25 องค์กรนักศึกษา-ภาคประชาชน ร่วมค้านเหมืองแร่ทองคำ

เครือข่ายนักศึกษาสี่ภาค ร่วมองค์กรนักศึกษา-ภาคประชาชน ค้านเหมืองแร่ทองคำ ชี้ลงพื้นที่เหมืองทองคำพิจิตร เห็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ก่อผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจ ซ้ำกฎหมายแร่หนุนประโยชน์ผู้ประกอบการ 20 ต.ค.54 เครือข่ายนักศึกษาสี่ภาค ออกแถลงการณ์คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ โดยมี 25 องค์กรนักศึกษา และองค์กรภาคประชาชนร่วมลงชื่อ และร่วมปฏิบัติการคัดค้าน ณ บริเวณตลาดหน้าที่ว่าการอำเภอเนินมะปราง จ.พิษณุโลก และบริเวณเหมืองแร่ทองคำ สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ศึกษาประเด็นปัญหาเหมืองแร่ทองคำ ณ บ้านเขาหม้อ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร พบว่าไม่ได้เป็นไปตามที่รัฐกล่าวอ้างว่าจะได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ แต่กลับพบปัญหาต่างๆ มากมาย รวมทั้งความไม่ถูกต้อง ชอบธรรม อาทิ กฎหมายที่ใช่ในการสัมปทานเหมืองแร่ กระบวนการมีส่วนร่วมและข้อมูลที่ได้รับของประชาชนในชุมชนและผลกระทบที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ และรัฐไม่ได้ให้ความสนใจกับปัญหาที่เกิด แถลงการณ์ดังกล่าวระบุข้อเรียกร้อง ว่าประชาชนต้องตระหนัก ตื่นตัวถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้างสังคมและสิ่งแวดล้อม และต้องเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในการให้ข้อมูลสิทธิหน้าที่ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำที่กระทบต่อตนเองและผลกระทบต่อชุมชน อีกทั้ง ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองแร่ควรไร้รับการดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ ขณะที่ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต้องยกเลิกการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองแร่และควรทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแก้กฎหมายให้มีการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิชุมชนที่เพิ่มขึ้น เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและประเทศชาติจะได้เข็มแข็งอย่างยั่งยืน แถลงการณ์คัดค้านเหมืองแร่ทองคำ จากที่ได้ทำการศึกษากระบวนการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ในกรณีศึกษาชุมชนที่บ้านเขาหม้อ ต.เขาเจ็ดลูก อ.ทับคล้อ จ.พิจิตร ของเครือข่ายนักศึกษา พบว่ามีปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านต่างๆมากมาย และไม่ได้เป็นไปตามที่รัฐกล่าวอ้างว่าจะได้รับประโยชน์จากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ แต่กลับพบว่าไม่ถูกต้องและชอบธรรม ดั่งเช่น กฎหมายที่ใช่ในการสัมปทานเหมืองแร่ กระบวนการมีส่วนร่วมและข้อมูลที่ได้รับของประชาชนในชุมชนและผลกระทบที่เกิดจากการทำเหมืองแร่ และรัฐไม่ได้ให้ความสนใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นแม้แต่น้อย รัฐกลับมองว่าถือประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ไม่เคยมองเลยว่าการมีชีวิตที่ดีของประชาชนในชุมชนบริเวณโดยรอบก็เป็นประโยชน์ของประเทศชาติเช่นกัน แต่รัฐกลับเอื้อผลประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการ ทั้งในด้านการงดเว้นภาษีในการลงทุน กฎหมายแร่ที่ออกแต่ละฉบับกลับเป็นการสนับสนุนผลประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการโดยตรง แต่ประชาชนเองกลับไม่ได้รับประโยชน์ใดๆเลย ปล่อยให้ผู้ประกอบการกระทำไปโดยที่ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบทั้งในด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นผู้ประกอบการไม่รับผิดชอบใดๆ โดยในด้านผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ ได้รับกระทบทั้งด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน สุขภาพร่างกายและจิตใจ และด้านสิ่งแวดล้อมของชุมชน โดยในด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ต้องมีการอพยพย้ายถิ่นฐาน ทำให้ไม่เหลือความเป็นชุมชนที่เคยเป็นมา ส่วนในด้านสุขภาพของคนในชุมชนบริเวณพื้นที่รอบการทำเหมือง มีการตรวจสอบพบว่ามีสารพิษปนเปื้อนมากับดินน้ำ อากาศ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในชุมชน ซึ่งทำให้ประชาชนบริเวณรอบๆเหมืองแร่ได้รับผลกระทบในด้านสุขภาพ เช่น โรคผิวหนัง มีผืนคันขึ้นตามตัว โรคมะเร็งในเม็ดเลือด โรคปอด โรคเครียดที่เกิดจากเสียงของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และสุดท้ายในด้านสิ่งแวดล้อม ต้องมีการตัดต้นไม้ทำลายป่า ระเบิดภูเขา เพื่อทำเหมืองแร่ ซึ่งส่งผลต่อระบบนิเวศ และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ดังนั้นจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญด้านสิทธิประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านอันตรายของสารเคมีจากการประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำ เราในนามกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาสี่ภาค มีข้อเสนอต่อภาคประชาชนดังต่อไปนี้ 1. ประชาชนต้องตระหนัก ตื่นตัวถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างทั้งด้างสังคมและสิ่งแวดล้อม 2. ประชาชนต้องเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในการให้ข้อมูลสิทธิหน้าที่ และการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำที่กระทบต่อตนเองและผลกระทบต่อชุมชน 3. ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองแร่ควรไร้รับการดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจ 4. ผู้มีอำนาจที่เกี่ยวข้องต้องยกเลิกการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองแร่และควรทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งแก้กฎหมายให้มีการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิชุมชนที่เพิ่มขึ้น เพื่อความเข้มแข็งของชุมชนและประเทศชาติจะได้เข็มแข็งอย่างยั่งยืน หยุดการพัฒนาบนคราบน้ำตาประชาชน ด้วยจิตคารวะ 20 ตุลาคม 2554 องค์ร่วมลงนามสนับสนุนแถลงการณ์ต่อต้านเหมืองแร่ทองคำ 1. เครือข่ายนักศึกษาสี่ภาค 2. เครือข่ายนักศึกษาติดตามและเฝ้าระวังผลกระทบจากเหมืองแร่แห่งประเทศไทย 3. สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) 4. เครือข่ายนักศึกษาสี่มหาวิทยาลัย 5. กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 6. กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา 7. กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 8. กลุ่มซุ้มเหมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง 9. กลุ่มแสงดาว มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 10. กลุ่มเผยแพร่กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม 11. กลุ่มนกกระจอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 12. ชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 13. เครือข่ายกระพรุนไฟ 14. กลุ่มชมรมนักศึกษาเพื่อการพัฒนา 15. กลุ่มระบายฝัน มหาวิทยาลัยนเรศวร 16. กลุ่มสำนึกรักบ้านเกิด มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 17. กลุ่มอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าและป่าไม้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 18. กลุ่มคนสร้างฝัน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 19. สภานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 20. ชุมชนนักกิจกรรมภาคเหนือ 21. ครอบครัวนักกิจกรรมภาคใต้ 22. คนหนุ่มสาวภาคอีสาน 23. กลุ่มเพื่อนนักกิจกรรม (F.A.N.) 24. ชมรมเพื่อนวันสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 25. กลุ่มพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเนินมะปราง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท