ประชาสังคมชายแดนใต้รณรงค์ต้าน พรก.ฉุกเฉิน

เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดขบวนคาราวานรถคลาสสิคต้านบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 4 จว. ผนึกเครือข่ายประชาสังคม 17 องค์กร ตระเวนเมืองปัตตานี แสดงเจตนารมณ์คัดค้าน ระบุ 7 ปีที่ผ่านมานอกจากรัฐไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าพ.ร.ก. ฉุกเฉินจะสามารถสร้างความมั่นคง ปลอดภัย ปกป้องชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนได้ การบังคับใช้พ.ร.ก.ยังละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง มีทั้งซ้อมและทรมานร่างกายระหว่างการสอบสวน ซ้ำจับผู้ต้องสงสัยแต่ได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นผู้ต้องหา โดยเฉพาะไม่ให้มีทนายเข้าร่วมรับฟังระหว่างสอบสวน ถูกควบคุมตัวมากกว่า 1 เดือน ทำครอบครัวขาดรายได้ แต่ไม่ได้สิทธิรับการเยียวยา ชี้ยังให้อำนาจจนท.ล้น ทำให้ยากตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 22 ต.ค. เครือข่ายบัณฑิตอาสาจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดยนายลีโอ เจ๊ะกือลี ประธานเครือข่าย ร่วมกับเครือข่ายประชาสังคม จำนวน 17 องค์กรที่ร่วมคัดค้านการประกาศใช้พ.ร.ก. พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 จัดกิจกรรมคาราวานรถคลาสสิค เพื่อแสดงเจตนารมณ์คัดค้านการบังคับใช้พ.ร.ก.ดังกล่าว ซึ่งมีเยาวชน นิสิต นักศึกษาเข้าร่วมประมาณ 120 คน โดยขบวนรถเคลื่อนออกจากถ.โรงเหล้า ต.รูสะมิ อ.เมือง จ.ปัตตานี ไปตามเส้นทางสายหลักปัตตานี-ยะรัง ก่อนเข้าสู่อ.มายอ เส้นทางปาลัส-ยะหริ่ง แล้วกลับเข้าเมืองไปยังมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างทางที่คารา วานเคลื่อนไปได้มีการแจกเอกสารคำชี้แจงถึงเหตุผลการคัดค้านพ.ร.ก. โดยมีข้อความสรุปว่า รัฐบาลได้อาศัยเหตุผลเพื่อป้องกันมิให้เกิดการยิง ระเบิด ฆ่ากันตายและก่อเหตุรายวัน เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของรัฐ สร้างความมั่นคงของชาติ ปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและความปลอดภัยของประชาชน และเพื่อให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย สร้างความชอบธรรมในการคงไว้ซึ่งบังคับ ใช้พ.รก.ฉุกเฉิน ในพื้นที่จ.ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา โดยที่ตลอด 7 ปีที่ผ่านมา รัฐยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน จะสามารถสร้างความมั่นคง ปลอด ภัย ปกป้องชีวิตและเลือดเนื้อของประชาชนได้ จึงเป็นเหตุผลและถือเป็นความชอบธรรมที่เครือข่ายประชาสังคมจะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อแสดงเจตนารมณ์ว่า ในฐานะประชาชนไม่เห็นด้วยกับการบังคับใช้กฎ หมายพิเศษ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในแถลงการณ์ยังระบุว่า ข้อมูลจากศูนย์ทนายความมุสลิมระบุว่าคดีที่เกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบฯ เป็นคดีความมั่นคงมากกว่า 8,000 คดี ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้วจำนวน 262 คดี พิพากษายกฟ้อง 119 คดี คิดเป็นร้อยละ 45.42 ของคดีที่พิพากษาทั้งหมด เนื่องจากไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอ สะท้อนให้เห็นว่าขั้นตอนการบังคับใช้กฎหมายไร้ประสิทธิภาพ และผลพวงจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชนของประชาชนอย่างร้ายแรง เกิดกรณีการซ้อมทรมานระหว่างการสอบสวน รวมถึงฐานะผู้ถูกจับซึ่งเป็นเพียงผู้ต้อง สงสัย แต่ได้รับสิทธิน้อยกว่าผู้ต้องหา คือทนาย ความไม่มีสิทธิเข้าร่วมรับฟังระหว่างการสอบสวน นอกจากนี้ การถูกควบคุมตัวกว่า 30 วัน ทำให้ครอบครัวขาดรายได้ แต่ไม่ได้รับการเยียวยาจากภาครัฐ และอำนาจของเจ้าหน้าที่มากเกินไป ทำให้ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ทำได้ยาก ที่มา : http://www.khaosod.co.th

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท