Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis


แฟ้มภาพ:  ประชาไท

ข้อเรียกร้องปี2554
ปี2553
ปี2552
ปี2551
ปี2550
ปี2549
1.  ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 แล 98
*
*
 
 
*
2.  ให้รัฐบาลจัดตั้งกองทุนประกันความเสี่ยงให้กับลูกจ้าง  ในกรณีสถานประกอบการปิดกิจการ  เลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชยเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงในการทำงาน
*
*
 
 
 
3.  ให้รัฐบาลปรับค่าจ้างที่เป็นธรรมกับลูกจ้าง  พร้อมกำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และรายได้แห่งชาติ ทุกสาขาอาชีพ
     3.1  ให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้า  เข้มงวด  และเอาผิดกับผู้ทำผิดกฎหมาย
 
 
 
 
 
4.1  ให้รัฐบาลปฏิรูประบบประกันสังคม
      4.1  ให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 ม.39  กรณีการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตน  ควรจ่ายเพียงเท่าเดียว
      4.2  ให้รัฐบาลนิรโทษกรรมให้กับผู้ประกันตน ม.39 กลับมาเป็นผู้ประกันตนได้
      4.3  ให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตน ม.40 ในอัตรา 50% ทุกกรณี
      4.4  ให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม 2533 โดยขยายสิทธิให้ผู้ประกันตนสามารถรักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาล  ในเครือประกันสังคม
      4.6  ให้รัฐบาลยกระดับสำนักงานประกันสังคม  เป็นองค์กรอิสระ
 
*
 
*
 
 
 
*
5.  ให้รัฐบาลยกเลิก พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 และยกเลิกการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจทุกกิจการ
*
*
*
*
*
6.  ให้รัฐบาลยกเว้นเก็บภาษีเงินได้ของลูกจ้าง  ในกรณีเงินค่าชดเชย  และเงินรายได้อื่นๆ ซึ่งเป็นเงินงวดสุดท้าย
*
*
 
 
*
7.  ให้รัฐบาลแก้ไข พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ม.118 ให้กับลูกจ้างเดิมอายุงาน 10 ปีขึ้นไป  จ่ายชดเชย 300 วัน เป็นอายุงาน 10 ปีขึ้นไปเพิ่มอีกปีละ 30 วัน
     7.1  ให้รัฐบาลเข้มงวดและบังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ม.11/1 ในกรณีลูกจ้างรับเหมาค่าแรง
*
 
 
 
 
8.  ให้รัฐบาลจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กและศูนย์เก็บน้ำนมแม่
*
 
 
 
 
9.  ให้รัฐบาลรวมกฎหมายแรงงานทุกประเภทเป็นประมวลกฎหมายแรงงานฉบับเดียว  และบังคับใช้ทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ
 
 
 
 
 

หมายเหตุ  *  ปี 2549-2550  เสนอปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อ
และ ปี 2551 เสนอปรับวันละ 9 บาทอัตราเดียวทั้งประเทศ

  1. ข้อเรียกร้องที่หายไปเลย  เพราะเคยมีเป็นข้อสุดท้ายของทุกปีตั้งปี2549 ถึง 2553  คือ  ให้รัฐตั้งคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานเป็นคณะติดตามและประสานงานข้อเรียกร้อง วันแรงงานแห่งชาติ
  2. ปี2554  เป็นปีแรกที่มี ข้อเรียกร้องเพื่อการปฏิรูปประกันสังคมหลายข้อ (4.1-4.6) ในขณะที่คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงาน  ยื่นข้อเรียกร้องมาหลายปีแล้ว  และเป็นปีแรกที่มีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลรวมกฎหมายแรงงานทุกประเภทเป็นประมวลกฎหมายแรงงานฉบับเดียว  และบังคับใช้ทั้งภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ

 

ประมวลคำขวัญ
รายชื่อประธานกรรมการจัดงานวันแรงงาน 1 พฤษภาคม
และงบประมาณสนับสนุน จำนวน 24 ปี (พ.ศ. 2531 – 2554)

ปี
คำขวัญวันแรงงานแห่งชาติ
ชื่อประธานกรรมการจัดงาน
ชื่อประธานสภาองค์การลูกจ้าง
งบประมาณ (บาท)
2531
ประชาชนต้องมีประกันสังคม
วัฒนะ  เอี่ยมบำรุง
สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย
450,000
2532
ผู้ใช้แรงงานต้องมีประกันสังคม และการจ้างงานที่เป็นธรรม
ทนง  โพธิ์อ่าน
สภาแรงงานแห่งประเทศไทย
500,000
2533
ผู้ใช้แรงงานต้องมีประกันสังคม และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
อนุศักดิ์  บุญยะประณัย
แรงงานเสรีแห่งชาติ
945,000
2534
ผู้ใช้แรงงานต้องมีเสรีภาพ และความเป็นธรรม
บรรจง  พรพัฒนานิคม
แรงงานเอกชนแห่งประเทศไทย
500,000
2535
กรรมกรต้องมีเสรีภาพ
สมาน  สีทอง
สภาแรงงานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
945,000
2536
กรรมกรจงร่วมกัน สร้างสรรค์ประชาธิปไตย
สุวิทย์  หาทอง
สภาแรงงานแห่งประเทศไทย
945,000
2537
ประเทศจะก้าวหน้า ต้องพัฒนาแรงงาน
พานิชย์  เจริญเผ่า
สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย
1,315,000
2538
เศรษฐกิจจะก้าวหน้า ต้องพัฒนาความปลอดภัย
อัมพร  บรรดาศักดิ์
พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2539
ขจัดความยากจน พัฒนาคนสู่แรงงาน
อนุศักดิ์  บุญยะประนัย
แรงงานเสรีแห่งชาติ
2,393,800
2540
ปฏิรูปการเมือง พัฒนาแรงงาน
สร้างสรรค์ประชาธิปไตย
ชิน  ทับพลี
สภาลูกจ้างแห่งชาติ
1,600,000
2541
แรงงานพ้นวิกฤติ หยุดขายรัฐวิสาหกิจ
หยุดเลิกจ้าง
บรรจง  พรพัฒนานิคม
แรงงานเอกชนแห่งประเทศไทย
1,600,000
2542
ชาติพ้นวิกฤต หยุดขายรัฐวิสาหกิจ หยุดเลิกจ้าง
พานิชย์  เจริญเผ่า
สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2543
กรรมกรจะมั่นใจ รัฐบาลต้องประกันการว่างงาน
ประเทือง  แสงสังข์ 
สภาแรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2544
กรรมกร รวมพลัง สร้างแรงงาน สู่สากล
เสน่ห์  ตันติเสนาะ
เลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์
1,600,000
2545
กรรมกรต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม
พนัส  ไทยล้วน
แรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2546
พัฒนาแรงงาน สร้างมาตรฐานสู่สากล
มนัส  โกศล
พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2547
ประเทศจะพ้นวิกฤต รัฐต้องพัฒนาชีวิตของแรงงาน
ประเทือง  แสงสังข์
สภาแรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2548
กรรมกรสร้างเศรษฐกิจ รัฐต้องพัฒนาคุณภาพชีวิต นำผลผลิตสู่สากล
พนัส  ไทยล้วน
แรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2549
รวมพลังแรงงาน สมานฉันท์ชาวไทย เทิดไท้องค์ราชัน
บรรจง บุญรัตน์
ศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย
3,000,000
2550
80 ปีพรรษาองค์ราชัน 
แรงงานสมานฉันท์
สร้างสรรค์เศรษฐกิจ
ชีวิตพอเพียง
มนัส  โกศล
พัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000  + งบส่วนกลางสนับสนุนโอกาสครบ 80 พรรษาอีก 1,500,000
2551
แรงงานพัฒนา  พาชาติก้าวไกล
สู่อนาคตไทย  อาลัยสมเด็จพระพี่นางเธอ
อุดมศักดิ์  บุพนิมิต
องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2552
แรงงานไทยสมานฉันท์  ร่วมใจกันฟันฝ่าวิกฤต  พัฒนาคุณภาพชีวิต  เศรษฐกิจก้าวไกล
ชินโชติ  แสงสังข์
สภาแรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2553
แรงงานไทยเข้มแข้ง  ร่วมแรงสามัคคี
สดุดีมหาราชา
ทวี  เตชะธีราวัฒน์
สมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000
2554
แรงงานไทยน้อมใจถวายพระพร
84 พรรษา มหาราชันย์
 
ชินโชติ  แสงสังข์
สภาแรงงานแห่งประเทศไทย
1,600,000  + งบส่วนกลางสนับสนุนถวายพระพร 84 พรรษา อีก 2,000,000

ที่มา  :   รวบรวมโดย มูลนิธิอารมณ์  พงศ์พงัน

 

ประวัติย่อและข้อสังเกตต่อการจัดวันแรงงาน

(1) วันที่ 1 พฤษภาคม 2589 ถือเป็นปีแรกที่มี การจัดงานวันกรรมกรสากล หรือวันเมย์เดย์ครั้งใหญ่ที่ท้องสนามหลวง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยการนำขององค์การสหอาชีวะกรรมกร ซึ่งชูคำขวัญว่า “กรรมกรทั้งหลายจงสามัคคีกัน”

(2) รัฐบาลได้ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี รับรองให้วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ (ไม่ใช่ “วันกรรมกรหรือวันแรงงานสากล”) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2499 ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวันแรงงานแห่งชาติ จนถึงทุกวันนี้ และกำหนดให้เป็นวันหยุดงานประจำปี เมื่อมีการบังคับใช้พระราช-บัญญัติแรงงาน พ.ศ. 2499 แม้มีการยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับนี้โดยคณะรัฐประหารจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อเดือนตุลาคม 2501 และมีกฎหมายแรงงานฉบับใหม่เกิดขึ้นต่อมา ในภายหลังก็ยังกำหนดให้เป็นวันหยุดตามประเพณีประจำปีที่นายจ้างต้องให้ ลูกจ้างหยุดงาน (ยกเว้นส่วนราชการ)

(3) ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา กระทรวงแรงงานจัดสรรงบประมาณประจำปีสนับสนุนกิจกรรมจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ แก่สภาองค์การลูกจ้างต่างๆ ปีละ 1.6 ล้านบาท ทำให้มีงบประมาณจัดงานแน่นอน แต่ก็มีบางปีที่มีการขอเงินสนับสนุนเพิ่มเติมกับรัฐมนตรีหรือ นายกรัฐมนตรี (หรือสำนักงานประกันสังคมสนับสนุนการจัดทำเสื้อประชาสัมพันธ์)

(4) ตั้งแต่ปี 2531 ถึง 2551 รวมระยะ 21 ปีมีประธานสภาองค์การลูกจ้างที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานจัดงานวันแรงงานแห่ง ชาติมาแล้ว 2 ครั้ง จำนวน 6 คน ได้แก่ นายอนุศักดิ์ บุญยะประนัย (ปี 2533 และ 2539) เสียชีวิตเพราะเลือดออกจากทางเดินอาหารมากเนื่องจากโรคแทรกซ้อน เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2547, นายบรรจง พรพัฒนานิคม (ปี 2534 และ 2541) นายประเทือง แสงสังข์ (ปี 2543 และ 2547), นายพนัส ไทยล้วน (ปี 2545 และ 2548), นายพานิชย์ เจริญเผ่า (ปี 2537 และ 2542) ปัจจุบันได้ยุติบทบาทในวงการสหภาพแรงงานแล้ว, นายมนัส โกศล (ปี 2546 และ 2550)

(5) ประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติที่รัฐบาลเสนอชื่อและเคยถูกแต่งตั้งเป็นวุฒิสมาชิก (ก่อนมีรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนหรือสีเขียว พ.ศ.2540) มีจำนวน 4 คน ได้แก่ นายทนง โพธิ์อ่าน,นายอนุศักดิ์ บุญยะประนัย, นายพานิชย์ เจริญเผ่า และนายพนัส ไทยล้วน (นายมนัส โกศล ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ในยุคเผด็จการ คมช.ปี 2550)

(6) นายทนง โพธิ์อ่าน ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปี 2532 ได้สูญหายไปตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2534 ภายหลังการยึดอำนาจการปกครองโดยกลุ่มทหารที่เรียกว่า คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) เนื่องจากมีบทบาทสูงเด่นในการต่อต้านท้าทายอำนาจเผด็จการ รสช.ที่คุกคาม-ทำลายสิทธิเสรีภาพแรงงานหลายเรื่อง เช่น การยุบเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การห้ามพูดประเด็นการเมืองและห้ามจัดงานที่สนามหลวงในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2534 คัดค้านการเลือกตัวแทนฝ่ายแรงงานโดยรัฐบาล เพื่อไปประชุมประจำปีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฯลฯ

(7) ปีที่นายกรัฐมนตรี (นรม.) ไม่มากล่าวเปิดงานในวันแรงงาน 1 พฤษภาคม ที่ท้องสนามหลวง และรับข้อเรียกร้องโดยตรงจากคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติได้แก่

  • ปี 2534, 2535 นรม.อานันท์ ปันยารชุน
  • ปี 2542 นรม.ชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)
  • ปี 2547 และ 2549 นรม.ทักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ทรท.)
  • ปี 2551 นรม.สมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน (พปช.)
  • ปี 2552-2553 นรม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.)

(8) ปี 2547 เป็นปีเดียวที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) และองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย (ประกอบด้วย 4 สภาองค์การลูกจ้าง) ร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จัดงานวันแรงงานร่วมกัน เป็นอีกขบวนหนึ่งแยกออกจากสภาองค์การลูกจ้าง 5 แห่งที่จัดงานที่สนามหลวง รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล

  • ปี 2550 เป็นปีแรกที่สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรร่วมจัดวันแรงงานกับสภาองค์การลูกจ้าง 11 แห่ง
  • ปี 2551 เป็นปีแรกที่สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย ร่วมเป็นองค์กรจัดงานวันแรงงานกับสภาองค์การลูกจ้างอีก 11 แห่ง (รวมเป็น 12 สภาองค์การลูกจ้าง)

(9) มี 2 ปีที่มีผู้นำสหภาพแรงงานจากรัฐวิสาหกิจเป็นประธานจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ คือ ปี 2531 นายวัฒนะ เอี่ยมบำรุง (ประธาน สร.การสื่อสารโทรคมนาคม) ในฐานะประธานสภาองค์การลูกจ้างสมาพันธ์แรงงานแห่งประเทศไทย ก่อนที่ รสช.จะยุบ สร.รัฐวิสาหกิจตั้งแต่ 19 เม.ย.34 และปี 2543 นายเสน่ห์ ตันติเสนาะ (ประธานสร.การประปานครหลวง) ในฐานะเลขาธิการ สรส.

(10) เกือบทุกปี สถานที่จัดงานวันแรงงานแห่งชาติที่มีคณะกรรมการจัดงานมาจากผู้แทนสภาองค์การ ลูกจ้างต่างๆ เป็นแกนนำ จะจัดกิจกรรมเดินขบวนจากบริเวณพระบรมรูปทางม้ารัชกาลที่ 5 ไปที่ท้องสนามหลวง ยกเว้น ปี 2534 รัฐบาลเผด็จการ รสช.ขณะนั้นห้ามเดินขบวนห้ามจัดที่สนามหลวงและให้ไปจัดที่ศูนย์ เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ดินแดง และปี 2551 จัดที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เพราะรัฐบาลต้องการใช้สนามหลวงเป็นพื้นที่จัดสร้างเมรุมาศสมเด็จพระพี่นาง เธอเจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

(11) หลายปีที่ผ่านมาตราบถึงปี 2552 จะมีการแบ่งแยกจัดกิจกรรมเดินขบวนในวันแรงงานเป็น 2 ขบวนการ บางปีจะมีการเดินขบวนสวนทางกันด้วย กล่าวคือ ขบวนที่นำโดยสภาองค์การลูกจ้างต่างๆ มักจะตั้งต้นขบวนที่บริเวณพระบรมรูปทรงม้าเพื่อเดินไปที่ท้องสนามหลวง

ในขณะที่อีกขบวนหนึ่งที่นำโดยศูนย์ประสานงานกรรมกร หรือคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มักจะตั้งต้นขบวน ณ บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยหรือหน้ารัฐสภา เพื่อเดินไปชุมนุมบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล ก่อภาพพจน์ความแตกแยกเป็นประจำทุกปีแก่สาธารณชนและผู้ใช้แรงงาน

(12) ปี 2553 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ตัดสินใจร่วมจัดงานวันแรงงานกับ 12 สภาองค์การลูกจ้าง และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย เพื่อรวมพลังเรียกร้องรัฐบาลเร่งให้สัตยาบันอนุสัญญาฉบับที่ 87 และ 98 จนกระทั่งรัฐบาล นรม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติครม.เห็นชอบการดำเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 โดยรัฐบาลต้องเสนอต่อรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนตามมาตรา 190 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550

ในขณะที่ปี 2554 คสรท. และ สรส. มีมติถึงวันที่ 3 เมษายน 2554 ไม่เข้าร่วมจัดวันแรงงานกับ 12 สภาองค์การลูกจ้างเมื่อ เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการจัดประกวดเทพธิดาแรงงานในวันที่ 1 พฤษภาคม เพราะไม่ควรจัดงานแบบนี้ในวันแรงงานและเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ ในขณะที่ก่อนเดือนเมษายน ได้มีตัวแทน คสรท. และ สรส.เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการจัดงานของ 12 สภาองค์การลูกจ้างมาตลอด

(13) ในช่วงปี2549 ถึง 2552ข้อเรียกร้องวันแรงงานที่เสนอโดย “ สรส. และ คสรท.” มีความแตกต่างสำคัญชัดเจนกับ “คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ” หลายเรื่อง เช่น

  • ให้รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ฉบับผู้ใช้แรงงานหรือฉบับบูรณาการ) ขณะที่คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ เสนอให้รัฐบาลประกาศใช้พระราชบัญญัติความปลอดภัย ฉบับที่ไม่มีสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ
  • ให้รัฐบาลปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำโดยยึดหลักมาตรฐานขององค์การแรงงาน ระหว่างประเทศ (ILO) โดยมีรายได้ไม่ต่ำกว่าข้าราชการระดับล่างที่มีเงินเดือนๆละ 7,000 บาท หรือ วันละ 233 บาท ในขณะที่คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ เสนอให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อ (ปี2549-2550) และปรับเพิ่มวันละ 9 บาทอัตราเดียวทั้งประเทศ (ปี2551)

(14) ข้อเรียกร้องที่เหมือนกันทุกปีจนถึงปี 2554 คือ รัฐต้องยกเลิกกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 บางปีใช้ถ้อยคำว่า “รัฐต้องยกเลิกนโยบายแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หรือ ยกเลิกการขายรัฐวิสาหกิจทุกกิจการ” และข้อสุดท้ายของข้อเรียกร้องทุกปีตั้งแต่ปี2549 ถึงปี 2553 คือ ขอให้รัฐบาลจัดตั้งคณะกรรมการติดตามประสานงานความคืบหน้าของข้อเรียกร้อง ซึ่งมีข้อมูลว่ารัฐบาลออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวในปี2549 และปี 2550 เท่านั้น

ข้อเรียกร้องวันแรงงานปี2553 เหมือนกับ ปี2552 เกือบทุกข้อยก เว้นข้อเรียกร้อง 2 ข้อคือให้รัฐขยายอายุบุตรกรณีประโยชน์ทดแทนสงเคราะห์บุตรจากไม่เกิน 6 ปีเป็นอายุ 15 ปีและรัฐต้องจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการหรือเขตนิคมอุตสาหกรรม

(15) ปี2551 เป็นปีแรก ที่ไม่มีการยื่นข้อเรียกร้อง ขอให้รัฐบาลแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 โดยเฉพาะมาตรา 5(3) ให้ลูกจ้างรับเหมาค่าแรงมีสิทธิเท่าเทียมกับลูกจ้างประจำ เพราะสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ปลายปี2550 ได้มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นมาตรา 11/1 ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่2) พ.ศ.2551

ซึ่งกำหนดให้ลูกจ้างผู้รับเหมาค่าแรงได้รับสิทธิประโยชน์และ สวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติถ้าลูกจ้างรับเหมาค่าแรงทำงานใน ลักษณะเดียวกันกับลูกจ้างทีผู้ประกอบกิจการทำสัญญาจ้างโดยตรง ซึ่งมีเนื้อหาคล้ายกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2550 มาตรา 84 (7) ซึ่งมีเนื้อหาว่า คุ้มครองแรงงานเด็กและสตรี จัดระบบแรงงานสัมพันธ์และระบบประกันสังคม รวมทั้งคุ้มครองให้ผู้ทำงานที่มีคุณค่าอย่างเดียวกันได้รับค่าตอบแทนสิทธิ ประโยชน์และสวัสดิการที่เป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ”

(16) ไม่เคยมีการยื่นข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปสำนักงานประกันสังคมให้เป็นองค์กรอิสระ แต่เป็นข้อเรียกร้องของ สรส. และ คสรท.ที่ยื่นต่อรัฐบาลตั้งแต่ปี2550 ถึง 2553

ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับประกันสังคมที่คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ยื่นต่อรัฐบาลตั้งแต่ปี2549 ถึง ปี2553 ได้แก่

  • ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบฝ่ายเดียว
  • ให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาพยาบาลฟรีตลอดไป กรณีผู้ประกันตนเกษียณอายุไม่ว่าจะรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพบำเหน็จหรือ บำนาญ (ปี2549-2551)
  • ขอให้สำนักงานประกันสังคมจัดตั้งโรงพยาบาลประกันสังคม เพื่อบริการแก่ผู้ประกันตน (ปี2550-2551)
  • ขยายสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยตามพระราชบัญญัติประกันสังคมให้ได้รับการรักษาพยาบาลครอบคลุมทุกโรค (ปี2551-2552)
  • ขอให้รัฐบาลแก้ไขพระราชบัญญัติเงินทดแทนพ.ศ.2537 มาตรา 18(1) ให้ลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากการทำงานและต้องหยุดงาน ให้ได้รับค่าจ้างเต็มตามอัตราค่าจ้างที่ได้รับในปัจจุบันตั้งแต่วันแรกที่ หยุดงาน (ปี2549)

(17) ปีที่มีการยื่นข้อเรียกร้องในประเด็นคุ้มครอง “แรงงานนอกระบบ” ชัดเจนได้แก่ปี2551 คือ “ขอให้รัฐบาลเร่งรัดประกาศใช้พ.ร.บ.คุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน” และปี2552 คือ “ขอ ให้ขยายประกันสังคมมาตรา 40 สู่แรงงานนอกระบบโดยเร็วและขอให้รัฐบาลร่วมจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนแรกเข้า จำนวน 2,000 บาทตามหลักการช่วยเหลือผู้ทีมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาท” ซึ่งเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนของเครือข่ายแรงงานนอกระบบ ปี2553 ไม่มีข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ปี 2554 ยื่นข้อเรียกร้องให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้กับผู้ประกันตนมาตรา 40 (แรงงานนอกระบบ) ในอัตรา 50% ทุกกรณี และทุกปีตั้งแต่ปี 2549 ถึงปัจจุบัน คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติไม่เคยยื่นข้อเรียกร้องเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานข้ามชาติ

(18) ข้อเรียกร้องที่คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติยื่นต่อรัฐบาลวันที่ 1 พฤษภาคม ในรอบ 6 ปีตั้งแต่ปีพ.ศ.2549 ถึง 2554 เฉลี่ยปีละ 8-9 ข้อมีเพียง 2 ข้อที่ไม่เคยยื่นซ้ำต่อรัฐบาลในปีถัดไปอีก คือ ข้อเรียกร้องปี2549 เรื่องขอให้รัฐบาลแก้ไขสัดส่วนจำนวนกรรมการไตรภาคีทุกคณะให้มีจำนวนกรรมการเท่ากันทุกฝ่าย คงเป็นเพราะไตรภาคีส่วนใหญ่มีจำนวนกรรมการแต่ละฝ่ายเท่ากันอยู่แล้ว และมีปัญหาประเด็นอื่นที่สำคัญกว่า คือคุณสมบัติของกรรมการไตรภาคี หลักเกณฑ์วิธีการเลือกผู้แทนไตรภาคีแต่ละฝ่ายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญมาตรา 84(7)

อีกข้อคือ “รัฐต้องจัดให้มีศูนย์เลี้ยงเด็กในสถานประกอบการ หรือในนิคมอุตสาหกรรมแล้วแต่กรณี โดยให้สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำค่าใช้จ่ายในกิจกรรมนี้ไปลด หย่อนภาษีได้” ซึ่งข้อเรียกร้องนี้มักยื่นต่อรัฐบาลเป็นประจำในวันสตรีสากล 8 มีนาคม

(19) ตั้งแต่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงปี2553 ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตประชาธิปไตยแบบราชาชาตินิยม และความเหลื่อมล้ำแตกแยกร้าวลึกเชิงโครงสร้างขยายตัว นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง (นรม.ทักษิณ ชินวัตร,นรม.สมัคร สุนทรเวช,นรม.สมชาย วงศ์สวัสดิ์ และนรม,อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) ไม่เคยมีท่านใดเดินทางมากล่าวเปิดงานและรับข้อเรียกร้องวันแรงงานโดยตรงที่ ท้องสนามหลวง มีเพียงวันแรงงานปี2550 ภายใต้ระบอบรัฐประหารอำนาจ คมช. ที่นายกรัฐมนตรีพลเอกสุรยุทธ์ จุฬานนท์ มากล่าวเปิดงานวันแรงงานที่สนามหลวง

การเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตามมาด้วย ขบวนการนปช.เสื้อแดงทั้งแผ่นดิน นำไปสู่ภาวะรุนแรงคุกคามท้าทายนิติรัฐ เสถียรภาพความชอบธรรมของรัฐบาลจนกระทั่งนำไปสู่ความไม่ปลอดภัยในชีวิตของ นายกรัฐมนตรีมากขึ้นในช่วงเดือนเมษายน 2552-เมษายน 2553 นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์จึงตัดสินใจไม่เดินทางมาปรากฏตัว ณ สถานที่สาธารณะหลายแห่งรวมถึงที่ท้องสนามหลวงในวันแรงงานด้วย แต่ใช้วิธีให้ผู้นำแรงงานมายื่นข้อเรียกร้องที่ห้องรับรองรัฐสภาและทำเนียบ รัฐบาล และใช้วิธีบันทึกเทปกล่าวคำปราศรัยวันแรงงานแห่งชาติถ่ายทอดผ่านสถานี โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

สถานการณ์ที่กองกำลังทหารต้องการสลายการชุมนุมที่นปช.ยืดครองบริเวณแยก คอกวัว-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในช่วงเย็นวันที่ 10 เมษายน 2553 ต้องเผชิญกับปฏิบัติการตอบโต้ด้วยกองกำลังติดอาวุธหรือผู้ก่อการร้ายในชุดดำ ที่ใช้อาวุธสงครามร้ายแรง ทำให้มีทหารและประชาชนล้มตายและบาดเจ็บ ตามมาด้วยความพยายามประนีประนอมปรองดองระหว่างแกนนำรัฐบาลกับนปช.ที่ล้มเหลว นำไปสู่ยุทธการวางแผนกดดันปิดล้อมการชุมนุมบริเวณแยกราชประสงค์ให้ได้ภายใน เย็นวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 จนกระทั่งแกนนำนปช.หลายคนต้องยอมมอบตัวและหลายคนต้องถูกติดตามควบคุมตัว เกิดการจลาจลย่อยวางเพลิงสถานที่ต่างๆของเอกชนและราชการกว่า 30 แห่งในวันที่ 19 พฤษภาคม มีคนตาย,เจ็บและสูญเสียอาชีพ-การมีงานทำอีกจำนวนมาก นับเป็นเหตุการณ์วิปโยคอัปยศครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองร่วมสมัย ภายใต้รัฐบาลพลเรือนที่มีการประกาศใช้พระราชกำหนดบริหารราชการแผนดินใน สถานการณ์ฉุกเฉินต่อเนื่องยาวนานที่สุด และมีทั้งฝ่ายทหาร-ประชาชนต้องสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากที่สุดในภาวะ วิกฤตการเมืองช่วง 10 เมษา-19 พ.ค.53

(20) นายประเทือง แสงสังข์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น นายชินโชติ แสงสังข์ คือประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการจัดงานวันแรงงาน 1 พฤษภาคม หลายปีมากที่สุด คือจำนวน 4 ปี ได้แก่ ปี 2543 ปี 2547 ปี 2552 และปี 2554

หมายเหตุ: เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://voicelabour.org/?p=3783

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net