Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

สัปดาห์ที่ผ่านมามีปรากฎการณ์น่าสนใจกำเนิดขึ้น ต้นต่อมาจากคำรับสารภาพของ พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกกองทัพบก (อดีตโฆษก ศอฉ.) หรือ “เสธ.ไก่อู” ซึ่งกล่าวต่อศาลไว้ทำนองว่า “แผนผังล้มเจ้า” นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงเรื่องที่ศอฉ. คิดขึ้นเองแบบทันทีทันใดโดยยังไม่มีข้อยืนยันว่ารายชื่อที่อยู่ในแผนผังคือคนที่คิด \ล้มเจ้า\" หรือ \"ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์\" จริง ๆ(1) คำสารภาพนี้ได้มีการกล่าวโทษไปยังบทบาทและการทำหน้าที่ของ \"สื่อมวลชน\" ด้วยที่นำแผนผังฯ ไป \"ขยายความ\" ต่อกันเองจนก่อให้เกิดความเข้าใจผิด พร้อมกันนั้นก็แสดงความเชื่อมั่นต่อการใช้ \"ดุลพินิจและวิจารณญาณ\" ของสังคมและประชาชนไทยว่าคงจะสามารถพิจารณาเองได้ว่าผังล้มเจ้าของ ศอฉ. นั้นหมายความอย่างไรกันแน่ จากปรากฎการณ์ดังกล่าว มีเรื่องที่ควรตั้งเป็นข้อสังเกต และข้อน่านำไปปฏิบัติหลายประการดังนี้... 1. สังคมที่ร้องหาคนดี โดยไม่มีคำตำหนิต่อผู้กล่าวความเท็จ \"ประการที่สอง ในช่วงเวลานั้น มีข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอินเตอร์เน็ตกล่าวหาในลักษณะทำนองว่า ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ซึ่งเป็นราชเลขาธิการในพระองค์ของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โทรศัพท์มาสั่งการศอฉ อยู่ตลอดเวลา ให้ดำเนินการนานับประการกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่น ซึ่งหมายความว่ามีความพยายามยามเป็นความจริง ศอฉ ก็มีความจำเป็นที่ต้องชี้แจงข้อมูลข่าวสารให้สังคมได้รับทราบความจริงเป็นเช่นไร\" คำให้การช่วงหนึ่งของพอ. สรรเสริญฯ คำชี้แจงของอดีตโฆษกศอฉ. ในประเด็นเรื่องความพยายามในการช่วยแก้ข้อกล่าวหาที่อาจไม่เป็นความจริง และน่าจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ \"ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์\" นั้น อันที่จริงต้องถือเป็นเรื่องถูกต้องดีแล้ว หากศอฉ. จะแสดงความเป็นสุภาพบุรุษหาทางชี้แจง เพื่อปกป้องบุคคลที่อาจได้รับความเสียหายในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องที่เกี่ยวพันกับการกระทำ หรืออำนาจหน้าที่ของหน่วยงานตนเอง และจะยิ่งถูกต้องที่สุด ถ้าความเป็นสุภาพบุรุษของศอฉ.เยี่ยงนี้เกิดขึ้นกับทุก ๆ คนไม่ว่าผู้นั้นจะมียศฐาเป็น \"ท่านผู้หญิง\" หรือว่าเป็นเพียง \"สามัญชนคนธรรมดา\" อย่างไรก็ตาม สังคมไทยไม่ควรยอมรับได้เลยหากคำชี้แจงเพื่อปกป้องบุคคลคนหนึ่ง กลับกลายเป็นการกล่าวหา หรือ \"เสมือนกล่าวหา\" บุคคลอีกคนหรืออีกกลุ่มหนึ่งซึ่งไม่ได้ตั้งอยู่บน \"มูลความจริง\" เพราะนั่นย่อมทำให้บุคคลอื่น ๆ เหล่านั้นอาจได้รับความเสียหาย หรือได้รับผลกระทบอันไม่พึงประสงค์เช่นเดียวกันกับท่านผู้หญิงฯ เราย่อมไม่อาจให้อภัยได้ เมื่อพบว่า \"ความจำเป็นที่ต้องชี้แจงข้อมูลข่าวสารให้สังคมได้รับทราบว่าความจริงเป็นเช่นไร\" อันเป็นคำชี้แจงของอดีตโฆษกศอฉ. นั้น กลับไม่ใช่การชี้แจงข้อมูลข่าวสารที่เป็น “ความจริง” เพื่ออธิบายให้สังคม “ทราบความจริง” แต่กลายเป็นการกล่าว “ความไม่จริง” เรื่องหนึ่ง เพื่ออธิบาย “ความไม่จริง” อีกเรื่องหนึ่ง คำถามก็คือ เช่นนี้แล้วเมื่อไหร่กันที่สังคมไทยจะได้รับทราบ \"ความจริง\" อนึ่ง ไม่ว่าในความเป็นจริงจะมีขบวนการล้มล้างสถาบันฯ อยู่หรือไม่ หรือใครจะเป็นผู้คิดล้มล้าง แต่นั่นย่อมไม่ใช่ประเด็น หรือข้อแก้ตัวให้กับการกล่าวหาบุคคลใด ๆ โดยขาด \"ข้อเท็จจริง\" ที่จะมายืนยันความผิดที่ผู้ถูกใส่ความจนอาจได้รับโทษ หรือถูกเกลียดชังจากสังคม ฉะนั้น ศอฉ. จึงต้องมีความรับผิดชอบบางประการต่อเรื่องนี้ (ดังจะได้กล่าวถึงต่อไป) ในขณะที่คนอื่นใดที่เพิกเฉยต่อการกระทำของศอฉ. โดยยกข้ออ้างทำนองว่า \"แผงผังอาจไม่จริง แต่ก็ใช่ว่าขบวนการล้มเจ้าจะไม่มีอยู่จริง\" ควรต้องนับว่าเป็นผู้บกพร่องทางตรรก วิจารณญาณ และออกจะไร้สติสัมปชัญญะอยู่มาก นับเป็นเรื่องน่าสนใจเช่นกัน เมื่อปรากฎการณ์นี้มาพร้อมกับความเงียบงันโดยพร้อมเพรียงกันของผู้คนทั้งที่มีอาวุโส และไม่มีอาวุโสทั้งหลาย ที่มักคร่ำครวญหาผู้มีศีลธรรมความดีงามให้เข้าสู่อำนาจและทำตนเป็นแบบอย่าง เป็นหลักเป็นฐานกับบ้านเมือง เขาเหล่านี้ทำเหมือนกับว่า \"การไม่กล่าวคำเท็จ การไม่พูดจาส่อเสียด หรือการไม่นำเสนอข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความไม่สงบ เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน รวมทั้งการกล่าวคำที่อาจทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย\" เหล่านี้ ไม่ได้เป็นข้อหนึ่งที่ผู้มีธรรมควรยึดถือปฏิบัติ หรือเป็นหมุดหมายหนึ่งของคุณลักษณะแห่งการเป็น \"คนดีมีศีลธรรม\" บุคคลเหล่านี้ คือ คนที่พร้อมยกมือสนับสนุนให้จำกัดจัดการเสรีภาพของสามัญชนอย่างถึงที่สุด หากคำพูดของมันผู้นั้นทำท่าว่าจะก่อความเสียหายให้แก่อภิสิทธิ์ชน แต่กลับหดมือซุกกระเป๋าเมื่ออภิสิทธิ์ชนเป็นคนทำให้สามัญชนต้องเสื่อมเสีย ฤาคำว่า \"ศีลธรรมและความดีงาม\" ของประเทศนี้ไม่ได้รวมถึงการ \"ห้ามกล่าวความเท็จ\" 2. บทบาทของสื่อกระแสหลัก น่าสนใจอย่างยิ่ง เมื่อสังคมไทยต้องพบว่า ณ เวลาที่ศอฉ. แถลงข่าวต่าง ๆ ในช่วงของการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน สื่อกระแสหลักทุกช่องต่างทำ จ้องทำ หรือต้องทำข่าวเพื่อนำเสนอต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งนอกเหนือจากการถ่ายทอดสดการแถลงข่าว (อันเป็นเสมือนหน้าที่ของสื่อเหล่านั้น) แล้ว ยังมีการสรุปความและนำเสนอในช่วงเวลาข่าวเช้าบ่ายเย็นอีกด้วย แต่การณ์กลับปรากฏว่าสื่อกระแสหลักทุกช่อง สื่อหนังสือพิมพ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่อ้างว่าอยู่เคียงข้างประชาชน ต่างพร้อมใจกันเพิกเฉย และไม่ทำข่าวการสารภาพของโฆษกศอฉ. ว่าแท้ที่จริงแล้ว “แผนผังล้มเจ้า” (ที่สำนักข่าวตนเคยนำไปขยายความเอง ตามคำซัดทอดของพ.อ.สรรเสริญ) นั้น ศอฉ. มิได้พูดหรือมิได้ตั้งใจให้หมายความว่าคนซึ่งมีรายชื่อในผังนั้นมีพฤติกรรม หรือมีความคิดที่จะล้มล้างสถาบันฯ จริง ๆ คงมีเพียงสื่อทางเลือก หรือสื่อกระแสรองเพียงไม่กี่สำนักเท่านั้นที่เขียนข่าวถึง ไม่ว่าการ “ขยายความต่อ” จะเกิดขึ้นจากสาเหตุใด หรือจากความสมัครใจหรือไม่ แต่เมื่อปรากฎว่าสิ่งที่นำไปขยายความนั้นไม่เป็นข้อความจริง หรืออย่างน้อยที่สุดมันอาจทำให้ผู้คนในสังคมเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง จนอาจทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหาย คำถามก็คือ ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องรับผิดชอบต่อเรื่องนี้บ้างหรือไม่ การทำข่าวนำเสนอ “ความจริง” เพื่อแก้ไข “ความไม่จริง” หรือแก้ไข \"ความบิดเบือน\" ที่ตนเคยเสนอออกไปในอดีต มิได้เป็นสิ่งที่ควรทำ หรือเป็นมาตรฐานขั้นต่ำของการทำหน้าที่ของ “สื่อไทย” ฉะนั้นหรอกหรือ ฤาว่าผู้มีรายชื่อในแผนผังกำมะลอฉบับนี้ และได้รับความเสียหายจากการเสนอข่าวของสื่อเหล่านี้ ควรต้องดำเนินการฟ้องร้องสื่อจริง ๆ ตามคำแนะนำของ พ.อ. สรรเสริญ เพื่อสร้างบรรทัดฐานแก่สังคม พร้อม ๆ กับเรียกร้องจรรยาบรรณจากสื่อ 3. โปรดใช้วิจารณญาณแบบไทย ๆ \"...แต่หลังจากนั้นมีสื่อมวลชนนำเรื่องราวต่าง ๆ เหล่านี้ไปขยายผล ขยายความ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในแผนผังดังกล่าว ทำให้ได้รับความเสียหายจากมุมมองของสังคม เพราะเป็นเรื่องที่สังคมจะต้องตัดสิน ส่วนผู้ที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจะฟ้องร้องกับผู้ที่นำไปขยายความในทางที่ผิดจากเจตนารมณ์ของศอฉ ก็สุดแล้วแต่บุคคลเหล่านั้นจะพิจารณา...“ คำให้การช่วงหนึ่งของพอ. สรรเสริญฯ เดือนเมษายนถึงกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2553 สถานีวิทยุชุมชนถูกปิดจำนวน 26 แห่ง ในพื้นที่ 9 จังหวัด ถูกยุติการออกอากาศจำนวน 6 แห่ง ปรากฏชื่อในข่ายมีความผิด 84 แห่ง ในพื้นที่ 12 จังหวัด (2) ราวเดือนเมษายนปี 2554 วิทยุชุมชนเสื้อแดง 13 แห่งถูกปิด หรือให้ยุติการออกอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล(3) จากการสำรวจสถิติการปิดกั้นเว็บไซท์ตั้งแต่ปี 2550 ถึง กลางปี 2553 มีเว็บเพจถูกคำสั่งศาลปิดกั้นการเข้าถึงอย่างเป็นทางการทั้งสิ้น 74

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net