สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 10 - 16 เม.ย. 2554

ชี้แรงงาน'ท่อใยหิน'เสี่ยงมะเร็งปอด รศ.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยถึงอันตรายของผู้ใช้แรงงานสัมผัสกับวัสดุก่อสร้างที่มีส่วนผสมของแร่ ใยหินว่า จากการติดตามแหล่งจำหน่ายของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ที่ทำท่อใยหินกระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีท่อใยหิน พบว่า อุตสาห กรรมเหล่านี้ไม่มีมาตรการป้องกันให้ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานสัมผัสกับท่อใยหิน ซึ่งผู้ใช้แรงงานไม่มีโอกาสทราบว่าใยหินรอบตัว คือ สารก่อมะเร็ง ทั้งมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และอื่นๆ โดยอนุภาคใยหินกระจายอยู่ทั่วไปในสถานที่ผลิต การขาดมาตรฐานในการดูแลผู้ใช้แรงงาน เหล่านี้จะสร้างภาระทางสุขภาพแก่ผู้ใช้แรงงานและครอบครัวในระยะยาวจากโรค มะเร็งนำมาสู่การแบกรับทางเศรษฐกิจที่ครอบครัวและรัฐจะต้องดูแลอย่างมหาศาล เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็งปอดมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก สำหรับการป้อง กันโรคคือหยุดใช้แอสเบสตอสทุกชนิด คคส.เห็นด้วยกับการที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติยกเลิกการใช้ใยหินไครโซไทล์ใน ประเทศไทย จะเป็นผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาลที่จะดูแลสุขภาพผู้ใช้แรงงาน ผู้บริโภค และคนไทยอย่างจริงจัง (ข่าวสด, 11-4-2554) ครม.​เห็นชอบ​ให้ศึกษา​ความ​เป็น​ไป​ได้ขยายสิทธิลาคลอดบุตร​ได้ 180 วัน นพ.มารุต มัสยวาณิช รอง​โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ​เปิด​เผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี​เห็นชอบตามมติของสมัชชาสุขภาพ​แห่งชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรม​การสุขภาพ​แห่งชาติ​เสนอ ​โดยขอ​ให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวง​แรงงาน ​และสำนักนายกรัฐมนตรี ​และกรมบัญชีกลาง ​และหน่วยราช​การทุกภาคส่วนที่​เกี่ยวข้อง ​ใน​การศึกษา​ความ​เป็น​ไป​ได้​การขยายสิทธิ​การลาคลอด ​หรือพิจารณาปรับปรุงกฎหมายสิทธิ​การลาคลอดบุตร ​ให้​เป็น 180 วัน ​ทั้งนี้​ในระหว่างลาคลอดยังคง​ให้​ ได้รับค่าจ้างตามปกติ ​โดย​เฉพาะกรณี​การ​เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา รวม​ทั้งพิจารณามาตร​การลดหย่อนภาษี​และ​ให้ประกาศ​เกียรติคุณ​แก่สถาน ประกอบ​การที่ส่ง​เสริม​การ​เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา (สำนักข่าวอิน​โฟ​เควสท์, 12-4-2554) เตรียมฟ้องศาล​แรงงาน ​เหตุ สปส.​เ​ก็บ​เงินสมทบสุขภาพ ​เรียก​เงินคืนตั้ง​แต่ปี 45 ​เข้าชราภาพ​แทน 12 เม.ย. 54 - นายนิมิตร์ ​เทียนอุดม กรรม​การชมรมพิทักษ์สิทธิ​ผู้ประกันตน ​เปิด​เผยว่า ขณะนี้ทางชมรมอยู่ระหว่าง​การ​ให้ทนายร่างคำฟ้องต่อศาล​แรงงาน ​เพื่อ​เรียกร้อง​ให้ สปส.คืน​เงินสมทบด้านสุขภาพที่​ผู้ประกันตน​ได้จ่าย​เข้ากองทุนประกันสังคม​ ไป​แล้วตั้ง​แต่ปี 2545 นำมาสมทบ​ในส่วนของบำนาญชราภาพ​แทน ​เนื่องจากประกาศของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ​ใน​การจ่าย​เงินสมทบนั้น​เป็นประกาศที่​ไม่ชอบ ​ทั้งนี้ คาดว่าน่าจะส่งฟ้อง​ได้​ในช่วงหลังสงกรานต์ ส่วนประ​เด็นที่จะ​เป็นภาระของรัฐบาล ที่จะนำงบประมาณมาสมทบ หาก​ผู้ประกันตน​ในระบบ สปส.ต้อง​เข้ามาสู่ระบบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ​แห่งชาติ (สปสช.) นายนิมิตร์ กล่าวว่า ต้อง​เข้า​ใจประ​เด็นก่อนว่า​ผู้ประกันตนถูกปฏิบัติอย่าง​ไม่​เสมอภาค ต้อง​แก้​ไข​ให้​เท่า​เทียมก่อน ​ซึ่ง​เรื่องงบประมาณที่จะนำมา​ใช้​เป็นระบบ​การจัด​การทางด้านภาษี ต้อง​ให้นัก​เศรษฐศาสตร์ด้านสาธารณสุข อาทิ ดร.อัมมาร สยามวาลา ​และทาง สปสช.คำนวณค่า​ใช้จ่ายว่าถ้า​ผู้ประกันตน​เกือบ 10 ล้านคน ​เข้าสู่ระบบของ สปสช.​หรือบัตรทอง ที่มีอยู่ขณะนี้ 48 ล้านคน รวม​เป็น 58 ล้านคน มีคนหนุ่มสาวกี่คน มี​ผู้​ใช้สิทธิจริงๆ กี่คน อยู่​ในช่วงอายุ​เท่า​ไหร่ ​ซึ่งต้องกำหนดค่า​ใช้จ่ายรายหัวอีกทีว่าควรจะ​เป็น​เท่า​ไหร่ “สปส.ควรคิด​เรื่องนี้นาน​แล้ว ​ไม่ว่าจะ​เป็น​การ​ไปพัฒนาระบบภาษี ​การคิดค่า​เหมาจ่ายรายหัว ​เพราะ สปสช.ดีกว่า สปส.หลาย​เท่า สำนักงานของ สปสช.ที่กระจายอยู่ทั่วประ​เทศ​ก็พร้อมดู​แล ​ซึ่ง​เรื่องนี้ สปส.ต้องกลับมาดูที่ตน​เอง​ได้​แล้ว” นายนิมิตร์ กล่าว (แนวหน้า, 12-4-2554) สภาอุตฯ ชง 4 มาตรการรัฐบาลช่วยน้ำท่วมใต้ จ่ายค่าจ้างแทนผู้ประกอบการ 2 เดือน นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในการแถลงความร่วมมือการช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมภาคใต้ระหว่าง ส.อ.ท.และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ว่า ส.อ.ท.ได้สอบถามความเสียหายของสมาชิกในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทั้งทางตรงและทางอ้อม พบว่าสมาชิกส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ 4 ข้อ คือ 1.มาตรการด้านภาษีต้องการให้ภาครัฐช่วยผู้ประกอบการเรื่องสิทธิประโยชน์การ นำค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมโรงงานที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมมาเป็นค่าใช้ จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล 2.ขอให้งดเว้นการเก็บค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าเพื่อช่วยผู้ประกอบการในระยะ ฟื้นฟูกิจการ 3.ขอให้รัฐชดเชยค่าจ้างให้กับแรงงาน ในช่วงผู้ประกอบการฟื้นฟูกิจการ 1-2 เดือน เพื่อชะลอการเลิกจ้าง น้ำท่วมครั้งนี้ผู้ประกอบการต้องหยุดประกอบการ 1-2 เดือน แต่ไม่ได้เลิกจ้างทำให้มีภาระค่าจ้าง โดยรูปแบบการชดเชยอาจทำเหมือนโครงการต้นกล้าอาชีพที่รัฐบาลช่วยชะลอการเลิก จ้างในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจปี 2552 4.การจ่ายเงินช่วยเหลือครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์ชัดเจน และทั่วถึง โดยดูความเสียหายจากภาพถ่ายทางดาวเทียม ในด้านการชดเชยค่าจ้างจะเข้าหารือ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในช่วงวันหยุดสงกรานต์ ส่วนประเด็นอื่นก็จะเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป นายพยุงศักดิ์กล่าวว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบมีทั้งขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี น้ำท่วมครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการมากกว่าน้ำท่วมเมื่อปลายปี 2553 จึงต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาล การฟื้นฟูต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์และคำสั่งซื้อที่เข้ามาก่อนหน้านี้ก็ส่งมอบ ไม่ได้เพราะขาดวัตถุดิบ เช่น อาหารแปรรูป ผู้นำเข้าก็เข้าใจเพราะเป็นภัยธรรมชาติและทำการค้ากันมานาน เช่น ญี่ปุ่น ยุโรป นายสุชาติ วิสุวรรณ รองประธานอาวุโส ส.อ.ท. กล่าวว่า สมาชิก ส.อ.ท.ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีที่ได้รับผลกระทบมี 64 ราย นครศรีธรรมราช 50 ราย กระบี่ 2 ราย ส่วนจังหวัดชุมพรและพัทลุงได้รับผลกระทบทางอ้อมจากการที่แรงงานมาทำงานไม่ ได้ ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ สภาอุตสาหกรรมภาคใต้ประเมินผลกระทบทางธุรกิจไว้ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท เป็นผลกระทบต่อตัวโรงงาน เครื่องจักร สินค้าและวัตถุดิบที่เสียหาย รวมถึงการเสียโอกาสทางธุรกิจ และคาดว่าผลกระทบต่อภาพรวมทั้งหมดของภาคใต้ครั้งนี้อยู่ที่ 20,000 ล้านบาท กลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางตรงอยู่ในธุรกิจยางพาราและปาล์มเพราะโรงงานและ วัตถุดิบเสียหาย เช่น โรงกลั่นน้ำมันปาล์ม ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบทางอ้อมจะเสียโอกาสทางธุรกิจ เช่น โรงงานแปรรูปอาหารทะเล โรงงานที่ได้รับความเสียหายจะต้องหยุดประกอบการ 1-2 เดือน เพื่อฟื้นฟูกิจการ โดยเครื่องจักรที่เสียหายจากน้ำท่วมต้องใช้เวลาซ่อมแซมอย่างน้อย 1 เดือน (ประชาชาติธุรกิจ, 13-4-2554) คคส.ชี้แรงงานท่อใยหินเสี่ยงมะเร็งปอด รศ.ภก.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยถึงอันตรายของผู้ใช้แรงงานของไทยที่ยังสัมผัสกับวัสดุก่อสร้างที่มี ส่วนผสมของแร่ใยหิน ว่า จากการติดตามแหล่งจำหน่ายของโรงงานอุตสาหกรรม SME ที่ทำท่อใยหิน กระจายอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศ และจากการสำรวจข้อมูลในเว็บไซต์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรม SME ท่อใยหิน พบว่า อุตสาหกรรมเหล่านี้ไม่มีมาตรการป้องกันให้ผู้ใช้แรงงานที่ทำงานสัมผัสกับท่อ ใยหินเหล่านี้ ซึ่งผู้ใช้แรงงานไม่มีโอกาสทราบว่าใยหินรอบตัว คือสารก่อมะเร็ง ทั้งมะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด และอื่นๆ โดยอนุภาคใยหินกระจายอยู่ทั่วไปในสถานที่ผลิต สังเกตดูได้จากภาพของแรงงานที่ปรากฏในเว็บไซต์ของอุตสาหกรรมเหล่านี้ จะเห็นได้ว่าไม่มีมาตรการป้องกันใดๆ ให้กับแรงงาน ดังนั้นการขาดมาตรฐานในการดูแลผู้ใช้แรงงานเหล่านี้จะสร้างภาระทางสุขภาพแก่ ผู้ใช้แรงงานและครอบครัวในระยะยาวจากโรคมะเร็ง นำมาสู่การแบกรับทางเศรษฐกิจที่ครอบครัวและรัฐจะต้องดูแลอย่างมหาศาล เนื่องจากการรักษาโรคมะเร็งปอดมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก “องค์การอนามัยโลกได้ชี้ว่าแอสเบสตอ สทุกชนิดรวมทั้งใยหินไครโซไทล์ ที่ประเทศไทยยังยอมให้ใช้อยู่เป็นอันตราย โดยเป็นสารก่อมะเร็ง ที่ทำให้เกิดโรคที่สัมพันธ์กับแอสเบสตอส เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเยื่อหุ้มปอด การป้องกันโรคคือการหยุดการใช้แอสเบสตอสทุกชนิด เครือข่ายแพทย์และนักวิชาการได้ผนึกกำลังผ่านสมาพันธ์อาชีวอนามัย/ความ ปลอดภัย/สภาพแวดล้อมในการทำงาน และได้ร่วมประชุม Asian Conference on Occupational Health 2011 เมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อยืนยันสนับสนุน มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ที่มีมติให้ยกเลิกการผลิต นำเข้าและส่งออกแร่ใยหินทุกชนิด จึงเห็นว่าการที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติยกเลิกการใช้ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย จะเป็นผลงานชิ้นโบแดงของรัฐบาล ที่จะดูแลสุขภาพผู้ใช้แรงงาน ผู้บริโภค และคนไทยอย่างจริงจัง” รศ.ภก.ดร.วิทยา กล่าว (บ้านเมือง, 14-4-2554) สปส.เตือนอย่าเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพ สมัครประกันเรียกเก็บเงินผ่านตัวแทน นางสาวเพ็ญศรี ฤกษ์นันทน์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ พิเศษ รักษาราชการแทนประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ แจ้งว่าสำนักงานประกันสังคมได้ขยายความคุ้มครองประกันสังคมตามมาตรา 40 โดยให้มีสิทธิประโยชน์ 2 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 จ่ายเงินสมทบ 100 บาท (ผู้ประกันตนจ่าย 70 บาท รัฐบาลอุดหนุน 30 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี คือเงินชดเชยการขาดรายได้ กรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ และกรณีตาย ทางเลือก 2 จ่ายเงินสมทบ 150 บาท (ผู้ประกันตนจ่าย 100 บาท รัฐบาลอุดหนุน 50 บาท) ได้รับสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1 และเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีบำเหน็จชราภาพ อีก 1 กรณี นางสาวเพ็ญศรี ฤกษนันทน์ แจ้งเพิ่มเติมขณะนี้สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ กำลังเปิดรับสมัครผู้ประกันตามมาตรา 40 เท่านั้น แต่ยังไม่มีการเริ่มเก็บเงินสมทบแต่อย่างใด จนกว่าพระราชกฤษฎีกาจะมีผลและประกาศบังคับใช้ ซึ่งจะประกาศใช้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2554 เป็นต้นไป หากมีข้อสงสัยสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ สำนักงานประกันสังคมจังหวัดเชียงใหม่ อาคารอำนวยการ ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัด เชียงใหม่ ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.เชียงใหม่. แรงงานพม่าเริ่มเดินทางกลับไทยหลังกลับบ้านช่วงสงกรานต์ เมื่อวันที่ 16 เม.ย.แรงงานพม่าจำนวนนับ 1,000 คน เริ่มเดินทางโดยสารเรือข้ามแม่น้ำเมยจากจังหวัดเมียวดีของพม่ากลับมายังฝั่ง ประเทศไทย ที่บริเวณท่าข้ามที่ 2 บ้านห้วยม่วง ตำบลท่าสายลวด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งนี้เพื่อกลับมาทำงานในประเทศไทยตามปกติ หลังจากที่ได้เดินทางกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งแรงงานพม่าต่างต้องรีบเดินทางกลับก่อน เนื่องจากมีปัญหารถโดยสารฝั่งพม่าไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับจะต้องโดยสารรถจากอำเภอแม่สอด ไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆ เกรงว่าจะมีปัญหาเรื่องรถโดยสารเต็ม อย่างไรก็ดีมีแรงงานพม่านับ 10,000 คน ยังไม่ได้กลับมา และเดินทางมายังไม่ถึง (กรุงเทพธุรกิจออนไลน์, 16-4-2554)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท