Skip to main content
sharethis

ปัญหาด้านกฎหมายกับคนงาน ‘นักสิทธิ-สภาทนายความ’ ยังไม่ให้ความสนใจ เมื่อไม่มีใครช่วยคนงานก็ต้องช่วยกัน ‘บุญยืน สุขใหม่’ คนงานที่เขียนคำร้องให้กับเพื่อนคนงานมากกว่า 500 คดี

 

 

บุญยืน สุขใหม่

1 พ.ค. 55 – ชื่อ ‘บุญยืน สุขใหม่’ อาจจะไม่คุ้นหูในวงกว้างมากนักทั้งตามหน้าสื่อ ทั้งในกระแสหรือทวนกระแส แต่สำหรับคนงาน นักสหภาพ นักกิจกรรม ในแวดวงแรงงาน จะรู้จักชื่อนี้ดี โดยเฉพาะคนงานในเขตอุตสาหกรรมภาคตะวันออก ถึงกับมีการขนานนามเขาว่าเป็น ‘อาจารย์’ ของกลุ่มคนงาน

รวมถึงนักวิจัย เอ็นจีโอ อาจารย์มหาวิทยาลัย ที่หากต้องทำเรื่องเกี่ยวกับแรงงานแล้ว ชื่อของ ‘บุญยืน’ จะเป็นชื่อแรกๆ ที่คนเหล่านี้จะนึกถึง เพราะเป็นฐานข้อมูลสำคัญสำหรับประเด็นแรงงาน เนื่องจากบุญยืนอาจจะเป็นเพียงนักสหภาพเพียงไม่กี่คนที่เก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาต่างๆ ของคนงานไว้มากที่สุด

การเป็นนักสหภาพที่แข็งขันของบุญยืนในพื้นที่ภาคตะวันออก เริ่มจากปี 2535 บุญยืนได้ย้ายมาทำงานที่ จ.ระยอง ซึ่งในสมัยนั้นในภาคตะวันออกมีนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดเพียงแห่งเดียว ได้เห็นสภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรมทั้งจากนายจ้างและผู้บังคับบัญชา คนงานจึงได้ร่วมกับเพื่อนหารือกันในการจัดตั้งสหภาพแรงงาน ในปี 2536 ได้ตั้งสหภาพแรงงานขึ้นเป็นแห่งแรกในจังหวัดระยองขึ้น  

ในปี 2536-2538 บุญยืนได้เข้าร่วมเป็นกรรมการฝ่ายจัดตั้งและคุ้มครองแรงงาน สภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย และก้าวเดินไปสู่ตำแหน่งอื่นๆ ตามเส้นทางของนักสหภาพ ไม่ว่าจะเป็น รองประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก (ระหว่าง ปี 2548 ถึง 2550), เลขาธิการกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก (ระหว่าง ปี 2550 ถึง 2552), เลขาธิการคณะทำงานกลุ่มแรงงานบ่อวินสัมพันธ์ (ระหว่าง ปี 2548 ถึง 2550), ประธานคณะทำงานกลุ่มแรงงานบ่อวินสัมพันธ์ (ระหว่าง ปี 2550 ถึง 2552), รองประธาน(ฝ่ายวิชาการ) สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย (ตั้งแต่ ปี 2553 ถึง2554) และผู้ประสานงานกลุ่มพัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก ตั้งแต่ (ปี 2552 ถึงปัจจุบัน)

ในช่วงความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่ปี 2549 บุญยืนซึ่งมีทัศนะคติที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร จึงได้แยกตัวออกมาจากกลุ่มองค์กรแรงงานที่มีแนวทางโน้มเอียงไปทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ออกมาตั้งกลุ่มกับเพื่อนคนงาน เพื่อช่วยแก้ปัญหาพื้นฐานในพื้นที่โดยเคารพระบบประชาธิปไตยแบบสหภาพแรงงาน อย่างกลุ่ม ‘พัฒนาแรงงานสัมพันธ์ตะวันออก’ อันเป็นกลุ่มฐานรากก่อนที่จะมีการก่อตั้งสภาแรงงานสภาล่าสุดอย่าง ‘สภาองค์การลูกจ้างแรงงานสัมพันธ์แห่งประเทศไทย’

“เราทำงานร่วมกับสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และสมานฉันท์แรงงานไทย เป็นพันธมิตรกัน เห็นเหมือนกันเรื่องไม่ต้องการรัฐบาลทักษิณ เพราะเป็นรัฐบาลนายทุน เราไม่เคยได้อะไรจากรัฐบาลทักษิณ พยายามยื่นข้อเรียกร้องไม่รู้กี่ครั้ง หน้าทำเนียบก็ไปหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยได้อย่างที่คาดหวัง ที่เห็นต่างคือเรื่องคืนพระราชอำนาจ และเรียกให้ทหารออกมาทำรัฐประหาร ” -- บุญยืน สุขใหม่ 

“ปกติช่วงสิงหาถึงพฤศจิกาเป็นฤดูยื่นข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงาน แต่เมื่อเกิดรัฐประหารเราได้รับผลกระทบหนักยิ่งกว่ารัฐบาลประชาธิปไตย ไปที่ไหน ชุมนุมที่ไหนเจอแต่กระบอกปืน พูดไม่ได้เลย โดยเฉพาะครั้งที่ฟอร์ดและมาสด้านัดหยุดงาน แกนนำโดนล็อคตลอด ใช้เวลา 10 กว่าชั่วโมงกว่าจะถึงหน้ากระทรวง โดนทั้งตำรวจและทหารสกัด ที่หน้ากระทรวงเขาก็ใช้ทหารเกเร ขี้เมาเข้ามาหาเรื่อง ในพื้นที่ก็เอาทหารมาป้วนเปี้ยนหน้าบ้านตลอด ไปนอนที่หน้าศูนย์ราชการ จ.ระยอง ก็เอาทหารถือเอ็ม 16 ไปล้อมตลอดเหมือนเราเป็นนักโทษ เราทำอะไรไม่ได้เลย  แม้กระทั่งจัดชุมนุมไฮปาร์คธรรมดาให้กำลังใจกันเมื่อบางสหภาพแรงงานมีปัญหาหนักๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญปี 40 ให้สิทธิเต็มที่ แต่พอรัฐประหาร แรกๆ ก็โดนยึดเวที ยึดเครื่องเสียง  แกนนำโดน มทบ.14 ที่ดูแลภาคตะวันออกเรียกไปคุย” -- บุญยืน สุขใหม่

ปัจจุบัน บุญยืน ยังเป็นคนงานเต็มเวลาของโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง แต่หลังจากเลิกงานประมาณ 5 โมงเย็นถึง 5 ทุ่ม เขาจะไปประจำอยู่ที่บ้านที่ (อันเป็นศูนย์กลางการจัดตั้งสหภาพแรงงานของกลุ่ม) หรือไม่ก็ตระเวนไปยังที่ต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษาคนงานที่ประสบปัญหาได้รับค่าแรงต่ำ ถูกเลิกจ้าง ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้าง ให้คำปรึกษาในเรื่องการบริหารงานสหภาพแรงงาน ทำสำนวนฟ้อง คำร้อง คัดค้าน รวมทั้งลงไปร่วมกิจกรรมกับคนงานในพื้นที่ที่มีปัญหา 

จากข้อมูลที่บุญยืนได้รวบรวม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 – วันที่ 20 มี.ค. 2555 พบว่าบุญยืนได้เขียนคำแนะนำและคำร้องให้แก่ลูกจ้างแล้วกว่า 1,650 คดี เมื่อถามว่าเคยติดต่อให้สภาทนายความมาช่วยเหลือหรือไม่ บุญยืนตอบว่าเคยขอไปที่สภาทนายความจังหวัด แต่กลับได้รับการตอบมาว่าไม่มีคน และบุญยืนกล่าวว่าเรื่องกฎหมายนั้นคนงานจะไม่สนใจไม่ได้ ทิ้งไม่ได้ เพราะถึงเราไม่ใช้นายจ้างก็จะใช้ช่องว่างทางกฎหมายเล่นงานคนงานอยู่ดี

คดีที่ที่บุญยืนให้คำแนะนำลูกจ้างยื่น ในกรณีที่นายจ้างละเมิดกฎหมาย (4 ปีล่าสุด) Calibri">



mso-fareast-font-family:Calibri">พ.ศ. 2552 Calibri">


mso-fareast-font-family:Calibri">พ.ศ. 2553 Calibri">


mso-fareast-font-family:Calibri">พ.ศ. 2554 Calibri">


mso-fareast-font-family:Calibri">พ.ศ. 2555 mso-fareast-font-family:Calibri">( Calibri">20 มี.ค.) Calibri">


mso-fareast-font-family:Calibri">554 คดี


mso-fareast-font-family:Calibri">470 คดี


mso-fareast-font-family:Calibri">579 คดี


mso-fareast-font-family:Calibri">47 คดี

โดยปัญหาแรงงานนั้นในสายตานักสิทธิมนุษยชนอาจจะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกินกว่าที่พวกเขาจะเข้าใจ (ถ้าหากไม่นับปัญหาเรื่องแรงงานข้ามชาติที่ดูสลดหดหู่ชัดเจน)

แต่ในขณะที่ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมไปแล้ว มีคนหนุ่มสาวมุ่งตรงสู่โรงงานหลายล้านคน และมีจำนวนไม่น้อยที่ถูกกระทำอย่างไม่เป็นธรรมจากนายจ้าง … ในสถานการณ์เช่นนี้เอ็นจีโอกับนักสิทธิมนุษยชนเพียงจะมุ่งตรงไปหาคนชายขอบที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ตามป่าตามเขา เท่านั้นหรือ?

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net