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่น่าจะนำมาใช้กับงานเยียวยา ให้คนที่ยากลำบากทางเศรษฐกิจ สามารถใช้เงินจำนวนน้อยแต่ยืนด้วยลำแข้งตัวเองได้ เราก็เลยเรียกแนวคิดนี้ว่า เยียวยาคุณภาพซึ่งมูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ ได้รับแนวคิดนี้มาดำเนินการต่อไป โดยเน้นกลุ่มผู้หญิง กลุ่มสตรีหม้ายที่ยากจน เด็กกำพร้า ผู้หญิงที่สามีเสียชีวิต ทุพพลภาพ และมีลูกหลายคน

“การสร้างความสมานฉันท์ในชุมชนมันต้องเกิดจากความไว้วางใจและการเห็นอกเห็นใจกันของคนในชุมชน ซึ่งการเยียวยาคุณภาพแบบนี้จะช่วยได้เยอะ” นายแพทย์สุภัทร กล่าว

 มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง (วันที่ 26 พฤษภาคม 2553)

มาตรการ

                            มาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ

มาตรการช่วยเหลือจากภาคเอกชน

กลุ่มผู้ประกอบการ

ค้าขายรายย่อย

 

1.ครม.จ่ายเงินให้เปล่าช่วยเหลือให้เป็นกรณีพิเศษ รายละ 50,000 บาท

2.เจรจาให้ผู้ให้เช่าไม่เก็บค่าเช่า 1 เดือนแล้วรัฐบาลจะไปเจรจากับผู้ให้เช่าว่าจะชดเชยช่วยเหลือกันอย่างไร

3. เงินทุนหมุนเวียนดอกเบี้ยต่ำผ่านธนาคารของรัฐเช่น SMEแบงค์ ธนาคารออมสิน ฯลฯ การกู้ทุกกรณีจะได้รับระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้นเป็นเวลา 2 ปี โดยมีหลักดังนี้

· ผู้กู้ที่มีหลักประกันจะสามารถกู้ได้เต็มที่รายละไม่เกิน 3 ล้านบาท

· ผู้กู้ไม่มีหลักประกันจะสามารถกู้ได้รายละไม่เกิน 1 ล้านบาท

· ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่ร้านค้าถูกเพลิงไหม้ กรณีกู้เงินไม่เกิน 1ล้านบาท จะได้รับระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยช่วงการผ่อนชำระ

คืน 3 แสนบาทแรก ส่วนอีก 7แสนบาท จะ

คิดอัตราดอกเบี้ย3%

· หากเป็นกรณีผู้ประกอบการที่ได้รับ

ผลกระทบจากการชุมนุม แต่กิจการไม่ได้ถูกไฟไหม้ ก็จะกู้ได้ในวงเงิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3% ไม่ต้องค้ำประกัน

4. ยกเว้นการชำระภาษี สำหรับผู้ประกอบการและห้างร้านที่มีการประกันอัคคีภัยแล้ว หากได้รับการชดเชย

สินไหม

5.จัดให้มีพื้นที่ค้าขายพื้นที่ชั่วคราว กทม.จะเปิดถนนคนเดิน รวมพลัง เพื่อวันใหม่ (Together We Can Grand Sale) ที่สีลม เพื่อช่วยผู้ค้ารายย่อยที่ไม่มีที่ขายสินค้าและมีรายได้น้อย 600 บู๊ธ ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม พื้นที่ค้าขายใหม่ ปิดถนนวันเสาร์-อาทิตย์ เป็นถนน

คนเดินซึ่งจะมีหลายส่วนด้วยกัน

· ผู้ประกอบการสยามสแควร์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีแผนรองรับ

โดยจะมีการกันพื้นที่บางส่วนในสยามส

แควร์ทำเป็นเต็นท์ขายชั่วคราว และระยะ

ถัดไปก็จะทำเป็นเต็นท์กึ่งถาวรก่อนที่จะ

กลับไปอยู่ที่เดิม

· ผู้ประกอบการพื้นที่อื่น ๆจะมีการหา

พื้นที่ใกล้เคียงโดยจะติดต่อไปยังเช่น ห้าง

ต่าง ๆ ในบริเวณนั้น พื้นที่ของสำนักงาน

ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในบางส่วน

ซึ่งรัฐบาลกำลังจะเจรจาในการที่จะเช่าและ

เปิดโอกาสให้คนเหล่านี้ไปค้าขายได้

· ผู้ประกอบการจากเซ็นเตอร์วันอาจไป

ขายที่บางกอกบาร์ซาร์ ราชดำริ

· ส่วนผู้ประกอบการรายย่อยที่มีปัญหา

ต้องปิดกิจการหรือค้าขายไม่ได้ในช่วงการ

ชุมนุม โดยรัฐบาลจะไปเจรจาให้ผู้ให้เช่าไม่

เก็บค่าเช่า 1 เดือน

 

1. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประกาศงดเก็บค่าเช่า 3 เดือน ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และความเสียหายจากเหตุชุมนุม รวมทั้งจะจัดหาที่สำรองให้ค้าขายชั่วคราวด้วย

2. เซ็นทรัล แบ่งพื้นที่ขายเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านค้าปลีกรายย่อยได้ถึง 3 ศูนย์ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 21-70 ตร.. ได้แก่

· ท็อปส์ มาร์เก็ต เพลส อุดมสุข ให้พื้นที่ขายฟรี 3เดือน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

· ศูนย์การค้าพาวเวอร์เซ็นเตอร์ (บิ๊กซี) หัวหมาก ตั้งอยู่เยื้องมหาวิทยาลัยรามคำแหง หัวหมาก เฉพาะศูนย์นี้คิดค่าเช่าในอัตราพิเศษตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไปต่อวัน ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่

· ศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ วังบูรพา ให้พื้นที่ขายฟรี 3 เดือน

3. ศูนย์การค้าสยามพารากอน มีแผนช่วยเหลือ

ร้านค้ารายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา

การเมืองในพื้นที่ราชประสงค์และพื้นที่อื่นๆ ด้วย

การ

· เปิดให้เข้ามาขายสินค้าในชั้น 5 โซน รอยัล พารากอน ฮอลล์ ที่มีพื้นที่รวม 12,000 ตร.. โดยไม่คิดค่าเช่าพื้นที่

· รวมทั้งมีแผนจัดคอนเสิร์ตด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานงานร่วมกับกทม.เพื่อทำแผนงานร่วมกัน คาดว่าจะเปิดเผยรายละเอียดทั้งหมดได้ในเร็วๆนี้

· นอกจากนี้ สยามพารากอนยังมีพื้นที่ ลานพาร์คพารากอน ที่ติดกับศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ขนาดพื้นที่

3,500 ตร..ด้วย ซึ่งสามารถนำมาจัดเป็นพื้นที่ขายสินค้าได้เช่นกัน

4. The Mall Group เปิ ดพื้นที่ให้ร้านค้าที่

ได้รับผลกระทบจากย่านราชประสงค์ขายของที่

ซอยสุขุมวิท 35 ตั้งแต่วันที่2-6 มิถุนายน

5. ด้านผู้ค้าที่อยู่ห้างในเซ็นเตอร์วัน โดย1

เดือนนับจากนี้ จะให้ย้ายไปขายที่แฟชั่นมอลล์ ซึ่ง

อยู่ฝั่งตรงข้ามกับเซ็นเตอร์วัน หรือที่เคยเป็นห้าง

โรบินสัน มี 2 ชั้น พื้นที่ 3,000 ตารางเมตร ซึ่งพอ

มาทำเป็นแฟชั่นมอลล์ มีปัญหาภาระหนี้สินกับ

ธนาคารเอสเอ็มอี โดยผู้ค้าตรงนี้จะไม่เก็บค่าเช่า 6

เดือน

6. กลุ่มคนรักจุฬาฯรักสยาม จัดกิจกรรม

กองทุนไทยไม่ทิ้งกัน ระดมเงินบริจาคช่วยเหลือผู้

ที่รับผลกระทบย่านสยามสแควร์

7. ครอบครัว ตันสัจจา เจ้าของโรงหนังAPEX,

Siam Scala และ Lido เปิ ดพื้นที่ให้กลุ่มผู้ขายของ

ใต้โรงหนังสยามเข้าไปขายของใต้ lido ชั่วคราว

8. นายตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการบริษัท

โออิชิ กรุ๊ป จำกัด ผู้บริหารธุรกิจอาหารเครื่องดื่ม

ในเครือโออิชิ กล่าวว่า บริษัทได้นำที่ดินจำนวน14

ไร่ ในพื้นที่สนามฟุตบอลอารีน่า ซอยทองหล่อ 10

โดยเปิ ดให้ทั้งผู้จำหน่ายสินค้าทั้งแบบแบกะดิน

และเปิดท้ายขายของโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเปิดให้

ผู้ประกอบการลงทะเบียนในวันที่ 25 .. นี้ เพื่อ

รับสิทธิจำหน่ายสินค้าตั้งแต่เวลา 11.00-17.00 .

โดยเปิ ดจำหน่ายสินค้าในระหว่างวันที่ 28..-6

มิ..นี้ ระหว่างเวลา 16.00-21.00

กลุ่มผู้ประกอบการ

ธุรกิจท่องเที่ยว

 

 

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัทในเครือธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง ให้การดูแลพิเศษเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น พร้อมให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลาพิเศษหรือขยายเวลาการผ่อนชำระเงินตามข้อตกลง นอกจากนี้ธนาคารยังพร้อมให้ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ด้วย

 

กลุ่มผู้ใช้แรงงาน

 

ลูกจ้างในระบบประกันสังคม

· ได้รับการชดเชยตามหลักเกณฑ์ของ

ประกันสังคม ไม่เกิน 6 เดือน

· รัฐบาลจสมทบให้อีก 7,500 บาท/

เดือน เป็นเวลา 6 เดือน ระหว่างยังไม่มีงาน

ทำ

 

 

ลูกจ้างที่ไม่ได้ผูกกับระบบประกันสังคม เช่น หาบเร่แผงลอยรัฐบาลจะชดเชยให้ 7,500 บาท/เดือน ระยะเวลา 3-6เดือน

หมายเหตุ : อย่างไรก็ตาม ขณะนี้คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประกอบการและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุม ที่มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ เลขาธิการ

นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณาลงในรายละเอียด และอยู่ระหว่างการสรุปขึ้นทะเบียนผู้ที่ได้รับผลกระทบว่ามีทั้งหมดกี่ราย

 

นักเรียน

 

33 โรงเรียนเลื่อนการเปิดภาคเรียน

ถึงวันที่ 31 ..

 

นักศึกษา

· กระทรวงศึกษาธิการจะหยิบยก

โครงการเสริมสร้างประชาธิปไตยโดยใช้

การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง มาเป็นนโยบาย

สำคัญในการวางรากฐานการพัฒนาให้คน

ในชาติ

 

ประชาชนทั่วไป

 

ด้านการลดภาระค่าใช้จ่าย

ขยายมาตรการภาษีภาคอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนของการลดค่าธรรมเนียมจดจำนองและค่าธรรมเนียมการโอนเหลือ 0.01%ออกไปอีก 1 เดือน เป็น 30 มิ..53จากเดิมสิ้นสุด 31 ..53

ด้านจิตใจ

เปิดศูนย์ปฏิบัติการที่ห้องเจ้าพระยา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เพื่อรับฟังเรื่องร้องทุกข์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบ หมายเลข 02-2244680 หรือ 02-2212141-69 ต่อ

1462 Z โดยกทม.เปิดศูนย์ให้ความช่วยเหลือเยียวยา ด้านจิตใจ ผู้ได้รับ

ผลกระทบ จากเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยเฉพาะคนในครอบครัวผู้เสียชีวิต 88 ราย อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ จากการเดินทางไปเยี่ยมครอบครัวผู้เสียชีวิตจำนวน

29 ราย ในเหตุการณ์เมื่อวันที่10 เม..พบว่า 80 % มีปัญหาซึมเศร้าปานกลาง ถึงมาก ซึ่งจะต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย ส่วนผู้บาดเจ็บมีปัญหาสุขภาพจิต 12 %

นอกจากนี้ ยังต้องติดตาม ผู้ที่เข้าร่วมชุมนุม ซึ่งมีรายชื่อแล้ว จำนวน 3,000 ราย และจะตามไปดูประชาชนใน 24 จังหวัด ที่มีการประกาศ พ...ฉุกเฉิน รวมทั้งในส่วน กทม. 23 ชุมชน ประมาณ 100,000 รายด้วย

สนับสนุนการเงินต่าง ๆ โดยกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยใช้ชื่อบัญชีรวมกัน เราทำได้เลขบัญชี 088 004 320 2

ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยศาลาว่าการ กทม.

1. พารากอนลดราคาตั๋วชมภาพยนตร์เริ่มต้น

ที่ 100 บาท ประเดิมเปิ ดวันแรกตั้งแต่วันนี้ถึง 31

..

2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และบริษัทในเครือ

ธนาคารออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับ

ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางการเมือง ให้การ

ดูแลพิเศษเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น

พร้อมให้ลูกหนี้ผ่อนชำระเฉพาะดอกเบี้ยในช่วง

ระยะเวลาพิเศษหรือขยายเวลาการผ่อนชำระเงิน

ตามข้อตกลง นอกจากนี้ธนาคารยังพร้อมให้

ความช่วยเหลือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

ท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องอื่นๆ ที่

ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ด้วย

3. 27 ..นี้ จุฬาฯจะจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่

ให้บริการตรวจร่างกาย ปอดจากการที่สูดควันยาง

ที่ถูกเผา การประเมินความเครียดและให้คำปรึกษา

ด้านจิตวิทยา ที่ชั้นใต้ดินอาคารวิทยกิตติ์หรือ

ศูนย์หนังสือจุฬาฯสาขาสยามสแควร์

ผู้ได้รับบาดเจ็บ - ตาย

 

ผู้ตาย

รัฐบาลให้เงินค่าชดเชยแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 400,000 บาท

กระทรวงสาธารณสุขชดเชยให้ 50,000บาท

ผู้บาดเจ็บ

ผู้บาดเจ็บ รายละ 6 หมื่นบาท

ผู้บาดเจ็บเล็กน้อย รายละ 2 หมื่นบาท

 

 

ที่มา : สำนักนายกรัฐมนตรี, http://www.pm.go.th/blog/32058

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net