Skip to main content
sharethis

นักวิชาการด้านจีนศึกษา “วรศักดิ์ มหัทธโนบล” ชี้ การช่วงชิงอำนาจในพม่าจะซับซ้อนกว่าเดิมเมื่อพม่า “สวยเลือกได้” และจีนไม่ใช่ “พี่ใหญ่” เพียงผู้เดียวอีกต่อไป  ด้านผู้เชี่ยวชาญพม่าชี้ ปัญหาชนกลุ่มน้อยและแรงกดดันภายนอกอาจนำมาสู่สงครามกลางเมืองในพม่าไม่ช้าก็เร็ว

Tahoma;mso-bidi-language:TH">เมื่อวันที่ 29 มี.ค 55  mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">ในงานเสวนา “จีน-พม่า
mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH">: mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:TH">ความสัมพันธ์ที่สั่นคลอน” จัดโดยโครงการจีนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษา “วรศักดิ์ มหัทธโนบล” มองความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศจะซับซ้อนขึ้นจากการเข้าไปมีบทบาทของชาติตะวันตกในพม่าหลังเปิดประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมหาศาลของจีนในพม่า ในขณะที่บางส่วนมองการเลือกตั้งซ่อมของพม่าว่าเป็นเพียงการสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาล เพราะฝ่ายค้านจะไม่มีพื้นที่มากนักแม้จะได้คะแนนเสียงทั้งหมดก็ตาม

mso-bidi-language:TH">

เสวนาความสัมพันธ์จีน_พม่า

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">เมื่อพม่า “สวยเลือกได้”
mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH">

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">วรศักดิ์ มหัทธโนบล ผู้อำนวยการศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายถึงผลประโยชน์ของจีนในพม่าว่า ในระยะ
mso-bidi-language:TH">20 mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปลายทศวรรษ
mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH">1980 mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:TH">ซึ่งเป็นช่วงที่จีนและพม่าถูกคว่ำบาตรจากต่างประเทศ มูลค่าทางการค้าระหว่างสองประเทศได้เพิ่มขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด โดยจากราวศูนย์ในช่วงแรกมาเป็นราว Tahoma;mso-bidi-language:TH">3 mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">พันล้านดอลลาร์ในระยะสองปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการลงทุนในความร่วมมือโครงการขนาดใหญ่ เช่น การสร้างเขื่อน ทางรถไฟ ท่าเรือน้ำลึก และพลังงาน ซึ่งในปัจจุบันจีนเป็นผู้ลงทุนในพม่ารายใหญ่ที่สุด

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">วรศักดิ์ อธิบายว่า ทั้งโครงการสร้างทางรถไฟ การเข้าไปลงทุนใน “เขตอุตสาหกรรมจ๊อกพิว”
mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH"> (Kyauk Phyu) mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:TH"> ในพม่าของจีน ซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตอุตสาหกรรมต่างๆ ท่าเรือน้ำลึกและทางรถไฟ ประกอบกับโครงการทางพลังงานในพม่าที่มีท่อส่งน้ำมันดิบส่งน้ำมันไปจีนราว mso-bidi-language:TH">22 mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">ล้านตันต่อปี เขาชี้ว่า สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่พม่าจะได้จากจีนบนความสัมพันธ์ที่ดี และถ้าหากความสัมพันธ์ของสองประเทศนี้สั่นคลอน ก็ต้องจับตาดูว่าโครงการเหล่านี้จะถูกสันคลอนไปด้วยหรือไม่
mso-bidi-language:TH">

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">ทั้งนี้ หลังจากที่พม่าได้เปิดประเทศมากขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ทำให้ประเทศต่างๆ ทั้งสหรัฐและ สหภาพยุโรป เข้าไปหารือและให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและด้านอื่นๆ มากขึ้น ส่งผลให้รัฐบาลพม่ากลายเป็นประเทศที่ “สวยเลือกได้” และไม่จำเป็นต้องง้อจีนอีกต่อไปดังเช่นในสมัยก่อน โดยวรศักดิ์ยกตัวอย่างกรณีการระงับการสร้างเขื่อนมิตโซนซึ่งเป็นการลงทุนร่วมระหว่างพม่าและจีนมีมูลค่ากว่า
Tahoma;mso-bidi-language:TH">3,600 mso-bidi-language:TH">ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรัฐบาลพม่าอ้างเหตุผลว่าขัดเจตนารมณ์ของประชาชนและปัญหาทางสิ่งแวดล้อม

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">“ดูแล้วเหมือนจะเป็นว่านี่เป็น
mso-bidi-language:TH">นิมิตหมายของประชาธิปไตย แต่นัยยะที่สำคัญ คือ มันสะท้อนความสัมพันธ์ของพม่าที่มีต่อจีน เพราะทันทีที่พม่าสวยเลือกได้ ก็สามารถเซย์โนกับจีนได้” วรศักดิ์กล่าว

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">ยังต้องจับตาวันปะทุ “สงครามกลางเมือง”

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">เกียรติชัย พงษ์พาณิชย์ สื่อสารมวลชนอิสระ ผู้เขียนหนังสือ “พม่าผ่าเมือง” กล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพม่าและนานาชาติเป็นความสัมพันธ์ที่ตั้งอยู่บนความหวาดระแวง ตั้งแต่พม่าได้รับเอกราชจากอังกฤษในทศวรรษ
mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH">1950 mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:TH"> นานาชาติก็กลัวว่าพม่าจะตกไปอยู่ฝ่ายคอมมิวนิสต์  และหลังสมัยสงครามเย็นเป็นต้นมา จีนกับพม่าก็เกิดความตึงเครียดยิ่งขึ้น เนื่องจากรัฐบาลจีนสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์พม่าให้ล้มล้างรัฐบาลพม่า ทำให้เกิดความบาดหมางกันตั้งแต่นั้นมา mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH">

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">ต่อมา หลังจากที่พม่าและจีนถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติในปลายทศวรรษที่
mso-bidi-language:TH">1980 mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">ซึ่งเป็นช่วงที่สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลง เช่น การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินและการสิ้นสุดของสหภาพโซเวียต จีนก็ได้เปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของตนเองต่อพม่า แต่ยังคงใช้พื้นฐานจากความกลัว ซึ่งต่อมาจีนได้ทำให้พม่ากลายเป็นบริวารของตนเอง เนืองจากที่ตั้งของพม่าเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมต่อระหว่างจีนลงมายังไทย ประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน และเอเชียใต้
mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH">

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">อย่างไรก็ตาม เกียรติชัยมองว่า การประชุมอาเซียนบวกสาม ซึ่งมีจีน เกาหลี และญี่ปุ่นเข้าร่วมในปี
mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH">1995 mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:TH">เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้ชาติตะวันตก จีน และอินเดียต้องปรับเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศต่อพม่าอีกครั้ง จากแต่ก่อนที่รัฐบาลอินเดียเคยให้ความสนับสนุนกลุ่มฝ่ายค้านของพม่าและให้ที่พักพิงแก่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง แต่หลังจากนั้นมา เมื่อจีนได้เข้าร่วมความร่วมมือกับอาเซียน ทำให้อินเดียหันมาเอาใจรัฐบาลพม่าเพื่อพยายามช่วงชิงผลประโยชน์กับจีน Tahoma;mso-bidi-language:TH">

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">นอกจากนี้ เขาชี้ว่า การเลือกตั้งทั่วไปปี
2010 mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:TH">ก็เป็นอีกจุดเปลี่ยนหนึ่งที่สำคัญ เนื่องจากเป็นสัญญาณของการปฏิรูปการเมืองและประชาธิปไตยในพม่า ซึ่งเมื่อชาติตะวันตกเริ่มเข้ามา ทำให้จีนที่เป็นผู้ครอบงำจำเป็นต้องแสดงบทบาทที่ซับซ้อนกับพม่ามากยิ่งขึ้น ตั้งแต่นั้นมา ก็มีเหตุการณ์ที่ทำให้ความสัมพันธ์จีน-พม่า สั่นคลอนมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การปลดผู้นำทหารคนสนิทของรัฐบาลจีน พลเอกขิ่น ยุ้นต์ ในปี mso-bidi-language:TH">2010 mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">มาจนถึงการยุติการสร้างเขื่อนมิตโซน ซึ่งกรณีหลังสุด เกียรติชัยกล่าวว่า จริงๆ แล้วผู้นำรัฐบาลพม่าตัดสินใจเช่นนั้นด้วยเหตุผลทางไสยศาสตร์เป็นหลักมากกว่าเรื่องเจตนารมณ์ของประชาชน
mso-bidi-language:TH">

mso-ascii-font-family:Verdana;mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:
TH">เกียรติชัยมองว่า นอกจากการเปิดประเทศของพม่า เป็นไปเพื่อการลดแรงกดดันจากประชาคมโลกแล้ว ยังเกี่ยวข้องกับการเป็นประธานอาเซียนในปี
mso-bidi-font-family:Tahoma;mso-bidi-language:TH">2015 mso-hansi-font-family:Verdana;mso-bidi-language:TH">ด้วย และคาดการณ์ว่า สถานการณ์หลังเลือกตั้งซ่อม จะยังไม่น่านำมาซึ่งเสถียรภาพได้มากนัก

mso-bidi-language:TH">“ปัจจัยสามเรื่องที่จะเกิดขึ้นในพม่า จะมีเรื่องการเมืองซึ่งยังไม่นิ่ง คือจะมีการต่อสู้สามเส้าหลังการเลือกตั้งครั้งนี้ กับการตกลงหยุดยิงกับชนกลุ่มน้อย จะไม่เป็นผลสำเร็จ กับอิทธิพลกดดันจากภายนอก ทั้งสามปัจจัยจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในพม่าอย่างน้ำที่เดือดอยู่ในกาที่จะพวยพุ่งออกมา ไม่ช้าก็เร็ว” เกียรติชัยกล่าว

เขาเสริมด้วยว่า หากจะให้ความขัดแย้งระหว่างชนกลุ่มน้อยยุติได้ ต้องพูดเรื่องการให้อำนาจการปกครอง เพราะเพียงการเจรจาหยุดยิงนั้นไม่สามารถสร้างสันติภาพได้แน่นอน

mso-bidi-language:TH">มองการเลือกตั้งซ่อมเป็นเพียงสร้างความชอบธรรมให้ รบ.

mso-bidi-language:TH">สุรชัย ศิริไกร ศาสตราจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองการเลือกตั้งซ่อมพม่าที่จะมีขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายนนี้ว่า เป็นเพียงเครื่องมือที่จะสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลพม่าว่าเป็นประชาธิปไตยและเสรีแล้วเท่านั้น เพราะถึงแม้ว่าฝ่ายค้านคือพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือเอ็นแอลดี ได้รับที่นั่งทั้งหมด 48 เสียง แต่ก็ไม่อาจเข้าไปแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่หวังได้ เพราะมีเสียงไม่ถึงร้อยละ 10 ของที่นั่งในสภาทั้งหมดคือ 664 ที่นั่งเท่านั้น

mso-bidi-language:TH">เกียรติชัย เสริมว่า ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลพม่าในการเลือกตั้งครั้งนี้ อาจเป็นไปเพื่อ “การแบ่งแยกและปกครอง” โดยหวังว่าหลังการเลือกตั้ง รัฐบาลจะเอานางซูจีไปเป็นขั้วหนึ่งในรัฐบาล และแยกออกจากกลุ่มผู้นำนักศึกษายุค mso-bidi-language:TH">8888 ในขณะที่ทหารก็จะยังกุมอำนาจไว้อย่างแน่นหนาเช่นเคย

mso-bidi-language:TH">“เรื่องทหารเองก็คงไม่ปล่อยอำนาจง่ายๆ ดูจากการที่นางออง ซาน ซูจีออกแถลงการณ์มาว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ในขณะเดียวกันเมื่อวันกองทัพพม่าเมื่อ 21 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ก็บอกว่าจะพิทักษ์รัฐธรรมนูญ แสดงว่ายังไงก็แตะไม่ได้ เมื่อปัจจัยสามตัวนี้ยังคงอยู่ ก็ย่อมจะมีความไม่แน่นอน” เกียรติชัยกล่าว

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net