Skip to main content
sharethis

หมอแมกไซไซชี้ปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนของพม่ายังขยายตัวกว้าง ชนกลุ่มน้อยของพม่าจำนวนมากถูกเวนคืนที่ดินและถูกเกณฑ์ไปเป็นแรงงานเหมืองแร่และโรงไฟฟ้าจนเสียชีวิต ร้องยูเอ็นเข้ากดดันด่วน

เมื่อวันที่ 19 ต.ค. 53 ที่ห้องประชุมสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยวานนี้ สมาคมทางการแพทย์แห่งประเทศพม่า คณะกรรมการด้านสุขภาพและการศึกษาประเทศพม่า หน่วยสาธารณสุขเคลื่อนที่ประเทศพม่า และมหาวิทยาลัยจอห์น ฮ็อคกิ้งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดแถลงข่าวเรื่อง” ผลวินิจฉัยขั้นวิกฤต: ภาวะสุขภาพและสิทธิมนุษยชนในภาคตะวันออกของประเทศพม่า” (Diagnosis Critical: Health and Human Rights in Eastern Burma) โดยมี พญ.ซินเธีย หม่อง ผู้ก่อตั้งและบริหารจัดการคลินิกแม่ตาว ชาวกะเหรี่ยง เจ้าของรางวัลแมกไซไซ 2548   นพ.วรวิทย์ สุวรรณวนิชกิจ Rereaech Associate center for Public Health and Human Right นายNai Aye Lwin ตัวแทนจาก Back Pack Health Worker team  น.ส. จาม ต๋อง ตัวแทนจาก กลุ่ม Shan Action Network และนพ.วรวิทย์ สุวรรณวนิชกิจ Research Associate center for Public Health and Human Right เข้าร่วมเป็นวิทยากร โดยมีสื่อมวลชนทั้งประเทศไทยและต่างประเทศเข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก

พญ.ซินเธีย หม่อง ผู้ก่อตั้งและบริหารจัดการคลินิกแม่ตาว ชาวกะเหรี่ยง เจ้าของรางวัลแมกไซไซ   กล่าวว่า รายงานที่ได้นำมาเผยแพร่ในวันนี้นั้นเป็นรายงานที่เราต้องการให้เห็นถึงสภาพของแม่และเด็กในฝั่งตะวันออกของประเทศพม่าซึ่งประกอบด้วยรัฐฉาน กะเหรี่ยง ไทใหญ่ และมอญ  โดยแม่และเด็กในพื้นที่เหล่านี้ไม่ได้รับการบริการด้านสุขภาพมาเป็นระยะเวลานานถึง 20 ปี ซึ่งระบบสาธารณสุขพื้นฐานที่ชาวบ้านสามารถเข้าถึงคือการจัดตั้งขึ้นโดยชุมชนเอง  มีแม่เด็กหลายคนที่ต้องเสียชีวิตในขณะคลอดลูกหรือหลังคลอดลูก  สิ่งที่เราเห็นได้อย่างชัดเจนคือจำนวนประชากรในประเทศพม่าที่ยอมหนีตายข้ามฝั่งมาเพื่อรักษาตัวในคลีนิคแม่ตาว หลายคนมารักษาตัวด้วยโรคร้ายแรงอย่างโรดเอดส์ โรคมาเลเรีย ซึ่งการข้ามมาของประชาชนในประเทศพม่าแบบนี่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ารัฐบาลพม่าไปมีระบบการบริการด้านสาธารณสุขที่ดีพอที่ทำให้ประชนพึ่งพิงได้

แพทย์ผู้ทำหน้าที่ดูแลและบริหารจัดการคลินิกแม่ตาว ชาวกะเหรี่ยง เจ้าของรางวัลแมกไซไซ   กล่าวอีกว่า   เราได้จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อเข้าไปรักษาและจัดตั้งระบบสาธารณสุขให้กับชาวบ้านในแถบชายแดนฝั่งตะวันออกของประเทศพม่า ซึ่งเจ้าหน้าที่ 1 ทีม จำนวน 5-7 คนจะต้องดูแลประชาชนพม่าถึง 2 พันคน ซึ่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่หลายคนได้เสียชีวิตลงเพราะกับระเบิด หรือสภาพอากาศในพื้นที่ที่เลวร้าย อย่างไรก็ตนอยากให้หลายฝ่ายติดตามรายงานชิ้นนี้ให้ดีเพราะจะเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่เหตุปัจจัยหลายอย่างในเรื่องการดูแลด้านสาธารณสุขของประเทศพม่าที่เชื่อมโยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า

ด้านนาย Nai Aye Lwin ตัวแทนจาก Back Pack Health Worker teamประเทศพม่า เปิดเผยผลวิจัยที่ได้ลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ของฝั่งตะวันออกประเทศพม่าว่า ผลวิจัยหรือรายงานฉบับนี้นั้นชี้เห็นอย่างชัดเจนว่าสถานการณ์ด้านสาธารณสุขของประชากรฝั่งตะวันออกของประเทศพม่านั้นเข้าขั้นวิกฤต โดยมีประชากรจำนวนมากถึง 5 แสนคนที่ได้รับผลกระทบในเรื่องนื้ ซึ่งในจำนวนนี้มีประชาชนเข้ามาร่วมกรอกแบบสอบถามกับเราสองหมื่นเจ็ดพันคนจาก 21 เมือง ซึ่งเมื่อดูข้อมูลจากแบบสอบถามและนำมาเปรียบเทียบอัตราการเสียชีวิตของประชากรในแถบอื่น ๆ ของประเทศพม่าแล้วพบว่าอัตราการเสียชีวิตของประชากรในฝั่งตะวันออกของประเทศพม่าสูงที่สุด ซึ่งอัตราการเสียชีวิตในครั้งนี้นั้นเลวร้ายติดอันดับโลก เปรียบเทียบได้กับการเสียชีวิตของประเทศที่ยังมีการสู้รบกันอยู่อย่าง ซูดานและคองโก  ซึ่งอัตราการเสียชีวิตนั้นจะพบว่าในเด็กอายุ 5 ขวบนั้นเสียชีวิตลงด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้และรักษาได้อย่างโรคท้องร่วงและโรคปอดบวม

ตัวแทนจาก Back Pack Health Worker team ประเทศพม่า กล่าวอีกว่า จากข้อมลในการลงพื้นที่จะพบอีกว่าผู้หญิง 19 คนจากกลุ่มชาติพันธ์จะติดเชื้อมาลาเรีย และยังมีเด็กและผู้หญิงตั้งครรถ์อีกเกือบ 14 เปอร์เซ็นต์เป็นโรคขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ส่วนเรื่องความรู้ในเรื่องของอนามัยเจริญพันธ์นั้นจะพบว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงพม่าในฝั่งตะวันออกนั้นไม่มีความรู้เรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิด รัฐบาลไม่สนับสนุนในการบริการด้านสุขภาพจนประชาชนต้องหันมาพึ่งตนเอง โดยการจัดตั้งโครงการสุขภาพชุมชนของตนเอง ทั้งนี้ข้อมูลที่น่าตกใจเป็นอย่างมากคือ 1 ใน 3 ของชุมชนที่เราลงสำรวจนั้นจะเจอเหตุการณ์ละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรง ซึ่งมีหลายคนที่ถูกนำไปใช้แรงงานหนักจนเสียชีวิต อย่างไรก็ตามถึงแม้เราจะลงไปให้บริการในด้านสาธารณสุขกับชาวบ้าน แต่ปัญหาของเราก็มีมากเช่นกันเช่นการขาดทรัพยากรที่จำเป็นที่จะต้องใช้รักษาโรคต่าง ๆ

ด้าน นพ.วรวิทย์ สุวรรณวนิชกิจ Rereaech Associate center for Public Health and Human Right  กล่าวว่า นอกจากปัญหาด้านสุขภาพและการบริการทางด้านสาธารณสุขที่ไม่เอื้ออำนวยต่อประชากรฝั่งตะวันออกของประเทศพม่านั้น เรายังพบโรคร้ายแรงที่กลับมาใหม่ในประเทศพม่าอย่างเช่นโรควัณโรค และโรคเท้าช้างอีกด้วย  มีมาเลเรียสายพันธ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นและดื้อยาซึ่งมีแนวโน้มที่จะกระจายออกไปยังลุ่มน้ำโขง หากรัฐบาลพม่าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่รีบให้ความช่วยเหลือ  อย่างไรก็ตามนอกจากปัญหาเรื่องโรคภัยไข้เจ็บแล้วยังมีประชาชนจำนวนมากในฝั่งตะวันออกของประเทศพม่าที่ถูกบังคับให้ออกจากสถานที่ที่ตนเองเคยอยู่อาศัยจนต้องกลายสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งถึงแม้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจะเพิ่งกลับมาจากเยือนพม่าและพยายามบอกว่าเราและพม่านั้นเป็นเพื่อนกันนั้น ในความเป็นจริงความเป็นอยู่ของคนไทยกับคนพม่าช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ขณะที่ น.ส. จาม ต๋อง ตัวแทนจาก กลุ่ม Shan Action Network กล่าวว่า ประชากรจำนวนมากในฝั่งตะวันออกของประเทศพม่าซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธ์นั้นนอกจากจะเจอการกดขี่จากรัฐบาลเผด็จการทหารพม่าแล้วยังต้องเจอวิบากกรรมจากกองกำลังติดอาวุธกลุ่มต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งรัฐบาลทหารพม่าได้เจรจากับกองกำลังติดอาวุธหลายส่วนให้ร่วมเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดนให้กับรัฐบาลทหารพม่า  นอกจากนั้นแล้วรัฐบาลทหารพม่ายังพยายามเพิ่มการเข้าถึงทรัพยากรไฟฟ้า เหมืองแร่ โดยไล่ที่ของประชาชนที่เคยอาศัยอยู่เดิม ซึ่งคาดว่ามีประชาชนเกือบ 3 หมื่นคนที่ถูกบังคับให้ย้ายออกจากที่อยู่ของเดิมของเขา และหลายคนก็ถูกบังคับใช้แรงงานในการสร้างสาธารณูปโภคเพื่อรองรับโครงการลงทุนเหมืองแร่ และสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ

ตัวแทนจาก กลุ่ม Shan Action Network กล่าวอีกว่า มีกลุ่มผู้ลี้ภัยมากขึ้นตามลำดับในรัฐฉาน ซึ่งเขาเหล่านั้นซ่อนตัวในพื้นที่และอีกส่วนหนึ่งก็หลบหนีเข้ามาในประเทศไทย สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือประเทศไทยเองก็ไม่มีที่ให้กับผู้ลี้ภัยในรัฐฉานและ  UNHCR ก็ไม่ร้องรับผู้คนเหล่านี้ว่าเป็นผู้ลี้ภัย ซึ่งเราเองก็ได้พยายามเข้าไปช่วยเหลือด้วยการจัดตั้งระบบการบริการด้านสาธารณสุขของชาวบ้านให้พึ่งพาตนเองอย่างเข้มแข็งขึ้นให้ได้ ซึ่งการช่วยเหลือนั้นก็จะถูกกีดกันจากรัฐบาลทหารของพม่าอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี่ต่อไปเรื่อย ๆ ชายแดนฝั่งตะวันออกของประเทศพม่านั้นต้องเข้าสู่สภาวะวิกฤตอย่างแน่นอน

ผู้สื่อข่าวรายงานในตอนท้ายของรายงานเรื่องสุขภาพแม่และเด็กของประชากรในชายแดนฝั่งตะวันออกของประเทศพม่าในครั้งนี้นั้นยังได้มีข้อเรียกร้องถึงองค์กรที่เกี่ยวข้องดังนี้ ให้องค์การสหประชาชาติ(UN) ดำเนินการกดดันต่อรัฐบาลพม่าให้หยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนทุกกรณีในประเทศของตน  พร้อมตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบว่าการกระทำของรัฐบาลพม่ากับประชาชนในชายแดนฝั่งตะวันออกนั้นเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือไม่ ทั้งนี้องค์กรที่ทำงานกับประเทศพม่านั้นจะต้องพูดอย่างเปิดเผยว่าการกระทำของรัฐบาลพม่านั้นก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นรุนแรงอย่างไร  รวมถึงต้องมีการให้ความช่วยเหลือกับองค์กรชุมชนโดยการให้เงินสนับสนุนการบริการสุขภาพในเขตพม่า  และต้องทำงานร่วมกับองค์กรชุมชนเพื่อผลักดันการป้องกันโรคระบาดครั้งใหญ่ที่อาจจะเกิดขึ้นในประเทศพม่าได้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net