ร้ายสไตล์บายรุ้งรวี : ‘ปู’ หรือ ‘ดิฉัน’ : ไวยากรณ์ของการเป็นผู้หญิงไทย

‘ปู’ หรือ ‘ดิฉัน’ : ไวยากรณ์ของการเป็นผู้หญิงไทย งานอดิเรกของดิฉันคือการไปแอบอ่านเฟซบุ๊กคนอื่น ด้วยความว่างจัดและติดสมาร์ทโฟนยิ่งกว่าติดแฟน เพราฉะนั้นใครก็ตามที่อยู่ในลิสต์ ‘friend’ ในเฟซบุ๊กของดิฉัน ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะโพสต์อะไรขึ้นมา ดิฉันก็มักจะไปคอมเมนต์เกือบทุกโพสต์ไป จนกลายเป็นท็อปเฟรนด์ของทุกคน ล่าสุดแอบเข้าไปอ่านเฟซบุ๊กของพี่คนหนึ่งผ่านเฟซบุ๊กของเพื่อน เธอโพสต์ข่าวชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจบนหน้าวอลล์ว่า “ผอ.สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายฯ ชี้ “ปู” เรียกตัวเองด้วยชื่อเล่นสะท้อนยังแยกแยะบทบาทนายกฯ ไม่ออก” ซึ่งข่าวก็น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่ความน่าสนใจเพิ่มขึ้นเมื่อเพื่อนๆ ของเจ้าของเฟซบุ๊กเริ่มมาคอมเมนต์กัน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดทำให้เกิดบทความชิ้นนี้ โดยมีสองคอมเมนต์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวนั้นว่า “ไอ้เรื่องสรรพนามนี้เหมือนกัน \...(เซ็นเซอร์ชื่อเล่นผู้พูด)\" ก็รู้สึกว่ามันไม่มีพื้นที่แบบกลางๆ ให้ผู้หญิงใช้เลยนะ มีแต่แบบไม่เป็นทางการ กับ เป็นทางการมากไปเลย ไม่รู้ทำไม ไม่มีคำแบบ \"ผม\" หรือ \"I\" แบบที่ใช้ได้ทุกสถานการณ์มั่ง” “ใช่......เวลาคุยกับเจ้าหน้าที่ที่คณะนี่ลำบากมากๆ จะแทนว่า \"ดิฉัน\" ก็เว่อร์เกิน จะแทนว่า \"หนู\" ก็ใช่ที่ แทนชื่อก็เกรงใจ สุดท้ายก็เลยคุยกับเค้าแบบไม่มีสรรพนาม = =' พวกเฟมินิสต์ไทยเค้าคิดเรื่องนี้บ้างป่าววะ อยากให้มีสรรพนามกลางๆ อย่างผู้ชายบ้าง หรือพวกเราหันมาใช้ \"ผม\" ให้เหมือนผู้ชายเลยดีวะ อ่านจบแล้วได้แต่เหวอ รู้สึกตัวเองโชคดีมากที่ไม่มีเพื่อน ‘ประเภท’ นี้อยู่ในเฟซบุ๊ก เพราะเช่นนั้นไม่รู้จะไปคอมเมนต์ว่ายังไง แต่ ‘ประเด็น’ ที่ได้อ่านไปก็ยังตามมาหลอกหลอนว่า เอ๊ะ! ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ ไม่รู้ว่าคุณ ‘ปู’ เอ่อ...ท่านนายกฯ รัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะรู้สึกเช่นเดียวกันหรือเปล่า เพราะยังเห็นในเฟซบุ๊กยังใช้คำว่า ‘ปู’ อยู่เลย แถมยังเป็นโปรไฟล์ ‘ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร’ ไม่ใช่ ‘นายกรัฐมนตรี’ เอาล่ะกลับมาเรื่องสรรพนาม ‘ดิฉัน’ (ดิฉันก็เริ่มสับสนว่าตัวเองแล้วว่าจะใช้สรรพนามแทนตัวว่าอะไรดี ที่ใช้ ‘ดิฉัน’ อยู่ทุกวันนี้ ถูกต้อง เหมาะสมหรือเปล่า หรือจะต้องปเปลี่ยนเป็น ‘รุ้ง’ ดี ?) ตามประวัติศาสตร์ที่ต้องนั่งค้นจนตาแฉะได้ความมาว่า “ สรรพนามบุรุษที่ ๑ ‘ดิฉัน’ หรือ ‘ดีฉัน’ (ในวรรณคดีบางทีก็ลากเสียงเป็น ‘ดิฉาน’ นั้น เคยทราบจากท่านผู้ใหญ่ ซึ่งนับเป็นปราชญ์ทางภาษาว่า แรกเริ่มทีเดียวเป็นสรรพนามของคนทั่วไปใช้พูดกับพระสงฆ์ ผู้เป็นที่นับถืออย่างสูง มาจากคำว่า ‘ดิรัจฉาน’ คือยกย่องพระสงฆ์ว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวง (มนุษย์ก็นับว่าเป็นสัตว์เหมือนกัน แต่เป็นสัตว์ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย) ขณะเดียวกันผู้พูดก็ถ่อมตัวว่า ตนนั้นหากเปรียบกับพระสงฆ์ ก็ยังเป็นเพียงดิรัจฉาน จึงเรียกตัวเองว่า ‘ดิรัจฉาน’ ต่อมากร่อนไป เหลือแต่พยางค์ต้นกับท้าย กลายเป็น ‘ดิฉัน’ ส่วน ‘ดิฉัน’ ของผู้ชาย จากการพูดกับพระสงฆ์ ต่อมาเลยกลายเป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑ ใช้สำหรับผู้มีอาวุโสน้อยพูดกับผู้มีอาวุโสมากกว่า แม้บ่าวพูดกับนาย บางทีก็ใช้ว่า ‘ดิฉัน’” ข้อมูลจาก บทความเรื่อง ‘สรรพนามบุรุษที่หนึ่ง ‘ดิฉัน’ หรือ ‘ดีฉัน’” โดยจุลลดา ภักดีภูมินทร์ ในนิตยสาร สกุลไทย ฉบับที่ 2597 ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นอน (อาจจะมีแต่ดิฉันไม่ทราบ ทำการบ้านมาไม่มากพอ ใครรู้วานบอกด้วยนะคะ) ว่าคำว่า ‘ดิฉัน’ ซึ่งมีมาแต่สมัยอยุธยานั้น เมื่อมาถึงสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ซึ่งอยู่ภายในกระบวนการการปฏิวัติวัฒนธรรม ด้วยการกำหนดทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนขึ้นใหม่ เพื่อให้ประทศสยาม ‘ศิวิไลซ์’ ทัดเทียมนานาอารยประเทศ) แล้วถูกลดรูปลงเหลือเพียงคำว่า ‘ฉัน’ หรือเปล่า แต่คำว่า ‘ฉัน’ ที่เป็นสรรพนามบุรุษที่ 1 นั้นก็เป็นคำเรียกแทนตัวทุกเพศ (ซึ่ง ‘ดิฉัน’ เองด้วยรากความหมายแต่เดิมก็เป็นคำแทนตัวทั้งสอง (ทุก?) เพศเช่นเดียวกัน ) ความน่าสนใจประการแรกคือ จากคำว่า ‘ดิรัจฉาน’ มาเป็น ‘ดิฉัน’ ในกาละเทศะที่ใช้พูดพระสงฆ์ และผู้อาวุโส หรือผู้ที่เคารพนับถือ ที่เป็นคำแทนตัวทั้งผู้หญิงผู้ชายนั้น ทำไมปัจจุบัน คนที่ยังเป็น ‘ดิรัจฉาน’ เอ้ย! ดิฉัน อยู่จึงเหลือแต่เพศหญิง ? ผู้ชายไม่เป็น ‘ดิรัจฉาน ‘ แล้วหรือ ประการที่สอง ในคอมเมนต์ที่หนึ่งอันว่าด้วยการเปรียบเทียบสรรพนามบุรุษที่ 1 ในภาษาอังกฤษที่ใช้คำว่า ‘I’ ซึ่งดูเหมือนว่าจะไร้เพศ ไร้บทบาท ไร้สถานะว่าใครสูงใครต่ำ นั้น แต่ที่จริงในบริบทการพูดเป็นประโยคก็มีการแบ่งแยก ‘ศัพท์’ ที่แสดงว่าใครสูงใครต่ำ หรือใครเป็นผู้ดี ใครเป็นสลิ่ม ใครเป็นชนชั้นล่างอยู่แล้ว (ซึ่งแน่ละคนที่นั่งคิดเรื่องแบบนี้เพื่อแยกตัวเองออกจากชนชั้นอื่นๆ ก็คือพวกชนชั้นสูง เพราะลำพังคำว่า ‘I’ นั้นแยกไม่ได้) ซึ่งใครสนใจในประเด็นนี้หาอ่านได้หนังสือเรื่อง ‘อังกรี๊ด...อังกฤษ’ ส่วนภาษาอังกฤษ ‘ถิ่น’ อื่น อย่างเช่น อเมริกัน ส่วนมากก็จะเป็นแสลงในการ ‘เหยียด’ ชาติพันธุ์มากกว่า แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสรรพนามบุรุษที่ 1 You กับ I นั้น เป็นไวยากรณ์ทางภาษาที่ ‘เท่ากัน’ ที่สุดแล้ว (เท่าที่คิดออกและรู้) และหากจะเปรียบเทียบกับภาษาญี่ปุ่นก็จะเห็นว่ามีการใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 อย่างหลากหลาย เช่น Watashi - ใช้ได้ทั่วไป Boku - ผม (ส่วนใหญ่ผู้ชายที่มีอายุน้อยจะใช้ แต่บางที่ถ้าเขาติดปากแล้ว ก้โบกุก็ได้) Atashi - ดิฉัน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท