เรื่อง flow in - flow out ของเขื่อนภูมิพลตามมุมมองนักอุตุนิยมวิทยา

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

สิบกว่าปีที่แล้ว มีวิทยากรพิเศษมาบรรยายที่โรงเรียนหัวข้อ “การหลอกลวงข้อมูลด้วยกราฟ” ตอนฟังรู้สึกสนุกมาก ไดรับอีกบทเรียนในฐานะนักวิทยาศาสตร์ว่า ข้อมูลแห่งๆ อย่างตัวเลข ก็สามารถนำมาใช้หลอกลวงผู้บริโภคได้ ก่อนอื่นลองเข้าไปอ่านใน โพสตนี้ ผู้เขียนอธิบายเปรียบเทียบการปล่อยน้ำของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์และพรรคเพื่อไทย โดยอ้างอิงว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ปล่อยน้ำได้ดีกว่า เพราะสามารถรักษาระดับน้ำไม่ให้สูงนักจนถึงชวงเปลี่ยนรัฐบาล ขณะที่ตั้งแต่พรรคเพื่อไทยขึ้นมาเปนรัฐบาล จะเห็นวากราฟสีแดงพุงพรวดๆ สิ่งที่เจาของโพสตไมยอมอธิบายคือ เปนปรกติของฤดูฝนที่ชวงทายฤดู ปริมาณฝนจะมากกว่าช่วงต้นฤดู กราฟที่นำมาแสดงข้างบนมาจากเว็บไซต์ของกรมอุตุ ปริมาณน้ำเฉลี่ยตลอดช่วงสามสิบปี แบ่งแยกในแต่ละเดือน จะเห็นว่าช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนเมษายนจนถึงกรกฎาคม ปริมาณน้ำฝนต่อเดือนจะต่ำกว่าช่วงปลายฤดูคือเดือนสิงหาคม และกันยายน เมื่อปริมาณน้ำฝนต่อเดือนน้อยกว่า จึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าปริมาณน้ำในเขื่อนจะต่ำกว่า (ต้องไม่ลืมว่าสิ่งสำคัญไม่ใช่แค่ปริมาณสุทธิ แต่เป็นอัตราการไหลเข้าของน้ำด้วย ฝนตกหนักในชั่วระยะเวลาสั้น จะมีโอกาสน้ำท่วมมากกว่าฝนตกน้อยเป็นเวลานาน เพราะการระบายน้ำจะทำได้ยากกว่า) หากยังไม่เชื่อ ลองวิเคราะห์เฉพาะกราฟที่เจ้าของโพสต์นำมาใช้อ้างอิง ลองเปรียบเทียบกราฟสีแดง (ปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2554) กับปริมาณน้ำในปี 2553 (สีน้ำเงิน) และปี 2552 (สีเขียว) ดูในตารางด้านล่าง (หน่วยเป็นล้านลูกบาตรเมตร) ปี 10 เมษายน 10 สิงหาคม 10 ตุลาคม 2552 6,000 6,000 8,400 2553 5,200 3,900 6,600 2554 6,000 9,300 13,500 ตารางข้างบนแสดงระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำภูมิพลของแต่ละปี แต่ละช่วงเวลา ต้นฤดูฝนคือ 10 เมษายน 10 สิงหาคมถือเป็นรอยต่อระหว่างฤดูฝนช่วงต้น และฤดูฝนช่วงปลาย (และบังเอิญในปี 2554 ตรงกับช่วงขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของคุณยิ่งลักษณ์พอดี ไม่ใช่วันที่ 10 กรกฎาคม แบบที่เจ้าของกราฟนี้ระบายสี “ลวง” ไว้) ฤดูฝนไม่ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 10 ตุลาคม แต่เราจำกัดเวลาเอาไว้เท่านี้เพื่อการเปรียบเทียบ (เนื่องจากข้อมูลปี 2554 ให้มาถึงแค่ประมาณวันที่ 10 ตุลาคมเท่านั้น) ตารางข้างล่างแสดงความเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในเขื่อน ระหว่างฤดูฝนช่วงต้นและช่วงปลายในแต่ละปี ปี ฤดูฝนช่วงต้น ฤดูฝนช่วงปลาย 2552 0 2,400 2553 -1,300 2,700 2554 3,300 4,200 จากตารางนี้ ฤดูฝนช่วงต้นนั้น การกักเก็บน้ำในเขื่อนจะต่ำกว่าช่วงปลายจริงๆ ทั้งในปี 2552 และ 2553 มีการปล่อยน้ำออกจากเขื่อนในช่วงเดือนเมษายน จนเมื่อถึงวันที่ 10 สิงหาคม ปริมาณน้ำกลับมาอยู่ในระดับเดิม หรือกระทั่งต่ำกว่าเดิมในปี 2553 ด้วยซ้ำ (สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะในช่วงต้นฤดูฝนปี 2553 น้ำแล้งเป็นพิเศษ ข้อมูลตรงนี้สอดคล้องกับปริมาณน้ำฝนจากกราฟของกรมอุตุฯ ที่ให้มาในตอนแรก ทีนี้มาดูคำถามสำคัญบ้าง เปรียบเทียบการเปิดน้ำในเขื่อนระหว่างรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และรัฐบาลพรรคเพื่อไทยในปี 2554 โดยผิวเผินจะเห็นว่าเป็นจริงตามที่เจ้าของโพสต์อธิบายมา คือในปี 2554 รัฐบาลพรรคเพื่อไทยปล่อยน้ำเข้ามาในเขื่อนถึง 4,200 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าของพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งปล่อยน้ำเข้ามาแค่ 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ลองเปรียบเทียบการปล่อยน้ำในช่วงเวลาเดียวกันของพรรคประชาธิปัตย์ในปี 2552 และ 2553 ในปี 2552 เมื่อรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เพิ่งขึ้นดำรงตำแหน่ง และรู้ว่าจะได้เป็นรัฐบาลต่อไปถึงปลายฤดูฝน ปริมาณการกักเก็บน้ำในปี 2552 ช่วงต้นฤดูฝนคือ 0 ลูกบาศก์เมตร และในปี 2553 ปริมาณน้ำถึงกับติดลบ หรือน้อยลงกว่าเดิมเป็นพันล้านลูกบาศก์เมตร ขณะเดียวกันในปี 2554 ซึ่งรัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องลงสมัครเลือกตั้งแข่งกับพรรคเพื่อไทย ปริมาณการกักเก็บน้ำในเขื่อนช่วงต้นปีสูงถึง 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตร ให้เทียบเป็นเปอร์เซ็นต์กับในปี 2552 ซึ่งไม่มีการกักเก็บน้ำเลย ก็อาจกล่าวได้ว่าสูงกว่าเดิมถึงอนันต์เปอร์เซ็นต์ (∞ %) ในทางกลับกัน ปริมาณน้ำ 4,200 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งถูกกักเก็บตั้งแต่พรรคเพื่อไทยขึ้นมาเป็นรัฐบาล อาจเป็นตัวเลขที่สูงเป็นประวัติการณ์ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการกักเก็บน้ำในช่วงเวลาเดียวกันของสองปีที่ผ่านมาโดยพรรคประชาธิปัตย์ (2,400 และ 2,700 ลูกบาศก์เมตร) ยังแตกต่างกันไม่ถึง 200% เลยด้วยซ้ำ ข้อสรุปตรงนี้คืออะไร กล่าวโดยยุติธรรม ข้อสรุปตรงนี้คือ “ไม่สามารถสรุปอะไรได้ทั้งสิ้น” สิ่งที่ขาดหายไปคือปริมาณน้ำในเขื่อนเฉลี่ยหลายปี เพื่อแสดงให้เห็นว่าการเปิดน้ำลักษณะนี้เป็นเรื่องธรรมดา หรือผิดปรกติแค่ไหน การเปิดน้ำของพรรคเพื่อไทยและประชาธิปัตย์ในปี 2554 แตกต่างจากมาตรฐานเฉลี่ยอย่างไร ยิ่งกว่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ นอกเหนือไปจากตัวเลขน้ำในเขื่อนที่ยกมาข้างต้น เช่น ปัจจัยทางธรรมชาติ เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในปี 2554 ปริมาณฝนมาก และมาเร็วผิดปรกติ ดังนั้นในช่วงต้นฤดูฝน ปริมาณน้ำจึงมากเป็นพิเศษถึงแม้ 3,300 ล้านลูกบาศก์เมตรภายใต้รัฐบาลอภิสิทธิ์ อาจเป็นตัวเลขที่มหาศาลเมื่อเทียบกับปีก่อนๆ แต่ยังไม่สามารถสรุปอะไรได้ และเช่นเดียวกันกับ 4,200 ล้านลูกบาศก์เมตรของรัฐบาลเพื่อไทย ในปี 2554 นี้ พายุพัดเข้าเมืองไทยลูกแล้วลูกเล่า ทำให้ปริมาณฝนมากเป็นประวัติการณ์ (มากสุดในรอบสามสิบปีที่ผ่านมา) ดังนั้น 4,200 ล้านลูกบาศก์เมตรก็อาจเป็นตัวเลขที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยังไม่นับปัจจัยด้านการจัดการว่า รัฐบาลมีสิทธิอำนาจแค่ไหนในการเข้ามาก้าวก่ายการเปิดปิดเขื่อน ตัวเลขเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบของใคร รัฐบาล หรือข้าราชการ สุดท้ายคือปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยา ซึ่งทำนายปริมาณฝนล่วงหน้า และอาจผิดพลาดได้ (หากนักอุตุฯ พยากรณ์ผิดพลาดว่าในปี 2554 ฝนจะแล้ง ก็สามารถเข้าใจได้ว่าทำไมเขื่อนถึงจงใจกักเก็บน้ำอย่างผิดปรกติ) ข้อสรุปเดียวในขณะนี้คือ ท่ามกลางสภาพวิกฤติเช่นนี้ อย่างเพิ่งสาดโคลนกันด้วยตัวเลขที่ปราศจากที่มาที่ไป ใครคือผู้รับผิดชอบปริมาณน้ำนี้ตัวจริง เป็นการกระทำอย่างจงใจ เกิดจากความไร้ศักยภาพ หรือเป็นความโชคร้ายที่มาพร้อมกับปรากฏการณ์โลกร้อน อย่าเพิ่งรีบผุดตอกัน รอให้น้ำลดก่อนดีกว่าไหม

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท