SIU: จากพุ่มพวง ดวงจันทร์ ถึง "คันหู" และปัญหาการมองวัฒนธรรมแบบไม่พลวัตร

“ตั้ง แต่ เป็นสาวเต็มกาย หา ผู้ชาย ถูก ใจ ไม่มี เมื่อ คืน ฝันดี น่าตบ ฝันฝัน ว่าพบ ผู้ชาย ยอด ดี พาไปเที่ยว ดู หนัง พาไปนั่ง จู๋ จี๋” จากเนื้อเพลง “ผู้ชายในฝัน”ขับร้องโดย พุ่มพวง ดวงจันทร์ เพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์เพลงดังกล่าวถูกนำมาใช้เป็นเพลงเอกในการประกอบหนังชีวประวัติของ เธอในชื่อ “พุ่มพวง”ที่กำลังจะเข้าฉายในวันพฤหัสบดีนี้ โดยเนื้อร้องพูดถึงผู้หญิงที่มีความฝันว่าจะพบกับชายในฝันได้ขับกล่อมแฟนๆมา นานกว่า 20 ปี โดยเฉพาะท่อนที่อยู่ในความทรงจำของแฟนๆคือ “เสียบหล่นๆตั้ง 5 – 6 ที” กลายเป็นอะไรที่ชวนตีความได้หลากหลาย และกลายเป็นมุกตลกในวงเหล้า เพลงของพุ่มพวงนั้นหลายๆเพลงมีความแสดงความ “ก๋ากั่น และเจ้าชู้” ในจังหวะสนุกสนาน ถือว่าได้สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการเพลงลูกทุ่งในช่วง 20-30 ปีก่อนเป็นอย่างมาก อยู่ในเพลง เช่น “นัดพบหน้าอำเภอ” ที่กล่าวถึงการพบรักกันโดยบังเอิญและหวังว่าจะพบกับหนุ่มที่เคยหมายตาอีก ครั้ง หรืออย่างเพลง หรืออย่างเพลง “หนูไม่รู้” เพลงที่ผู้หญิงแอบไปปิ๊งกับคนมีเจ้าของ เพลงผู้ชายในฝัน ซึ่งต่อมาได้เป็นแนวทางให้กับลูกทุ่งหญิงรุ่นใหม่อย่าง ยุ้ย ญาติเยอะ ในเพลงสุดเปรี้ยว “เลิกเมียบอกมา” หรือ อาภาพร นคร สววรค์ ในเพลง “เชฟบ๊ะ” หรือ “ชอบมั้ย” ก็มีสีสันฉูดฉาดไม่แพ้กัน เรียกได้ว่าถ้าเพลงเหล่านี้มาออกในช่วงเวลานี้ ผู้มีอำนาจในกระทรวงวัฒนธรรมอาจจะตีอกชกหัวกันร้องกรี๊ดลั่นเหมือนนางร้าย ละคร 3 ทุ่ม (เวลาที่ละครติดเรทฉาย และคิดว่าเด็กๆนอนไปแล้ว) ภาพพจน์ของกระทรวงวัฒนธรรมหลังจากมีการก่อตั้งมาร่วม 10 ปีในสายตาคนในวงการศิลปะถือว่ามีความ “อนุรักษ์นิยม”ค่อนข้างสูง แทนที่จะมีหน้าที่ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย การกระทำส่วนใหญ่กลับเป็นการ “อนุรักษ์นิยมแบบเกินกว่าอนุรักษ์นิยม” กล่าวคือการอธิบายในหลายๆบริบทนั้นมีความอนุรักษ์นิยมเกินกว่าบริบทและช่วง เวลาที่ผลงานเหล่านั้นได้เริ่มออกสู่สายตาประชาชนครั้งแรก ยกตัวอย่างเช่นในขณะที่กระทรวงวัฒนธรรมบอกว่า เพลง “คันหู” ที่มีเนื้อหาเพลงสองแง่สามง่ามโดยมีเนื้อร้องประกอบท่าเต้นที่ยั่วยวนว่า เพลงคันหู “อู๊ยคันหู ไม่รู้ ว่าเป็นอะไร เอาสำลี มาปั่น ก็ไม่หาย คันจริ๊ง มันคันอยู่ข้างใน คันหูทีไร ขนลุก ทุกที” จากเนื้อเพลง “คันหู” ขับร้องโดย Turbo Music เพลงอาจจะถูกนำเสนอผ่านการเป็นตัวแทนของชนชั้น ในขณะที่คนมีเงินสามารถไปเที่ยวโคโยตี้ ค็อกเทลเล้านจ์ที่มีระดับ ปรนนิบัติโดยสาวๆนุ่งน้อยห่มน้อย แต่คนหาเช้ากินค่ำอาจจะสามารถเข้าถึงกับวีซีดีโคโยตี้ หรือการแสดงสดที่มีความวาบหวิวกับถูกมองจากผู้มีการศึกษาว่า “อนาจาร” อะไรคือเส้นแบ่งระหว่าง “ศิลปะ” “งานบันเทิง” และ “อนาจาร” กลับเลือกอธิบายว่าเพลงลูกทุ่งสมัยก่อนเช่นเพลงของ พุ่มพวง ดวงจันทร์นั้นมีความ “รักนวลสงวนตัว” และ “ไม่ขัดศีลธรรมอันดีงาม” ทั้งๆที่ในช่วงเวลาที่เพลงฮิตของพุ่มพวงออกอากาศนั้นถือว่าเป็นเรื่องฮือฮา และแปลกใหม่ไม่น้อยในแนวที่เรียกว่า “ลูกทุ่งสตริง” โดยเนื้อหาที่ผู้หญิงจะมาพูดถึงความรักแบบเปิดเผยตรงไปตรงมามากขึ้น หรือแม้กระทั่งไปรักคนมีเจ้าของแล้ว (หรือเพลง “ฉันเปล่านะเขามาเอง” ที่พูดถึงมีหนุ่มมาดักรอสาวนักร้องขี้เหงาตอนผับเลิก ไม่ต่างอะไรกับปัจจุบัน) หรือการยกตัวอย่างว่าเพลงสุนทราภรณ์นั้น มีความถูกต้องตามขนบธรรมเนียมเพลงไทย มีเนื้อร้อง ทำนองที่ไพเราะด้วยอักขระวิธีประพันธ์ และเนื้อหาละเมียดละไม แต่ถ้าเราไปค้นจริงๆเนื้อหาของเพลงมีลักษณะที่ “วาบหวาม”มากกว่าเสียด้วยยกตัวอย่างเช่น เพลง “ขอให้เหมือนเดิม” ที่เรียกได้ว่าบรรยายโดยไม่ต้องจินตนาการเพราะเห็นภาพชัดเจน “ก่อนจากกัน คืนนั้นสองเรา แนบซบเนาเคล้าคลอพ้อพรอดภิรมย์ หวานล้ำบำเรอ เธอให้ชิดชม ฉันกอดเล้าโลม ชื่นใจ จูบแก้มนวล ช่างยวนเย้าตรึง” จากเนื้อเพลง “ขอให้เหมือนเดิม” ขับร้องโดย สุนทราภรณ์ ยิ่งแล้วใหญ่หากจะยกไปเทียบกับบทพระราชนิพนธ์ “ลิลิตพระลอ”ที่มีความสวยงามในแง่ของวรรณศิลป์ก็ยังแฝงฉากอัศจรรย์ที่แทบจะ หลุดออกมาจากหนังสือปกขาวให้ได้ครางฮือ เช่นฉากที่หลังจากร่วมรักในน้ำเสร็จก็มาต่อบทรักรอบต่อไปบนบกต่อ ที่ว่า “สรงสนุกน้ำแล้วกลับ…………..สนุกบก เล่านา สองร่วมใจกันยก…………………..ย่างขึ้น ขึ้นพลางกอดกับอก………………..พลางจูบ สนุกดินฟ้าฟื้น……………………….เฟื่องฟุ้งฟองกาม” จาก “ลิลิตพระลอ” การทำเรื่องเพศ ให้กลายเป็นสินค้า (commodofication) นั้นมีมาอยู่ทุกสมัยอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าเรื่องเพศนั้นเป็นความบันเทิงของคนทุกระดับชั้นไม่ว่าจะเป็นเจ้า นาย ขี้ข้า ไพร่ หรืออำมาตย์ ย่อมไม่ห่างหายจากเรื่องเพศ ทั้งในวงเหล้าข้างทางหรือในรั้วในวัง เรื่องเพศคาวโลกีย์นั้นย่อมเป็นความสุขของมนุษย์ปุถุชนสะท้อนผ่านจิตรกรรมฝา ผนัง หรือ เพลงพื้นบ้านต่างๆ ปัญหาก็คือเราควรจะมองวัฒนธรรมเป็นลักษณะพลวัตร(dynamic) ไม่ใช้แข็งตัว(stable) หรือการสร้างกรอบศีลธรรมอันดีงามขึ้นมาเพื่ออธิบายบริบทสังคมโลกที่มัน เปลี่ยนไปแล้ว การอนุรักษ์คือการเปิดใจรับศิลปะร่วมสมัย มิใช่การใช้กรอบอนุรักษ์นิยมในแบบที่อนุรักษ์นิยมเกินงานประพันธ์ในระยะเวลา นั้นซึ่งน่าแปลกใจว่ายิ่งสังคมพัฒนาไปข้างหน้า ความเป็นอนุรักษ์นิยมก็ยิ่งเข้มข้นและเข้มงวด ทุกอย่างยังคงตั้งอยู่บนมิติประวัติศาสตร์แบบ”ราชาชาตินิยม”มาอธิบายในบริบท ต่างๆ ซึ่งวัฒนธรรมส่วนใหญ่ติดกรอบความคิดแบบ “วัดๆวังๆ”อยู่ตลอดเวลา ผิดไปจากนี้ดูเหมือนจะเลวทรามต่ำช้าทั้งที่เป็นการนำเสนอตัวแทนของคนกลุ่ม น้อยในสังคม ถ้าเป็นอย่างนั้นสิ่งแรกๆที่เราควรจะทำในรัฐบาลใหม่ ก็คือการทบทวนบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรมและปรับปรุงเสียใหม่ เราจะเป็น Creative Economy ได้อย่างไรถ้าหากเรายังมองวัฒนธรรมทุกอย่างหยุดนิ่ง กระทรวงวัฒนธรรมสุดท้ายก็จะไม่พ้นเป็นขี้ปากให้คนทุกหมู่เหล่าล้อเลียนในวง ข้าวและวงเหล้าต่อไป เผยแพร่ครั้งแรกที่ http://www.siamintelligence.com/culture-should-to-be-dynamic/

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท