Skip to main content
sharethis
8 มี.. 54 - เนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี วันสตรีสากล มูลนิธิเพื่อแรงงานหญิงและโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ได้จัดทำบทสัมภาษณ์พิเศษ “ร้อยปีสตรีสากล ร้อยเรียงการต่อสู้ของขบวนการแรงงานหญิงในประเทศไทย” โดยการพูดคุยกับผู้หญิงในขบวนการแรงงานและขบวนการชาวบ้าน
 
 
อรุณี ศรีโต
อดีตผู้นำสหภาพแรงงานไทยเกรียง / อดีตประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี
 
 
“อรุณี ศรีโต” หรือ “ป้ากุ้ง” นักสหภาพแรงงานหญิงที่ผ่านประสบการณ์การต่อสู้มาตั้งแต่ในสมัย 14 ตุลาคม 2516 เธอเป็นนักสหภาพแรงงานจากสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียง ย่านพระประแดงและใกล้เคียง ป้ากุ้งเกิดที่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี เมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.. 2496 อาชีพดั่งเดิมของครอบครัวก็ทำนา พอป้ากุ้งอายุได้ 17 ปี ก็ออกเดินทางมาทำงานยังพระประแดง ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมหลักในขณะนั้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งป้ากุ้งได้เดินทางเข้ามาทำงานยังโรงงานไทยเกรียง
 
“พี่เป็นแรงงานอพยพ รุ่นแรกในหมู่บ้านเลย คนอื่นไม่มีใครออกมาเลย มีคนที่อยู่พระปะแดงมาช่วยไปทำงานกันเถอะ ได้วันละ 10 สมัยนั้น ค่าจ้างปี พ..2514 เขา ก็ว่าลองไปทำดู ลองซักสามเดือน ก็ลองชวนกันมาทำดู สามคนเป็นผู้หญิงหมด ญาติที่พระประแดงเขาก็พาไปสมัคร สมัครวันนี้ พรุ่งนี้ให้ทำแล้ว”
 
ป้ากุ้งเล่าว่าตอนแรกตั้งใจว่าจะทำ 3-4 เดือนแล้วจะก็กลับบ้าน แต่เอาเข้าจริงแล้วก็อยู่นานทำงานยาว พอทำงานได้ 2 ปี ก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ขึ้น
 
“ตอน ที่อยู่ที่บ้านสตุ้งสตางค์มันก็ไม่ค่อยมีนะ เงินทองไม่ค่อยมี แต่อาหารการกินไม่อดนะ สมัยนั้น ในชนบท แต่เรื่องเงินทอง ไปขายมะพร้าว นานๆ ที จะได้ซะ 20 30 บาท แต่พอมีคนมาชวนให้ไปทำ ได้วันละ 10 บาท ได้ทุกวัน ก็มาเลยตอนแรกก็ตั้งใจจะอยู่ สั้นๆ แต่ทำไปทำมาก็อยู่นาน พออยู่ได้สองปี มันก็มีเรื่อง 14 ตุลา 16 เขาก็บอกว่ากรรมกร ช่วยกัน ไทยเกรียงก็ปิดโรงงานมาเลย”
 
ป้า กุ้งเล่าถึงสถานการณ์ช่วงนั้น โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของขบวนการแรงงานและนักศึกษาที่มีพลังมาก โดยหลังจากการเรียกร้องประชาธิปไตยสำเร็จ เราก็ได้ พ... แรงงานสัมพันธ์ 2518 ส่วนคนงานไทยเกรียงก็ยังคงมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมอยู่เรื่อยมาหลังเหตุการณ์ 14 ตุลา โดยในปี พ.. 2523 สหภาพ แรงงานไทยเกรียงจึงได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง ทั้งนี้คนงานหญิงในไทยเกรียงยังเคยต่อสู้เรื่องประเด็นเท่าเทียมทางเพศด้วย เช่นกัน
 
“หลังจากนั้นเราก็มีการนัดหยุดงานเฉยๆ สอง สาม ครั้ง ในโรงงาน หลัง 14 ตุลา ปี 16 ผู้ชายเขาจะเป็นคนนำ แต่เรามาจดทะเบียนสหภาพจริงๆ ปี พ.. 2523 ปี พ.. 2520 ผู้หญิงไทยเกรียงเขาสไตรค์กัน ด้วยเหตุผลว่าโรงงานจ่ายแต๊ะเอียไม่เท่ากันกับผู้ชาย คือผู้หญิงได้ 10 แรง ค่าจ้าง 20 บาท ก็จะได้ 200 บาท ผู้หญิงเขาก็บอกว่าทำไมโรงงานถึงให้แต๊ะเอีย ผู้ชาย 50 แรง ของค่าจ้าง แต่เขาก็ให้แบบนี้มาแต่ดั่งเดิม ตั้งแต่สร้างโรงงาน เมื่อปี พ.. 2503 แต่เรามารู้สึกไม่พอใจ สุดทนแล้วเนี่ยปี พ.. 2520 คือมันน้อยใจ และก็มีคนมาแนะแนว ว่าตั้งสหภาพเป็นยังไง ความเหลื่อมล้ำเป็นยังไง ก็เริ่มรู้หน่อยๆ แล้วก็เป็นการหยุดงานเฉยๆ ผู้หญิง 2,000 คน หยุดงานหมด มีผู้ชายประมาณ 600 ที่ไม่หยุดงาน”
 
จากนั้นป้ากุ้งได้เริ่มเป็นตัวแทนลูกจ้างในการยื่นข้อเรียกร้องตั้งแต่ปี พ.. 2522 ร่วมเป็นกรรมการสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียงตั้งแต่ปี พ.. 2526 – 2528 และในปี พ.. 2528 ได้ รับเลือกเป็นประธานสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียง นอกจากนี้ป้ากุ้งยังเคยดำรงตำแหน่งรองประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ คณะกรรมการสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานฯ ฝ่ายสตรีและเยาวชน ประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี
 
ประสบการณ์การเคลื่อนไหวที่สำคัญอีกครั้งหนึ่งของป้ากุ้งก็คือการร่วมเคลื่อนไหวผลักดันกฎหมายประกันสังคมตั้งแต่ปี พ.. 2531 ซึ่งประสบความสำเร็จในปี พ.. 2533 จากนั้นก็เริ่มมีการเคลื่อนไหวประเด็นของแรงงานหญิงโดยเฉพาะ ผ่านยุคสมัยเผด็จการ รสช. แล้วก็ต่อมาด้วยเรื่องสิทธิลาคลอดของแรงงานหญิง 90 วัน ซึ่งประเด็นนี้ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของกลุ่ม “บูรณาการแรงงานสตรี”
 
“แล้วก็มารัฐบาลชวนหลังจากไล่ รสช. ไปแล้ว แล้วก็มีเลือกตั้ง ตอนนั้นเราก็โหมเลยเคลื่อนไหวหนัก ตอนที่พี่เป็นประธานสหพันธ์ฯ ก็พยายามเอาชื่อของสหพันธ์เป็นแกนในการเคลื่อนเรื่องลาคลอดเก้าสิบวัน แต่ปรากฏว่าไม่ผ่านโหวต กรรมการผู้ชายหลายคน เขาบอกว่าเรื่องลาคลอดเก้าสิบวัน มันยังไม่ใช่เรื่องจำเป็นเร่งด่วน ไม่ใช่เรื่องปากท้อง เอาเรื่องอื่นดีกว่า เราไม่สามารถเอาชื่อสหพันธ์ออกหน้าได้ พี่เลยมาตั้งกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี เพราะว่าเราไปสู้ในแวดวงผู้ชายไม่ได้ เวลาเราเป็นประธานก็จริง แต่พอเราไป โหวตว่าเราจะสู้ประเด็นนี้ ผู้ชายเขาก็บอกว่าอย่างเอาเลยมันไม่เกี่ยวกับปากท้องเอาเรื่องค่าจ้างขั้น ต่ำเถอะ คือเขาก็มองเรื่องค่าจ้าง และสวัสดิการอย่างอื่นเป็นหลัก ก็เกิดการมานั่งคุยกันในปี พ.. 2535 มา คุยกันสี่คนเท่านั้นนะ ว่าจะผลักดันกันอย่างไร ในเมื่อสหพันธ์ฯ เขาไม่เห็นด้วย และในที่สุดก็สรุปว่าใช้ชื่อเคลื่อนไหวในครั้งนั้นว่า คณะกรรมการผลักดันการลาคลอดเก้าสิบวัน ที่ใช้ชื่อกลุ่มนี้ก็เพราะว่าองค์กรอื่นๆ เขามารวมด้วย และกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ก็มาตั้งด้วยเงื่อนไขตรงนี้ ว่าจะไปดันลาคลอดจะเอาอย่างไรกันดี ให้เป็นเวทีสำหรับผู้หญิง ให้สำหรับผู้นำผู้หญิงที่อาจจะไม่มีเวทีที่ไหนให้คุยมันอาจจะต้องมีเวที เฉพาะผู้หญิง กลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีตอนตั้งใหม่ๆ ผู้ชายก็มาช่วยนะ นี่คือจุดเริ่มต้นและเราก็ประสบความสำเร็จ ในการผลักดันการลาคลอดเก้าสิบวันโดยได้รับค่าจ้าง แต่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จมีทั้งผู้หญิงผู้ชายช่วยกันนะ สภาแรงงานฯ ก็มาช่วย สหพันธ์สิ่งทอก็มาเป็นเสาหลัก”
 
จากการต่อสู้ของกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี ล่วงมาถึงปี พ.. 2536 จึงมีประกาศของกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานในประเด็นสิทธิการลาคลอดของลูกจ้างหญิง ซึ่งลาคลอดได้ 90 วัน โดยได้รับเงินจากนายจ้าง 45 วัน และได้รับเงินจากประกันสังคม 45 วัน
 
ปัจจุบัน ป้ากุ้งได้เกษียนตัวเองจากการทำงานในโรงงาน กลับมาทำงานในชุมชนของเธอ แต่ก็ยังคงเป็น “ที่พึ่ง” ของนักสหภาพรุ่นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องให้คำปรึกษาด้านข้อมูล ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนงาน ที่เธอเคยผ่านมา ทั้งตามเวทีเสวนา การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับแรงงาน รวมถึงให้คำปรึกษาส่วนตัวกับนักสหภาพรุ่นใหม่ๆ
 
ป้า กุ้งยำว่าสำหรับผู้นำแรงงาน โดยเฉพาะผู้นำแรงงานหญิงนั้น จะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา รวมถึงมีจิตใจที่แน่วแน่ในการทำงานด้านสหภาพแรงงาน รวมถึงบุคลิกที่เป็น “ผู้ประสาน” เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วจะต้องสมานฉันท์การต่อสู้ทั้งชายและหญิงเข้าด้วยกันถึง จะประสบความสำเร็จ
 
“ถ้า คิดว่าเราอยากเป็นผู้นำ เราจะต้องเตรียมเพื่อฝึกฝนตัวเองให้มีความรู้ความสามารถ คือมันต้องมีการพัฒนาตนเอง ให้มีเหตุมีผล รู้เรื่อง รู้ข้อมูล ผู้นำที่แท้จริง ต้องมีจิตใจที่แน่วแน่ ฝึกฝนทางภูมิปัญญาเข้าไว้ เวลาเจรจากับนาย เจรจากับรัฐบาล ไม่ด้อย และไม่ถูกผู้นำกลุ่มอื่นๆ เขามองว่า แค่นี้เองเหรอ ต้องพยายามที่ต้องอ่อนนอกแข็งใน ในอดีตของการต่อสู้แรงงานหญิง พี่ก็ไปขอความช่วยเหลือจากผู้ชาย พี่บอกว่าเราแย่แล้ว ถ้าผู้ชายไม่มาช่วย เรายอม มาหมดเลยนะ ถ้าเราขอความร่วมมือนะ ถ้าทีที่อ่อนน้อมมันจะได้ใจคน”
 
 
วิไลวรรณ แซ่เตีย
อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
 
 
หากได้ติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวในประเด็นแรงงานในรอบหลายปีที่ผ่านมานี้ เชื่อได้ว่าชื่อของ “วิไลวรรณ แซ่เตีย” ย่อม เป็นที่ปรากฏอยู่ตามหน้าข่าวเหล่านั้นอยู่เนืองๆ ในฐานะผู้นำแรงงานหญิงคนสำคัญในปัจจุบัน “วิไลวรรณ” หรือ “ป้าวิ” ที่คนในขบวนการแรงงานเรียกขานด้วยความนับถือนั้น ชีวิตของเธอได้ผ่านการต่อสู้มาอย่างโชกโชนกว่า 30 ปี
 
วิไลวรรณ เป็นชาวขอนแก่น เกิดเมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.. 2499 เธอจบการศึกษาแค่ชั้น ป. 4 เดินทางจากจังหวัดขอนแก่นบ้านเกิดเข้ากรุงเทพ ตั้งแต่ปี พ.. 2519 ซึ่ง การเข้ามายังเมืองกรุงในครั้งนั้นก็มีความมุ่งหวังที่จะหาเงินส่งกลับไปให้ แม่และน้องที่อยู่ทางบ้านได้ใช้จ่าย โดยเธอเริ่มเป็น “กรรมกรก่อสร้าง” ก่อนที่จะเข้ามาทำงานในโรงงานของบริษัทนครหลวงถุงเท้าไนลอนจำกัด ย่านอ้อมใหญ่ จ.นครปฐม
 
“เหตุ ที่เขามาทำงานในโรงงาน ก็เพราะที่บ้านทำนา เราก็ไม่ได้เรียนหนังสือ ไม่มีรายได้ มันจำเป็นต้องผันตัวเองเข้ามาทำงานในโรงงาน เพื่อให้พ่อ แม่ มีเงินเป็นค่าใช้จ่ายบ้าง เข้ามากับพี่สาว แรกๆ ก็ไปทำงานก่อสร้างกับญาติ ที่เป็นผู้รับเหมาก่อน ไปขัดกำแพงอยู่ประมาณอาทิตย์หนึ่ง หลังจากนั้นก็ไปทำงานร้านอาหาร ประมาณเดือนนึง หรือสองเดือน ได้ค่าแรงสามร้อยบานต่อเดือน ก็ไปทำงานเป็นแม่บ้านอยู่สองสามเดือน พอดีพี่สาวรู้จักกับคนขับรถโรงงาน ก็เลยเอามาฝากที่โรงงานทำงานทอผ้า”
 
และเหมือนชะตาชีวิตของเธอได้ถูกกำหนดให้ข้องเกี่ยวกับกิจกรรมสหภาพแรงงาน เมื่อในปี พ.. 2524 ที่ โรงงานที่เธอทำงานมีการประท้วง และมีการนัดหยุดงาน เนื่องจากการกดขี่แรงงานของนายจ้าง เช่น การเลิกจ้างคนท้อง รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร โดยหลังจากนัดหยุดงานติดต่อกัน 10 วัน ก็สามารถเจรจากันได้ จึงกลับเข้าทำงานตามปกติ ซึ่งสหภาพแรงงานที่วิไลวรรณทำงานก็เริ่มก่อตั้งในช่วงนั้น และเธอก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมสหภาพแรงงานในต้นปี พ.. 2525 ล่วงมาในปี พ.. 2526 เธอก็ได้เป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ทำกิจกรรมอย่างขันแข็งจนได้รับเลือกเป็นประธานสหภาพแรงงงานกิจการสิ่งทอนครหลวง ในปี พ.. 2529
 
ในปีช่วง พ.. 2531 - 2533 วิไลวรรณ ได้ทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มย่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ ในการผลักดันเรื่องการยกเลิกการจ้างงานระยะสั้น และการผลักดันกฎหมายประกันสังคม ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จ โดยมีการยกเลิกการจ้างงานระยะสั้น ช่วงปลายปี พ.. 2532 และเป็นรอยต่อมาปี พ.. 2533 ก็จะมีการเคลื่อนไหวใหญ่ต่อเนื่องเพื่อเรียกร้องเรื่องประกันสังคม ซึ่งวิไลวรรณได้ร่วมการอดข้าวประท้วงในครั้งนั้นด้วย
 
“กลุ่ม อ้อมน้อย อ้อมใหญ่ไปเยอะมากในช่วงนั้น ก็เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสหภาพแรงงาน นักศึกษา และองค์กรพัฒนาเอกชน ก็ประสบความสำเร็จในช่วงนั้น มีการเคลื่อนไหวอย่างเข็มข้น มีการอดข้าวประท้วงในช่วงนั้น พี่ก็ไปอดข้าวประท้วงด้วย ก็อดอยู่สองวัน วันที่สามก็ประกาศ”
 
วิไลวรรณ ทำกิจกรรมร่วมกับขบวนการแรงงานมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลักดันการลาคลอดเก้าสิบวัน ร่วมกับกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรี เรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนงานในกรณีโศกนาฏกรรมโรงงานเคเดอร์ ขับเคลื่อนเรื่องประเด็นสุขภาพและความปลอดภัย และอื่นๆ จนในปี พ.. 2536 เธอ ก็ได้รับเลือกเป็นผู้ประสานงานกลุ่มย่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ รวมถึงได้รับเลือกเป็นประธานกลุ่มบูรณาการแรงงานสตรีในเวลาต่อมา และหลังจากที่กลุ่มบรูณาการแรงงานสตรีได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการ สมานฉันท์แรงงานไทยในปี พ.. 2544 วิไลวรรณก็ได้รับเลือกให้เป็นรองประธานของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยในปี พ.. 2545 และในปี พ.. 2548 เธอ ก็ได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ซึ่งเป็นขบวนการแรงงานที่สำคัญที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน (วิไลวรรณดำรงตำแหน่งประธานถึงต้นปี พ.. 2554)
 
บทบาท ในตำแหน่งหน้าที่ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย ถือว่ามีความโดดเด่นเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวเรื่อง การตรวจสอบการใช้เงินประกันสังคม, สิทธิประโยชน์ของประกันสังคม (ล่าสุดสามารถผลักดันเรื่องร่างกฎหมายประกันสังคมฉบับบูรณาการแรงงานได้เป็น รูปธรรม) รณรงค์เรืองค่าจ้างที่เป็นธรรม, การทำงานรณรงค์เรียกร้องสิทธิกับเครือข่ายแรงงานข้ามชาติ รวมถึงการผลักดันให้ประเทศไทยรับรองอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO ฉบับที่ 87 และ 98
 
ปัจจุบัน วิไลวรรณก็ยังคลุกคลีอยู่กับวงการแรงงานอยู่ โดยที่ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานกลุ่มอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ เป็นกรรมการของสหภาพแรงงานกิจการสิ่งทอนครหลวง และยังดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย
 
“แรง บันดาลใจในการทำงานกับขบวนการแรงงานคือสิ่งที่สำคัญเราก็จะเห็น พอเรามาทำงาน มันสัมผัสด้วยตัวเองเห็นปัญหาด้วยตัวเอง ด้วยความเป็นพี่น้องเป็นน้อง มันได้สัมผัสกับปัญหาที่มันเกิดขึ้น พอมันเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับพี่น้องเรา ก็ทำมาโดยตลอด มันก็ต่อเนื่องมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันเราก็ทำงานมาโดยตลอดไม่ได้เว้นวรรค”
 
“ที่ บ้านแม่มีลูกสามคน แต่เราก็ไม่ได้เรียนทุกคน น้องชายก็แต่งงานไป น้องสาวก็อยู่กับแม่ ที่บ้านเราก็อยู่แบบธรรมดา เราก็หาเช้ากินค่ำ ค่าใช้จ่ายเราก็ต้องส่งให้แม่ทางบ้านบ้าง อาจจะมีบ้างที่ค่าใช้จ่ายมันอาจจะไม่พอ การที่เรามาทำงานตรงนี้ เราก็ต้องจัดเวลาให้มันเหมาะสม เช่น เคยให้แม่ เคยส่งให้เขา จะมากจะน้อยเราก็ต้องให้ ต้องจัดสรรเวลาให้ครอบครัว พ่อแม่ ก็เป็นคนบ้านนอก ก็อยู่แบบธรรมดา ไม่ได้ฟุ่มเฟือยอะไร แต่แม่ก็เป็นห่วงบ้าง ธรรมดาของความเป็นแม่ เราก็ต้องบอกตลอดว่าเรามาทำอะไร เอาซีดี งานที่เราทำไปให้เขาดูบ้าง ตอนหลังเราก็ต้องโทรศัพท์บอกเขาตลอดว่าเราไปทำโน้น ทำนี่นะ”
 
ประเด็น ความเสมอภาคหญิงชายในขบวนการแรงงานและการทำงานของขบวนการนั้น วิไลวรรณให้ความเห็นว่า ตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาผู้หญิงก็มีบทบาทการต่อสู้มาทุกยุคทุกสมัย ส่วนสังคมไทยในปัจจุบันผู้หญิงก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้น และการสร้างขบวนการแรงงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่านั้น จะต้องยึดถือประโยชน์ส่วนรวม คลุกคลีกับปัญหา มีความเสียสละทุ่มเท และจะต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากชนชั้นผู้ถูกกดขี่ด้วยกันเอง
 
“ถ้าพูดถึงอดีตที่ผ่านมาก็คือว่าเป็นร้อยปีนะเราจะเห็นการต่อสู้ชอง คลารา เซตกิน (Clara Zetkin) ถือว่าเป็นแบบอย่างที่ดี ที่เขาเสียสละ แล้วก็ผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตแรงงานหญิง คนงานถูกกดขี่เรื่องค่าจ้าง เรื่องชั่วโมงการทำงานหลังจากนั้นมามันทำให้ผู้หญิงมีบทบาทมากขึ้น ถามว่าพอยุคประเทศไทยเรามันก็มีการเปลี่ยนแปลง แล้วก็ผู้หญิงก็เข้ามามีบทบาทในขบวนการแรงงานมากขึ้น จากประสบการณ์และจากบทเรียนที่ผ่านมา เราก็บอกว่าถ้าเราจะทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือจะแก้ไขปัญหาที่มันเกิดขึ้น มันจะคิดเองลอยๆ ไม่ได้ มันจะต้องสัมผัสด้วยตัวเอง เห็นปัญหาด้วยตัวเอง เขามาช่วยเหลือพี่น้องด้วยตัวเอง ต้องตั้งใจในการทำงาน ต้องทุ่มเท ในการทำงาน ต้องเสียสละ ต้องยึดถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ต้องไม่มองตัวเองเป็นตัวตั้ง ต้องไม่แสวงหาผลประโยชน์จากการทำงานของพวกเรา”
 
 
อารายา แก้วประดับ
รองประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม
 
อารยา แก้วประดับ เข้าทำงานในองค์การเภสัชกรรมตั้งแต่ปี พ.. 2522 เริ่ม รู้จักกับกิจกรรมของสหภาพและเข้าร่วมกับสหภาพแรงงานในช่วงเริ่มต้นของการทำ งานเช่นกัน ทั้งนี้สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรมก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.. 2519 มี เป้าประสงค์เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ให้กับสมาชิกสหภาพและพนักงาน ในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องค่าแรง รายได้จากการทำงาน ผ่านการยื่นข้อเรียกร้องเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และสหภาพยังคอยสอดส่องดูแลการบริหารงานของผู้บริหาร รวมทั้งดูแลให้กำลังใจให้ความรู้กับสมาชิกใหม่ของสหภาพฯ อย่างอบอุ่น ทั้งนี้สหภาพเคยมีการประท้วงนัดหยุดงานครั้งใหญ่ในช่วงปี พ.. 2522 – 2523
 
ปูม หลังในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น อารยาเล่าว่าเนื่องจากเธอเข้ามาทำงานที่มีลักษณะงาน จ่ายค่าจ้างเป็นจำนวนชิ้น ที่เรียกว่าลูกจ้างตามผลงาน ซึ่งมีรายได้ไม่แน่นอน รู้สึกไม่มีความมั่นคง และในช่วงนั้นสหภาพแรงงานก็ได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับ กลุ่มลูกจ้างตามผลงาน จึงรู้สึกมีความศรัทธาในกิจกรรมของสหภาพแรงงาน
 
“ปี ๒๕๒๒ มันมีเรื่องการปรับเพิ่มเงินเดือน ๑๘ เปอร์เซ็นต์ แต่ในส่วนลูกจ้างกลุ่มของพี่จะไม่ได้ เขามองว่าเป็นลูกจ้างอีกกลุ่ม ก็มีการเรียกร้องโดยสหภาพแรงงาน เรียกร้อง ๑๘ เปอร์เซ็นต์ ของกลุ่มลูกจ้างประเภทพี่”
 
เธอ สะท้อนการทำงานของสหภาพแรงงานว่าอาจจะมีคนมองว่าสหภาพแรงงานใช้ความรุนแรงใน การพูดคุย แต่ในมุมของอารยาที่ได้คลุกคลีกับกิจกรรมสหภาพ กับได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการขูดรีดแรงงาน การหาทางแก้ไขปัญหา ยุทธวิธี และเทคนิคการปรึกษาหารือต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญ
 
“พี่มองว่านักสหภาพไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเสมอไป เราสามารถใช้การเจรจาได้”
 
อารยา เริ่มทำงานสหภาพแรงงาน จากการเป็นสมาชิก เป็นอนุกรรมการ และได้ลงสมัครเป็นกรรมการสหภาพในช่วงปี พ.. 2532 ซึ่ง ได้รับความไว้วางใจจากเพื่อนสมาชิก ได้เป็นคณะกรรมการบริหาร ร่วมทีมเจรจาข้อเรียกร้องฝ่ายลูกจ้างนั่งโต๊ะเจรจากับฝ่ายบริหาร ทั้งนี้อารยามักจะเล่าและปลูกฝังถึงเรื่องการทำกิจกรรมสหภาพกับสมาชิกใหม่ๆ เสมอ ว่าสิทธิประโยชน์ที่แรงงานได้รับส่วนใหญ่นั้นล้วนแล้วแต่ผ่านการต่อสู้ใน กรอบสหภาพแรงงานมาแล้วทั้งนั้น
 
“พี่ก็จะบอกกับน้องๆ อยู่เสมอว่าตั้งแต่ปี 2519 หลังจากได้รับการจดทะเบียน ข้อเรียกร้องทั้งหมดทั้งปวง หรือสวัสดิการทั้งหมดทั้งปวง มันมาจากการเรียกร้องของสหภาพแรงงาน”
 
ในช่วงปี พ.. 2533 มีนโย บายจากผู้บริหารที่จะเปลี่ยนระบบการจ้างงานจากลูกจ้างตามผลงาน ปรับให้เป็นพนังงานประจำเป็นรายเดือนที่มีระดับซี ผู้บริหารบอกว่าจะให้สตาร์ทเงินเดือนแรกรับตามวุฒิการศึกษา (ระดับ ม.3) ซึ่งอารยามองว่ามันไม่เป็นธรรมสำหรับคนที่ทำงานมา 20 - 30 ปี แล้วทำไมต้องมีรายได้เท่ากับคนที่เข้ามาใหม่ เธอจึงได้เป็นปากเป็นเสียงต่อรองประเด็นนี้กับผู้บริหาร เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับคนงานกลุ่มดังกล่าว แต่การต่อสู้ครั้งนั้นทำให้อารยาได้บทเรียน เพราะผู้บริหารก็ได้โต้กลับด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการแจกใบสมัครใหม่ ให้ลูกจ้างตามผลงาน และถูกผู้บริหารเรียกเข้าไปเจรจา แต่ทั้งนี้สมาชิกสหภาพส่วนใหญ่กลับเห็นด้วยกับแนวทางของผู้บริหาร เพราะความกลัวในเรื่องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถูกไล่ออก หรือการกลั่นแกล้ง ซึ่งผลในการต่อสู้และความล้มเหลวครั้งนั้น ทำให้อารยาได้รับบทเรียนที่ว่าถึงแม้จะมีผู้นำสหภาพที่เข็มแข็ง ประเด็นถูกต้อง แต่เมื่อสมาชิกสหภาพไม่เอาด้วยมันก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
 
“มัน เป็นบทเรียนอันหนึ่งที่ทำให้เห็นว่าการต่อสู้ ถึงแม้มีผู้นำที่เข้มแข็งแต่สมาชิก ไม่เอาด้วย มันทำให้การต่อสู้ไม่บรรลุเป้าหมาย และพี่ก็เห็นว่า เออ ปลายทางแล้วทุกคนก็เห็นมาระลึกถึงการต่อสู้ของพี่ เพราะว่าอะไรรู้รึเปล่า เพราะทุกคนที่เกษียณอายุไปหลังจากการต่อสู้ในครั้งนั้น พี่คนหนึ่งที่ตอนนั้นเขาทำงานอยู่ประมาณสี่สิบปี เขาเกษียณอายุด้วยเงินเดือนแปดพันกว่า ทั้งๆ ที่อายุงานสี่สิบกว่าปี ซี่งกระทรวงการคลังส่งหนังสือมาถามว่าทำไม ทำงานมาตั้งสี่สิบห้าปี เงินเดือนได้เท่านี้ เพราะเขาอยู่ในสายการจ้างงานแบบเหมางาน แล้วมาสตาร์ทสองพันแปด เท่ากับเด็กเข้าใหม่ นั่นคือสิ่งที่ทำให้เห็นว่าสิ่งที่เราสู้เราสู้ถูกทิศ แต่เขาไม่ฟังเรา”
 
หลัง จากที่องค์การเภสัชฯ เขาปิดรับลูกจ้างทำงานตามผลงาน แต่ก็นำระบบการจ้างงานแบบใหม่เข้ามา เรียกว่า การจ้างงานตามโครงการ อารายา มองว่า
 
“มัน เป็นการจ้างงานแบบเอาเปรียบเพราะ สวัสดิการไม่เท่ากัน โบนัสไม่ได้ แต่การทำงานก็ไม่แตกต่างจากคนที่อยู่ประจำ ไม่สามารถใช้สิทธิเบิก ลูก เมีย สามีได้ สหภาพแรงงานฯ ก็ได้เข้าไปเรียกร้อง เพื่อให้องค์การเภสัชกรรม ให้สิทธิและสวัสดิการต่างๆ สามารถเบิกได้ เช่น สามี ภรรยา บุตร แต่พ่อแม่เบิกไม่ได้ เพราะระเบียบขององค์การเขียนเอาไว้ เพราะเป็นลูกจ้างชั่วคราว ซึ่งคำว่าโครงการก็คือ ต้องเริ่มต้น และสิ้นสุด แต่ที่องค์การจ้าง มันเป็นโครงการรายปี สองปี สามปี จนกระทั่งโครงการสิบกว่าปี ก็มี”
 
หลัง จากสหภาพสามารถรียกร้องให้ลูกจ้างตามโครงการสามารถได้รับสวัสดิการเพิ่มขึ้น แล้ว แต่สหภาพแรงงานก็ยังมองว่าคนงานกลุ่มนี้ ยังเป็นลูกจ้างชั้นสองอยู่ จึงได้เรียกร้องเพื่อให้คนงานกลุ่มนี้ได้เข้าเป็นพนักงานประจำ ล่วงมาถึงในปี พ.. 2545 ลูกจ้างกลุ่มนี้มีประมาณ 200 – 300 คน ซึ่งอารยามองว่าตนในฐานะนักสหภาพ มันเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่เป็นธรรมกับเพื่อนคนงานด้วยกัน จึงมีการพูดคุยในสหภาพเพื่อผลักดันให้พวกเขามีสิทธิเป็นพนักงานประจำโดย เริ่มเจราจาตั้งแต่ปี พ.. 2547 จนกระทั่งในปี พ.. 2549 สามารถเจรจาบรรจุคนงานเหล่านี้เป็นพนักงานประจำได้เกือบหมด
 
“ปี ๒๕๔๕ ลูกจ้างกลุ่มนี้มีอยู่ประมาณ ๒๐๐-๓๐๐ คน พี่มองว่าในฐานะที่เราเป็นนักสหภาพ มันไม่ยุติธรรมกับลูกจ้าง กลุ่มนี้ เหมือนเป็นลูกจ้างขั้นสอง เราก็หารือกันในสหภาพฯ เพื่อเรียกร้องให้พนักงานกลุ่มนี้เป็นพนังงานประจำ”
 
ต่อมาผู้บริหารกลับใช้กลยุทธ์ใช้คนงานซับคอนแทรค (sub-contract) ผ่านบริษัทเอาท์ซอร์ส (out source) ที่เราเรียกว่าคนงานเหมาช่วง-เหมาค่าแรง ซึ่งสหภาพก็มองว่ามันไม่เป็นธรรมกับคนงานเหมาช่วง-เหมา ค่าแรง เหล่านี้ เพราะไม่มีความมั่นคง สวัสดิการต่างๆ ก็เทียบไม่ได้กับลูกจ้างขององค์การเภสัชโดยตรง สหภาพก็ผลักดันเจรจาต่อรองว่าต่อไปนี้จะต้องจ้างเป็นลูกจ้างขององค์การเภสัช โดยตรงไม่ผ่านบริษัทอื่น จนปัจจุบันเราเรียกร้องคนงานเหล่านี้เมื่อต่อสัญญาจ้างได้สองปีแล้ว จะต้องรับเขาเป็นลูกจ้างประจำ
 
คติประจำใจในการทำงานสหภาพแรงงานของอารยาก็คือ เน้นเรื่องการปรึกษาหารือร่วมและการเจรจาพูดคุย มากกว่าการใช้วิธีการที่รุนแรง
 
“หลัก การต่อสู้ของพี่ใช้หลักการเจรจาต่อรอง ให้หลักเหตุผล ไม่ได้ใช้ กำลัง ก่อนจะใช้กำลังมันต้องทำอย่างอื่นให้เรียบร้อยก่อน พี่มองว่านักสหภาพไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเสมอไป เราสามารถใช้การเจรจาได้”
 
ทั้ง นี้ในเรื่องของผู้หญิงกับกิจกรรมสหภาพแรงงานนั้น อารยาให้ความเห็นว่า ปัจจุบันนี้ผู้นำและนักสหภาพแรงงานยังมีจำนวนน้อยเกินไป รวมถึงการพยายามทำลายสหภาพแรงงานทั้งฝ่ายรัฐและทุนที่หนักหน่วงขึ้นทุกวัน ถ้าหากไม่สร้างคนรุ่นใหม่ขึ้นมา อีกไม่นานกิจกรรมสหภาพแรงงานไทยก็คงต้องถึงกาลล่มสลาย
 
“พี่ เป็นห่วงว่าตอนนี้ผู้นำแรงงานหญิงมีน้อย และที่มีอยู่ซักวันก็ต้องแก่ไปหมดไป พี่วิตกมาหลายปีแล้ว เป็นความห่วงใยต่อขบวนการแรงงานในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงผู้ชาย พี่มองอย่างนี้นะ และก็เป็นห่วงยาวไปอีกว่า คำว่า สหภาพแรงงานมัน จะลดลง นายจ้างก็จะทำลายสหภาพ รัฐบาลเองก็ทำลาย นักสหภาพต้องหันมามองคนรุ่นหนุ่มรุ่นสาว เพื่อสร้างให้มาเป็นนักสภาพรุ่นใหม่ ส่งเสริม ให้ความสำคัญ มาสานต่องานเราให้เพิ่มขึ้น”
 
 
สมบุญ สีคำดอกแค
ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจาการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย
 
 
สมบุญเล่าถึงการจัดตั้งสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจาการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เกิด จากการรวมตัวของคนงานที่ป่วยเป็นโรคปอดอักเสบจากฝุ่นฝ้ายเนื่องจากการทำงาน ในโรงงานทอผ้าปั่นด้าย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 โดยตัวดิฉันเองที่เป็นนักสหภาพแรงงาน และเคยดำรงตำแหน่งประธานสหภาพแรงงานมาก่อนได้ผ่านการอบรมสัมมนาทั้งจากฝ่าย รัฐและเอกชนมามากมาย แต่ก็ต้องมาป่วยซะเองเมื่อปี 2536 และเมื่อป่วยขึ้นมา สังคมและครอบครัวก็รังเกียจ และต้อง รู้สึกท้อแท้มากๆ เพราะไม่รู้ว่าเป็นโรคอะไร และเกิดมาจากสาเหตุใด ต่อมาเมื่อได้ไปตรวจวินิจฉัยรักษาตัวที่ รพ.ราชวิถี กับ พ.ญ.อรพรรณ เมธาดิลกกุล พบว่า ตัวเองป่วยเป็นโรคบิสซิโนซิสจากการทำงาน ที่สูดหายใจเอาฝุ่นฝ้ายเข้าไปในปอดจำนวนมากเป็นระยะเวลาหลายปีมาแล้ว และเมื่อแวะเวียนไปตรวจกับคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ รพ.ราชวิถี ดิฉันพบว่า มีผู้ป่วยจากการทำงานด้วยโรคและอาการต่างๆจำนวนมากซึ่งมันไม่ใช่เรื่องตัวดิฉันเองคนเดียวแล้ว ดิฉันจึงได้คิดและเริ่มก่อตั้งองค์กรขึ้นมาโดยใช้ชื่อ สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย (The Council of Work and Environment Related Patent’s Network of Thailand (WEPT)) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
 
1.     รวบรวมคนป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน รวมถึงชุมชนที่ได้รับผลกระทบจาก มลพิษอุตสาหกรรม
2.     เกิดการให้กำลังใจ เกิดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ปัญหา เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3.     ช่วยเหลือให้คนป่วยประสบอันตรายได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฏหมาย
4.     ผลักดันให้จัดตั้งหน่วยงานและผลิตแพทย์เชี่ยวชาญสาขาอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
5.     เผยแพร่ป้องกันและรณรงค์ ปัญหาสุขภาพความปลอดภัยที่เกิดจากการทำงาน สารพิษ และสิ่งแวดล้อม
6.     ผลักดันให้จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
7.     ประสานความร่วมมือกับสหภาพแรงงานผู้ใช้แรงงานชุมชนและองค์กรที่มีนโยบาย คล้ายคลึงกันผลักดันในเชิงนโยบาย
 
โดยมีคณะกรรมการและคณะที่ปรึกษาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯซึ่งมีโครงสร้างอย่างสหภาพแรงงาน ปี 2537 ตั้งเป็นสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย การรวมตัวของกลุ่มผู้ป่วยด้วยโรค บิสสิโนซิสและผู้ป่วยด้วยโรคอื่นๆจากโรงงานต่างๆ หลายพันคนในช่วงนั้น ซึ่งรวมจนถึงปัจจุบัน ได้ก่อตั้งกลุ่มมาแล้วเป็นเวลา 16 ปี เพื่อที่ร่วมกันผลักดัน แก้ไขปัญหาสภาพแวดล้อมในสถานที่ทำงานให้ปลอดภัยดีขึ้น และเพื่อต่อสู้กับความจริงว่า มีแรงงานไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคจากการทำงานงาน พร้อมทั้งต้องการเคลื่อนไหวให้มีการปรับปรุงแก้ไข และป้องกันปัญหาไม่ใช่ที่นายจ้างบางแห่ง ที่ พยายามปฏิเสธการเจ็บป่วยของคนงาน หรือ ปัดความรับผิดชอบ และอีกทางหนึ่งคือการต่อสู้คดีในศาล ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยโรคบิสซิโนซิส ได้ต่อสู้คดีกับนายจ้างมานานถึง 15 ปีแล้ว ยังอยู่ระหว่างรอคำพิพากษาฎีกาอีกทางหนึ่ง
 
แรงบัลดานใจในการก่อตั้งองค์กร
 
ก็เพราะว่าโรคจากการทำงานเมื่อคนงานป่วยแล้ว ก็จะไม่ได้รับการยอมรับ ไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทดแทน ไม่ได้สิทธิในการรักษาวินิจฉัยกับแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ไม่มีการต่อสู้ใดๆเกิดขึ้นการรวมกลุ่มและจัดตั้งองค์กร ถึงจะทำให้เกิดพลัง เกิดการรับรู้ของสังคม ดังเช่น
 
การต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายของกลุ่มผู้ป่วย(สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ ที่เข้าร่วมเรียกร้องในนามของสมัชชาคนจน โดยการแนะนำคุณจะเด็จ เชาน์วิไล มูลนิธิเพื่อนหญิง ได้ร่วมชุมนุมกับสมัชชาคนเป็นเวลา 99 วัน ที่หน้าทำเนียบฯ เมื่อปี 2538 ผลจาการชุมนุม ซึ่งสมัชชาคนจน ก็มีผู้ถูกผลกระทบจาก เรื่อง ป่าไม้ ที่ดิน เขื่อน ประมงพื้นบ้าน ที่สาธารณะประโยชน์ สลัม 4 ภาค ผู้ป่วยจากการทำงาน การชุมนุมได้ผลตอนนั้น คือ ผู้ป่วยได้รับสิทธิค่าทดแทน และค่ารักษาพยาบาล ที่เรียกร้องจำนวน 100 คน คิดเป็นเงิน 11 ล้านบาท และยื่นข้อเรียกร้องในระดับนโยบาย เพราะคิดว่าเราจะมาเรียกร้องสิทธิเป็นรายบุคคล ก็คงทำไม่ได้หมด ขอเรียกร้องเช่น
1. เรียกร้องให้ล้มเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยที่ไม่เป็นธรรมแก่คนงาน
2. เรียกร้องให้รัฐ ออกกฎหมาย พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
3. เรียกร้องให้ผลิตแพทย์และหน่วยงานแพทย์ทางด้านอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
 
ในช่วงชุมนุมคนป่วยทุกคนได้รับสิทธิ และสามารถล้มเลิกเกณฑ์การวินิจฉัยโรคที่ไม่เป็นธรรมแก่คนงานได้ และ ครม. ยอมรับหลักการให้จัดตั้งสถาบันคุ้มครองคนงานใบเบื้องต้น กระทั่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการยกร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวแล้วเสร็จภายใน 7 เดือน แต่รัฐก็เสนอยื่นร่างของรัฐเพื่อให้ ครม.รับรอง ทางสมัชชาคนจน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงคัดค้านยับยั้ง และทำการเข้าชื่อ 50,000 รายชื่อเสนอกฎหมาย
 
การ เรียกร้องสิทธิของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ ร่วมเป็น 1 ใน 7 กรณีปัญหา ในสมัชชาคนจน ได้แก่ เครือข่ายเขื่อน เครือข่ายป่าไม้ เครือข่ายที่ดิน เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน ได้เรียกร้องการแก้ไขปัญหาสุขภาพความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้กับผู้ใช้แรงงาน
 
การยื่นข้อเรียกร้องในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ และการแก้ไขปัญหาของพี่น้องคนงานที่เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงาน ในนามสมัชชาคนจน
 
ปี 2545 ได้เข้าร่วมกับขบวนการแรงงานในนามคณะกรรมการสมานแรงงานไทย ผลักดันให้ขบวนการแรงงาน เสนอ ข้อเรียกร้องในวันกรรมกรสากล วันสตรีสากล วันความปลอดภัยแห่งชาติ เสนอข้อเรียกร้องให้รัฐจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (โดยเสนอเป็น พ.ร.บ.) เป็นข้อเรียกร้องแรกๆของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งก็จนถึงปัจจุบัน ยังอยู่ในขบวนการเรียกร้องเคลื่อนไหว และทำการเข้าชื่อ 10,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายตอนนี้เข้าชื่อได้ครบ 10,000 กว่ารายชื่อแล้วรายชื่อ
 
ช่วง สิงหาคม-พฤศจิกายน 2552 รวมพลังกับ เครือ ข่ายสนับสนุนและร่วมผลักดันการจัดตั้งองค์กรอิสระสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานองค์กรภาคี สนับสนุน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย สมัชชาคนจนเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฏิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ภาคตะวันออก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อนหญิง ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน เครือข่ายภาคประชาชน กทม.แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ได้รวมตัวกันและเคลื่อนไหวผลักดัน พรบ.สถาบันฯ โดยการขอความร่วมมือสนับสนุนจาก สส.สถาพร มณีรัตน์ พรรคเพื่อไทย สส.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท พรรคประชาธิปัตย์ ให้รวบรวมเพื่อน สส .20 คนเสนอกฎหมาย พรบ.สถาบัน ฯ และไปหน้ารัฐสภา เพื่อให้สภา รับร่าง พรบ.สถาบันฯ ดังกล่าว ในวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2552 การประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยสามัญนิติบัญญัติ ได้พิจารณาเห็นชอบรับหลักการวาระ 1 แห่งร่างราชบัญญัติความปลอดภัยฯ ในคราวเดียวกันจำนวน 7 ฉบับ กลุ่ม 1. ร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... (คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ) ซึ่งมีร่าง พ.ร.บ. ที่ชื่อเหมือนกันและมีสาระสำคัญคล้ายกันอีกจำนวน 4 ฉบับ คือร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยฯ ที่เสนอโดย สส.สุชาติ ลายน้ำเงิน กับคณะ สส.เจริญ จรรย์โกมลกับคณะ, สส.นิติวัฒน์ จันทร์สว่างกับคณะ และ สส.วรศุลี สุวรรณบริสุทธิ์ กับคณะ
 ร่างพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. .... จำนวน 2 ฉบับ เสนอโดย สส.สถาพร มณีรัตน์ พรรคเพื่อไทย กับคณะ และ สส.รัชฎาภรณ์ แก้วสนิท กับคณะ
 
ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบรับหลักการกฎหมายความปลอดภัยฯ ทั้ง 7 ร่าง และให้ยึดร่าง พ.ร.บ.ของคณะรัฐมนตรีเป็นร่างหลัก และแต่งตั้งกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติรวมจำนวน 36 คนโดยมี รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และที่ปรึกษาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ และดิฉัน คุณสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานฯ ได้ รับเสนอเป็นกรรมาธิการวิสามัญในโควตาของพรรคประชาธิปัตย์ปัจจุบันรอกฎหมาย พิจารณาเข้า วาระที่ 2-3 ต่อไปซึ่งก็ต้องทำการ สร้างความเข้าใจให้ สส .และวุฒิเพื่อไม่ให้ตัดหมวด 6(1)ที่มีการจัดตั้งองค์กรอิสระ โดยออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ตั้งเป็นองค์กรมหาชน
 
กลุ่มผู้ป่วย (สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ)สร้างความเข้มแข็งและพลังในการเรียกร้อง โดยได้ทำงานเชื่อมประสานเครือข่าย ผู้ใช้แรงงาน จากหลายพื้นที่อุตสาหกรรม ผู้นำสหภาพแรงงานพื้นที่ ภาคตะวันออก ชลบุรี รังสิต-ปทุมธานี อ้อมน้อยอ้อมใหญ่-นครปฐม-สมุทรสาคร พระประแดง สมุทรปราการ สระบุรี นนทบุรี ด้วยวิธีการนำเอาประสบการณ์ทำงานและการดูงานต่างประเทศ ร่วมกับเครือข่าย อาจารย์นักวิชาการ NGOs พัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมผู้นำให้เป็นวิทยากรด้านสุขภาพความปลอดภัย อบรมผู้นำสหภาพแรงงาน จป. คปอ. ไปแล้ว 4 รุ่นจำนวน 160 คน และทำงานปฏิบัติงานได้จริงในการเผยแพร่ความรู้และช่วยเหลือคนงานที่เจ็บป่วยประสบอันตรายจากการ ทำงาน และ เสนอให้สถานประกอบการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน รวมถึงทำงานประสานกับภาครัฐมากขึ้นเพื่อช่วยเหลือให้คนงานที่ป่วยและประสบ อันตรายจากการทำงานได้เข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพและกฏหมายกองทุนเงินทดแทน
 
ผลสำเร็จจากการทำงาน
 
นอกจากคนงานหลายพันคนได้เข้าถึงสิทธิแล้ว ผลจากการผลักดันเรื่องการคุ้มครองสุขภาพความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน ทำให้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ในปี 50 รัฐธรรมนูญไทยจึงได้บรรจุบทบัญญัติ ไว้ในมาตรา 44 บุคคล ย่อมมีสิทธิได้รับหลักประกันความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานรวมทั้ง หลักประกันในการดำรงชัพทั้งในระหว่างการทำงานและเมื่อพ้นภาวะการทำงาน
 
ผลจากการผลักดันได้มีมติครม. 11 ธันวาคม 2550 ได้มีนโยบาย ยกให้เรื่อง สุขภาพความปลอดภัยของผู้ใช้แรงงาน เป็นวาระแห่งชาติ คนงานปลอดภัย สุขภาพอนามัยดี
 
- ด้านนโยบาย สามารถผลักดันให้รัฐโดยกระทรวงสาธารณสุข มีแผนและแนวนโยบายในการผลิตแพทย์ทางดานอาชีวเวชศาสตร์ปีละ 10 คน เป็นระยะเวลา 5 ปี
 
- และผลักดันให้มี รพ.ที่มีคลินิกอาชีวเวชศาสตร์ 25 แห่งทั่วประเทศในปี 50-52 ที่เป็นการให้คนงานได้เข้าถึงการวินิจฉัยในคลินิกที่มีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม 25 รพ. แบบการส่งตัวเข้ารับการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน โดยไม่ต้องเสียเงินค่าวินิจฉัยใดๆ ซึ่งจะแบ่งคลินิกโรคจากการทำงานเป็น 2 ระดับ คือ
 
1.) ระดับทุติยภูมิ โดยในปี 2551 ได้จัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงานในโรงพยาบาลนำร่องสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 24 แห่ง ได้แก่
1. โรงพยาบาลสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ             2. โรงพยาบาลราชบุรี จ.ราชบุรี
3. โรงพยาบาลนครพิงค์เชียงใหม่ จ.เชียงใหม่             4. โรงพยาบาลลำปาง จ.ลำปาง
5. โรงพยาบาลขอนแก่น จ.ขอนแก่น                         6. โรงพยาบาลมหาราช จ.นาครราชสีมา
7. โรงพยาบาลบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์                               8. โรงพยาบาลปทุมธานี จ.ปทุมธานี
9. โรงพยาบาลชลบุรี จ.ชลบุรี                                  10. โรงพยาบาลระยอง จ.ระยอง
11. โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย    12. โรงพยาบาลสุรินทร์ จ.สุรินทร์
13. โรงพยาบาลพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก              14. โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า จ.นนทบุรี
15. โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จ.นครสวรรค์          16. โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จ.ภูเก็ต
17. โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี       18. โรงพยาบาลอุดรธานี จ.อุดรธานี
19. โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จ.ปราจีนบุรี       20. โรงพยาบาลหาดใหญ่ จ.สงขลา
21. โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา            22. โรงพยาบาลสมุทรสาคร จ.สมุทรสาคร
23. โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จ.สุพรรณบุรี                        24. โรงพยาบาลสุราษฏร์ธานี จ.สุราษฏร์ธานี
 
2.) ระดับตติยภูมิ จัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงานที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี กรมการแพทย์
และในปี 2553 กระทรวงแรงงานและกระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน เพิ่มอีก 13 แห่งรวมเป็น 37 แห่งในปัจจุบัน
 
อยากฝากข้อความอะไรเพื่อเฉลิมฉลอง 100 ปีวันสตรีสากล
 
ปัญหาของคนทำงานแล้วได้รับผลกระทบยังมีอีกมากมายที่ยัง เข้าไม่ถึงสิทธิ คนงานยังไม่มีความรู้ เจ้าหน้าที่รัฐ ก็ยังปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกันไม่ได้ ก็ทำให้คนงานยังเข้าไม่ถึงสิทธิการบริการทางการแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์ หรือการทำงานในที่ปลอดภัยหรือการเข้าถึงสิทธิตามกฎหมาย เพราะหน่วยงานของรัฐก็ยังมีบุคลากรไม่เพียงพอ ต่อการก่อเกิดของโรงงานอุตสาหกรรม จึงคิดว่ารัฐควรมีการส่งเสริมพัฒนางานด้านอาชีวอนามัยความปลอดภัยในการทำงาน ให้ทันสมัย เพื่อป้องกันคุ้มครองความเสี่ยงให้แก่ ผู้ใช้แรงงานน่าจะเป็นประโยชน์อย่างมาก ทั้งการให้รัฐเร่งจัดตั้งองค์กรอิสระมาทำหน้าที่ส่งเสริมด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างจริงจังรวม ทั้ง. การพัฒนาศักยภาพ และการมีส่วนร่วมผู้ถูกผลกระทบ, ลูกจ้าง และองค์กรแรงงาน ด้านความปลอดภัยในการทำงาน ในมิติต่างๆ ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริการการรับแจ้งการประสบอันตรายจากการทำงาน เพื่อให้ลูกจ้างเข้าถึงสิทธิประโยชน์เงินทดแทนอย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม บูรณาการ ภาคีและหน่วยงาน ในการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อการทำงานที่มีเอกภาพ และประสิทธิภาพ ทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วน กลางและส่วนท้องถิ่น ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ รัฐบาลต้องสนับสนุนนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมการลงทุนที่เชื่อมโยงมิติ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน อย่างจริงจังต่อเนื่อง เพื่อลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ สังคม และอัตราการประสบอันตรายจากการทำงานที่ยั่งยืนเพื่อสุขภาวะที่ดี ของแรงงานที่มีแรงงานหญิงกว่าครึ่งหนึ่งในจำนวนทั้งหมด
 
 
จันทวิภา อภิสุข
ผู้อำนวยการมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์ (ส่งเสริมโอกาสผู้หญิง)
 
 
เอ็ม พาวเวอร์ ก่อตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปี ๒๕๒๘ ภายใต้ชื่อ ศูนย์พิทักษ์สิทธิหญิงบริการ ต่อมาได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเอ็มพาวเวอร์(ส่งเสริมโอกาสผู้หญิง) ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยคุณแมกซ์ เอดิเกอร์ และ คุณจันทวิภา อภิสุข โดย มุ่งเน้นการส่งเสริมโอกาสให้"พนักงานบริการ"ได้รับสิทธิเท่าเทียมกับคนทั่ว ไปในสังคม เรียกร้องต่อสู้ให้งานบริการมีความปลอดภัย ยุติธรรม มีมาตรฐาน อีกทั้งพยายามผลักดันให้มีส่วนร่วมทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ฯลฯ
 
“พี่ไม่ใช่อยู่ดีๆ หล่นมาจากฟ้าแล้วเข้ามาทำงานเอ็มพาวเวอร์”
 
จันทวิภา อภิสุข หรือพี่น้อย ที่ใครๆ รู้จัก เกิดเมื่อวันที่  ๖ ธันวาคม ๒๔๙๐ เธอเริ่มต้นการเป็นนักกิจกรรม ตั้งแต่เป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงที่เขาเรียกกันว่า “ยุคสายลมแสงแดด”
 
“ตอน ที่พี่เรียนที่ธรรมศาสตร์ก็เป็นนักกิจกรรม แต่กิจกรรมที่ทำสมัยก่อนมันไม่มีเรื่องการเมือง แต่จะเป็นกิจกรรมนักศึกษาที่แสดงบทบาทต่างๆ ของตนเอง เช่น กลุ่มศิลปวัฒนธรรม กลุ่มเล่นโขน กลุ่มนักเขียน กลุ่มเชียร์กีฬา เพราะเป็นช่วงก่อน ๑๔ ตุลา พอหลัง ๑๔ ตุลาแล้ว ถึงได้มีกิจกรรมนักศึกษาที่มีทัศนะทางด้านสังคม การเมือง ก็เกิดมีกลุ่มกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องสังคม ในธรรมศาสตร์ มีหนังสือพิมพ์กำแพง”
 
หลัง จากเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ภายใต้บรรยากาศ ประชาธิปไตยแบ่งบาน กระแสสังคมในช่วงนั้น คนก็หันมาสนใจปัญหาสังคมกันมากขึ้น พี่น้อย ก็เป็นหนึ่งคนที่ได้รับกระแสนั้น
 
“พอ เรียนจบ และหลังจากเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ก็มีเหตุการณ์บ้านเมืองเกิดขึ้นเยอะแยะ และประชาชนทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เขาก็สนใจปัญหาเรื่องแบบนี้เหมือนกัน ส่วนมากผู้หญิงที่สนใจเรื่องสังคม ก็จะสนใจเรื่องผู้หญิงอยู่แล้ว”
 
ประมาณ ปี ๒๕๒๘ เป็นช่วงที่รัฐบาลกำลังส่งเสริมการท่องเที่ยว เกิดย่านท่องเที่ยวตอนกลางคืน เช่น พัฒน์พงศ์ พัทยา ผสมกันการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มีโรงงานทอผ้าเกิดขึ้นในหลายแห่งในกรุงเทพและชานเมือง มีแรงงานคนหนุ่มสาวจากชนบท เดินทางเข้ามาหางานทำในกรุงเทพจำนวนมาก
 
“ ในยุคนั้นก็จะมีหนุ่มสาวในต่างจังหวัด เข้ามาหางานทำในกรุงเทพ จากลูกหลานชาวนา ก็มาเป็นกรรมกรโรงงาน คนส่วนหนึ่งที่ไม่เข้าโรงงานก็มาอยู่แถวพัฒน์พงศ์ แถวพัทยา”
 
พี่ น้อยมองว่าการเกิดขึ้นขององค์กรที่ทำงานกับผู้หญิงอย่างเอ็มพาวเวอร์ ในยุคนั้น ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ หรือเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นแต่อย่างใด เป็นมันยุคที่คนหันมาสนใจปัญหาสังคม มีกลุ่มต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในยุคนั้น เช่น กลุ่มศาสนาเพื่อสังคม หรือมูลนิธิผู้หญิง ที่ทำงานในเรื่องของผู้หญิง ก็เกิดขึ้นแล้วในช่วงนั้น
 
“แนว คิดของเราที่จะทำงาน มันเกิดจากการที่เราไปใช้ชีวิตปกติ พี่ก็เดินไปบนถนน แล้วก็นั่งกินเหล้า กินเบียร์ เมาเหล้าทุกคืน มีเพื่อนที่มาจากต่างประเทศ เราก็พาเขาไปเที่ยว ไปบ่อยๆ ก็เริ่มรู้จักคนในพัฒน์พงศ์ เขาก็รู้สึกว่าคุยกับเราได้ ช่วยเหลือกันได้ ก็ถามเขา เอามั้ย พี่แปลจดหมายให้ และมันก็น่าสนใจ คือ คนที่อยู่ในพัฒน์พงศ์ ลูกสาวมาเต้นอะโกโก้ แม่มาขายบุหรี่พีเอ็ก น้ามาขายส้มตำ พี่ชายไปขับรถตุ๊กตุ๊ก มาจากหมู่บ้านเดียวกัน แล้วก็เริ่มต้นจากที่ว่า ทุกคนอยากจะเรียนหนังสือ อยากจะอ่านจดหมายที่ลูกค้าฝรั่งเขียนมา แล้วอยากจะเขียนเอง เขาอยากจะไปธนาคาร เข้าไปกรอกแบบฟอร์มบ้าๆ ของธนาคาร เขากรอกไม่เป็น มันเกิดจากชีวิตที่รู้จักกันเหมือนเพื่อนมนุษย์ แล้วก็ช่วยเพื่อนที่รู้จักกัน แล้วตอนหลังก็กลายมาเป็นโรงเรียน มานัดเจอกันทุกสี่โมงเย็น เขาทำงานกันตอนหกโมงเย็น เราก็ไปสอนภาษาไทย สอนภาษาอังกฤษ สอนไปธนาคาร ไปไปรษณีย์ ไปเขียนพวกจ่าหน้าซองจดหมาย มันเป็นพัฒนาการในฐานะเพื่อนมนุษย์ตอนหลังๆ เกิดมีคนมาเห็น เขาก็เอาเงินมาให้ แล้วก็เลยกลายเป็นโครงการขึ้นมา ทำเกิดภาระผูกพันไม่ใช่ทำแค่คนรู้จักแล้ว แต่เราต้องมองกว้าง ว่านี่คือปัญหาสังคม”
 
การ ทำงานย่อมมีปัญหา ยิ่งต้องทำงานในประเด็นที่อ่อนไหว ในสังคมที่อ้างศีลธรรมสำคัญกว่าชีวิตคนด้วยแล้ว ดูเหมือนจะยากเย็นแสนเข็นสำหรับบุคคลภายนอกที่มองเข้ามา การต้องเผชิญกับแรงกดดันในสังคมย่อมเป็นเรื่องยากจะปฏิเสธ แต่อะไรเล่า ที่ทำให้เธอและงานของเธอสามารถยืนหยัดฝ่าฟันอุปสรรคมาได้จนถึงทุกวันนี้
 
“งาน ที่พี่ทำมันไม่ยากหรอก คุณรักตัวคุณอย่างไร คุณก็ทำอย่างนั้น แนวคิดของพี่คือมีปัญหาเข้าไปแก้ปัญหา นั่นคือมีงานให้คุณทำ พอเราทำงานเราเจอปัญหา เราไม่ถือว่าอันนั้นเป็นปัญหาหรือเป็นอุปสรรค เราเจอปัญหาเราดีใจ ว่าเออ เรามีงานทำแล้ว คนอ่านหนังสือไม่ออก ทำไมคน อายุ ๒๐ แล้วอ่านหนังสือไม่ออก แล้วทำไมคนอย่างเราทำไมอ่านหนังสือออก เราก็สอนหนังสือ มีความรู้อะไร เราก็เผื่อแผ่ แล้วมันก็เกิดเป็นโครงการขึ้นมา คนไม่รู้จะไปโรงพยาบาลยังไง แต่ทำไมเราไปเองได้ บางคนเข้าไม่ถึงบริการสาธารณะสุข ก็เกิดเป็นโครงการ ทุกอย่างที่เกิดปัญหาขึ้นมา ก็เหมือนว่าเขาสอนให้เราได้ทำงาน มันมีปัญหาเราก็เข้าไปแก้ พี่มาทำงานเอ็นจีโอ เริ่มต้นก็ทำคนเดียว ตอนนี้มี ๓๕ คน มี ๑๑ จังหวัด จะเห็นว่ามันขยายออก มันคือความก้าวหน้าของชีวิต การทำงานเอ็นจีโอ มีความก้าวหน้า มีความมั่นคง มีศักดิ์ศรี ไม่ต้องไปเป็นลูกจ้างใคร มีชุมชนเป็นนายจ้างเรา ถ้าเขาไม่บอกให้เราไปเขียน เราก็เขียนโครงการไม่ได้ เราถือว่าอันนี้เป็นงานที่มีเกียรติ เป็นงานที่ก้าวหน้า และก็เป็นงานที่ให้ความรู้ให้สติปัญญา การทำงานเอ็นจีโอ พี่ไม่คิดว่าเป็นงานอาสาสมัคร แต่เป็นงานอาชีพ ที่มีเกียรติ อาชีพที่มั่นคง”
 
พี่ น้อยอธิบายต่อว่า ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน ได้ให้บทเรียนหลายอย่าง แต่บทเรียนที่ได้รับมาตลอดคือการทำงานกับภาครัฐ การปรึกษาหารือกัน เรื่องการประสานงานมันมีช่องว่างเยอะ มันเหลื่อมล้ำกันเยอะ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราอยากแก้ปัญหาให้ชุมชนเร็วๆ ประสานกับภาครัฐไม่เคยสำเร็จเลย
 
“ปัญหา ตั้งแต่ทำจนกระทั่งเดี๋ยวนี้ กลุ่มคนที่พี่ทำงานด้วยถูกตีตราจากสังคม ว่าเป็นอาชีพที่น่ารังเกียจ ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ใช้ประโยชน์มหาศาล ไม่ว่าหุ้นขึ้นหุ้นตก สถานบริการไม่เคยปิด เพราะฉะนั้นแรงงานภาคบริการต้องได้รับความยุติธรรมเท่าเทียมกับอาชีพอื่น แต่กฎหมายยังผิดอยู่ สังคมก็ยังรังเกียจอยู่ แต่ขณะเดียวกันสังคมก็ปิดหูปิดตา แล้วก็เอามือไปกอบโกยผลประโยชน์ เพราะฉะนั้นมันต้องคิดใหม่ งานอาชีพนี้ใช้กฎหมายแก้ปัญหาไม่ได้ ประเพณีวัฒนธรรมไม่สามารถจะเอามาเป็นฐานแนวคิดได้ เราทำงานกับชุมชนที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่ไม่ได้รับการยอมรับจากสังคม แต่ขณะเดียวกันก็มีนักการเมือง หรือผู้หลักผู้ใหญ่เป็นเจ้าของสถานบริการ คุณดูซิ แถวรัชดาเจ้าของเป็นของใคร และธุรกิจอันนั้น ไม่ใช่ ๑๐ หรือ ๒๐ ล้าน มันเป็นพันๆ ล้าน แล้วเขาขายอะไรกัน ขายอ่างน้ำเหรอ แล้วทำไมธุรกิจมันอยู่ได้ เพราะคนไปใช้บริการมีเงินที่จะจ่าย และคนที่ทำงานเขาก็เป็นคนทำงาน เขามีความผิดเพราะเขาทำงาน คนที่ไปซื้อบริการไม่มีความผิดเพราะไปซื้อ แต่กิจกรรมก็คือการร่วมเพศ ไอ้คนเดียวมันไม่เรียกร่วม ต้องสองคนมันถึงจะร่วม ธุรกิจอันนี้เป็นธุรกิจพันล้าน เป็นธุรกิจใหญ่มาก แล้วคนที่ทำงานเราไม่ดูแลเหรอ เขามีความผิดเหรอที่เขามาทำงาน ดังนั้นต้องคิดใหม่ว่า คนที่ทำงานสถานบริการทั้งหลาย ก็คือเป็นแรงงานภาคบริการ ทีนี้ถ้าเราคิดอย่างนี้ ไอ้เรื่องผิดกฎหมาย เรื่องผิดศีลธรรมมันก็หมดไป”
 
เอ็ม พาวเวอร์เรียกตนเองว่า เป็นแรงงานภาคบริการ ดังนั้น วันที่ ๘ มีนา วันสตรีสากล ที่เกิดมาจากการต่อสู้ของแรงงานหญิง ที่เรียกร้องระบบ สาม ๘ คือ ทำงาน ๘ ชั่วโมง พักผ่อน ๘ ชั่วโมง และศึกษาหาความรู้ ๘ ชั่วโมง เขาจึงให้ความสำคัญ และเข้าร่วมเป็นประจำทุกปี
 
“เรา ไปร่วมทุกปี แต่ปีนี้เป็นปีแรก ที่เข้าไปเป็นขณะทำงานเพราะว่ามันเป็นวันครบรอบ ๑๐๐ ปี วันสตรีสากล เราคิดว่าเราเป็นแรงงานกลุ่มหนึ่ง คือแรงงานภาคบริการเราก็เข้าไปร่วม นอกจากนี้พี่ก็เห็นว่ากลุ่มผู้หญิงที่เขาไปรวมกลุ่ม ไม่ใช่มีแต่กลุ่มแรงงาน มีกลุ่มศิลปินด้วย มีกลุ่มที่มาจากสิ่งแวดล้อมอะไรด้วย เพราะฉะนั้นมันเป็นการรวมพลังที่เยอะที่สุด การรวมพลังอันนี้เราจะต้องเห็นความแตกต่าง เราจะต้องให้ความสำคัญกับความแตกต่าง ไม่ต้องมาทำเหมือนกัน คุณไม่ต้องมาทำเหมือนกลุ่มแรงงาน มาทำเหมือนกับกลุ่ม แต่ความแตกต่างมันทำให้เกิดการพูดคุย เกิดการลับสมอง เกิดการขับเคลื่อน ในมุมมองที่มันแตกต่างกัน พี่คิดว่าตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญ”






ประทิน เวคะวากยานนท์
ที่ปรึกษา เครือข่ายสลัม
4 ภาค
 
 
เครือข่ายสลัม 4 ภาคเป็นขบวนการคนจนในเมืองที่ขับเคลื่อนในประเด็นสิทธิที่อยู่อาศัย   การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวสลัม และแสวงหาความยุติธรรมทางสังคม ผ่านกระบวนการสร้างดุลอำนาจต่อรองกับภาครัฐ โดยมีการดำเนินงานที่เป็นอิสระปราศจากการครอบงำแทรกแซงจากอำนาจการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ใดๆ เครือข่ายสลัม 4 ภาค ก่อตั้งขึ้นในปลายปี พ.. 2541 ปัจจุบันมีสมาชิกกว่า 100 ชุมชน โดยมีเป้าหมายคือสร้างความเป็นธรรมแก่สังคมในด้านที่อยู่อาศัย
 
ประทิน เวคะวากยานนท์ (อายุ 59 ปี) ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัม 4 ภาค เล่าประสบการณ์ทำงาน ในฐานะผู้นำหญิงคนสำคัญของขบวนการ ประทินเริ่มเล่าปูมหลังชีวิตก่อนที่จะเข้าร่วมกับขบวนการคนจนเมืองแห่งนี้ ที่เธอเองก็มีประสบการณ์ตรงในการเป็น “เหยื่อ” ของความไม่เป็นธรรมทางสังคม ความเหลื่อมล้ำในประเด็นที่อยู่อาศัย
 
“เมื่อ ก่อนที่ยังไม่เข้าขบวนการก็อยู่ที่ดิน ของญาติๆ กัน อยู่ตรงโพธิ์สามต้น ก็ไม่คิดไม่ฝันว่าจะถูกเขาไล่ ตรงนั้นมันเป็นที่ของพี่น้องกัน ที่นี่เราก็อยู่กันมา แต่พอรุ่นพ่อ รุ่นแม่ เขาตาย พอรุ่นลูกเขาก็ขายที่หมด เราก็ต้องออก คนที่ปลูกอยู่ในนั้น บางคนก็เช่า ผลสุดท้ายก็ไล่หมด เราก็โดน ประมาณปี พ.. 2535 – 2536 พอ ออกมาแล้วเราก็ไปเช่าบ้านอยู่ก่อน พอเช่าบ้านอยู่ก็มีพี่น้อง มีคนที่เขาชักจูงมาก็มาอยู่ที่ที่รถไฟ ตอนนั้นก็ยังไม่ได้เช่า แต่ก็มาเสียค่าหน้าดินให้กับคนที่เขาจับจองไว้ก่อนดั่งเดิม และก็เสียค่าเช่ารถไฟอยู่สองปี หลังจากนั้นรถไฟก็ไม่ได้เก็บเลย ตอนที่เราอยู่ที่รถไฟนะ เราขอทะเบียนบ้านไม่ได้ ไปขอน้ำ ขอไฟ ก็ไม่ได้ เราก็อยู่แบบนั้น ไปขอต่อน้ำ ต่อไฟ จากที่เอกชนเขาเข้ามา”
 
ที่ นี่เองที่ประทินเริ่มรู้จักช่องทางและวิธีการต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็น ธรรม เมื่อมีองค์กรพัฒนาเอกชนเข้ามาทำงานช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่ในช่วงปี พ.. 2540 เธอได้เข้าร่วมการประชุมและกิจกรรมต่างๆ และในปี พ.. 2541 ประทินก็ได้เข้าร่วมกลุ่มเครือข่ายฯ และในปี พ.. 2542 ก็เกิดการชุมนุมใหญ่ของเครือข่ายสลัม 4 ภาคเป็นครั้งแรก
 
“พอ อยู่มาก็มีเอ็นจีโอ นักพัฒนาเอกชน เข้ามา เขาก็ไปเดินสำรวจดู เขาก็ ไปชักจูงคนที่ยังไม่มีทะเบียนบ้านให้ไปทำทะเบียนบ้าน ไอ้เรา นี่รุ่นที่หลังเลย เพราะเราค้าขาย เราไม่ค่อยได้อยู่บ้าน พอจังหวะพอดีวันนั้นไม่ได้ค้าขาย พอดีกับเอ็นจีโอ เขาก็เดินมา เขาก็มาบอกว่าใครที่ยังไม่ขอทะเบียนบ้าน ยังตกหล่นอยู่ก็ให้ไปถ่ายเอกสารมา แล้วก็จะพาไปทำ เราก็ไปทำว่ะ เพราะว่าก็ไม่ต้องเสียอะไร สะตุ้งสตางค์อะไรเขาก็ไม่เรียกร้อง เสียแค่ค่าถ่ายเอกสารแค่สองใบ พอไปเสร็จปั๊บ เราก็ได้ทะเบียนบ้าน พอได้ทะเบียนบ้านมา ตั้งแต่นั้นก็มามั่วอยู่ในเนี่ย พอได้มาเขาก็มาช่วยไปประชุม ไปชวนทำกิจกรรม ก็เป็นเทคนิคของเอ็นจีโอเขานะ แล้วก็ไอ้ลึกๆ ของเรานะ เราก็คิดว่าเราไม่ได้รับความเป็นธรรมจากทางรัฐนะ ว่าทำไมเราถึงมีทะเบียนบ้านไม่ได้ อะไรไม่ได้ แล้วเราก็ไม่ชอบการกดหัวของราชการนะ พอจะไปทำอะไรเราก็ต้องไปยืนหงอ พอเขาดุอะไรมาเราก็นั่นเลย พอมาตรงนี้ปุ๊บเราทำได้นี่หว่า ทะเบียนบ้านเราขอได้นี่หว่า เราสามารถไปคุยได้ เรามีปากมีเสียง พอไปประชุม เทคนิคของนักพัฒนาเขานะ พอเห็นใครพูดนั่นนี่หน่อย เขาก็ชวนไปตรงนั้นตรงนี้ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เราก็เลยเขามาเรื่อยๆ เราก็ไม่ได้พูดเก่งนะ แต่พอมีพื้นที่ที่ทำให้เราได้แสดงออก เราก็เริ่มตรงนั้นเลยว่า เราสามารถเข้าไปเจรจากับรัฐได้ สามารถจะไปทำอะไรได้ ทำได้ พูดได้ ก็ค่อยๆ พัฒนาตัวเองเข้ามาโดยวิธีการที่พี่เลี้ยง เขาก็มีการอบรมสอนเทคนิคอะไรให้ เราก็ค่อยๆ พัฒนาตัวเองด้วย หลังจากที่เรารวมกลุ่มกันได้ ซักประมาณปีหนึ่ง คือร่วมกลุ่มตอนปี พ.. 2541 แล้วมันมีกระแสของการไล่รื้อชุมชนริมทางรถไฟ ทั่วประเทศ ตอนนั้นมันเป็นนโยบายของการรถไฟ เขาไล่รื้อทั่วประเทศตอนปี พ.. 2541 ตอน นั้นทางพี่เลี้ยงหลายคนเขาก็ เรียกหลายๆ ส่วนมาคุยกัน ว่าจะทำยังไงกัน ก็เลยคุยกันกับพวกที่เขามีองค์กรมีเครือข่ายอยู่แล้ว ในภาคเหนือเขาก็มีองค์กรอยู่แล้ว ในภาคใต้เขาก็มีองค์กร ในภาคอีสานก็มีทางอุบล ก็มาคุยกัน ที่เป็นชุมชนริมทางรถไฟเหมือนกัน พอคุยกันเสร็จแล้วก็คิดกันว่า มันต้องต่อสู้ ให้มันเป็นนโยบายออกมาว่าเราจะใช้ที่ดินรัฐ ที่ดินการรถไฟ โดยการเช่า ก็เลย มารวมตัวกันแล้วก็มีการลงสำรวจชุมชนกันทั่วประเทศ พอสำรวจตอนนั้นมันก็ได้ประมาร 160 กว่าชุมชน พอเสร็จแล้วเราก็มาคุยกัน คนที่เขาเห็นด้วยกับเราก็มี คนที่ไม่เห็นด้วย ไม่อยากเช่า ไม่อยากอะไรเนี่ย เราก็ว่างั้น เราก็มาขึ้นทะเบียนกันไว้ ว่ามีชุมชนอะไรที่อยู่ร่วมกัน ก็มีทั้งหมด 61 ชุมชน ที่จะร่วมต่อสู้กันในที่ดินการรถไฟ ขอเรียกร้องแรก คือขอนโยบายการใช้ที่ดินของการรถไฟ คือเราขอเช่า เราก็อ้างอิงว่าทำไมเอกชนเช่าได้ ทำไมเราเช่าไม่ได้ที่ไล่รื้อทั้งหมดก็เพื่อจะเอาไปให้ที่เอกชนเช่านั่นแหละ เรายื่นข้อเสนอว่าเราจะขอเช่า เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งมันไม่แพง ก็มีขบวนการเจรา ต่อรอง และก็ชุมนุมกัน ชุมนุมครั้งแรกที่กระทรวงคมนาคม ตอนปี พ.. 2542  ซึ่งเป็นการชุมนุมครั้งแรกของเครือข่ายสลัมสี่ภาค”
 
การต่อสู้ของเครือข่ายสลัม 4 ภาค นอกจากจะเคลื่อนไหวช่วยเครือข่ายของชาวสลัมในพื้นที่ต่างๆ แล้ว เครือข่ายก็ยังมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเรื่องนโยบาย เช่น การผลักดันนโยบายโฉนดชุมชนในพื้นที่สาธารณะริมคูคลอง ทั้ง นี้เพื่อให้ชาวสลัมริมคลองสามารถปรับปรุงที่อยู่อาศัยในที่ดินเดิมและได้ สิทธิความมั่นคงในรูปของโฉนดชุมชนจากกรุงเทพมหานครและหน่วยงานท้องถิ่นต่างๆ ได้ , การผลักดันให้ออกกฎกระทรวงเพื่อผ่อนปรนในเรื่องการปลูกสร้างอาคาร และการผลักดันให้รัฐบาลอนุมัติงบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยของโครงการบ้าน มั่นคง เป็นต้น
 
สำหรับประทิน การทำกิจกรรมกับเครือข่ายสลัม 4 ภาค ทำถือว่าเป็นแรงบันดาลใจว่าการที่คนเล็กๆ เมื่อรวมกลุ่มกันแล้วต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม มันก็มีพลัง และมีความภาคภูมิใจที่สามารถเจรจาต่อรองกับหน่วยงานภาครัฐได้อย่างเต็ม ภาคภูมิ ไม่ใช่เป็นการขอความช่วยเหลือแบบสังคมสงเคราะห์อีกต่อไป และเธอมีความหวังว่าขบวนการชาวบ้านจะต้องก้าวไปในหนทางการต่อสู้เพื่อเรียก ร้องความเป็นธรรมในลักษณะที่มี “ศักดิ์ศรี” แบบนี้ ส่วนในประเด็นผู้หญิงกับการทำงานด้านสังคมประทินมองว่าเมื่อก่อนผู้หญิงอาจ จะดูไม่ค่อยมีบทบาท แต่ในปัจจุบันพบว่าผู้หญิงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น อาจจะเป็นเพราะคุณสมบัติพิเศษในเรื่องของความละเอียดอ่อนและใจเย็นมากกว่า ผู้ชาย
 
“เมื่อ ก่อนนี้มันจะมีเรื่องความเหลื่อมล้ำกันระหว่างผู้หญิง ผู้ชายแต่มาตอนหลังนี้ แต่จากประสบการณ์ที่เราทำงานในเรื่องของที่อยู่อาศัย มันจะมีผู้หญิงออกมามาก เราก็คิดสิ่งที่ขบวนการมันจะเดินได้ ผู้หญิงต้องขึ้นมาเป็นผู้นำ ผู้หญิงจะละเอียดอ่อนและใจเย็น จะเหนือกับผู้ชายได้หน่อยก็คือเรื่องใจเย็น”
 
ใน ส่วนตนนั้น ประทินมีกำลังใจที่สำคัญคือแม่ที่ทั้งคอยให้กำลังใจและสนับสนุนการทำงาน เพราะแม่ของประทินนั้นก็ไม่ชอบเรื่องการกดขี่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และในการทำงานหากท้อแท้ ประทินก็มองว่าภาระหน้าที่ที่เธอแบกรับมันไม่ใช่เรื่องของเธอเพียงคนเดียว แต่การทำงานแบบนี้มันมีชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่เบื้องหลัง
 
“อาชีพ ของพี่ก็ค้าขาย แต่ก็ไม่ค่อยได้ขายเท่าไรแล้ว ไม่ค่อยมีเวลาเลย ออกทำงานเยอะ ส่วนใหญ่ก็ช่วยกันทำกับแม่ แต่แม่จะเป็นคนเอาออกไปขาย แต่ตอนนี้แม่ไม่ไหวแล้ว 80 กว่า แล้ว ก็ขายพวกข้าวต้มมัด ขนมเทียน ขนมใส่ไส้ ขายอยู่ละแวกบ้าน แม่สนับสนุนนะ เวลามาทำงาน แม่ก็บอกว่า มึงไปเลย แม่ก็ไม่ชอบเรื่องการถูกกดขี่อยู่แล้ว แต่พอออกมาบ่อยๆ เขา แกทำคนเดียวก็เริ่มบ่นบ้าง”
 
“พี่เคยท้อหลายหน แต่ก็บอกตัวเองว่าถอยไม่ได้ เวลาทำงานมันก็มีปัญหากันบ้าง มันก็จะทำให้ท้อๆ บ้าง แต่เราก็ถอยไม่ได้  เวลา ท้อ ถ้าเราเราท้อกับชาวบ้าน เราก็ไม่เข้าไปยุ่งกับชาวบ้าน แต่พอหายละ เราก็กลับไปทำงานใหม่ แต่ถ้าท้อกับแกนนำด้วยกัน เราก็อยากจะถอยเลย แต่เรามามองถึงปัญหาชาวบ้านอีกเยอะแยะเลย แล้วถ้าเราไม่ลุกออกมาทำ แล้วใครล่ะจะมาทำ เราก็คิดว่าจะทำจนกว่าจะทำไม่ไหวเราก็คิดแบบนี้”

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net