Skip to main content
sharethis

เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 7 กันยายน 2554 ที่โรงแรมซีเอส ปัตตานี อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี นายต่อพงษ์ ไชยสาส์น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดสัมมนาเชิงปฏิบัติการดำเนินงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบสืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้ชื่อ เยี่ยวยายุคเปลี่ยนผ่าน เสี่ยงกู่ร้องจากผู้ปฏิบัติงานเยียวยาชายแดนใต้สู่รัฐบาลใหม่ จัดโดยคณะทำงานประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการเยียวยาจิตใจ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 (จังหวัดชายแดนภาคใต้) มีผู้เข้าร่วมประมาณ 200 คน นายแพทย์อิทธิพล สุขแข็ง รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวรายงานว่า ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากความไม่สงบ 4,771 แล้ว ภาย 2 สัปดาห์แรกหลังเกิดเหตุ จะเข้าไปเยียวยาจิตใจ ระยะที่ 2 จะเข้าไปประคับประคองด้านจิตใจและช่วยเหลือด้านต่างๆ ระยะที่ 3 จะติดตามเพื่อประเมินผลกระทบทางด้านสุขภาพจิตต่อไป “ขณะนี้มีองค์กรภาครัฐและภาคประชาชนที่ไม่หวังผลประโยชน์เข้ามาช่วยเหลือดูแลผู้ได้รับผลกระทบเป็นเวลา 3 ปีต่อเนื่อง” นายแพทย์อิทธิพล กล่าว นายแพทย์อิทธิพล กล่าวว่า คณะทำงานประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการเยียวยาจิตใจ ตั้งมาแล้ว 3 ปี มีการประชุมสรุปการทำงานทุกปี นางโซรยา จามจุรี ที่ปรึกษากลุ่มเพื่อนครอบครัวผู้สูญเสีย กล่าวในงานสัมมนาว่า ในระยะเวลา 7 ปีที่ผ่านมา มีผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบแล้วจำนวน 20,689 ราย นายต่อพงษ์ กล่าวว่า การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจจะใช้กรอบศาสนา วิถีชุมชนเป็นหลัก แต่การแก้ปัญหาในมิติดังกล่าวจะทำอย่างไร 7 ปีที่ผ่านมามีการเอาใจใส่ดูแลผู้ได้รับผลกระทบครอบคลุมให้มากที่สุด “ความห่วงใยของพวกท่าน คือ รัฐบาลใหม่จะเข้าใจเป้าหมายของพวกท่านหรือไม่ รัฐบาลจะได้ยินเสียงร้องจากท่านหรือไม่ ขอเรียนว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเองก็เอาใจใส แต่เวลาที่ท่านจะลงมาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังไม่มี เพราะท่านได้ยกประเด็นน้ำท่วมมาเป็นตัวตั้ง แต่ท่านก็ห่วงใยของท่านอยู่” นายต่อพงษ์ กล่าว ทั้งนี้ มีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม ใน 3 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ ประเด็นแนวทางการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบที่อยู่นอกเกณฑ์การเยียวยา และประเด็นการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบด้านการประกอบอาชีพ จากนั้นในวันที่ 8 กันยายน 25541 จะมีการนำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อย และนำเสนอบทสรุปเพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลต่อไป สำหรับคณะทำงานประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการเยียวยาจิตใจ ประกอบด้วย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 15 ผู้แทนองค์กรภาครัฐใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ศูนย์เยียวยาจังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานีและสงขลา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำนักบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงขอมนุษย์จังหวัด และสำนักงานยุติธรรมจังหวัด ส่วนภาคประชาชน ประกอบด้วย ในนราธิวาส ได้แก่ เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบจังหวัด เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบ จังหวัดยะลา ได้แก่ Deep peace กลุ่มฟ้าใส เครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบ จังหวัดปัตตานี ได้แก่ เครือข่ายผู้หญิงยุติความรุนแรงแสวงสันติภาพ มูลนิธิทรัพยากรเอเชีย โครงการผู้หญิงภาคประชาสังคม จังหวัดสงขลา ได้แก่ กลุ่มด้วยใจ และเครือข่ายผู้ได้รับผลกระทบ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net