Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

แรงงานข้ามชาติที่ทำงานรับใช้ในบ้านร่วมเฉลิมฉลองข่าวการรับรองร่างอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานที่ทำงานในบ้าน แรงงานที่ทำงานในบ้านชาวพม่าในจังหวัดเชียงใหม่กำลังเฉลิมฉลองแสดงความยินดีเมื่อได้รับทราบข่าวว่าร่างอนุสํญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานที่ทำงานในบ้าน ได้รับการรับรองในการประชุมประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สมัยที่ 100 โดยมีการลงคะแนนเสียงเห็นชอบ 396 เสียง ไม่เห็นชอบ 16 เสียง และงดออกสียง 63 เสียง “มีแต่ฉันที่รู้ว่าฉันทำงานมาหลายปีแล้ว แต่ในวันนี้ ทุกคนก็ได้รู้แล้วว่างานรับใช้ในบ้านก็เป็นงานอย่างหนึ่ง ฉันหวังว่า สิ่งนี้จะแสดงความหมายว่า เรา แรงงานทำงานรับใช้ในบ้าน จะได้รับการยอมรับนับถือ” Hseng Moon คนงานที่ทำงานในบ้านสัญชาติพม่าซึ่งทำงานในเมืองไทยมาเกือบจะ 10 ปีกล่าว อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศดังกล่าวได้มีการตั้งมาตรฐานสภาพการทำงานและชีวิตความเป็นอยู่ของแรงงานและรับรองให้แรงงานที่ทำงานในบ้านมีสิทธิในการเจรจาต่อรองต่างๆ หากประเทศไทยปรับกฎหมายภายในประเทศตามบทบัญญัติในอนุสัญญา ก็จะเป็นการสร้างเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของแรงงานซึ่งปัจจุบันเผชิญกับการกดขี่เอารัดเอาเปรียบในการทำงานเสมอมา เรื่องราวดังต่อไปนี้ได้รับการบอกเล่าสู่มูลนิธิแมพขณะที่เราได้มีโอกาสเก็บข้อมูลสำหรับจัดทำรายงาน “ก้าวย่างสู่แสงสว่าง (Stepping into the Light)” ของเราที่จะจัดทำขึ้นในมาช้านี้ “ฉันเริ่มทำงานเป็นคนรับใช้ทันทีที่มาถึงเชียงใหม่ นายจ้างของฉันไม่อนุญาตให้ฉันนั่งในระหว่างชั่วโมงการทำงานและบังคับให้ฉันทำงานตลอดเวลา ที่เลวร้ายที่สุดก็คือฉันไม่มีเวลาแม้กระทั่งจะไปห้องน้ำ ถ้าฉันพยายามจะไปห้องน้ำ นายจ้างก็จะตะคอกใส่ฉัน แม้ว่าฉันจะทำงาน 12 ชั่วโมงต่อวัน แต่ฉันได้รับเงินเพียงเล็กน้อยและไม่มีวันหยุด จนในที่สุดฉันก็ไม่สามารถทนต่อสถานการณ์เช่นนี้ได้ จึงได้ลาออก” Ma Myo, คนงานที่ทำงานในบ้านอีกคนหนึ่งที่ผ่านประสบการณ์กดขี่ข่มเหงในลักษณะเดียวกันในจังหวัดพังงา เล่าว่า “ฉันประสบความยากลำบากในการติดต่อสื่อสารกับนายจ้างเพราะปัญหาทางด้านภาษา ฉันต้องช่วยงานในครัว ทำความสะอาดบ้านทั้ง 3 ชั้นตลอดทั้งวัน ฉันต้องตื่นนอนตั้งแต่ตีห้าและทำงานตลอดทั้งวันจนถึงเวลา 3 ทุ่ม จากนั้นฉันจะต้องนวดให้กับนายจ้างทุกคืน จึงจะได้เข้านอนหลังจาก 4 ทุ่มไปแล้ว ฉันได้รับค่าแรงเพียง 2,500 บาทต่อเดือน ฉันทำงานที่นั่นกว่าหนึ่งปี โดยที่นายจ้างจะหักเงินเดือนจำนวน 500 บาทเป็นค่าใบอนุญาตทำงาน ฉันไม่สามารถรับภาระดังกล่าวนี้ได้จึงออกมา” อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศทั้งหมดจะกล่าวถึงการปกป้องแรงงานทุกประเภท รวมถึงผู้ย้ายถิ่น แต่อนุสัญญาฉบับนี้ได้เพิ่มเติมข้อกำหนดในการรับรองการคุ้มครองขึ้นเป็นพิเศษโดยเรียกร้องให้ประเทศสมาชิก ให้ความร่วมมือกันเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการปรับใช้บทบัญญัติของอนุสัญญาเพื่อแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ ประเด็นที่สำคัญยิ่งต่อแรงงานข้ามชาติที่ทำงานในบ้านก็คือ มาตรา 9 ซึ่งเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกร่วมสร้างความมั่นใจว่าแรงงานที่ทำงานในบ้านจะได้รับสิทธิในการครอบครองเอกสารการเดินทางและเอกสารแสดงตนของตนเอง (รายงานที่ 4 (2B) งานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานที่ทำงานในบ้าน, การประชุมประจำปีองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) สมัยที่ 100 ปี 2011). แรงงานทำงานในบ้านในประเทศไทยกำลังจับตาดูว่ารัฐบาลไทยจะมีแผนงานเพื่อที่จะขับเคลื่อนกับกรณีนี้อย่างไรและพวกเขายินดีเสนอจะให้ความช่วยเหลือในการที่จะทำให้มาตรา 8 ซึ่งระบุให้ประเทศสมาชิกหามาตรการในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับแรงงานที่ทำงานในบ้านได้รับการปกป้องคุ้มครองจากการกดขี่ข่มเหง เอารัดเอาเปรียบและความรุนแรงในทุกรูปแบบ เป็นความจริงขึ้นมาให้ได้ ทุกวันนี้ เราแทบจะไม่เห็นการปกป้องคุ้มครองนัก และจำเป็นที่จะต้องมีการปกป้องคุ้มครองเพื่อป้องกันมิให้สถานการณ์เช่นว่านี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต สาวใช้คนหนึ่งไดัรับว่าจ้างจากชายไทยให้ทำงานในอพาร์ทเม้นท์หรูแห่งหนึ่งในกรุงเทพซึ่งมีสาวใช้ 6 คน ได้หนีออกจากสถานที่แห่งนี้มาแล้ว ชายคนนี้ซึ่งเป็นอัมพาตครึ่งล่างได้ให้ผู้ช่วยของเขาข่มขืนเธอโดยที่ชายคนนี้เป็นผู้ดู อีกทั้งยังให้ผู้ช่วยของเขาผลัก ตบตีเธอ ถ่มน้ำลายใส่หน้าเธอและปัสสาวะใส่เธอ ในระหว่างวันทำงานเธอจะต้องคุกเข่าและถูกบังคับให้คุกเข่าจนกระทั่งเข่าทั้งสองข้างของเธอหลุด ในเดือนมิถุนายน 2554 เธอได้หลบหนีออกมาจากความช่วยเหลือจากองค์กรท้องถิ่น นอกจากนี้ เด็กสาวอีกคนได้กล่าวถึงประสบการณ์ในการ “ก้าวย่างสู่แสงสว่าง” ในจังหวัดพังงาของเธอว่า ฉันมาที่เมืองไทยกับสามีและได้ทำงานเป็นคนรับใช้ในบ้านหลังหนึ่ง ฉันทำงานในบ้านโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พัก ทั้งที่คนสวนจะได้รับอนุญาตให้พักได้บ่อยครั้ง นายจ้างบอกว่างานบ้านไม่ได้ยากหรือหนักจนถึงขนาดจะต้องพัก ฉันได้รับเงินเดือน 2,000 บาท ขณะที่คนสวนได้รับ 2,500 บาท วันหนึ่งนายจ้างได้ลวนลามฉัน ฉันจึงบอกสามีและออกจากงาน มูลนิธิเพื่อสุขภาพและการเรียนรู้ของแรงงานกลุ่มชาติพันธุ์ (MAP Foundation) พร้อมด้วยเครือข่ายแรงงานที่ทำงานในบ้านขอแสดงความยินดีต่อรัฐบาลไทยและประเทศสมาชิกขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่ได้ตระหนักในความสำคัญและงานชิ้นใหม่ของกฎข้อบังคับระหว่างประเทศซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการที่จะนำมาซึ่งการยุติการเอารัดเอาเปรียบการกดขี่ข่มเหงที่แรงงานที่ทำงานในบ้านได้เผชิญมาเป็นระยะเวลายาวนาน เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารัฐบาลไทยจะขับเคลื่อนอย่างรวดเร็วที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายและกฎหมายภายในประเทศเพื่อการปกป้องคุ้มครองแรงงานที่ทำงานในบ้านทั้งที่เป็นแรงงานชาวไทยและแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย เราหวังอีกด้วยว่า รัฐบาลไทยจะสละเวลาและทรัพยากรในการดำเนินการเพื่อเพิ่มความตระหนักในแรงงานที่ทำงานในบ้านให้เกิดขึ้นในหมู่แรงงานทำงานรับใช้ในบ้านและนายจ้าง ในประเด็นสิทธิแรงงานและการปกป้องคุ้มครองที่มีการรับรองไว้ในอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยงานที่มีคุณค่าสำหรับแรงงานที่ทำงานในบ้าน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net