วันแรงงานข้ามชาติสากล: ก้าวไปข้างหน้าพร้อมนโยบายแรงงานข้ามชาติไทย

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

วันที่ 18 ธันวาคม 2553 เป็นวันครบรอบ 20 ปีของอนุสัญญาการคุ้มครองสิทธิเเรงงานข้ามชาติเเละครอบครัว (ICRMW) ที่มีจุด เริ่มต้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2533 อนุสัญญานี้คุ้มครองสิทธิแรงงานข้ามชาติเเละครอบครัวตั้งเเต่การจ้างงาน การเตรียมตัวย้ายถิ่น ระหว่างเดินทาง ระหว่างการทำงานต่างประเทศ ตลอดจนเมื่อเดินทางกลับเเละกลับคืนสู่ชุมชนประเทศต้นทางเเละตระหนักถึง สิทธิของผู้อ่อนเเอเป็นพิเศษเช่น ผู้หญิง เด็ก เเละกลุ่มชาติพันธุ์ ที่อาจถูกเเสวงหาผลประโยชน์ เลือกปฏิบัติ เเละต้องการการคุ้มครอง เป็นกรณีพิเศษ ตั้งเเต่พ.ศ. 2543 วันที่ 18 ธันวาคม จึงเป็นวันเเรงงานข้ามชาติสากลด้วย

ปัจจุบันอนุสัญญามีรัฐภาคี 44 ประเทศเเละมีรัฐที่ลงนามในอนุสัญญา 15 ประเทศ ส่วนมากเป็นประเทศที่ส่งออกเเรงงานข้ามชาติ ในกลุ่มประเทศอาเซียน มีกัมพูชา อินโดนีเซีย เเละฟิลิปปินส์ เท่านั้นที่ลงนาม ส่วนประเทศอื่นๆ ที่มีข่าวการเเสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติอย่างเป็นระบบเช่นไทยเเละมาเลเซีย อนุสัญญาดังกล่าวน่าจะเป็นความหวังของเเรงงานข้ามชาติเพราะจะให้การคุ้มครองสิทธิที่พึงได้ เเต่เเรงงานข้ามชาติมักจะไม่ได้รับ ในวันเเรงงานข้ามชาติสากลนี้ จึงควรส่งเสริมให้รัฐลงนามอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองเเรงงานข้ามชาติและครอบครัวด้วย

ประเทศไทยมีแรงงานข้ามชาติประมาณ 2 ล้านคน ส่วนมากอพยพหนีความขัดเเย้งระหว่างชาติพันธุ์เเละความขัดเเย้งทางการ เมืองมาจากพม่า แรงงานข้ามชาติมักถูกเลือกปฏิบัติในการเข้าถึงกองทุนเงินทดแทน สวัสดิการของผู้พิการ ถูกจำกัดสิทธิในการ เดินทางเเละการรวมตัวเพื่อต่อรองตามกฎหมาย เเม้เเรงงานข้ามชาติจะมีสิทธิตามกฎหมายเช่นเดียวกับเเรงงานไทยเเต่ส่วนมาก ไม่ตระหนักถึงสิทธินี้พอที่จะทัดทานนายจ้างซึ่งไม่สนใจกฎหมาย แรงงานหญิงเเละบุตรเป็นเป้าการโจมตีทางสังคม เนื่องจากถูกตีตราว่าเป็นภาระด้านสุขภาพเเละการศึกษา ประเด็นการใช้ภาษาพม่าในเอทีเอ็มบางพื้นที่เเละการออกใบขับขี่ให้เเรงงานข้ามชาติ ยังเป็นประเด็นร้อนในปีนี้

เส้นตายการพิสูจน์สัญชาติเดือนกุมภาพันธ์ขาดการประชาสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ แรงงานข้ามชาติเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ สัญชาติที่ยุ่งยากเป็นประเด็นที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิผู้อพยพวิจารณ์ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนจากนโยบายของรัฐบาลไทย เเละ จะมีแรงงานอีก 1.4 ล้านคนที่ดำเนินการไม่ทันตามเวลาที่กำหนด เเรงงานข้ามชาติ 1 ล้านคน เเสดงความประสงค์พิสูจน์สัญชาติ เเละมีเวลาถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อพิสูจน์สัญชาติให้เสร็จสิ้น รัฐบาลมีนโยบายจะผลักดันผู้ไม่พิสูจน์สัญชาติออกนอกประเทศ เเต่แรงงานย่อมหาทางกลับประเทศไทยได้ทันทีโดยใช้บริการจากนายหน้า เพื่อเปลี่ยนสภาพตนเองเป็นเเรงงานนำเข้าตาม MOU ที่ถูกกฎหมาย

นโยบายกวาดล้างแรงงานข้ามชาติไม่ได้ทำให้เเรงงานข้ามชาติที่ไม่จดทะเบียนถูกผลักดันกลับจำนวนมากก็จริง เเต่เเรงงานที่ถูก ผลักดันออกนอกประเทศ โดยเฉพาะเเรงงานพม่า เสี่ยงต่อการเป็นเหยื่อการค้ามนุษย์เเละลักลอบนำพาคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จนองค์กรสิทธิมนุษยชนได้เรียกร้องให้องค์การสหประชาชาติตรวจสอบ

เเม้นายกรัฐมนตรีลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรีสองฉบับ เมื่อเดือนตุลาคม 2553 ฉบับหลังยกเลิกฉบับเเรก เพื่อให้สอดรับกับการ เชื่อมโยงการผลักดันเเรงงานออกนอกประเทศเเละการค้ามนุษย์ เป็นความพยายามที่น่าพอใจ เเต่การทุจริตเเละใช้อำนาจโดย มิชอบอย่างเป็นระบบ ระบบนายหน้า อาชญากรค้ามนุษย์เเละลักลอบนำพาคนเข้าเมืองที่มีอยู่กว้างขวางเเละยาวนานกว่า 20 ปี ร่วมกับการทุจริตของเจ้าหน้าที่ที่ควรปกป้องความมั่นคงของรัฐเเละเเรงงานข้ามชาติ อาจทำให้นโยบายของรัฐไม่ได้ผล ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงต้องร่วมมือกันเพื่อจัดการวงจรนอกกฎหมายที่ทำลายหลักนิติรัฐเป็นอันดับเเรก

การนำเข้าเเรงงานตาม MOU ระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ยังไม่มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งเเต่ พ.ศ. 2548 มีเเรงงานนำเข้ามาเพียง 30,000 คน เป็นเเรงงานจากพม่า 700 คน ส่วนหนึ่งเนื่องจากราคาการนำเข้าผ่านนายหน้าสูงมาก ปลายปี 2553 มีแรงงานผ่านการพิสูจน์สัญชาติประมาณ 250,000 คนเท่านั้น ในจำนวนนี้บางส่วนเป็นเเรงงานข้ามชาติพม่า ที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติ เเละขออนุญาตทำงานในประเทศไทยถูกต้องตามกฎหมาย

นโยบายการบริหารจัดการเเรงงานข้ามชาติยังไม่มีเสถียรภาพ เเละยังพบการละเมิดสิทธิเเรงงานข้ามชาติโดยทั่วไป ทุกวันนี้ยังไม่ มีระบบรองรับการจัดการเเรงงานหลังการปรับสถานะให้เป็นเเรงงานถูกกฎหมาย ดังนั้นควรเร่งรัดกำหนดนโยบายระยะยาวที่เป็น เอกภาพเเละหน่วยงานกลางเพื่อทำหน้าที่เชิงบูรณาการในการบังคับใช้นโยบายนี้ เช่น หน่วยงานอิสระที่ทำหน้าที่วิจัยเเละพัฒนา นโยบาย ขึ้นตรงกับสำนักนายกรัฐมนตรี เเทนที่คณะกรรมการบริหารเเรงงานต่างด้าว (กบร.) เเละหน่วยงานอื่นๆ ที่เเยกกันทำงาน โดยไม่เป็นองค์รวม

การกำหนดนโยบายแรงงานข้ามชาติต้องคำนึงว่าเเรงงานข้ามชาติเป็นมนุษย์ที่มีความต้องการต่างๆ เช่นเดียวกับมนุษย์ทั่วไป มิใช่ เครื่องจักร หรือสินค้า เพื่อการผลิต ดังนั้นนโนบายควรคำนึงถึงความต้องการของเเรงงาน เช่นเดียวกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ เเละสังคมของประเทศ การผนวกประเด็นแรงงานข้ามชาติในแผนพัฒนาเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติฉบับที่ 11 น่าจะเป็นแนวทางที่ดี ในการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ ความมั่นคงเเห่งชาติ เเละความมั่นคงของมนุษย์

ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนแรงงานมีฝีมือเเละเเรงงานไร้ฝีมือจำนวนมาก เเละอีกไม่นาน ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจาก การเป็นสังคมชราภาพที่อัตราการเกิดต่ำกว่าความต้องการเเรงงาน    ดังนั้นเเรงงานข้ามชาติจากประเทศเพื่อนบ้านจึงเป็นปัจจัย การผลิตที่สำคัญมากขึ้น การตระหนักรู้ถึงคุณประโยชน์ของเเรงงานข้ามชาติต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งในอดีต ปัจจุบัน เเละอนาคต    ย่อมเป็นก้าวเเรกที่สำคัญที่จะกระตุ้นให้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR) การหวังพึ่งพาเเรงงานราคาถูก เเละการเเสวงประโยชน์จากเเรงงานเพื่อลดต้นทุนการผลิต เพื่อสร้างความได้เปรียบในการส่งออก มีเเต่จะส่งผลร้ายต่อธุรกิจไทยในระยะยาวในการเเข่งขันระดับโลก

เเรงงานข้ามชาติเริ่มเข้าใจว่าหน้าที่ที่ต้องเเลกมาด้วยเงินจำนวนมาก เช่น การพิสูจน์สัญชาติ จ่ายเงินเข้ากองทุนส่งกลับเเรงงาน ข้ามชาติ เเละประกันสังคม เพื่อเข้าสู่การเป็นเเรงงานถูกกฎหมาย ทำให้เขามีสิทธิได้รับการคุ้มครองจากรัฐ ที่ต้องเคารพสิทธิของเเรงงานด้วย นักกิจกรรมด้านแรงงานรู้สึกว่าเเรงงานจำนวนหนึ่งที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติเข้าสู่การจ้างงานถูกกฎหมายเเละมี หนังสือเดินทางมีความมั่นใจที่จะเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายมากขึ้น กรณีลูกจ้างเกือบ 1,000 คนที่โรงงานเเห่งหนึ่งในขอนเเก่น ชุมนุมเรียกร้องสิทธิของตนจะเกิดบ่อยขึ้น รัฐบาลสามารถดำเนินการมิให้เกิดเหตุเช่นนี้ โดยกำกับดูเเลให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง กับแรงงานข้ามชาติปฏิบัติตามกฎหมาย

หากประเทศไทยต้องการรับมือปัญหาเเรงงานข้ามชาติอย่างเป็นองค์รวมเเละเคารพสิทธิมนุษยชน ใน พ.ศ. 2554 ย่อมเป็นโอกาส อันดีที่จะได้รับชื่อเสียง การลงนามในอนุสัญญาการคุ้มครองสิทธิเเรงงานข้ามชาติเเละครอบครัวในโอกาสที่อนุสัญญาครบรอบ 20 ปีย่อมเป็นโอกาสที่ดี และระหว่างที่ประเทศไทยเป็นประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเเห่งสหประชาชาติ ประเทศไทยจึงควรให้ ความสำคัญเเละพยายามให้มากขึ้น ทั้งนี้ต้องไม่ลืมการมีส่วนร่วมผลักดันให้ประเทศต้นทางร่วมจัดการปัญหาเเรงงานข้ามชาติด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
เรื่องที่เกี่ยวข้อง
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท