Skip to main content
sharethis

ไชยันต์ รัชชกูล, สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ เมื่อวันที่ 1 ก.ย. ที่ผ่านมา ที่ห้องประชุมอาคารปฏิบัติการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการอภิปรายหัวข้อ เวที “ประสบการณ์ประชาธิปไตยของชาวบ้านเชียงใหม่” โดยมีการนำเสนอบทความจากงานวิจัย “พัฒนาการจิตสำนึกและขบวนการทางการเมืองของชาวเสื้อแดงในจังหวัดเชียงใหม่” โดยคณะผู้วิจัยซึ่งเป็นอาจารย์และนักศึกษาจากภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย ผศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, ดร.อรัญญา ศิริผล, นพพล อาชามาส และสืบสกุล กิจนุกร และผู้วิจารณ์ ประกอบด้วย ศ.ทามาดะ โยชิฟูมิ มหาวิทยาลัยเกียวโต, รศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ รศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล สถาบันศาสนา วัฒนธรรมและสันติภาพ มหาวิทยาลัยพายัพ โดยในตอนหนึ่งของการวิจารณ์ อาจารย์ไชยันต์ รัชชกูล ได้เสนอว่าการศึกษาทางสังคมศาสตร์ต้องศึกษาในระดับ “Bedrock” หรือ ข้อเท็จจริง นอกจากนี้ไชยันต์ยังมี “เรื่องเล่า” จากร้านอาหารที่เจ้าของเป็น “แม่ค้าเสื้อแดง” ระหว่างเส้นทางเชียงใหม่ – เชียงราย และเรื่องที่นักศึกษาเข้าไปกินอาหารในร้านอาหารแห่งหนึ่ง และสนทนากันเรื่องประเภท “Defined ไม่ได้” จนแม่ค้าต้องแถมข้าว ในตอนท้ายไชยันต์เสนอว่า “สังคมไทยเปลี่ยนไปจริงๆ” คงไม่กลับไปเหมือนเดิมอีกแล้ว และว่าในช่วงที่ผ่านมา จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เสื้อแดงจะชนะหรือเปล่าเรื่องนี้เราต้องดูกันต่อไป เราไม่สามารถที่จะทำนายได้ “แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะฝากไปด้วย ฝากพวกอำมาตย์ และฝากพวกเราทุกคนด้วยคือ อย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์” สำหรับรายละเอียด ในการอภิปรายของไชยันต์ ช่วงหนึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้ ส่วนเนื้อหาจากการประชุมทั้งหมด “ประชาไท” จะทยอยนำเสนอต่อไป (หมายเหตุ: เฉพาะข้อความในวงเล็บ เป็นการอธิบายเพิ่มเติมโดยประชาไท) 000 วิดีโอคลิป “ไชยันต์ รัชชกูล” อภิปรายที่ มช. เมื่อ 1 ก.ย. 54 ที่ผ่านมา เรื่องการศึกษาทางสังคมศาสตร์ระดับ “Bedrock” สังคมที่ความขัดแย้ง “Pervasive” (แพร่ขยายไปทั่ว) และของฝากถึงอำมาตย์ ไชยันต์ รัชชกูล \เสื้อแดงจะชนะหรือเปล่าเรื่องนี้เราต้องดูกันต่อไป เราไม่สามารถที่จะทำนายได้ แต่สิ่งหนึ่งที่เราควรจะฝากไปด้วย ฝากพวกอำมาตย์ และฝากพวกเราทุกคนด้วยคือ อย่าดูถูกสติปัญญาของมวลราษฎร์\" 000 เวลาเราศึกษาในทางสังคมศาสตร์ ถามว่าเราศึกษาอะไรในสังคมศาสตร์ จะต้องไปดูที่ Bedrock (ชั้นหินที่ถัดจากชั้นดิน - เป็นสำนวนหมายถึง ข้อเท็จจริง) ที่ใต้ที่สุดเลยของสังคมศาสตร์ สังคมศาสตร์ศึกษา “ความสัมพันธ์ทางสังคม” คือ “Social Relation” อันนี้อยู่บทที่ 1 เวลาอาจารย์อธิบายเรื่อง Social Relation ก็เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา ไม่รู้หมายความว่าไง ก็เป็นคำธรรมดาเหมือนเป็น Common Sense แต่มันไม่ใช่อย่างนั้น มันมีทฤษฎีมากมายที่เอียงไปในทางนี้ เช่น ทั้ง Max Weber ที่เขาพูดบทสำคัญเลย เขียนไว้เป็นปึกเลย Social Relation

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net