ทุนนิยาม101: พัฒนาการระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย (ตอนจบ)

"อย่า ให้เรื่องนี้เป็นเรื่องไตรภาคีแคบๆ ของฝ่ายนายจ้างไม่กี่คน ฝ่ายแรงงานไม่กี่คน หรือฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐไม่กี่คน ถกเถียงกันในคณะกรรมการไตรภาคีและเจรจาในกระทรวงแรงงานเท่านั้น ต้องเปิดให้เป็นประเด็นทางสังคมและการเมืองที่หลายฝ่ายช่วยกันคิด"

บัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ
ผู้อำนวยการและนักวิจัยสิทธิแรงงาน มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน

รายการทีวีออนไลน์ "ทุนนิยาม 101" (Capitalism 101) โดยกลุ่มทุนนิยมที่สังคมกำกับ (Embedded Capitalism) ดำเนินรายการโดย "เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร" นำเสนอตอนที่สาม สัมภาษณ์นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการและนักวิจัยสิทธิแรงงาน มูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน ตอน พัฒนาการระบบอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย โดยตอนนี้นำเสนอเป็นตอนจบ

ทั้งนี้ในช่วงท้ายรายการ บัณฑิตมีข้อเสนอต่อนโยบายค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทว่า ถ้ามองในแง่บทเรียนของการเจรจาต่อรองเรื่องเจรจาค่าจ้างขั้นต่ำที่ ยาวนานกว่า 40 ปีในการเมืองไทยนั้น บทเรียนข้อแรกคือ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่ว่าจะปรับขึ้นเท่าไหร่ ไม่เคยได้มาโดยปราศจากการปรึกษาหารือ หรือเจรจาต่อรองทั้งในทางสังคมและการเมือง

บทเรียนข้อสองคือ ไม่ว่าจะเสนอตัวเลข ปรับค่าจ้างขึ้นสูงเท่าไหร่ ฝ่ายนายจ้างหรือผู้ประกบอากรมักมีเสียงคัดค้านเสมอมา เพียงแต่บางปีอาจมีความสามารถคัดค้านที่แรง ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองและการลงทุนในช่วงเวลานั้น

บทเรียนข้อสาม เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ หรือความเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ก็จะส่งผลสำคัญต่อการเรียกร้องค่าจ้างขั้นต่ำ อาจจะได้ขึ้นช้า หรือได้ขึ้นน้อยมาก

เพราะฉะนั้นถ้ามองจากบทเรียนคราวนี้ หมายความว่าครั้งนี้เป็นนิมิตหมายที่ดีที่ฝ่ายการเมืองหยิบยกเรื่องนโยบาย การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ โดยเน้นไปที่อัตราการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่ชัดเจน ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นการเอื้ออำนวยกับอำนาจการต่อรองในทางอ้อมของของฝ่ายแรง งาน (ที่ยังไม่เป็นปึกแผ่นอยู่) ความสำเร็จของการปรับอัตราค่าจ้างจะขึ้นได้สูง หรือไม่ ย่อมเป็นปกติที่จะพบแรงคัดค้านจากฝ่ายผู้ประกอบการ และย่อมเป็นเรื่องปกติที่จะได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายแรงงานถ้าตัวเลขค่าจ้าง ขั้นต่ำ ฝ่ายแรงงานหลายกลุ่มก็ยิ่งเชียร์

ในฐานะที่รัฐบาลเป็นผู้ปกครองประเทศ เป็นตัวกลางในการหาทางออก เลี่ยงไม่พ้นก็ต้องเป็นผู้จัดเวทีให้เกิดการเรียนรู้ปรึกษาหารือให้มากที่ สุด อย่าให้เรื่องนี้เป็นเรื่องไตรภาคีแคบๆ ของฝ่ายนายจ้างไม่กี่คน ฝ่ายแรงงานไม่กี่คน หรือฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐไม่กี่คน ถกเถียงกันในคณะกรรมการไตรภาคีและเจรจาในกระทรวงแรงงานเท่านั้น ต้องเปิดให้เป็นประเด็นทางสังคมและการเมืองที่หลายฝ่ายช่วยกันคิด

ฝ่ายทุนทั้งกิจการขนาดเล็กขนาดกลาง หรือว่าสมาคมธุรกิจต่างๆ ย่อมมีเสียงคัดค้าน แต่ถ้าดูน้ำเสียงที่ผ่านมาจะพบว่าฝ่ายธุรกิจจำนวนมากก็ไม่ถึงกับไม่ยอมรับ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำอย่างสิ้นเชิง แต่เสนอให้ปรับทีละขั้น เช่น 10% ก่อนได้ไหม ถึงจะเป็น 300 บาทใน 2-3 ปีข้างหน้า นี่ก็น่าสนใจ เพราะเขาไม่ได้ต่อต้านแบบไม่เอา 300 บาทเลย แต่ชัดเจนว่าฝ่ายแรงงานก็อยากให้ปรับ 300 บาทโดยเร็วทันที พร้อมกันทั่วประเทศ

ดังนั้นการจัดเวทีการปรึกษาหารือร่วม หรือการเจรจาต่อรองที่จะเกิดขึ้นต้องจัดให้มากขึ้น เพราะการปรึกษาหารือร่วมในกระบวนการประชาธิปไตยถือนี้เป็นสิ่งเดียวที่จะนำ ไปสู่ความเข้าใจและความร่วมมือในการตอบสนองนโยบายรัฐบาลได้ บัณฑิตกล่าว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท