Skip to main content
sharethis

ผู้บริหารหน่วยงานเซ็นเซอร์ของรัฐบาลพม่าให้สัมภาษณ์วิทยุอาร์เอฟเอ ระบุการปิดกั้นควบคุมสื่อไม่สอดคล้องกับประชาธิปไตย จึงต้องยกเลิกในอนาคตอันใกล้นี้ ยันขณะนี้ไม่มีการเซ็นเซอร์ข่าว “ออง ซาน ซูจี” แล้ว เชื่อประเทศจะเปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตย ขณะที่องค์กรเฝ้าระวังสื่อยังคงห่วงสถานการณ์พม่าที่ขณะนี้มีผู้สื่อข่าวถูกจับกุมอย่างน้อย 14 ราย สถานีวิทยุเรดิโอฟรีเอเชีย (Radio Free Asia – RFA) รายงานเมื่อ 7 ต.ค. ว่า นายทิน ส่วย (Tint Swe) ผู้อำนวยกรมพิจารณาและลงทะเบียนสื่อ (Press Scrutiny and Registration Department - PSRD) ของรัฐบาลพม่า หน่วยงานหลักของประเทศพม่าซึ่งทำหน้าที่ควบคุมและเซ็นเซอร์สื่อ กล่าวว่าหน่วยงานที่เขาเป็นผู้รับผิดชอบควรถูกยุบหน่วยงาน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปโดยรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ “การเซ็นเซอร์สื่อไม่มีแล้วในประเทศอื่นๆ เช่นในประเทศเพื่อนบ้านของเรา และการเซ็นเซอร์สื่อนี้ไม่สอดคล้องกับการปกครองแบบประชาธิปไตย การเซ็นเซอร์สื่อต้องถูกยกเลิกในอนาคตอันใกล้นี้” นายทิน ส่วยให้สัมภาษณ์กับวิทยุเรดิโอฟรีเอเชีย แต่นายทิน ส่วย ยังกล่าวด้วยว่า หนังสือพิมพ์และสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ควรยอมรับเสรีภาพสื่อพร้อมๆ กับการมี “ความรับผิดชอบ” สำหรับกรมพิจารณาและลงทะเบียนสื่อ (PSRD) ถูกจัดตั้งขึ้นมากว่า 4 ทศวรรษนับตั้งแต่กองทัพเข้ายึดอำนาจการปกครองในประเทศ และต่อมาได้ยกเลิกข้อบังคับเข้มงวดต่อการทำงานของสื่อมวลชน นับตั้งแต่รัฐบาลใหม่ของประธานาธิบดีเต็งเส่งเข้ามามีอำนาจในปีนี้ ภายหลังจากรัฐบาลทหารพม่าซึ่งถูกกล่าวหาอย่างหนักในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้จัดการเลือกตั้งเมื่อ 7 พ.ย. ปีที่แล้ว สำหรับระเบียบก่อนหน้านี้ สิ่งพิมพ์ทุกชนิดในพม่าจะต้องส่งต้นฉบับมายังกรม PSRD เสียก่อน ต่อมา หลังจากวันที่ 10 มิ.ย. เป็นต้นมากรมดังกล่าวอนุญาตให้สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับประเด็นข่าวบันเทิง กีฬา เทคโนโลยี สุขภาพ และเด็ก ทำการ ‘เซ็นเซอร์ตัวเอง’ โดยให้บรรณาธิการของสิ่งพิมพ์นั้นๆ ลบข้อความที่ละเอียดอ่อนออก แทนวิธีการเดิมที่ให้ส่งต้นฉบับมายังกรม ขณะที่สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับประเด็นทางการเมืองและประเด็นอื่นๆ ที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าละเอียด ยังคงต้องส่งต้นฉบับมายังกรม PSRD ตรวจสอบเสียก่อน นายทิน ส่วย กล่าวด้วยว่าเป็นเวลาที่เหมาะสมก่อนที่สิ่งพิมพ์ทั้งหลายจะ “เป็นอิสระจากการเซ็นเซอร์ทั้งหมด” และเป็นครั้งแรกที่เอกชนจะได้รับอนุญาตให้ผลิตหนังสือพิมพ์รายวัน ภายใต้กฎหมายสื่อมวลชนฉบับใหม่ ซึ่งร่างของกฎหมายดังกล่าวกำลังจะเข้าสภา ในการสัมภาษณ์กับวิทยุ RFA นายทิน ส่วย กล่าวด้วยว่าหนังสือพิมพ์ยังได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์รายงานเกี่ยวกับผู้นำฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตยอย่างนางออง ซาน ซูจี โดยไม่มีการใช้ข้อห้ามที่ถูกกำหนดขึ้นก่อนหน้านี้โดยรัฐบาลทหาร ทั้งนี้เมื่อเดือนก่อน นิตยสารรายสัปดาห์ “Messenger” ถูกยกเลิกการจำหน่ายเป็นเวลาสองสัปดาห์ เนื่องจากตีพิมพ์ภาพออง ซาน ซูจีที่หน้าปก (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) “แต่ตอนนี้ ไม่มีข้อห้ามเรื่องการรายงานข่าวกิจกรรมของออง ซาน ซูจี และคาดว่าเสรีภาพน่าจะเพิ่มมากขึ้นภายในเร็ววันนี้ ขณะที่ประเทศก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่การมีประชาธิปไตย” เขากล่าว เมื่อเดือนที่แล้วเช่นกัน เจ้าหน้าที่พม่าได้ยกเลิกการปิดกั้นเว็บไซต์ข่าวต่างประเทศ เว็บไซต์ข่าวของสื่อมวลชนพม่าที่อยู่ในต่างประเทศ รวมทั้งเว็บไซต์ยูทิวป์ อย่างไรก็ตามคณะกรรมการปกป้องสื่อมวลชน (Committee to Protect Journalists - CPJ) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ซึ่งเฝ้าระวังสถานการณ์สื่อในพม่ายังคงระบุว่าพม่ายกคงเป็นประเทศที่เซ็นเซอร์สื่อขนาดใหญ่ และเข้มงวดมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และมีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 14 คน ถูกจับกุม โดยในจำนวนผู้สื่อข่าวที่ถูกจับกุมมี \ซิตตู่ เซยะ\" ช่างภาพสถานีโทรทัศน์เสียงประชาธิปไตยพม่า ซึ่งเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ศาลพม่าได้เพิ่มโทษจำคุกเขารวมเป็นเวลา 18 ปี หลังรายงานข่าวเหตุระเบิดกลางเมืองย่างกุ้ง ช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีก่อน ขณะที่พ่อของเขา \"หม่อง หม่อง เซยะ\" ก็ถูกศาลพม่าจำคุก 13 ปีเช่นกันในข้อหาติดต่อกับฝ่ายรัฐบาลพลัดถิ่นพม่าในประเทศไทย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) ในรายงานของ CPJ เมื่อเดือนก่อนระบุว่ารัฐบาลยังคงดำเนินการ “ล่วงละเมิดอย่างเป็นระบบ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net