Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

                                     “เพ่งพินิจ พิศพักตร์ ลักษณะ งามจังหวะ มารยาท สะอาดสิ้น
                                    นวลละออง สองปราง อย่างลูกอิน โอษฐ์ดังลิ้น จี่จิ้ม ยิ้มยวนใจ
                                       กรรณเกศ เนตรขนง นาสิกศอ ดังเหลาหล่อ ล่อจิต พิสมัย
                                          ถันเคร่ง เต่งตั้ง บังสะไบ แลวิไล สวยสะพรั่ง ทั้งกายา”

 

                                                                                                                  บทชมโฉมในเรื่อง ราชาธิราช
 

! มนุษย์ตามล่าความงามมาตั้งแต่ยุคใดไม่ปรากฎแน่ชัด แต่การสรรค์สร้างสิ่งที่เป็นความ
สวยงามผ่านการดำเนินชีวิตมีปรากฎอยู่ในทุกสังคม การผลิตสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มักจะมีการ
สอดแทรกความงดงามลงไปด้วยเสมอ


จากสิ่งของที่ไม่มีชีวิตเคลื่อนย้ายเข้ามาสู่ปริมณฑลของเรือนร่างที่มีชีวิต

 

ความงามของเรือนร่างมนุษย์หลายสังคมสัมพันธ์เชื่อมโยงกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ความ
เชื่อ และค่านิยม การเจาะหู เจาะจมูก การสัก การใช้ของแข็งหรือของมีคมกรีดร่างกายให้เป็นริ้วรอย
แผลเป็น หรือการรัดเท้าให้มีขนาดเล็กนั้นนอกจากการให้ความหมายที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่กล่าว
มาแล้ว ล้วนมีคำอธิบายที่เกี่ยวข้องกับความสวยงามอยู่ด้วยเสมอเช่นเดียวกัน
 

! สิ่งที่น่าสนใจสังเกตคือ ความงามในสังคมต่าง ๆ นั้น มีความแตกต่างกันไป อาจมีความ
ละม้ายคล้ายคลึงกันบ้าง แต่มักแตกต่างในรายละเอียด ในทวีฟอาฟริกากลุ่มชนหลายกลุ่มวัดความ
สำเร็จของการอยู่รอดและความเข้มแข็งจากจำนวนสมาชิกของกลุ่ม ความงามของผู้หญิงจึงเชื่อมโยง
อยู่กับความสามารถในการให้กำเนิดสมาชิก ผู้หญิงจะงามหรือไม่จึงขึ้นอยู่กับว่าเธอมีเรือนร่างเหมาะ
สมสำหรับการให้กำเนิดและการเลี้ยงดูบุตรจำนวนมากได้หรือไม่ ร่างกายที่ทำอย่างนั้นได้ต้องมีหน้า
อกใหญ่ซึ่งการันตีได้ว่าเธอสามารถผลิตน้ำนมได้มากพอ สะโพกต้องผายและก้นต้องใหญ่ดุจเดียวกัน
ซึ่งการันตีได้ว่าเธอสามารถคลอดบุตรได้ง่าย และสามารถผลิตสมาชิกได้มากในช่วงชีวิตของเธอ นั่น
ละคือผู้หญิงงาม
 

! ผู้หญิงชนเผ่าเซอร์มาในเอธิโอเปีย ใช้แผ่นประดับปากทำด้วยดินเผา ยิ่งแผ่นใหญ่มากเท่า
ไหร่พ่อแม่ผู้หญิงก็สามารถเรียกค่าสินสอดได้มากขึ้นเท่านั้น1 นั่นละคือผู้หญิงงาม
เมื่อพิจารณาจากปรากฎการณ์เหล่านี้ ความงามจึงไม่มีลักษณะของความเป็นสากล ยังไม่มี
ใครบังอาจผูกขาดคำนิยามลักษณะของความงามอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
 

ความจริงที่เกิดขึ้นจริง ๆ คือความงามนั้นมีลักษณะที่ไม่คงเส้นคงวา เพราะมนุษย์ทุกคนไม่
ได้เกิดมามีหน้าตาหรือร่างกายเหมือนกัน การนิยามความงามให้มีความหลากหลายครอบคลุมคนทุก
กลุ่มจึงเกิดขึ้น ด้วยการนำความงามไปเชื่อมโยงกับมิติอื่น ๆ ทั้งมิติด้านสุขภาพ สุนทรีย ภาพลักษณ์
หรือรสนิยม และปลุกกระแสให้ทุกคนเชื่อว่ามีโอกาสเข้าใกล้ความงามในลักษณะอื่นๆซึ่งหน้าตาไม่
สามารถเข้าถึงได้ และส่วนใหญ่ก็มักมีผลิตภัณฑ์ซุ่มรอไว้แล้วเช่นกัน ดังนั้นความงามจากที่เหมือนมี
ความหลากหลายตามแต่บุคลิกปัจเจก จริง ๆ แล้วก็กลับกลายเป็นความงามที่มีเป้าหมายไปใน
ทิศทางเดียว
 

! ความงาม ความสวยที่มีความหลากหลาย เริ่มเคลื่อนย้ายเข้าสู่จุดหมายปลายทางเดียวกันคือ
ความงามตามแบบอย่างการนิยามของกลุ่มอุตสาหกรรมความงามต่าง ๆ โดยมีกระบวนการผลิตซ้ำ
ความงามและวิธีการเข้าถึงความงามที่พึงปราถนาออกมาสู่สาธารณะเพื่อให้มวลชนได้มีโอกาส
จัดการตนเอง พร้อมกับสร้างให้เชื่อว่าเขาเหล่านั้นมีอำนาจการตัดสินใจโดยปราศจากการครอบงำ
และนี่คือกระบวนที่ทำให้ปัจเจกรับอุดมการณ์บังคับจากภายนอก เข้ามาจัดการจากภายในตนเอง
ด้วยตนเอง โดยไม่รู้สึกถึงอำนาจครอบงำนั้น ๆ
 

! กลไกการจัดการความสัมพันธ์และการใช้อำนาจระหว่างกันของกลุ่มคน ถ้าย้อนมองดูจาก
อดีตจะเห็นว่ามีการคลี่คลายจากการใช้กำลังบังคับ มาเป็นการให้คนในสังคมบังคับกันเองโดยใช้สื่อ
เป็นเครื่องมือสำคัญของกลุ่มทุนทะลุทะลวงเข้าไปจัดระบบคิดของปัจเจกให้เห็นคล้อยตามด้วย
ตนเอง ซึ่งเป็นการบังคับจากภายใน อำนาจของมันจึงถูกสร้างขึ้นมาโดยมีค่านิยมของคนในสังคม
เป็นสิ่งค้ำจุนความถูกต้องของมัน เมื่อพิจารณาจากมุมนี้แล้วจึงเท่ากับว่าเรากำลังหยิบยื่นอำนาจให้
กับทุนและสร้างความชอบธรรมในการปล่อยให้มันเข้ามาจัดการกับร่างกายเราให้งามในลักษณะ
สมยอมทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว คล้ายกับหลักการของศาสนาที่ใช้คำสอนเป็นหลักการให้มนุษย์
ดำเนินชีวิต จากนั้นมนุษย์จึงสมาทานเข้าไปควบคุมตนเอง ใครใช้สิ่งเหล่านี้ควบคุมตนเองได้มากกว่า
ก็จะกลายเป็นมนุษย์ผู้มีศีลธรรมที่สังคมต้องการมากกว่า และทุกคนก็แข่งขันกันเป็น ผิดกันตรงที่
ว่าการแข่งขันกันปฏิบัติตามคำสอนของศาสนามีนัยของการ “แอบล้วงกระเป๋า” น้อยกว่ากลุ่มทุน
และลัทธิบริโภคนิยมซึ่งทำได้ทุกอย่าง

เมื่อความงามคือค่านิยมของสังคม มันจะถูกผลิตซ้ำเรื่อย ๆ จนกลายเป็นอุดมการณ์ของ
สังคมที่ทุกคนสามารถสร้างจินตนาการร่วมกันได้ เมื่อเอ่ยถึงความงาม เราก็จะเข้าใจตรงกันว่าคือ
แบบใด ความงามจึงเป็นสิ่งสร้างทางสังคม นั่นคือความเห็นพ้องต้องกันในระดับหนึ่ง แต่ในระดับ
ปัจเจกความงามมีเงื่อนไขที่เลื่อนไหลไม่ตายตัว และเป็นเหตุผลสำหรับคำอธิบายว่าทำไมเราจึงเลือก
คนที่แต่งงานแตกต่างไปจากจินตนาการหรืออุดมคติเรื่องความงาม

ผู้หญิงสวยหรืองามทางสังคมจึงมีคุณค่าเป็นสาธารณะมากกว่าคุณค่าปัจเจก คุณค่า
สาธารณะเป็นคุณค่าที่ยึดโยงกับบุคคลอื่น ความงามจึงถูกจับจ้องสอดส่องจากคนอื่นมากขึ้นเช่น
เดียวกัน และการถูกจับจ้องความงามอีกนัยหนึ่งคือการจับผิด คนที่สวยหรืองามจึงต้องจัดการ
ร่างกายตนเองให้งามอยู่ตลอดเวลา ! ความงามแบบนี้จึงเป็นความงามที่ทำให้เจ้าของร่างต้อง
เหน็ดเหนื่อย และต้องอดทนด้วยความวิริยะอุตสาหะในการจัดการเรือนร่างให้มีความงามตามความ
ต้องการของคนอื่น และไม่มีวันเสร็จสมบูรณ์แบบ ต้องดูแลเอาใจใส่ ปรนนิบัติและบำรุงอย่างเต็มที่
ร่างกายจึงเป็นสิ่งที่นักสังคมวิทยาเรียกว่า the body project2
 

! เมื่อความงามเป็นสาธารณะ คำถามก็คือ ใครคือตัวแทนของสาธารณะผู้มีอำนาจในการ
กำหนดความงาม ไม่งาม
 

! คำถามนี้คงไม่ยากนักสำหรับการหาคำตอบ เพราะหากเราย้อนกลับมามองให้ดีแล้ว ก็จะพบ
ว่าเราเองก็เป็นคำตอบส่วนหนึ่งของคำถามนี้เหมือนกัน
 

! เมื่อการณ์กลับเป็นเช่นนี้แล้ว ผมจึงคิดว่าเราควรเลิกกระทำความรุนแรงต่อเพศตรงข้าม
ด้วยการเพิกถอนความเห็นพ้องกับความงามตามแบบที่กลุ่มอุตสาหกรรมความงามสร้างขึ้น เราจะ
ได้ไม่ต้องวิ่งไล่ล่าความงามกันจนเกินความจำเป็น และแอบเปิดกระเป๋าให้เขาล้วงไปเรื่อย ๆ ด้วย
ความเต็มใจ
 

แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามผมก็ยังจำภาษิตบทหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงอุดมการณ์ทางสังคมที่
หยั่งรากไว้ในสังคมไทยได้ดี ภาษิตบทนั้นบอกเล่าไว้ว่า “คนจะงาม งามที่ใจ ใช่ใบหน้า” แต่ที่จำได้
แน่นหนากว่าก็คือ “ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง”
 

หรือความงามจะไม่เคยปราศจากการครอบงำ “ครอบงำทั้งจิตใจ และร่างกาย”

 

####################################################################################

1 อ่านเพิ่มเติมได้จาก “เผยร่าง-พรางกาย การทดลองมองร่างกายในศาสนา ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์ ศิลปะ
และมานุษยวิทยา” กรุงเทพฯ: คบไฟ. 2541 น.11

2 เรื่องเดียวกัน อ้างแล้ว น.3

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net