ร้องอาเซียนจับตารัฐบาลพม่าสั่งทหารข่มขืนหญิงชนกลุ่มน้อย

22 ก.ค. 54 - กลุ่มสมาชิกรัฐสภาอาเซียนเพื่อพม่า (AIPMC) ร้อง อาเซียนจับตารัฐบาลพม่าสั่งทหารข่มขืนหญิงชนกลุ่มน้อย เสนอปัดคำขอพม่าขึ้นเป็นประธานอาเซียน-ตัด ท่อน้ำเลี้ยงเผด็จการ AIPMC กังวล อย่างยิ่งต่อการข่มเหงประชาชนหลังจากกองทัพของรัฐบาลพม่าบุกโจมตี กองกำลัง ชนกลุ่มน้อยในรัฐฉาน และรัฐคะฉิ่น โดยเฉพาะกรณีที่เจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่สั่งให้ทหารผู้น้อย ทารุณกรรมทางเพศ รวมไปถึงการรุมข่มขืนเด็กและผู้หญิงชนกลุ่มน้อยอย่างโหดร้ายทารุณ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า สถานการณ์สู้รบทาง เหนือ และฝั่งตะวันตกของพม่าเลวร้ายลงเรื่อยๆ นับตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปของพม่าในปีที่ผ่านมา กองทัพของรัฐบาลพม่าฉีกข้อตกลงหยุดยิงที่มีระยะเวลายาวนานกับกอง กำลังชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่ม เช่น กองทัพรัฐฉานเหนือ (SSA-N) และ กองทัพอิสระคะฉิ่น (KIA) ทำให้ประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่อสู้และใกล้เคียง ต้องประสบความยากลำบาก องค์กรพัฒนาเอกชนที่ทำงานในพื้นที่รัฐฉานรายงานว่ามีการปะทะกัน ระหว่างกองทัพพม่าและกองกำลังชนกลุ่มน้อยถึง 65 ครั้งในรัฐฉานในระยะเวลาเพียง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาและขณะนี้มีประชากรที่ละทิ้งถิ่นฐานเพื่อหนีภัย การสู้รบอยู่ในรัฐฉานจำนวนหลายพันคน รายงานจากสมาคมสตรีคะฉิ่นแห่งประเทศไทยชี้ว่ามีผู้ลี้ภัยมากกว่า 16,000 คนต้องอพยพข้ามไปประเทศจีนเพื่อหนี ภัยการสู้รบที่กำลังลุกลามอย่างรวดเร็วในสิบเมืองของรัฐคะฉิ่น ตั้งแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีรายงานจากแหล่งข่าวในพื้นที่ว่าทหารพม่าทำการทารุณกรรมทางเพศ ต่อเด็กและผู้หญิงอย่างเป็นระบบในทั้งรัฐฉานและรัฐกะเหรี่ยง การสู้รบที่ยืดเยื้อมีความเกี่ยวเนื่องอย่างแนบ แน่นกับการ แสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของรัฐบาลพม่าในเขตปกครองของชนกลุ่ม น้อยซึ่งมี ทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ เช่น โครงการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวินและอิระวดี และโครงการท่อส่งแก๊สและน้ำมันข้ามชาติผ่านพื้นที่ตอน เหนือของรัฐฉาน ซึ่งรัฐบาลพม่าต้องทำการกำจัดกองกำลังฝ่ายต่อต้านและยึดพื้นที่ เพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการเหล่านั้น นอกจากนี้พม่าไม่มีนโยบายจัดการกับผลกระทบจากบรรดาโครงการปอกลอก ทั้งหลายที่มีต่อประชาชนในท้องถิ่น แต่กลับนำโครงการเหล่านี้มาเป็นข้ออ้างในการควบคุมชนกลุ่มน้อยและ กำจัดกองกำลังชนกลุ่มน้อย แทนที่จะหาหนทางแก้ไขปัญหาทางการเมืองในประเทศ โครงการเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่าง รุนแรงโดยทหารพม่าต่อชนกลุ่มน้อย เช่นการบังคับใช้แรงงาน การยึดที่ดิน ทรมาน ฆาตกรรม และข่มขืน รวมไปถึงการไหลบ่าของผู้อพยพเข้าในประเทศไทยและจีน “มีเพียงผู้ นำกองทัพพม่า และพวกพ้องทางธุรกิจของพวกเขาที่ได้ประโยชน์จากโครงการที่สร้าง จาก ชีวิต เลือดเนื้อ และหยาดน้ำตาของประชาชน” นาย ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รักษาการสมาชิกรัฐสภาไทยและที่ปรึกษาอาวุโสของ AIPMC กล่าว การสู้รบในปัจจุบัน เป็น สถานการณ์การเมืองที่นับว่ารุนแรงที่สุดในพม่า หลังการเลือกตั้งที่ผ่านมา พม่ายังไม่มีความก้าวหน้าทางการเมืองที่สำคัญเลย จำนวนนักโทษการเมืองในประเทศยังคงอยู่ที่มากกว่า 2,000 คน AIPMC ได้ ติดตาม สถานการณ์ชายแดนของพม่าอย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลานาน และมีความกังวลอย่างยิ่งต่อความขัดแย้งทางการเมืองและการสู้รบ หลังการเลือกตั้ง “เรา ขอเรียกร้องให้กองทัพของรัฐบาลพม่าหยุดละเมิดสิทธิ์ หยุดใช้การข่มขืนอย่างเป็นระบบเพื่อเป็นอาวุธข่มเหงผู้หญิงกลุ่ม ชาติพันธุ์ โดยทันที และให้กองทัพเจรจาสงบศึกกับกองกำลังติดอาวุธโดยเร็ว” นางเอวา คุซุมา ซันดาริ สมาชิกรัฐสภาอินโดนีเซียและ ประธาน AIPMC กล่าว “อาเซียนต้อง เผชิญ หน้ากับความท้าทายในการรับผิดชอบที่จะปกป้องประชาชนชาวพม่า รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและสหประชาชาติจำเป็นต้องร่วมหารือกัน เพื่อยุติวิฤติการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า และผลกระทบที่มีต่อประเทศเพื่อนบ้านและในภูมิภาคนี้โดยรวม ประชาคมโลกต้องกดดันให้อาเซียนจัดการประชุมดังกล่าวโดยด่วน” นางเอวาย้ำ คณะกรรมาธิการ ระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วย สิทธิมนุษยนชน (AICHR) ต้องติดตามกรณีการข่มขืนในพม่า อย่างใกล้ชิด อาเซียนและประเทศสมาชิกต้องปฏิเสธคำขอขึ้นเป็นประธานอาเซียนของ พม่าในปี พ.ศ. 2558 นี้ จนกว่าพม่าจะมีมาตรการหยุดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศอย่าง จริงจัง ประเทศสมาชิกอาเซียนจำเป็นต้องให้ความสนใจข้อเรียกร้องของนายโท มัส โอเจย์ ควินตานา ผู้จัดทำรายงานพิเศษ ให้แก่สห ประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในพม่า ให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนของสหประชาชาติ (COI) เพื่อ สอบสวนอาชญากรรมที่เกิด ขึ้นในพม่า ข้อเสนอดังกล่าวได้รับการสนุบสนุนจากนาง ออง ซาน ซูจี และรัฐบาลของ 16 ประเทศในโลก นอกจากนี้ประเทศไทยและประเทศที่เข้าไปลงทุนในพม่าต้อง ทบทวนการลงทุน ในพม่าเพื่อตัดเส้นทางการเงินที่หล่อเลี้ยงกลุ่มอำนาจเผด็จการที่ โหดเหี้ยม ของพม่า

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท