ทำไมจึงต้องรำลึก 35 ปี 6 ตุลา

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

ในบันทึกอาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ฉบับเต็มนั้นชื่อว่า “ความรุนแรงและรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519” มีความยาวถึงสิบหน้ากระดาษ ถ่ายทอดทุกสิ่งที่สังคมไทยตั้งคำถามกับเหตุการณ์นี้ มีการแจกแจงถึงเจตนาตลอดจนวิธีการของพวกที่รวมตัวกันวางแผนก่ออาชญากรรมรัฐดังนี้ “......... เจตนาที่จะทำลายล้างพลังนักศึกษา และประชาชนที่ใฝ่เสรีภาพนั้นมีอยู่นานแล้ว ในเดือนตุลาคม 2516 เมื่อ มีเหตุทำให้เปลี่ยนระบบการปกครองมาเป็นรูปประชาธิปไตยนั้น ได้มีผู้กล่าวว่า ถ้าฆ่านักศึกษาประชาชนได้สักหมื่นสองหมื่นคนบ้านเมืองจะสงบราบคาบ และได้สืบเจตนานี้ต่อมาจนถึงทุกวันนี้ ในการเลือกตั้งเมษายน 2519 ได้มีการปิดประกาศและโฆษณาจากพรรคการเมืองบางพรรคว่า “สังคมนิยมทุกชนิดเป็นคอมมิวนิสต์” และกิตติวุฒโฑภิกขุ ยังได้ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ว่า “การฆ่าคอมมิวนิสต์นั้นไม่เป็นบาป” ถึงแม้ในกันยายน–ตุลาคม 2519 เอง ก็ยังมีผู้กล่าวว่าการฆ่าคนที่มาชุมนุมประท้วงจอมพลถนอม กิตติขจร สัก 30,000 คน ก็เป็นการลงทุนที่ถูก ผู้ที่สูญเสียอำนาจทางการเมืองในเดือนตุลาคม 2516 ได้แก่ทหารและตำรวจบางกลุ่ม ผู้ที่เกรงว่าในระบบประชาธิปไตยจะสูญเสียอำนาจทางเศรษฐกิจไป ได้แก่ พวกนายทุนเจ้าของที่ดินบางกลุ่ม และผู้ที่ไม่ประสงค์จะเห็นระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย กลุ่มเหล่านี้ได้พยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะทำลายล้างพลังต่างๆ ที่เป็นปรปักษ์แก่ตนเองด้วยวิธีต่างๆ.............” ความทรงจำ 6 ตุลา 2519 แทรกพื้นที่ทางการเมืองต่อเนื่องกันมาเป็นระยะๆ เมื่อการรำลึก 6 ตุลามาเยือน ความพยายามสร้างพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ได้เกิดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ สวนประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์หน้าหอประชุมใหญ่ ด้วยเหตุที่อนุสรณ์สถานของสามัญชนคนธรรมดาเป็นสิ่งที่สร้างได้ยากยิ่ง ขณะที่อนุสรณ์ อนุสาวรีย์ของผู้กดขี่ประชาชนมีดาษดื่น การรำลึกจึงยิ่งสำคัญเป็นทวีคูณ โครงการกำแพงประวัติศาสตร์สะท้อนความพยายามร่วมกันของคนเดือนตุลาและชาวธรรมศาสตร์ในการบันทึกหน้าประวัติศาสตร์หน้านี้ไว้ ด้วยความริเริ่มมาตั้งแต่ ปี ๒๕๓๙ อันเป็นวาระครบรอบ ๒๐ ปี ๖ ตุลา เมื่อสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้ความเห็นชอบ และมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจัดสร้างกำแพงประวัติศาสตร์ “ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย” ในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน โครงการนี้จึงได้ดำเนินมาเป็นลำดับ โดยมีท่านรองศาสตราจารย์นรนิติ เศรษฐบุตร อธิการบดีในขณะนั้นร่วมกับ ศิษย์เก่าธรรมศาสตร์ อดีตนักกิจกรรมและ ผู้เข้าร่วมในเหตุการณ์ 6 ตุลา อีกจำนวนหนึ่งเป็นผู้จุดประกายให้โครงการนี้ได้ปรากฏ ได้เคยตั้งความหวังว่าอนุสรณ์สถานและประติมากรรม 6 ตุลา จะเตือนใจว่าความขรุขระบนหินรูปเขื่อนสีเลือดเกรอะกรัง ของชิ้นงาน6 ตุลา 2519 ที่สะท้อนด้านที่อัปลักษณ์ของสังคมไทย จะช่วยเตือนสติแก่ทุกคนว่าเหตุการณ์เช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต แต่มันก็เกิดขึ้นซ้ำจนได้ในเหตุการณ์พฤษภา 2535 และ เมษา พฤษภาปี 2553 ที่ผ่านมา ความหมายสุดท้ายของการรำลึกที่สำคัญ และจะคงความสำคัญไปอีกยาวนาน คือ เราจะต่อต้านเผด็จการกันอย่างไร? เราจะสร้างสรรค์ประชาธิปไตยประชาชนอย่างไร? และเราจะต้องมารำลึกถึงวีรชนคนตายกันอีกกี่ครั้งกี่หน คำตอบไม่ได้อยู่ในสายลม สายลมฝ่ายขวาอาจพัดแรง แต่สายลมแห่งการต่อสู้ก็กำลังกระพือโหม จากตะวันออกสู่ตะวันตก จากเหนือจรดใต้ ประชาชนทั่วโลกกำลังต่อสู้กับระบบ ระบอบเก่าๆ และร่วมกันปลดแอกสู่สังคมใหม่ ทุกๆ ปีเมื่อมีการจัดงานรำลึก งานด้านศิลปะ ดนตรี บทกวี ละคร นาฏลีลาและการแสดงรูปแบบต่างๆ ล้วนเป็นผลิตผลทางวัฒนธรรมที่ผลิดอกออกผลท่ามกลางการต่อสู้ เวทีอาจจะไม่ใหญ่ไม่โต แต่เปี่ยมด้วยพลัง ศรัทธา ความมุ่งมั่นของเหล่านักรบ ทั้งหน้าเก่าหน้าใหม่ ที่พร้อมจะแปรเจตนารมณ์ของเหล่าวีรชนให้เป็นจริง.... ............................................................................................................. สัปดาห์รำลึก 35 ปี 6 ตุลา ระหว่างวันที่ 1-14 ตุลาคม 2554 จัดโดย องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(ท่าพระจันทร์) โครงการกำแพงประวัติศาสตร์:ธรรมศาสตร์กับการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และเครือข่ายเดือนตุลา ร่วมกับ กลุ่มประชาคมจุฬาเพื่อประชาชน(CCP) กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้านอำนาจนอกระบบ(TCAD) กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย(LLTD) กลุ่มเสรีเกษตรศาสตร์(LKS) กลุ่มประชาคมมหิดลเสรีเพื่อประชาธิปไตย(FMCD) -------------- กำหนดการ สัปดาห์รำลึก 35 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยประชาชน ณ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ 1-14 ตุลา นิทรรศการภาพจิตรกรรมการเมือง ณ หอสมุดปรีดี พนมยงค์ 2 -9 ตุลา สัปดาห์ “ ตุลารำลึก” หนังสือการเมือง และ นิทรรศการหนังสือต้องห้าม ณ บริเวณ ลานโพธิ์ ติดประตูท่าพระจันทร์ วันอังคารที่ 4 ตุลา ณ ลานโพธิ์ 13.00 น. “ละครแขวนคอ” ชนวนเหตุอาชญากรรมรัฐ 6 ตุลา 19 โดย ประกายไฟการละคร วันพุธที่ 5 ตุลา ณ หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ 14.00 น. - 16.30 น. ละครเวที “ แค้น” โดย กลุ่มละครกุหลาบแดง 16.30 น. - 18.00 น. เสวนา “จากพ่อจารุพงษ์ ถึง แม่น้องเกด” ดำเนินรายการโดย สมบัติ บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด) 18.00 น. - 22.00 น. คอนเสิร์ตรำลึกวีรชนเดือนตุลา 21.00 น. – 22.00 น. ละคร “อุโมงค์ตึกโดม” โดย ประกายไฟการละคร วันพฤหัสที่ 6 ตุลา ณ สวนประวัติศาสตร์ หน้าหอประชุมใหญ่ 05.00 น. - 06.00 น. ละครสะท้อนความจริงเช้ามืดของวันที่ 6 ตุลา 2519 “ก่อนอรุณจะร่วง” โดยประกายไฟการละคร 07.00 น.- 07.30 น. พิธีตักบาตรพระสงฆ์ 36 รูป 07.30 น.– 09.00 น. พิธีวางพวงมาลา ณ ประติมานุสรณ์ 6 ตุลาคม และ กล่าวสดุดี โดยตัวแทนฝ่ายต่างๆ - กรรมการญาติวีรชน - ตัวแทน 18 ผู้ต้องหา - องค์กรประชาธิปไตย - อมธ. สภานักศึกษา - ตัวแทนองค์กรร่วมจัดงาน ฯลฯ 09.00 น. - 10.00 น. กวี และนาฏลีลา รำลึกวีรชน 6 ตุลา 10.00 น. - 11.30 น. ปาฐกถาพิเศษ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ณ ห้องจี๊ด คณะนิติศาสตร์ 11.30 น. - 12.30 น. การแสดง ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ละครเรื่อง \เก้าอี้\"จากกลุ่มประกายไฟ และ Action ของนักศึกษาจากกลุ่มต่างๆ อ่านบทกวี ร้องเพลง และโปรยดอกกุหลาบ 13.00-14.30 เสวนา มุมมองของนักศึกษากับเหตุการณ์6ตุลาฯ ห้อง จี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ - เสกสรร อานันทศิริเกียรติ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะรัฐศาสตร์ ภาควิชาการปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย - รักษ์ชาติ์ วงศ์อธิชาติ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาอังกฤษอเมริกันศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ - ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 14.30-17.00 เสวนาจากนักวิชาการ \"จาก19-54 เส้นทางความยุติธรรมของสังคมไทย\" (วิทยากรอยู่ในระหว่างติดต่อ)"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท