Skip to main content
sharethis

อิโคโนมิสท์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต (EIU) เผยรายงานการสำรวจพบว่า สิงคโปรเป็นเมืองที่มีการแข่งขันสูงสุดรองจากนิวยอร์กและลอนดอน ด้านสื่อชุมชนสิงคโปรมองว่าหากสิงคโปรต้องการเสถียรภาพในระยะยาวต้องแก้ปัญหาด้านสังคมควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจด้วย

หน่วยงานอิโคโนมิสท์อินเทลลิเจนซ์ยูนิต (EIU) เปิดเผยรายงานการจัดอันดับเมืองที่มีการแข่งขั้นสูงสุดของโลก โดยสิงห์โปร์เป็นเมืองที่อยู่อันดับสามจากการจัดอันดับรองจากเมืองนิวยอร์กและลอนดอน และถือเป็นเมืองที่มีการแข่งขันมากที่สุดในเอเชีย จากการวัดอันดับจาก 120 เมืองใหญ่ทั่วโลก รายงานชิ้นนี้มาจากการวิจัยชื่อ Hot Spots: Benchmarking Global City Competitiveness

รายงานข่าวจากเว็บ The Online Citizen ซึ่งเป็นเว็บข่าวเอกชนของสิงคโปร์ระบุว่า 'การแข่งขัน' เป็นคำที่มีแนวคิดแบบองค์รวม ขณะที่ขนาดการเติบโตและขนาดความเจริญทางเศรษฐกิจเป้นเรื่องจำเป็นและมีส่วนสำคัญ ยังมีอีกหลายปัจจัยที่เป็นตัวชี้วัด 'การแข่งขัน' ด้วยเช่นกัน

ในจุดมุ่งหมายของการวิจัยชิ้นนี้ได้ให้ความหมายของ 'การแข่งขัน' โดยวัดจากความสามารถในการดึงดูดการลงทุน, ธุรกิจ, ผู้มีความสามารถพิเศษ และนักท่องเที่ยว ของเมืองนั้นๆ

"การจัดอันดับเมืองที่มีการแข่งขันสูงของโลก" หรือ Global City Competitiveness Index มีการวัดระดับโดยแบ่งเป็นหมวดต่างๆ คือ ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ, ทุนมนุษย์ (human capital), ประสิทธิภาพของสถาบัน, การเติบโตทางการเงิน, ความน่าดึงดูดต่อชาวโลก, ทุนทางกายภาพ (Physical Capital), ลักษณะทางสังคม-วัฒนธรรม และความเสี่ยงด้านธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม

 

จับตาเมืองขนาดกลาง และเมืองที่ทรัพยากรมนุษย์เฟื่องฟู

รายงานฉบับนี้กล่าวโดยภาพรวมว่า เมืองในสหรัฐฯ และในยุโรปทุกวันนี้ต่างก็เป็นเมืองที่มีการแข่งขันสูงสุด แม้จะมีความกังวลเรื่องโครงสร้างพื้นฐานกับปัญหางบประมาณขาดดุลเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีความกังวลอย่างมากในตะวันตกเกี่ยวกับเรื่องผลกระทบจากวิกฤติทางการเงิน ซึ่งทำให้แผนการฟื้นฟูพื้นที่เขตเมืองช้าลง แต่นี่ก็ไม่ได้ลดความสามารถของเมืองในสหรัฐฯ และยุโรปในการดึงดูดเงินทุน, ธุรกิจ, ผู้มีความสามารถพิเศษ และนักท่องเที่ยว

รายงานระบุอีกว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียสะท้อนอัตราการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเมืองในทวีปเอเชีย เมืองในเอเชียมีลำดับสูงมากในหมวด 'ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ' ซึ่งเป็นหมวดหมู่ที่ให้ความสำคัญมากที่สุด

ขณะเดียวกันเมืองในระดับกลางก็กำลังเติบโตขึ้นในฐานะกุญแจสำคัญของการเติบโต แม้ว่าเป้าหมายการลงทุนของบริษัทส่วนใหญ่จะเป็นเมืองการค้าขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจรุดหน้า แต่การเติบโตโดยรวมแล้วที่เติบโตเร็วที่สุดจะเป็นกลุ่มเมืองระดับกลางที่มีประชากรประมาณ 2 ล้าน ถึง 5 ล้าน คน ซึ่งรวมถึงเมือง อาบู ดาบี, บันดุง, ต้าเหลียน, หางโจว, ฮานอย, ปูเณ, ชิงเตา และ สุบารายา

รายงานระบุว่า ข้อได้เปรียบสำคัญของเมืองในประเทศที่เจริญแล้วคือความสามารถในการพัฒนาและดึงดูดผู้มีความสามารถพิเศษชั้นนำของโลก เมืองในยุโรปและอเมริกาได้รับคะแนนสูงมากในหมวด 'ทุนมนุษย์' โดยนายกเทศมนตรีของนิวยอร์ก ไมเคิล บลูมเบิร์ก กล่าวให้สัมภาษณ์ไว้ในรายงานว่า "ผมเคยเชื่อมาตลอดว่าคนมีความสามารถจะช่วยดึงดูดการลงทุนได้มีประสิทธิภาพกว่าและเสมอต้นเสมอปลายกว่าการใช้การลงทุนดึงดูดผู้มีความสามารถ"

 

สิงคโปร์ยังต้องแก้ปัญหาด้านสังคม เพื่อเสถียรภาพในระยะยาว

ขณะเดียวกัน The Online Citizen ก็ได้สรุปรายงานที่พูดถึงสิงคโปร์ว่า สิงคโปร์ได้คะแนนดีในมากใน 6 หมวด จาก 8 หมวด ของการแข่งขัน คือด้านความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ, ประสิทธิภาพของสถาบัน, การเติบโตทางการเงิน, ความน่าดึงดูดต่อชาวโลก, ทุนทางกายภาพ และความเสี่ยงด้านธรรมชาติ-สิ่งแวดล้อม 

สิงคโปร์สามารถผสมผสานพลวัตทางเศรษฐกิจของโลกที่กำลังพัฒนาเอาไว้ได้ สิงคโปร์เป็นเพียงหนึ่งในหกประเทศที่เจริญแล้วที่ติด 20 อันดับ ด้าน 'ความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ' โดยยังคงชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และคงด้านที่ 'อ่อน' ของการแข่งขันไว้ได้ ซึ่งดูเป็นมาตรฐานของเมืองที่เจริญแล้วในประเทศตะวันตกบางประเทศมากกว่า

ประเทศสิงคโปร์เพิ่งได้รับเอกราชมาไม่ถึง 50 ปี เป็นที่น่าชื่นชมว่าสามารถเทียบเคียงกับเมืองที่เก่าแก่และมีรากฐานมานานกว่าอย่างนิวเยอร์กและลอนดอน ในแง่ของการดึงดูดการลงทุน, ธุรกิจ, ผู้มีความสามารถพิเศษ และนักท่องเที่ยว

ในรายงานระบุอีกว่า หมวดที่สิงคโปร์ทำได้ไม่ดีเท่าไหร่คือด้านลักษณะทางสังคม-วัฒนธรรม และทุนมนุษย์ ซึ่งเมื่อพิจารณาจากตัวชี้วัดแยกส่วนออกมาแล้ว อันดับของสิงคโปร์ในด้าน 'เสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิมนุษยชน' , 'ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมการลงทุนและยอมเสี่ยง' , 'การเติบโตของประชากร' , 'กระบวนการเลือกตั้งและพหุนิยม' ต่างก็อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในด้านอื่นๆ ของสิงคโปร์

เรื่องนี้เองเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับสิงคโปร์ ซึ่งบ่งบอกว่าพวกเขาไม่ควรแค่เน้นย้ำในเรื่องการลงทุน, การกระตุ้นเศรษฐกิจ, หรือนโยบาย แต่ควรเปลี่ยนแปลงสังคมในแนวกว้าง เปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติและความเชื่อซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาส่วนหนึ่ง หากเอาชนะข้อท้าทายตรงนี้ได้แล้ว สิงค์โปรจะสามารถกระโดดข้ามนิวยอร์กและลอนดอน กลายเป็นเมืองที่มีการแข่งขันสูงสุดได้

สิงคโปร์ต้องระบุถึงปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคมหากต้องการประสบความสำเร็จและมีเสถียรภาพในระยะยาว เรื่องนี้น่าสนใจเนื่องจากไม่มีมาตรวัดแน่ชัดเพื่อใช้วิเคราะห์หรือชี้วัดเรื่องความไม่เท่าเทียมกันในสังคมในแต่ละเมือง

เมืองที่อยู่ลำดับต้นๆ จำนวนมาก รวมถึงฮ่องกง, ลอนดอน, นิวยอร์ก และสิงคโปร์ มีระดับความไม่เท่าเทียมกันด้านรายได้สูงมากจนอาจเป็นอันตรายต่อเสถียรภาพทางสังคมได้ และจะนำมาซึ่งการทำลายอัตราการแข่งขันด้วย สิ่งที่ล่อแหลมอีกอย่างหนึ่งสำหรับสิงคโปรคือการที่สิงคโปร์เป็นนครรัฐ ดังนั้นจึงไม่มีพื้นที่ห่างไกลความเจริญให้อพยพไปอยู่ได้

The Online Citizen กล่าวในเชิงให้ข้อคิดว่า แม้ว่าลำดับที่สูงของสิงคโปรจะเป็นสิ่งน่าชื่นชมยินดี แต่ลำดับที่สูงนี้ก็ชวนให้ขมขื่นอยู่เมื่อคิดว่า "สิงคโปรในฐานะเมืองของโลก" ดูแตกต่างจาก "สิงคโปรในฐานะเมืองที่เป็นหัวใจยุทธศาสตร์"  สำหรับการดำรงเสถียรภาพในระยะยาว ซึ่งขึ้นอยู่กับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนแล้วนั้น มีความต้องการสิงคโปรจะต้องพัฒนาไม่ใช่แค่เพียงด้านใดด้านหนึ่งของสังคม-เศรษฐกิจ แยกส่วนกัน แต่ต้องพัฒนาร่วมกันในทางเดียว โดยที่ชาวสิงคโปรทั้งหมดจะสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกับการแข่งขันในเมืองของโลกเมืองนี้ได้

 

ที่มา: Singapore is Asia’s most competitive city: New EIU report, The Online Citizen, 13-03-2012 http://theonlinecitizen.com/2012/03/singapore-is-asias-most-competitive-city-new-eiu-report/

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net