Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

เหตุการณ์ถกเถียงโต้แย้ง ระหว่างสภาการหนังสือพิมพ์กับเครือมติชน เรื่องความเป็นกลาง หรือไม่เป็นกลางของมติชนและสื่ออื่น จนทำให้มติชนตัดสินใจถอนตัวจากการเป็นสมาชิกสภาการหนังสือพิมพ์ ทำให้ผู้เขียนตระหนักว่า ความเข้าใจวาทกรรม “ความเป็นกลาง” ของสื่อเป็นสิ่งสำคัญและสังคมไทยยังขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งเพียงพอเกี่ยวกับวาทกรรมนี้ จึงขอเสนอความเห็นมาพอสังเขปว่าด้วยเรื่องความเป็นกลาง ดังนี้ คำว่า “ความเป็นกลาง” มักถูกสื่อกระแสหลักใช้สร้างความชอบธรรมและความน่าเชื่อถือมาเป็นเวลานาน ถึงแม้เอาเข้าจริงอาจมิต่างจากบรรดานายพลผู้ก่อรัฐประหาร ที่มักอ้างว่า ตนกระทำการเพื่อรับใช้ประชาชนและสถาบันกษัตริย์ คำถามแรกที่ควรถามคือ ความเป็นกลางคืออะไร ความเป็นกลาง คือการอยู่กึ่งกลางระหว่างสองข้างหรือไม่ ความเป็นกลาง คือการอยู่กึ่งกลางระหว่างดีกับชั่ว ผิดกับถูก เผด็จการกับประชาธิปไตย หรือไม่ คำถามที่เลี่ยงไม่ได้คือ เป็นกลางระหว่างอะไร ระหว่างคู่พิพาท หรือ อุดมการณ์ที่ต่างกันสองข้าง สองขั้ว กระนั้นหรือ? และถ้ามีมากกว่าสองข้างอย่างสามสี่ข้าง แล้วจะเป็นกลางได้อย่างไร สื่อมักเอียงไปทางด้านของเจ้าของสื่อ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือทางอุดมการณ์ที่ตนสนับสนุนใช่หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นอุดมการณ์ประชาธิปไตย อุดมการณ์เจ้านิยม อุดมการณ์เผด็จการ อุดมการณ์ทุนนิยม และอื่นๆ ผู้เขียนเคยเขียนในหนังสือ \สื่อเสรีมีจริงหรือ: บทเรียนประชาธิปไตยและวัฒนธรรมในสื่อไทย\" (ประวิตร โรจนพฤกษ์ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์โกมลคีมทอง ปี 2545

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net