Skip to main content
sharethis

การเลือกตั้งส.ส. ครั้งล่าสุดในอิหร่าน ฝ่ายค้าน ฝ่ายปฏิรูปส่วนใหญ่บอยคอตต์ จนเหลือแต่ขั้วอำนาจของอนุรักษ์นิยมที่สัมพันธ์ร้าวฉานมาประชันกัน โดยเฉพาะฝ่ายประธานาธิบดีอามาดิเนจาดกับฝ่ายผู้นำสุงสุด อาลี คาเมนี 3 มี.ค. 2012 - สื่อรัฐบาลอิหร่านรายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส. ครั้งล่าสุดอย่างไม่เป็นทางการหลังจากที่มีการเลือกตั้งไปเมื่อวันที่ 2 มี.ค. ที่ผ่านมา โดยระบุว่าพรรคแนวหน้าอนุรักษ์นิยม (UFC) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้สนับสนุนอยาตอลเลาะห์ อาลี คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านได้รับคะแนนเสียงข้างมาก ทางรัฐบาลอิหร่านได้เลื่อนเวลาการเลือกตั้งออกไปอีก 5 ชั่วโมงในวันศุกร์ (2 มี.ค.) ที่ผ่านมาเพื่อให้มีประชาชนลงคะแนนเสียงเพิ่มมากขึ้น สื่อของรัฐบาลอิหร่านเปิดเผยว่ามีผู้มาใช้สิทธิลงคะแนนร้อยละ 65 ของผู้มาใช้สิทธิทั้งหมดซึ่งมีมากกว่าการเลือกตั้งในปี 2008 ร้อยละ 10 ประเทศอิหร่านเกิดภาวะวิกฤติทางเศรษฐกิจ มีอัตราการว่างงานสูงและประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้อ ผนวกรวมกับการถูกชาติตะวันตกคว่ำบาตรในกรณ๊โครงการนิวเคลียร์ด้วย มีคนมองว่าการจัดการเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นการขับเคี่ยวกันระหว่างพรรคแนวหน้าอนุรักษ์นิยม (UFC) ซึ่งเป็นพรรคที่สนับสนุนคาเมนี ผู้นำสุงสุดของอิหร่าน กับพรรคแนวหน้าปฏิวัติอิหร่านเพื่อความมั่นคง (FIS) ซึ่งเป็นกลุ่มอนุรักษ์นิยมฝ่ายต่อต้าน นำโดย โกแลม ฮอสเซน เอลฮาม อดีตเสนาธิการของประธานาธิบดี มาห์มูด อามาดิเนจาด กลุ่มผู้นำอนุรักษ์นิยมของอิหร่านต่างออกมาเรียกร้องให้ประชาชนลงคะแนนเสียงเลือกตั้งในครั้งนี้เพื่อความมั่นคงของประเทศ ขณะที่ฝ่ายนักปฏิรูปที่เคยกล่าวหาว่ามีการโกงการเลือกตั้งในปี 2009 มาก่อน ก็เป็นฝ่ายเรียกร้องให้บอยคอตต์การเลือกตั้งครั้งนี้ เซนา โคดร์ นักข่าวอัลจาซีร่ารายงานจากกรุงเตหรานว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นการทำประชามติการดำรงตำแหน่งของประธานาธิบดี มาห์มูด อาร์มาดิเนจาด ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีบทวิเคราะห์จากอัลจาซีร่าซึ่งระบุว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้เกิดจากความขัดแย้งของกลุ่มอนุรักษ์นิยมภายในรัฐบาลอิหร่านเอง โดยนักศึกษาที่ชื่อฟาริเดห์ ฟาร์ฮี ให้ความเห็นว่า การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นการเผชิญหน้ากันระหว่างกลุ่มอนุรักษ์นิยมหลายแบบ ทั้งกลุ่มแบบกฏเกณฑ์-ประเพณีนิยม กลุ่มปฏิบัตินิยม และกลุ่มยึดมั่นในหลักการ ช่วงกลางปี 2011 ที่ผ่านมาก็มีข่าวเรื่องความแตกแยกระหว่างประธานาธิบดีอามาดิเนจาดกับผู้นำสูงสุดคาเมนีในเรื่องทางการเมือง ทำให้ฝ่ายศาสนาซึ่งเคยหนุนอามาดิเนจาดมาก่อนเริ่มตีตัวออกห่าง นับผลด้วยมือ การเลือกตั้งในครั้งนี้ไม่มีผู้สังเกตการณ์อิสระ มาคอยตรวจเช็คผลการนับคะแนน ซึ่งการนับคะแนนผลการเลือตั้งในครั้งนี้เป็นการนับด้วยมือและผลการเลือกตั้งทั้งหมดจะออกมาในเวลา 3 วัน สำนักข่าวเมหร์รายงานว่า พาร์วิน อามาดิเนจาด น้องสาวของประธานาธิบดี ไม่สามารถคว้าเก้าอี้เอาไว้ได้ในการเลือกตั้งครั้งนี้ซึ่งเธอได้ลงสมัครในเขตเมืองการ์มซาร์ บ้านเกิดของอามาดิเนจาด ขณะที่จากผลอย่างไม่เป็นทางการในตอนนี้ระบุว่า อาลี ลาริจานี โฆษกรัฐสภาคนปัจจุบันคว้าตำแหน่งส.ส. เมืองควอม มาได้ ส่วนส.ส. ฝ่ายหนุนปฏิรูปอย่าง โมฮัมมัดเดรซา ทาเบช ก็สามารถชนะคะแนนเลือกตั้งได้ในเมืองอาดาคาน บ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดีฝ่ายปฏิรูป โมฮัมหมัด คาตามี ส่วนผลการเลือกตั้งจากเมืองใหญ่ๆ เช่นกรุงเตหรานยังไม่มีการประกาศออกมา คาเมนี ผู้นำสูงสุดของอิหร่าน กล่าวผ่านสื่อโทรทัศน์หลังหย่อยบัตรลงคะแนนเสียงว่า เมื่อใดก็ตามที่มีอริศัตรูต่ออิหร่าน เมื่อนั้นการเลือกตั้งก็ยิ่งสำคัญมากยิ่งขึ้น \พลังฝ่ายยโสโอหังกำลังรังแกพวกเราเพื่อรักษาบารมีของตัวเองไว้ การที่คนยิ่งมาใช้สิทธิมากก็ยิ่งเป็นผลดีต่อชาติบ้านเมืองเรา ... และเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคง\" คาเมนีกล่าว การบอยคอตต์ของฝ่ายค้าน เหลือขั้วอนุรักษ์นิยมชนกัน ด้าน กลุ่มฝ่ายค้านของอิหร่านคือ มีร์ ฮอสเซน มูซาวี กับ เมห์ดี คาร์รูบี ถูกบริเวณอยู่ในบ้านนาน 1 ปี ขณะที่นักปฏิรูปคนอื่นๆ เรียกร้องให้มีการบอยคอตต์การเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้ผู้ลงสมัครทั้งหมด 3

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net