Skip to main content
sharethis

“ศรีประภา เพชรมีศรี” เสนอผลักดันให้ประเด็นโรฮิงญาถูกพูดถึงในวงกว้าง และดึงประเทศนอกอาเซียน ร่วมมือกันเพื่อให้ปัญหานี้ได้รับการแก้ไข

 

ศรีประภา เพชรมีศรี (ซ้าย) ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชน และโซฟี่ แอนเซล  (ขวา) นักข่าวชาวฝรั่งเศสที่ติดตามประเด็นโรฮิงญา ในวงเสวนา “โรฮิงญา...บนเส้นทางที่โลกลืม”

วันนี้ (24 เม.ย. 55) ฝ่ายเครือข่ายทุนทางสังคม สำนักพัฒนาทุนทางสังคม สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และองค์กรเครือข่ายด้านสิทธิมนุษยชน ได้มีการเปิดเวทีเสวนา “โรฮิงญา…บนเส้นทางที่โลกลืม” มีผู้ร่วมเสวนาคือ อมรา พงศาพิชญ์ ประธานกรรทการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชน หม่อง จอ นู จากสมาคมโรฮิงญาในประเทศไทย (BRAT) ฟิล โรเบิร์ตสัน จากกลุ่มติดตามสิทธิมนุษยชนแห่งเอเชีย (Asia Division Human Right Watch) และโซฟี่ แอนเซล นักข่าวชาวฝรั่งเศสที่ติดตามประเด็นโรฮิงญา

โดย ศรีประภา เพชรมีศรี ผู้แทนไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษย์ชน ได้เสนอว่า ควรมีการผลักดันให้ปัญหาผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาให้เป็นประเด็นสาธารณะที่จะต้องมีการพูดถึงเป็นวงกว้าง นอกจากนั้นยังต้องมีการแก้ไขปัญหาโรฮิงญาไม่เพียงเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนเท่านั้น ควรให้มีการแก้ไขปัญหาโรฮิงญานอกภูมิภาคอาเซียนด้วย อาทิ เช่น ในประเทศซาอุดิอาระเบีย และบังคลาเทศ ซึ่งในสองประเทศนี้มีชาวโรฮิงญาที่ยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอยู่อีกล้านกว่าคน

ด้านโซฟี่ แอนเซล นักข่าวซึ่งที่ติดตามประเด็นโรฮิงญา ได้แสดงข้อคิดเห็นต่อความเป็นประชาธิปไตยของรัฐบาลพม่าว่า ควรยกเลิกคำสั่งการเดินทางออกนอกพื้นที่ของชาวโรฮิงญา ซึ่งถ้าเกิดยังไม่มีการยกเลิกก็ยังไม่ถือว่าประเทศพม่ายังไม่ได้เป็นประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

ส่วนอมรา พงศาพิชญ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ปัญหาของชาวโรฮิงญายังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร เป็นเพราะว่าแต่ละประเทศในสมาคมประชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ยังมีความเกรงใจกันอยู่ ไม่กล้าพูดถึงถึงปัญหาดังกล่าวอย่างตรงไปตรงมา โดยประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติผู้นี้แนะว่าควรให้ประเทศอาเซียนลดความเกรงใจระหว่างกันลงและขยายความร่วมมือกันในระดับที่กว้างออกไปกว่าภูมิภาคอาเซียนนำปัญหาดังกล่าวมาพูดถึงอย่างตรงไปตรงมา จึงจะสามารถทำให้ปัญหาโรฮิงญาได้รับการแก้ไข

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net