"บุญยืน สุขใหม่" ปริทัศน์หนังสือ “ค่าจ้าง แรงงาน และเงินทุน”

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

กว่าห้าทศวรรษที่ประเทศไทยหันมาสนับสนุนการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมแทนสังคม เกษตรกรรมดั้งเดิมซึ่งเป็นอาชีพของบรรพบุรุษในอดีตจนเกือบจะไม่มีให้เห็นอีก แล้ว ซึ่งนับวันมีแต่จะน้อยลงเรื่อยๆ การก้าวเข้าสู้ระบบอุตสาหกรรมของประเทศไทยนั้นในเบื้องต้นเป็นไปเพื่อทดแทน การนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเท่านั้น แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาในเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมและมีการส่งเสริมการ ลงทุนและส่งออก จนถือได้ว่าประเทศไทยได้เป็นประเทศที่รายได้หลักมาจากการส่งออกของสินค้าจาก ภาคอุตสาหกรรม หรืออีกนัยยะหนึ่ง คือ ประเทศไทยของเราได้ก้าวเข้าสู่ประเทศอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัวแล้วนั่นเอง

แต่ในขณะเดียวกันถ้าเราหันกลับมามองโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย มากกว่า ๘๐% เป็นการลงทุนจากการนำเข้าทุนจากต่างประเทศเกือบทั้งสิ้น โดยที่นายทุนจากต่างประเทศที่มาลงทุนในประเทศไทยนั้นต่างก็หวังจะผลิตสินค้า ด้วยต้นทุนที่ต่ำสุด เพื่อสนองเป้าหมายของเจ้าของทุน ซึ่งจะสอดคล้องกับหลักการของ คาร์ล มาร์กซ์ เป็นอย่างยิ่ง คือ นายทุนจะลอยแพกรรมกรเมื่อใดก็ได้ที่เขาพอใจ หรือ คิดว่ากรรมกรไร้ประโยชน์ต่อเขาแล้ว แต่กรรมกรจะผละจากนายทุนไม่ได้ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่ เพราะชีวิตของเขาอยู่ได้ด้วยการขายแรงงานแต่เพียงอย่างเดียว

เราก็กล่าวได้ว่า สภาวการณ์สำคัญที่สุดของแรงงานค่าจ้างคือ การมีเงินทุน การผลิตขยายตัวอย่างรวดเร็วและนั่นก็คือสาเหตุที่มิให้ชนชั้นกรรมกรได้สร้าง อำนาจให้ชนชั้นกรรมกรได้สร้างอำนาจให้แก่ศัตรูมาปกครองเขาเอง เพราะการขยายเงินทุนอย่างรวดเร็วจะเพิ่มความร่ำรวยให้แก่ชนชั้นกลาง เพิ่มอำนาจให้แก่เงินทุนแล้วแปลงร่างเป็นโซ่ตรวนสีทองให้ชนชั้นกลางลากมากด ขี่กรรมกรผู้ใช้แรงงานระดับล่างอีกทีหนึ่ง ทุกครั้งที่เกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือล้มเหลวคนที่รับเคราะห์เป็น อันดับแรกคือกรรมกรระดับล่างสุดของสังคม และเหตุการณ์เดียวกันนี้ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเกิดขึ้นเรื่อยเพื่อนำแรง งานรุ่นใหม่เข้ามาทดแทน เมื่อเป็นอย่างนี้กรรมกรที่อายุมากขึ้นจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร?

ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเห็นว่า การทำความเข้าใจเรื่อง “ค่าจ้าง แรงงานและเงินทุน” ซึ่งเขียนโดย คาร์ล มาร์กซ์ เมื่อปี ๑๘๔๘ และแปลเป็นภาษาไทยโดย คุณสมชาย แม่นแย้ม เมื่อ ๑๙ กันยายน ๒๕๑๗ ยังคงมีความทันสมัยอยู่เสมอแม้จะผ่านช่วงเวลามากว่าร้อยปี การกดขี่ขูดรีดโดยชนชั้นนายทุนยังคงมีให้เห็นกันอย่างดาษดื่น โดยเฉพาะประเทศโลกที่สามอย่างไทยเรา รัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต่างก็อ้างได้อย่างสวยหรูว่า “เพื่อการพัฒนาประเทศ”

บุญยืน สุขใหม่
๑๔ มีนาคม ๒๕๕๔

ดาวน์โหลดฉบับเรียบเรียงใหม่โดยบุญยืน สุขใหม่กลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก (ใช้เพื่อการศึกษาของแรงงาน)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท