Skip to main content
sharethis

เอกชนขอ 3-4 ปีปรับค่าแรง 300 นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ รองประธาน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้หลายฝ่ายเริ่มเป็นห่วงว่านโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ทั้งนี้เรื่องนี้มีคณะกรรมการไตรภาคี ทั้งฝ่ายรัฐ ลูกจ้าง นายจ้างดูแลอยู่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่ายของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ตามเห็นว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทใน 4 ปี เป็นไปได้ โดยสภาอุตฯอยากให้ปรับแบบขั้นบันได ซึ่งภาครัฐต้องมีการชดเชยต้นทุนส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นให้แก่สถานประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีอยู่ 90% ควรมีการหามาตรการช่วยเหลือเป็นรายอุตสาหกรรม ขณะนี้สภาอุตฯเตรียมการรองรับหากธุรกิจในภาคอุตฯไม่สามารถแบกรับต้นทุน ค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นได้เพราะใช้แรงงานแบบเข้มข้นก็จะย้ายฐานการผลิตไปประเทศ เพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชาค่าจ้างอยู่ที่กว่า 2,000 บาทต่อเดือน จากการสอบถามผู้ว่าฯจังหวัดศรีโสพล พบว่ามีธุรกิจอุตฯของไทยไปติดต่อไว้จำนวนมาก ด้าน นายวัลลภ กิ่งชาญศิลป์ ผู้แทนคณะกรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายนายจ้าง กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยหากตัวแทนฝ่ายรัฐบาลและลูกจ้างจับมือกันโหวตให้ขึ้นค่าจ้างขั้น ต่ำเป็น 300 บาท เพราะฝ่ายนายจ้างต้องมาคำนวณต้นทุนของตัวเองว่าจะรับต้นทุนค่าจ้างที่เพิ่ม ขึ้นได้หรือไม่ ซึ่งต้นทุนภาคอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ภาคบริการเพิ่มขึ้น 70-80% จึงอยากให้ทุกฝ่ายมาหานรือในรายละเอียดก่อนจะปรับขึ้นค่าจ้างเป็น 300 บาท ทั้งนี้อยากให้การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ คิดและทำอย่างเป็นกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอน มีระยะเวลาดำเนินการ ไม่ใช้ปรับขึ้นทันที ควรใช้ระยะเวลา 2-3 ปี ขณะที่ นายชัยพร จันทนา ผู้แทนคณะกรรมการค่าจ้างกลางฝ่ายลูกจ้าง กล่าวว่า คิดว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน ทำได้และอยากให้ปรับขึ้นทันทีทั่วประเทศ เพราะการปรับค่าจ้างขั้นต่ำโดยไม่สอดรับกับค่าครองชีพที่แท้จริงสะสมมานาน หากไม่ปรับช่วงนี้ โอกาสที่จะปรับอีกเป็นไปได้ยาก เพราะค่าครองชีพตามความเป็นจริงของแรงงานที่ดูแลครอบครัวได้อยู่ที่ 400 บาทต่อวัน และราคาสินค้าได้ปรับขึ้นนำหน้าค่าจ้างไปก่อนแล้ว อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ที่ผ่านมาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไม่สามารถปรับขึ้นแบบก้าวกระโดดได้ เพราะปัญหาอยู่ที่ธุรกิจเอสเอ็มอีไม่มีโครงสร้างเงินเดือนและค่าจ้างประจำปี จะใช้วิธีโดดปรับตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งธุรกิจเอสเอ็มอีควรยอมควักกำไรออกมา ทุกวันนี้เมื่อสรรพากรไปตรวจก็แจ้งว่าไม่ค่อยมีกำไร แต่ขยายสาขาทุกปี ดังนั้นจึงไม่ควรผลักภาระให้รัฐบาล ขณะที่ นางอำมร ชวลิต ที่ปรึกษาวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจากการสำรวจของกระทรวงแรงงานพบว่าราคาสินค้าปรับเพิ่มขึ้นอยู่ ที่ 28.2% เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2.82% ขณะที่ค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 25.7% เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2.57% ซึ่งจะพบว่าการปรับค่าจ้างขั้นต่ำที่ผ่านมาไม่เพียงพอที่จะทำให้แรงงานอยู่ ได้ (โพสต์ทูเดย์, 4-9-2554) สหภาพแรงงานการนิคมอุตสาหกรรมจี้ผู้ว่า กนอ. ขอขึ้นเงินเดือน 5% ชี้โดนนายจ้างเบี้ยวไม่ปฏิบัติตาม ครม. มีรายงานจากการนิคมอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (กนอ.) แจ้งว่า สหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจ กนอ. ได้เตรียมขอ เข้าพบ นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.อุตสาหกรรม เพื่อขอให้เป็นตัวกลาง เจรจากับนางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการกนอ. ให้เพื่อให้ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมาที่มีมติเห็นชอบให้มีการปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจได้ ไม่เกิน 5% แก่ลูกจ้างที่ได้รับเงินเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2554 แต่ กนอ.เป็นรัฐวิสาหกิจเพียงแห่งเดียวที่ไม่ได้รับ การปรับเงินเดือนมาจนถึงขณะนี้ และเมื่อเทียบกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่มีภาวะขาดทุน แต่กลับพบว่าสามารถจ่ายอัตราเงินเดือนให้พนักงานไปเรียบร้อยแล้ว โดยที่ผ่านมา ผู้ว่าการกนอ.ได้มอบให้ผู้บริหารมาชี้แจงต่อสหภาพฯแล้ว โดยยืนยันว่าจะไม่ยอมปรับเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเดือนใหม่ตามมติครม.ที่กำหนด ไว้ 5% แต่จะจ่ายให้เพียง 3% เท่านั้น โดยไม่มีการชี้แจงเหตุผลด้วย ทั้งที่กนอ. ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจที่ประสบปัญหาขาดทุนและมีพนักงานที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าว เพียง 497 คนเท่านั้น ทั้งนี้ หาก กนอ.จ่ายเงินให้ 3% จะมีผลย้อนหลังตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2554 รวมเป็นเงิน 2.5 ล้านบาท เฉลี่ย 429,834 บาทต่อเดือน และถ้าจ่าย เพิ่มเป็น 5% จะคิดเป็นวงเงินรวม 2.6 ล้านบาท หรือเฉลี่ย 433,000 บาทต่อเดือน (แนวหน้า, 5-9-2554) บอร์ด'สปส.'อนุมัติจ้างพนง.เพิ่ม รายงานข่าวจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการสปส. มีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณ 14 ล้านบาท เพื่อจ้างพนักงาน 313 อัตรา สำหรับเดือนก.ย.-ธ.ค. เพื่อรองรับการขยายความคุ้มครองแรงงานนอกระบบตามมาตรา 40 แบ่งเป็น สปส.เขตพื้นที่/จังหวัด 298 อัตรา และสำนักงานเสริมสร้างความมั่นคงแรงงานนอกระบบอีก 15 อัตรา รายงานข่าวระบุว่า ปัจจุบันมีผู้ประกันตนตามมาตรา 40 กว่า 4 แสนคน ขณะที่สปส.ต้องใช้เจ้าหน้าที่ดูแลผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 มาช่วยรับสมัครขึ้นทะเบียนและรับชำระเงิน จึงกระทบต่อภารกิจที่ทำอยู่เดิม จำเป็นต้องขยายอัตรากำลังเพิ่ม ด้านนายปั้น วรรณพินิจ เลขาธิการสปส. กล่าวว่า รัฐบาลได้ให้งบประมาณอุดหนุนผู้ประกันตนมาตรา 40 มา 469 ล้านบาท และใช้เงินไปแล้ว 60 ล้านบาท เมื่อถึงสิ้นเดือนก.ย. สปส.ต้องขออนุมัติเบิกเงินต่อไป เพราะหากไม่ขออนุมัติจะทำให้ผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินเต็มจำนวนทั้งแบบ 100 บาท และ 150 บาทต่อเดือน คาดว่ารัฐบาลคงผ่อนผันตามเงื่อนไขเดิม (ข่าวสด, 5-9-2554) กรมการจัดหางานปรับปรุงระบบส่งแรงงานไปนอก นางสุทัศนี สืบวงศ์แพทย์ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า กรมการจัดหางานได้ดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการด้านการจัดหา งานในต่างประเทศให้เกิดความโปร่งใส และลดขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตให้บริษัทจัดหางานจัดส่งคนไปต่างประเทศ โดยจัดแบ่งเจ้าหน้าที่แยกพิจารณาการขออนุญาตจัดส่งคนงานไปทำงานออกเป็น 2 โซน โซนแรก คือ ไต้หวันและประเทศในแถบเอเชีย และโซนที่ 2 ได้แก่ แถบยุโรปและตะวันออกกลาง เนื่องจากเอกสารการขออนุญาตทำงานของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเน้นตรวจสอบเรื่องค่าตอบแทนในการทำงานและสิทธิประโยชน์ และตำแหน่งงานที่มีจริงในต่างประเทศ การขออนุญาตจัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศจะใช้เวลาเพียง 3-5 วัน จากเดิม 12 วัน ส่วนข้อครหาที่มีการวิ่งเต้นกับผู้ใหญ่ในกรมและเรียกรับผลประโยชน์ใต้โต๊ะ ยืนยันว่าไม่มีเรื่องเหล่านี้แน่นอน นอกจากนี้ พยายามลดค่าใช้จ่ายของแรงงาน โดยจัดทำโครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศร่วมกับธนาคาร 3 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยปล่อยสินเชื่อเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ (ข่าวสด, 6-9-2554) แรงงาน 5.5 ล้านคนอยู่ในข่ายจะได้ขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท 6 ก.ย. 54 - นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า จากการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับ นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และนางจิราภรณ์ เกษรสุจริต อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ถึงการเดินหน้านโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ล่าสุดวานนี้ (5 ก.ย.) กระทรวงแรงงานแจ้งว่า มีแรงงานที่ทำงานในโรงงาน ภาคการค้า และบริการ ที่อยู่ในข่ายจะได้ขึ้นค่าแรงประมาณ 5.5 ล้านคน ในขณะที่ ส.อ.ท.แจ้งให้กระทรวงแรงงานทราบว่า ส.อ.ท.เห็นด้วยกับการดูแลแรงงาน แต่ต้องการให้มาตรการปรับขึ้นค่าแรงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการน้อยที่สุด โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และต้องการให้มีระยะเวลาปรับตัวในการปรับขึ้นค่าแรง 3-4 ปี เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงค่าแรงอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเชื่อว่าหลังจากนั้นการปรับขึ้นค่าแรงจะเป็นไปตามกลไกตลาดได้ ซึ่งกระทรวงแรงงานยังไม่ให้คำตอบชัดเจนว่าจะเป็นไปตามที่ ส.อ.ท.ร้องขอหรือไม่ นอกจากนี้ ส.อ.ท. และกระทรวงแรงงานยังมีความเห็นเบื้องต้นที่จะทำงานร่วมกันในการพัฒนาความ พร้อมของแรงงาน โดยหากแรงงานที่เข้าทำงานอยู่เดิมแล้ว กลุ่มนี้จะจัดให้มีชุดมาตรการพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่วนแรงงานใหม่ที่จะเข้ามาจะได้รับการเตรียมความพร้อม เช่น การปฐมนิเทศ 5-7 วัน และการเตรียมความพร้อมอื่น ๆ ซึ่งกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะร่วมกับ ส.อ.ท.จัดทำมาตรการนี้ต่อไป ส่วนในแง่ของการเพิ่มศักยภาพแรงงานจะเป็นมาตรการที่ต้องดำเนินการในระยะกลาง เนื่องจากต้องใช้ระยะเวลา ด้านความหมายของรายได้ ทางกระทรวงแรงงานและ ส.อ.ท.ยังให้ความหมายที่ต่างกันอยู่บ้าง โดยกระทรวงแรงงานมองเป็นค่าจ้างรายวัน ในขณะที่ ส.อ.ท.มองรวมถึงการจัดสวัสดิการที่ให้กับแรงงานในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย เพราะเห็นว่าผู้ประกอบการหลายรายที่มีการให้สวัสดิการอยู่แล้ว หากต้องปรับขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 300 บาท เท่ากับผู้ประกอบการรายที่ไม่จัดสวัสดิการให้แรงงานจะทำให้การปรับขึ้นค่า แรงทำได้ยากกว่า ซึ่ง ส.อ.ท.ไม่เห็นด้วยหากจะมีการปรับลดสวัสดิการที่ให้แก่แรงงาน อย่างไรก็ตาม แรงกดดันในการปรับขึ้นค่าจ้างขณะนี้ลดน้อยลงแล้ว เนื่องจากประเทศไทยยังมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน นายพยุงศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ส.อ.ท.แจ้งกับกระทรวงแรงงานว่าต้องการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับเอสเอ็มอี หากต้องปรับขึ้นค่าจ้างแก่แรงงาน โดยขอหารือกระทรวงแรงงานช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่ม ขึ้นไปหักลดหย่อนรายจ่ายต่าง ๆ ได้ แต่เรื่องนี้จะต้องศึกษาว่าในทางกฎหมายสามารถทำได้มากน้อยเพียงใดและจะได้ รับความเห็นชอบหรือไม่ นายพยุงศักดิ์ กล่าวด้วยว่า ในอีก 2 สัปดาห์จากนี้ไป ส.อ.ท.จะเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เพื่อแสดงความยินดีและรับทราบแนวทางการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชน และรับทราบนโยบายการปรับค่าแรงงานขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท (สำนักข่าวไทย, 6-9-2554) โรงงานตุ๊กตานครปฐมขอลดสวัสดิการ เบี้ยขยัน-ค่าข้าว แลกขึ้นค่าจ้าง 300 บาท/วัน น.ส.ดาวเรือง ชานก นักสื่อสารศูนย์แรงงานอ้อมน้อย-อ้อมใหญ่ เปิดเผยว่า มีพนักงานบริษัทผลิตตุ๊กตาปูนปั้นแห่งหนึ่งใน จ.นครปฐม ให้ข้อมูลว่านายจ้างได้เรียกประชุมพนักงานรายวันทั้งหมดเพื่อแจ้งเรื่องการ ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทตามนโยบายของรัฐบาล โดยแจ้งแก่พนักงานว่าบริษัทจะปรับขึ้นค่าจ้างให้ 300 บาทภายในปี 2554 นี้ แต่มีข้อเสนอ 1.ยกเลิกเบี้ยขยันทั้งหมดที่พนักงานเคยได้รับ 2.บริษัทยกเลิกค่าครองชีพที่พนักงานเคยได้รับ รอบละ 100 บาท (15 วัน) และ 3. ตัดเงินค่าข้าวที่พนักงานเคยได้รับวันละ 8 บาทเหลือวันละ 4 บาท อย่างไรก็ตาม ปัญหาการถูกลดสวัสดิการดังกล่าวคนงานเองยังไม่ได้แสดงความเห็นใดๆ เพราะยังงงอยู่ว่าการปรับขึ้นค่าจ้าง กับการที่นายจ้างมาขอลดสวัสดิการปรับสภาพการจ้างเสียใหม่ เป็นการเพิ่มรายได้หรือว่าลดรายได้กันแน่ ทั้งนี้ โรงงานดังกล่าวไม่มีสหภาพแรงงานคอยเจรจาต่อรองกับนายจ้าง และขณะนี้่ฝ่ายลูกจ้างยังอยู่ระหว่างการหารือว่าการปรับเงื่อนไขการจ้างงาน ดังกล่าวจะมีผลกระทบมากน้อยแค่ไหน (โพสต์ทูเดย์, 7-9-2554) เอกชนภูเก็ตยันเงินเดือน 15,000 บาทเป็นไปได้ยาก วันนี้ (7 ก.ย.) ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดภูเก็ต คณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม นำโดยนายขวัญชัย พนมขวัญ รองประธานคนที่ 1 คณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม และประธานคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาเรื่องสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน วุฒิสภา รับฟังสถานการณ์ด้านแรงงานในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต และพังงา และกระบี่ โดยมีนายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับด้านแรงงานทั้ง 3 จังหวัด และภาคเอกชน เข้าร่วมชี้แจง นายขวัญชัย กล่าวภายหลังการรับฟังข้อมูลสถานการณ์แรงงานในภูเก็ต พังงา และกระบี่ว่า คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาเรื่องสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน วุฒิสภา ต้องการที่จะมารับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการขาดแคลนแรงงาน วิกฤตแรงงาน และปัญหาแรงานต่างด้าว และภาคเอกชนต้องการที่จะให้ภาครัฐเข้าให้การช่วยเหลืออย่างไรบ้าง นอกจากนี้ จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่นำร่องในการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท จึงอยากจะมารับฟังถึงความพร้อมของภาคเอกชนและหน่วยงานที่จะดำเนินการ เพื่อที่จะนำข้อมูลทั้งหมดไปหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในเวทีสัมมนาเรื่องแรงงานขั้นต่ำ รายได้ขั้นต่ำ 300 บาท และเงินเดือน 15,000 บาท ซึ่งทางคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคมจัดขึ้นในวันศุกร์ที่จังหวัด เชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้น เท่าที่รับฟังจากผู้ประกอบการทำให้ทราบว่าไม่น่าที่จะมีปัญหาในการปรับค่า แรงงานเป็น 300 บาท เพราะรายได้ที่แรงงานได้รับอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวเกินวันละ 300 บาทอยู่แล้ว แต่ในเรื่องของเงินเดือน 15,000 บาทนั้นน่าที่จะมีปัญหาเพราะเอกชนคงจะไม่จ้างแรงงานที่เพิ่งจบใหม่โดยไม่มี ทักษะ แต่จะสามารถเลือกจากคนที่จบระดับปวช.หรือ ปวส. ที่ประสบการณ์ในการฝึกทักษะตอนเรียนมากกว่า และค่าจ้างก็ต่ำกว่าด้วย รวมทั้งภาคเอกชนในภูเก็ตยังได้เรียกร้องให้ช่วยกันผลักดันให้ภูเก็ตเป็นเขต เศรษฐกิจพิเศษเพื่อสะดวกในการบริหารจัดการต่อไป ด้านนายกฤษฏา ตันสกุล อุปนายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า อยากจะให้รัฐบาลมีความชัดเจนเรื่องค่าจ้างวันละ 300 บาท ว่าจริงแล้วเป็นค่าจ้างขั้นต่ำ หรือ เป็นรายได้ขั้นต่ำ รวมทั้งจำนวนวันคิด 26 วัน หรือ 30 วัน ซึ่งในส่วนของจังหวัดภูเก็ตนั้นค่าจ้างหรือรายได้ขั้นต่ำวันละ 300 บาทไม่น่าจะมีผลกระทบมากนัก เพราะรายได้ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวเกินวันละ 300 บาทอยู่แล้ว แต่เป็นห่วงว่าหากจังหวัดอื่นๆ ที่ค่าจ้างยังต่ำอยู่แล้วมีการปรับจนครบ 300 บาท โดยที่ภูเก็ตต้องปรับตามไปด้วยนั้นจะทำให้ค่าจ้างสูงถึงวันละ 400-500 วัน ซึ่งจุดนี้จะเกิดปัญหาอย่างแน่นอน ส่วนเงินเดือน 15,000 บาทนั้นน่าเป็นห่วงมาก เพราะระบบการศึกษาของไทยผู้ที่จบปริญญาตรีได้มีทักษะพร้อมที่จะเข้ามาทำงาน ภาคการท่องเที่ยวได้อย่างดี โอกาสที่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวจะรับเข้าทำงานยากมาก เพราะในภูเก็ตนอกจากจะมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งแล้ว ยังสถาบันการศึกษาระดับอาชีวะอีกหลายแห่งที่มีการฝึกทักษะในช่วงการเรียน ซึ่งผู้ประกอบการพร้อมที่จะรับเข้าทำงานอยู่แล้ว (ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 7-9-2554) จัดหางาน จ.แพร่ เตือนอย่างหลงเชื่อผู้แอบอ้างว่าจะช่วยไปทำงานเกาหลี นายดิเรก ทะจันทร์ จัดหางานจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า ตามที่กรมการจัดหางานได้แจ้งประกาศคณะอนุกรรมการจัดส่งแรงงานไทยไปสาธารณรัฐ เกาหลี ภายใต้ระบบการจ้างแรงงานต่างชาติ (EPS) ครั้งที่ 11 กำหนดให้กรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ทำหน้าที่ในการรับสมัครคัดเลือก และจัดส่งคนหางานไปทำงาน โดยคนหางานที่จะเดินทางไปทำงานต้องผ่านการทดสอบความสามารถภาษาเกาหลี (EPS-TOPIK) ตามที่ทางการเกาหลีกำหนด รับสมัครในตำแหน่ง คนงานอุตสาหกรรม จำนวน 2,000 คน คนงานเกษตร/เลี้ยงสัตว์ จำนวน 1,000 คน คนงานประมง จำนวน 1,000 คน และคนงานก่อสร้าง จำนวน 1,500 คน เปิดรับสมัคร จนถึงวันที่ 9 กันยายน 2554 ณ สำนักงานบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ กรมการจัดหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัดลำปาง สำนักงานจัดหางานจังหวัดนครราชสีมา และสำนักงานจัดหางานจังหวัดอุดรธานี จัดหางานจังหวัดแพร่ ขอเตือนให้ผู้ว่างงานหรือผู้สนใจ อย่าได้หลงเชื่อบุคคลที่แอบอ้างว่าจะสามารถช่วยเหลือให้ท่านไปทำงานเกาหลี ได้ เพราะการเดินทางไปทำงานเกาหลีในปัจจุบัน เป็นการดำเนินการจัดส่งโดยรัฐเท่านั้น ไม่ต้องเสียค่าบริการและค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ยกเว้น ค่าทำหนังสือเดินทาง ค่าตรวจโรค ค่าเครื่องบิน เป็นต้น หากมีข้อสงสัยสอบถามสำนักงานจัดหางานจังหวัดแพร่ หมายเลขโทรศัพท์ 054-511-721 054-511-807 ทุกวันเวลาราชการ (สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 7-9-2554) เครือข่ายแรงงานเตรียมบุกทำเนียบฯ จี้รัฐรับร่าง กม.ประกันสังคมฉบับประชาชน น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 13 กันยายนนี้ เวลา 09.30 น. คสรท.พร้อมด้วยเครือข่ายแรงงานกลุ่มย่านต่างๆ และสภาองค์การลูกจ้างจำนวนหลายร้อยคน เตรียมเดินทางไปที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ช่วยพิจารณาผลักดันร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับผู้ใช้แรงงาน ที่รัฐบาลชุดที่แล้วได้รับหลักการไปแล้ว แต่ยังค้างอยู่ในสภาผู้แทนราษฎร ให้เข้าสู่การพิจารณาของสภา ไม่เช่นนั้นร่างกฎหมายดังกล่าว ซึ่งมีระยะเวลา 60 วันจะตกไปภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ น.ส.วิไลวรรณ กล่าวอีกว่า ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของผู้ใช้แรงงานมีสาระสำคัญที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ แรงงานในหลายเรื่อง อาทิ การเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนให้มากขึ้น การได้มาซึ่งคณะกรรมการประกันสังคม (สปส.) ประธานคณะกรรมการและเลขาธิการ สปส.การจ่ายเงินทดแทนกรณีเจ็บป่วยให้มากกว่าร้อยละ 50 การเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตนให้มากขึ้น สามารถเข้ารักษาพยาบาลได้ทุกโรงพยาบาลโดยใช้บัตรใบเดียว การแก้ไขระเบียบให้รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพิ่มเป็นร้อยละ 5 เช่นเดียวกับนายจ้างและลูกจ้าง รวมทั้งเพิ่มบทลงโทษนายจ้างที่ไม่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนให้รุนแรงขึ้น น.ส.วิไลวรรณ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา คสรท.และเครือข่ายแรงงานได้ไปยื่นร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมไว้กับนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ต่อมาวันที่ 24 สิงหาคม ก็ได้ไปยื่นกับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และวันที่ 5 กันยายน ได้ยื่นกับนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า จึงจะไปยื่นต่อนายกรัฐมนตีอีกครั้งในวันที่ 13 กันยายนนี้ (สำนักข่าวไทย, 8-9-2554) เผย พนง.ขสมก.ได้ปรับขึ้นค่าแรง 300 บ. พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลัง การประชุมมอบหมายงานกับทางองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือ ขสมก. โดยเน้นย้ำในส่วนของนโยบายค่าแรง 300 บาท ว่า พนักงานของ ขสมก.ได้ปรับตามมาตรการดังกล่าวเหลือเพียง 2 ราย ที่จะมีการปรับให้ต่อไป และสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เงินเดือน 15,000 บาทนั้น พนักงานของ ขสมก. ได้ในอัตราที่สูงกว่าอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม พล.ต.ท.ชัจจ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับรถยนต์โดยสารประจำทางนั้น ขณะนี้ทาง ขสมก. มีรถให้บริการ 3,500 คัน เป็นรถที่หมดอายุการใช้งาน 2,800 คัน และรถเสีย 700 คัน ซึ่งจะหามาตรการในการแก้ไขต่อไป (สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, 8-9-2554) ญี่ปุ่นนิคมฯลำพูนหยุดลงทุน วิตกหนักขึ้นค่าแรง 300 จ่อย้ายฐานผลิตหากมีผล วันนี้ (9 ก.ย.) คณะกรรมาธิการการแรงงานและสวัสดิการสังคม วุฒิสภา และสำนักงานแรงงานจังหวัดลำพูน ร่วมกันจัดการเสวนาเรื่อง “ทิศทางการจัดการแรงงานในภาคเหนือกับนโยบายแรงงานและการก้าวสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน (AEC)” โดยมี พลเอก ธีรเดช มีเพียร ประธานวุฒิสภา เป็นประธานเปิดการเสวนา และมี นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมชี้แจงนำเสนอนโยบายด้านแรงงานให้กับผู้ประกอบการ หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และลำพูนที่เข้า ร่วมการเสวนาในครั้งนี้กว่า 100 คน ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่ ประธานวุฒิสภา กล่าวว่า การจัดการเสวนาในครั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถานการณ์แรงงานปัจจุบันที่นิยม แรงงานไร้ฝีมือของผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ และผู้ประกอบการ SMEs สาขาอื่นในภาคเหนือ รวมทั้งเสนอแนวทางการพัฒนามาตรฐานฝีมือแรงงาน เป็นการเตรียมความพร้อมรับนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เป็นกรณีศึกษาปัญหาแรงงานขาดแคลนในภาคอุตสาหกรรม และเพื่อศึกษาการเตรียมความพร้อมรองรับผลกระทบจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ในปี พ.ศ.2558 ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมภาคเหนือ ขณะที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า นโยบายการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท นั้น เป็นสิ่งที่รัฐบาลจะดำเนินการอย่างแน่นอน เพราะเป็นนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ในช่วงการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการดำเนินการตามนโยบายนี้คงจะต้องดำเนินการอย่างเป็น ลำดับขั้น โดยคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ทั้งฝ่ายแรงงานและผู้ประกอบการ ซึ่งการดำเนินนโยบายนี้นอกจากแรงงานจะได้ประโยชน์แล้ว ยังจะต้องทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์อย่างสมเหตุสมผลด้วยเช่นกัน เช่น อาจจะต้องมีการกำหนดสิทธิประโยชน์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ เป็นต้น โดยทั้งหมดนี้จะต้องมีการหารือร่วมกันระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อ พิจารณาหาข้อสรุปก่อนที่จะดำเนินการ แต่ทั้งนี้ในเบื้องต้นจะมีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40%พร้อมกันทุกจังหวัดทั่วประเทศไปก่อน เริ่มตั้งแต่ ม.ค.55 เป็นต้นไป ซึ่งเห็นว่าน่าจะมีความเหมาะสมดีแล้ว ด้าน นายณรงค์ คองประเสริฐ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชนจังหวัดเชียงใหม่ แสดงความเห็นว่า ไม่ต่อต้านการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะถือเป็นสิ่งที่ดีที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ อย่างไรก็ตามเห็นว่าการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ จะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอย่างมาก เพราะเป็นการดำเนินการที่ฝืนหลักกลไกตลาด โดยมองว่าการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำน่าจะใช้กลไกไตรภาคีที่มีอยู่แล้วในแต่ละ จังหวัดให้เป็นผู้พิจารณากำหนดตามความเหมาะสมสำหรับในแต่ละจังหวัดมากกว่า ที่จะใช้กฎหมายมาเป็นตัวกำหนด นอกจากนี้ ระบุว่า อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ในภาคเหนือเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่ได้ต้องการใช้แรงงานที่มี ทักษะฝีมือสูงอยู่แล้ว แต่ต้องการใช้แรงงานที่มีค่าจ้างต่ำ ดังนั้น การเพิ่มขึ้นค่าจ้างแรงงานจะส่งผลกระทบอย่างหนักทันทีต่ออุตสาหกรรมที่ลง ทุนอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเวลานี้พบว่ากลุ่มนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นที่ลงทุนอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม ภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ต่างพากันหยุดการลงทุนเพื่อรอดูสถานการณ์และการดำเนินนโยบายในเรื่องของการ เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งหากมีกำหนดบังคับให้ต้องเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน เชื่อว่า กลุ่มนักลงทุนจากต่างประเทศคงจะย้ายฐานการผลิตออกไปจากประเทศไทยไปลงทุนใน ประเทศอื่นที่ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่าอย่างแน่นอน ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวด้วยว่า ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกอย่างหนึ่งที่น่าเป็นห่วงคือการ ทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าวที่ค่าจ้างต่ำกว่า และมีความขยันมากกว่า ซึ่งมองว่าในช่วง 3-5 ปีนี้ มีความเป็นไปได้สูงที่จะมีการทะลักเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อน บ้านเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันระบุว่าการจะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 40% พร้อมกันทั่วประเทศที่จะมีการนำมาใช้ตั้งแต่ ม.ค.55 เป็นต้นไป เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความหวั่นวิตกเป็นอย่างมากเช่นกัน เพราะไม่สามารถปรับตัวได้ทัน จนหลายรายเริ่มคิดถึงการต้องปรับลดการจ้างงานลงแล้วเพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้น ทุน ดังนั้น จึงไม่อยากให้รัฐบาลเร่งรัดดำเนินการในการขึ้นค่าจ้างมากจนเกินไป แต่น่าจะให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันให้กับ ผู้ประกอบการมากกว่า เพราะหากผู้ประกอบการแข่งขันได้ดีมีรายได้เพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้ค่าจ้างแรง งานเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเอง (ASTV ผุ้จัดการออนไลน์, 9-9-2554) พบแรงงานกระทบจากน้ำท่วมกว่า 6 พันคน นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า จากอุทกภัยที่เกิดขึ้นใน 12 จังหวัด มีสถานประกอบการ ได้รับผลกระทบ 27 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 6,706 คน กระทรวงแรงงาน ได้รับรายงานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ผ่านศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติกระทรวงแรงงาน ประจำจังหวัด ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน ที่ผ่านมา ได้มีการช่วยเหลือมอบถุงยังชีพ ให้ผู้ประสบอุทกภัย ประสานและร่วมมือกับหน่วยงาน และสถานประกอบการ เพื่อป้องกันช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบ โดยเตรียมข้อมูลตำแหน่งงานว่าง ความต้องการฝึกอาชีพ จัดทีมแพทย์และพยาบาล ให้บริการตรวจสุขภาพ ขอความร่วมมือนายจ้างผ่อนปรน เรื่องเวลาทำงานและการลา จัดรถรับ-ส่ง ที่พักอาศัย เครื่องอุปโภค-บริโภค นอกจากนี้ ยังได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนที่เดือดร้อนจากน้ำท่วม กู้เงินไปซ่อมแซมบ้านแล้ว 190 ราย คิดเป็นเงิน 9.5 ล้านบาท ส่วนมาตรการหลังน้ำลด จะเร่งสำรวจความต้องการฝึกอาชีพในพื้นที่ การซ่อมแซมสิ่งต่างๆ การแนะแนวอาชีพ การนัดพบแรงงาน และโครงการจ้างงานเร่งด่วน และพัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพ เพื่อให้ผู้ประสบภัยมีรายได้ดำรงชีพตนเอง และครอบครัวเป็นการชั่วคราว (ไอเอ็นเอ็น, 9-9-2554)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net