Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

บทความนี้แปลจากต้นฉบับเรื่อง ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ เรื่อง ‘Illegal Immigration – Guilt Lies with Ties, Not Migrant Workers วันที่ 4 ตุลาคม 2553

ศพชาวตะวันตกที่เก็บมานานเเต่งกายด้วยเสื้อสูทดำผูกเนคไท ดูสงบสุขถูกดึงออกมาจากลิ้นชักเก็บศพ ผมเเละเพื่อนร่วมงานต่างตกตะลึง วันนั้นผมเเละเพื่อนไปติดต่อห้องเก็บศพ เพื่อสอบถามเรื่องอาวา แรงงานข้ามชาติชาวไทใหญ่ที่ถูกช้างเหยียบเสียชีวิตขณะให้อาหารช้างที่สวนสัตว์ซาฟารีในเชียงใหม่ ญาติ ของอาวาไม่ได้มารับศพเพราะพวกเขาเกรงว่า จะถูกจับเนื่องจากเป็นแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้จดทะเบียน ตามกฎหมาย ผู้ช่วยห้องเก็บศพอธิบายว่า ในกรณีนี้ไม่สามารถออกมรณบัตรเพื่อดำเนินการทาง กฎหมายได้ ไม่มีการทำความสะอาดศพ เพราะหลังทำพิธีกรรมทางศาสนาเเละจะต้องนำไป "จัดการ" อยู่ดี อาวาเป็นคน "ต่างด้าว" ผิดกฎหมายชาวพม่าอยู่เเล้ว ผมเห็นศพอาวาที่ถูกช้างเหยียบก่อน ที่เราจะออก จากห้องเก็บศพ เเละไม่อาจลืมภาพเลือดสีแดงฉานเปื้อนผ้าคลุมสีขาวสะอาดของโรงพยาบาล

เมื่อ พ.ศ. 2549 อาวาตายอย่างน่าเศร้าเเละเงียบเชียบ เขาตายฟรี เช่นเดียวกับแรงงานข้ามชาติ ในประเทศไทย จุดจบแบบนี้อาจเกิดขึ้นกับแรงงานข้ามชาติที่โชคร้ายที่สุดคนใดก็ได้ ในจำนวนเเรงงาน ข้ามชาติกว่า 2 ล้านคนในประเทศไทย ที่เป็นผู้ร่วมชะตากรรมเดียวกัน เเละจะเรื่องเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป เว้นเเต่รัฐบาลไทยจะเปลี่ยนนโยบายการบริหารแรงงานข้ามชาติที่ย่ำแย่แบบหน้ามือเป็นหลังมือ หลายปีที่ ผ่านมานี้ ผมเริ่มเข้าใจความหลายเชิงสัญลักษณ์ของศพสองศพที่เเตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง สิ่งที่ผมเคยเห็น เมื่อวันวานตอกย้ำว่าแรงงานข้ามชาติอยู่ในช่วงชั้นทางสังคมที่ต่ำกว่าคนอื่นๆ ในประเทศไทยหลายขั้น

กว่ายี่สิบปีที่เศรษฐกิจไทยต้องพึ่งพาแรงงานข้ามชาติไร้ฝีมือจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่กัมพูชา ลาว เเละพม่า เพื่อรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ หยาดเหงื่อ และบ่อยครั้งรวมถึงเลือดของแรงงาน ข้ามชาติ คือเเรงงานสนับสนุนการก่อสร้างตึกระฟ้าทั่วประเทศ แรงงานข้ามชาติภาคเกษตรกรรม หายใจเอาสารพิษเเละสู้แดดที่เเผดเผาผิวคร้ามให้เกรียมขึ้น เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการเกษตรขนาดใหญ่ที่ กระจายอยู่ทั่วชนบทไทย แรงงานข้ามชาติหญิงทำความสะอาดบ้าน ดูเเลผู้สูงอายุเเละเด็ก ปลดปล่อยหญิง ไทยให้สามารถทำงานนอกบ้าน เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้นเเละชีวิตที่ดีกว่า แรงงานข้ามชาติหญิงหลายคน เผชิญการละเมิดในบ้านที่เธอถูกกักกันไว้มิให้ออกสู่โลกภายนอก คุณูปการที่แรงงานข้ามชาติมีต่อเศรษฐกิจ ไทย สามารถคำนวณเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจนปราศจากข้อกังขา เเม้กระทั่งนักเศรษฐศาสตร์จากธนาคาร โลกก็ยืนยันความจริงข้อนี้

ผู้กำหนดนโยบายระดับอาวุโสของไทยย้ำว่าตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา แรงงานข้ามชาติ "ผิดกฎหมาย" เหล่านี้ เป็นเพียงแรงงานชั่วคราว ดังนั้นจึงกำหนดนโยบายที่ไม่เป็นองค์รวม เช่น โครงการ "จดทะบียน" แรงงาน ข้ามชาติรายปี ที่ใช้อำนาจมติคณะรัฐมนตรี ที่ถือว่าเป็นนโยบายที่เพียงพอต่อการเเก้ปัญหาเพื่อ ควบคุม แรงงานข้ามชาติเข้าเมืองและพำนักอาศัย "ผิดกฎหมาย" ให้สามารถทำงานได้อย่าง "ถูกกฎหมาย" เพื่อรอ การผลักดันออกนอกประเทศตามกำหนดที่ประเทศไทยเป็นผู้ตัดสินใจ เมื่อไทยไม่สามารถรับมืออย่างเป็น ทางการกับแรงงานที่ทะลักข้ามชายแดนเข้ามาในไทย ตามความต้องการแรงงานไร้ฝีมือในประเทศ เท่ากับ เจ้าหน้าที่รัฐละเลยปล่อยให้เครือข่ายลักลอบนำพาคนเข้าเมืองผิดกฎหมายการค้ามนุษย์ เเละนายหน้า เเรงงานข้ามชาติเกิดขึ้นและรุกล้ำพื้นที่เข้ามาเรื่อยๆ

ความจริงเเล้ว การขึ้นทะเบียนแรงงานข้ามชาติชั่วคราวเกิดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2531 ครอบคลุมแรงงานข้ามชาติ กว่าสองล้านคน แรงงานกว่าร้อยละ 80 เป็นแรงงานจากพม่า เเละยังคงเป็นแรงงานผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ ระดับอาวุโสจึงใช้สถานะ "ผิดกฎหมาย" เป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน แรงงานที่ "จดทะเบียน แล้ว" ถูกปฏิเสธสิทธิต่างๆ รวมถึงสิทธิในการเข้าถึงค่าชดเชย การพื้นฟูสมรรถภาพ เเละการขึ้นทะเบียน เป็นผู้พิการ เมื่อประสบอุบัติเหตุจากการทำงาน สิทธิในการจดทะเบียนสมรส ขับขี่จักรยานยนต์ เดินทางออกนอกจังหวัดที่จดทะเบียน หรือถือครองทรัพย์สิน ทว่ามีการปฏิเสธข้ออ้างว่า ประเทศไทยเลือก ปฏิบัติอย่างเป็นระบบและโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อแรงงานข้ามชาติ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานถูกต้องตาม กฎหมายอย่างเเข็งขันเสมอๆ

เหยื่อของนโยบายบริหารการอพยพเเบบไม่เป็นองค์รวม คือแรงงานข้ามชาติหลายแสนคน ที่อาศัยอยู่ใน ประเทศไทยเป็นการ "ชั่วคราว" มากกกว่าทศวรรษ แรงงานข้ามชาติส่วนมากเข้ามาในประเทศไทยเมื่ออายุ ยังน้อย ตามธรรมชาติ พวกเขาย่อมมีคู่ครอง แต่งงานเเละมีทายาท รัฐกลับตอบโต้อย่างเป็นทางการด้วย การสร้างภาพแรงงานข้ามชาติเป็นผู้ร้ายเเละเผยเเพร่เเนวคิดให้ซึมซาบเข้าไปในสังคม โดยการโฆษณา ชวนเชื่อให้เห็นว่า แรงงานข้ามชาติหญิงที่ตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อสังคม เเละลูกๆ ของแรงงานข้ามชาติ ที่เป็นเด็กไร้รัฐ จะเป็นภาระที่เเย่งชิงทรัพยากรกับคนไทย เเม้นโยบายที่ขู่ว่าจะดำเนินการผลักดันแรงงาน ข้ามชาติหญิงที่ตั้งครรภ์ออกนอกประเทศยังไม่เป็นผล เเละมีพัฒนาการทางบวกเกิดขึ้นในวงจำกัด ลูกของ เเรงงานข้ามชาติส่วนมากยังไม่ได้รับการจดทะเบียน ไม่ได้รับการศึกษา เเละไม่มีนโยบายที่ชัดเจนสำหรับ พวกเขา
 
เจ้าหน้าที่รัฐยังมองว่ากระเเสแรงงานข้ามชาติเข้าสู่ประเทศไทยเป็นภัยความมั่นคงร้ายแรงของชาติอีกด้วย ทำให้ต้องตั้งคำถามว่า "ความมั่นคงของชาติ" หมายความว่าอย่างไร ความมั่นคงของชาติ คือการปล่อยให้ การทุจริตในการบริหารเเรงงานข้ามชาติดำเนินต่อไปอย่างกว้างขวาง บ่อนทำลายหลักนิติรัฐ ปล่อยปละ แรงงานข้ามชาติกว่าสองล้านคน ที่เข้ามาเป็นแรงงานร่วมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ตอบสนองความต้องการ เเละความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างรุนเเรง ถ้าแรงงานข้ามชาติเป็น ภัยความมั่นคงจริง ทำไมความมั่นคงของไทยยังเข้มเเข็งอยู่จนทุกวันนี้ เเต่ถ้า "ความมั่นคงของชาติ" รวมถึง ความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นฐานที่สุดสำหรับแรงงานข้ามชาติ เเละระบบบริหารการอพยพอย่างเป็น ทางการ ที่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ประชากรไทย นายจ้าง และเเรงงานข้ามชาติอย่างเท่าเทียมแล้ว ก็นับได้ว่า ความมั่นคงของไทยตกอยู่ในความเสี่ยงใหญ่หลวง

ความตึงเครียดทางสังคมระหว่างแรงงานข้ามชาติเเละเจ้าบ้านไทยในหมู่บ้านต่างๆทั่วประเทศเพิ่มขึ้น เพราะ ประชาชนไทยมีความเข้าใจเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติน้อยมาก ชาวไทยยังไม่ค่อยเข้าใจว่า แรงงานข้ามชาติ เป็นใคร ทำไมจึงอพยพเข้ามา เเละทำไมชุมชนไทยจึงถูกกลืนตามทัศนคติของชาวบ้าน กรณีที่เห็นได้ชัดคือ เมื่อชาวระนองออกมาประท้วงเรียกร้องให้ระงับการออกใบขับขี่รถจักรยานยนต์ให้แรงงานข้ามชาติที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ สื่อสารมวลชนใช้อำนาจในมือโดยขาดความรับผิดชอบเเละเเฝงอคติ จนสร้างภาพแรงงาน ข้ามชาติให้เป็นผู้ร้าย อันเป็นการสนับสนุนสารอย่างเป็นทางการที่รัฐไทยต้องการสื่อว่า แรงงานข้ามชาติ เป็นภาระที่ประเทศไม่ต้องการ หากไม่มีอคติมาบังตา การกล่าวหาว่าแรงงานข้ามชาติเป็นภาระมากกว่า ประโยชน์สำหรับไทยไม่เป็นความจริง เพราะแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนต้องจ่ายค่าบริการ สำหรับบริการ ที่มาตรฐานด้อยกว่าปกติ ถูกปฏิเสธสิทธิในสวัสดิการสังคม เเละรัฐบาลมีนโยบายเพื่อจะพัฒนาคุณภาพชีวิต เเรงงานข้ามชาติน้อยมาก

ข้อโต้แย้งว่าค่าจ้างแรงงานข้ามชาติสูงกว่าประเทศต้นทางมาก เเละพวกเขาโชคดีเพียงใดที่ได้อาศัยอยู่ใน ประเทศไทย เเม้จะเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย ไม่ควรเป็นข้ออ้างที่ปกปิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ประเทศไทย ไม่เคารพหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มอำนาจให้นายจ้างสามารถจ้างแรงงานราคาถูก โดยยึด ประโยชน์ในการเเข่งขันทางเศรษฐกิจเป็นที่ต้ัง เเละสามารถแสวงประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติไร้ ฝีมือ ได้อย่างง่ายดาย การชี้ช่องว่าแรงงานข้ามชาติกำลังแย่งงานคนไทยเป็นการโยนบาปผิดที่ผิดทาง เนื่องจาก นายจ้างเป็นปัจจัยดึงการอพยพของแรงงานเข้าประเทศ ความล้มเหลวที่จะปฏิรูปกระบวนการผลิตให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิผล เเทนการพึ่งพาแรงงานราคาถูก ที่ประเทศไทยไม่สามารถเเสวงหาเเรงงานได้เอง ท้าย ที่สุดจะทำวห้ประเทศไทยเป็นรองในการเเข่งขันทางเศรษฐกิระดับโลก อนาคตทางเศรษฐกิจโลกอีก 20 ปีข้างหน้าจะเเตกต่างจากปัจจุบันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นนโยบายด้านแรงงานข้ามชาติของรัฐบาลไทยจำเป็น ต้องเปลี่ยนแปลง อีกไม่นานประเทศไทยจะไม่สามารถเเข่งขันกับคู่เเข่งทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ในด้านการ ผลิตสินค้าในราคาต่ำ เเละผู้บริโภคทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญกับจริยธรรมในการผลิต เเละลดการซื้อสินค้า ที่มาจากการผลิตที่ขูดรีด

บางคนอาจให้เครดิตว่ารัฐบาลไทยมียุทธศาสตร์ ที่วางแผนมาตั้งเเต่ พ.ศ. 2542 แต่เพิ่งนำมาปฏิบัติ เมื่อไม่นานมานี้ ยุทธศาสตร์เพื่อจัดการการอพยพที่ไม่ปกติอย่างเป็นทางการเเบ่งเป็นสามขั้น ขั้นเเรก จะเปิดให้แรงงานข้ามชาติเข้าเมือง "ผิดกฎหมาย" ในประเทศไทยพิสูจน์สัญชาติ เเละทำหนังสือเดินทาง ชั่วคราว เพื่อปรับสถานะให้ถูกกฎหมาย ขั้นที่สอง จะนำเข้าแรงงานข้ามชาติกลุ่มใหม่ เพื่อรองรับความขาด เเคลนเเรงงาน ตามการคำนวณจำนวนแรงงานที่ต้องการอย่างเคร่งครัด เเละตามข้อตกลงที่รัฐบาลไทย ทำไว้กับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้าน เเละขั้นที่สามจะจดทะเบียนแรงงาน "ผิดกฎหมาย" ที่อยู่ในประเทศไทย ให้เป็นแรงงานที่สามารถทำงานได้อย่าง "ถูกกฎหมาย" เป็นการชั่วคราว จนกว่าขั้นที่หนึ่งเเละขั้นที่สองจะ ประสบผลสำเร็จ ทว่าดูเหมือนพลังด้านลบที่ฝังอยู่ในระบบการบริหารแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย ยังไม่คลายความเข้มเเข็ง เเละเป็นแรงต้านที่ทรงพลัง ทำให้ขั้นตอนอย่างเป็นทางการทั้งสองขั้นไม่ประสบ ความสำเร็จ

ตั้งเเต่พ.ศ. 2545 ที่เปิดช่องทางนำเข้าแรงงานข้ามชาติถูกกฎหมายเป็นครั้งเเรก จนถึงปัจจุบัน มีแรงงาน ข้ามชาติที่นำเข้ามาเพียง 25,000 คน (เฉลี่ยประมาณ 3,000 คนต่อปี ) กระบวนการพิสูจน์สัญชาติยังคง ไม่โปร่งใสเเละมีค่าใช้จ่ายสูง แรงงานข้ามชาติกว่าสองล้านคน ในประเทศไทยเเสดงความประสงค์จะเข้าสู่ กระบวนการพิสูจน์สัญชาติภายในเส้นตายวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 พร้อมมีมาตรการรองรับที่ขู่จะจับกุม เเละผลักดันแรงงานข้ามชาติที่ไม่เข้าสู่ประบวนการพิสูจน์สัญชาติครั้งใหญ่ การทำงานที่ใช้การข่มขู่บังคับ โดยเฉพาะผลกระทบต่อกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มน้อยจากประเทศพม่าถูกองค์การสหประชาชาติประนาม

หากสามารถ "พิสูจน์" ได้ว่าแรงงานส่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ตรงกับความเป็นจริงให้ประเทศต้นทาง แรงงาน ประมาณหนึ่งล้านคนที่ต้องเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติให้เเล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 อีกไม่นานรัฐบาลไทยจะตระหนักว่าแรงงานข้ามชาติจำนวนไม่น้อยจงใจกรอกข้อมูลเท็จ โดยเฉพาะกลุ่มที่ เป็นแรงงานชาติพันธุ์กลุ่มน้อยจากประเทศพม่า เพื่อต่ออายุการอาศัยในประเทศไทยไปอีกสองปี เนื่องจาก ความกลัวเเละสับสน เพราะกระทรวงแรงงานไทยไม่สามารถประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับ การพิสูจน์สัญชาติเเก่แรงงานข้ามชาติ เเละนายจ้างก่อนประกาศเส้นตาย

ปฏิบัติการเชิงสัญลักษณ์ต่อเเรงงานข้ามชาติของประเทศไทยคือการเเสวงประโยชน์จากนายหน้า ทั้งใน กระบวนการพิสูจน์สัญชาติเเละระบบนำเข้าเเรงงานใหม่ นายหน้าเป็นความจำเป็นเมื่อกระบวนการทั้งสอง ซับซ้อน หากประเทศไทยต้องการรับความท้าทายจากแรงงานข้ามชาติเข้าเมืองผิดกฎหมายอย่างจริงจัง ควรลดค่าใช้จ่ายจากการใช้นายหน้าเพื่อสร้างเเรงจูงใจให้แรงงานข้ามชาติเเละนายจ้างปฏิบัติตาม ทว่าระบบ นายหน้าที่เป็นอยู่ยังปราศจากการควบคุมในทางปฏิบัติ เเม้ว่ามีการกำหนดเพดานราคาสูงสุด อย่างไม่เป็น ทางการโดยกระทรวงเเรงงาน เเต่ค่าบริการก็ยังสูงถึงระดับที่อาจเรียกได้ว่าเป็นการขูดรีด สำหรับนายจ้าง เเละลูกจ้าง มีข่าวลือเเพร่สะพัดว่าใครอยู่เบื้องหลังบริษัทเหล่านี้ นายหน้าเเสวงกำไรขณะสร้างภาระ ให้แรงงานข้ามชาติที่ได้รับค่าแรงน้อยอยู่เเล้ว เป็นการสร้างสถานการณ์ที่เอื้อต่อการเอาคนลงเป็นทาสเพื่อ ใช้หนี้

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก้าวเข้ามาจัดการเรื่องแรงงานข้ามชาติ โดยลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี เรื่อง "การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจปราบปราม จับกุม เเละดำเนินคดีแรงงาน ข้ามชาติ ที่ไม่เเสดงความประสงค์จะพิสูจน์สัญชาติ ภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553" การปราบปราม แรงงานข้ามชาติที่เกิดขึ้นหลังประกาศฉบับนี้ เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลไทย เพื่อบริหารแรงงาน ข้ามชาติอย่างเป็นทางการ โดยการจับกุมและผลักดันผู้ที่ไม่เข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติออกนอกประเทศ เพื่อให้ได้รับการนำเข้ามาใหม่อย่างถูกกฎหมาย ผลพวงจากคำสั่งนี้คือ มีหลักฐานชัดเจนว่า เจ้าหน้าที่ ตำรวจเเละเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องดำเนินนโยบาย "จับเเละรีดไถ" ทั้งแรงงานที่จดทะเบียนเเละไม่จดทะเบียน สื่อนานาชาติกำลังจับตามองการผลักดันออกนอกประเทศที่ไม่มีมาตรฐานเป็นทางการ เช่น การผลักดัน ผู้คน เหล่านี้กลับประเทศพม่ากลายเป็นการลักลอบนำพาแรงงานข้ามชาติกลับเข้าไทย เเละวงจรอุบาทว์ที่เต็ม ไปด้วยการรีดนาทาเร้นเเละการค้ามนุษย์ ซึ่งนายหน้าค้ามนุษย์ เจ้าหน้าที่รัฐ เเละกองกำลังติดอาวุธ ในแม่สอด/เมียวดีเเละที่ระนอง/ เกาะสอง มีบทบาทอย่างมาก

ท่ามกลางการประกาศเพิ่มความเข้มข้นในการปราบปรามแรงงานที่ไม่จดทะเบียน ดังที่รองนายกรัฐมนตรี เเถลงต่อสาธารณะ เเละการยืนยันจากรัฐบาลไทยว่าจะไม่เปิดโอกาสให้เเรงงานข้ามชาติที่ไม่จดทะเบียน ในประเทศไทยได้จดทะเบียนอีกเเล้ว ยกเว้นจะกลับประเทศต้นทางเเละเข้ามาใหม่อย่างถูกกฎหมาย เมื่อไม่นานมานี้ กระทรวงแรงงานกลับประกาศว่า มีเเผนจะเปิดการจดทะเบียนรอบใหม่ให้แรงงานข้ามชาติ ที่ไม่จดทะเบียนอีกครั้ง ถือเป็นการกลับลำทางนโยบายเนื่องจากการขาดแคลนแรงงานไร้ฝีมือ เเม้นโยบาย นี้เป็นที่น่ายินดี เเต่วงจรของการบริหารเเรงงานข้ามชาติอย่างย่ำเเย่ก็หมุนมาบรรจบที่เดิมอีกครั้ง

การเลือกปฏิบัติอย่างเป็นระบบต่อแรงงานข้ามชาติยังดำเนินต่อไป พร้อมความเข้มข้นของอคติ เเละความตึง เครียดทางสังคมที่เพิ่มขึ้น ไม่มีการจัดการการทุจริตเเละนายหน้าเเข็งเเกร่งกว่าเดิม แรงงานข้ามชาติ ยังถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบ ถูกเจ้าหน้าที่รัฐเเสวงประโยชน์อย่างเป็นระบบ (โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ตำรวจ เเละเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่พึงปกป้องเเรงงานข้ามชาติ) เเละยังต้องเเบกภาระค่าใช้จ่ายการเข้าสู่กระบวนการ เปลี่ยนสถานะให้ถูกกฎหมาย ทั้งหมดนี้เป็นภาระสาหัสที่สร้างประโยชน์แก่แรงงานข้ามชาติน้อยมาก เช่น ประสบการณ์ของเเรงงานข้ามชาติพันกว่าคน ในโรงงานเเห่งหนึ่งที่จังหวัดขอนเเก่น ที่นัดหยุดงาน เเม้แรงงานเหล่านี้จะผ่านการพิสูจน์สัญชาติ เเต่ได้รับสิทธิเพียงน้อยนิด จนเเรงงานข้ามชาติทนไม่ได้ อีกต่อไป

เจ้าหน้าที่รัฐระดับอาวุโสบอกกันเสมอว่า บัดนี้ถึงเวลาเเล้วที่จะแก้ปมยุ่งเหยิงเรื่องเเรงงานข้ามชาติด้วย เหตุผล โดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ควบคู่ไปกับความต้องการทางเศรษฐกิจเเละความมั่นคงของชาติ คณะกรรมาธิการด้านแรงงาน สภาผู้เเทนราษฎรร่างกฎหมายแรงงานข้ามชาติใหม่ เเละนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกล่าวว่า การสำมะโนประชากรปีนี้จะทำให้ทราบจำนวนแรงงานข้ามชาติที่เเท้จริง เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายแรงงานข้ามชาติในอนาคต เเม้มีหลักฐานว่าทีมสำมะโนประชากรอาจ ประสบ ความยากลำบากในการค้นหาเเรงงานข้ามชาติ เพราะนายจ้างยังซุกซ่อนเเละปกปิดเเรงงาน ข้ามชาติเป็นอย่างดี

กระเเสการอพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายผ่านไปกว่า 20 ปี เเรงงานข้ามชาติสักกี่คนได้ประสบชะตากรรม เช่นเดียวกับอาวา ที่เเม้ตายก็ยังไม่ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกับคนอื่น เมื่อคิดถึงเรื่องนี้ก็อดไม่สบายใจไม่ได้ แรงงานข้ามชาติยังนิ่งเงียบเเละขาดการรวมกลุ่ม เเม้จะเผชิญการเอารัดเอาเปรียบมากมาย มีเพียงเเรงงาน ข้ามชาติจำนวนน้อยนิดที่สามารถต่อสู้เเละเข้าถึงความยุติธรรม เเม้ว่าเอ็นจีโอจำนวนมากหาทางช่วยเหลือ ภาพรวมของเเรงงานข้ามชาติไร้ฝีมือในประเทศไทยยังคงสิ้นหวัง จนกว่ารัฐบาลไทยจะให้ความสำคัญ กับพวกเขาอย่างเร่งด่วน

อาจเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่จะนำเรื่องคุณธรรมเข้าสู่ประเด็นการบริหารเเรงงานข้ามชาติในประเทศไทย เนื่องจากแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่มาจากพม่า แกะดำของอาเซียน เเละสัญลักษณ์ของระบอบการปกครอง ที่ไม่เป็นประชาธิปไตยด้วยประการทั้งปวง อาจยอมรับได้ว่ารัฐบาลไทย ไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบกับรากเหง้า ของปัญหาแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมาย ที่ไหลบ่าเข้ามาในไทยทั้งหมด เเต่ประเทศไทยก็เก็บเกี่ยวผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับแรงงานข้ามชาติเป็นจำนวนมหาศาล เพราะสามารถแสวงประโยชน์กับเเรงงาน ข้ามชาติพม่าจำนวนมากได้อย่างง่ายดาย การรับภาระจึงมาพร้อมราคาที่ต้องจ่ายด้วย

หากประเทศไทยยังคงละเลยแรงงานข้ามชาติเหล่านี้เเละค้ากำไรโดยไม่ทำตามหน้าที่ที่จะปฏิบัติต่อแรงงาน ด้วยดี เราอาจสรุปได้ว่า อย่างน้อยการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติก็ประสบ ความสำเร็จในการผลิต เเละธำรงพื้นที่ทางสังคมเขตหนึ่งให้เป็นพื้นที่ผิดกฎหมายดังที่เราเห็นทุกวันนี้ เพื่อเป็นพื้นที่เบียดขับให้ แรงงานข้ามชาติตกหล่นจากระบบการคุ้มครองพื้นฐาน นิติรัฐ เเละถูกปฏิเสธเเม้สิทธิมนุษยชนพื้นฐาน นโยบายของไทยเป็นบ่อเกิดให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบที่ไร้คุณธรรมต่อเเรงงาน "ชั่วคราว" ถึงเวลาเเล้วที่ ประเทศไทยควรได้รับการประณามเพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนร้ายเเรงต่อชาวพม่า ซึ่งปกติเเล้วเคย เกิดขึ้นโดยน้ำมือของเผด็จการจากประเทศเพื่อนบ้านเท่านั้น

อานดี้ ฮออล์ เป็นที่ปรึกษามูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนเเละการพัฒนา เเละดำรงตำเเหน่งผู้อำนวยการโครงการ ยุติธรรมเเรงงานข้ามชาติ ตั้งเเต่ พ.ศ. 2550-2553


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net