Skip to main content
sharethis
Sayed Kassem El-Masry ผู้แทนพิเศษและที่ปรึกษาของเลขาธิการขององค์กรความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation หรือโอไอซี) กล่าวในการเยือนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) จังหวัดยะลาในวันที่ 9 พฤษภาคม 2555  โดยได้กล่าวเป็นภาษาอาหรับและแปลสดโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ

ขอขอบคุณเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) และผู้มีเกียรติทุกท่าน ยุวชนบัณฑิตอาสาที่เข้าร่วมโครงการและให้การต้อนรับคณะโอไอซีในวันนี้ทุกท่าน ผม รู้สึกภูมิใจที่ได้มีโอกาสเดินทางมาเยือนพื้นที่ในวันนี้ สำหรับผมแล้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่มาเยือนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ผมได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยมาแล้ว 3 ครั้ง ปี 2548 ส่วน 2550 ไม่ได้ลงพื้นที่ และครั้งนี้เป็นครั้งที่สองที่ได้มีโอกาสลงมา ประเด็น สำคัญที่ดีใจคือ เนื่องจากว่าเยาวชนในวันนี้ คืออนาคตของชาติในวันหน้า หากเยาวชนในวันนี้สามารถเข้าใจและสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น ก็จะมีส่วนสำคัญหรือบทบาทสำคัญที่จะมามีส่วนส่งเสริมในการสร้างหรือนำสันติ สุขกลับคืนสู่พื้นที่
 
ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยถือว่าเป็นแห่งหนึ่งที่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้นโดย ตลอด จากนั้นมาทางโอไอซี ให้ความสนใจที่จะได้เข้ามาแสวงหาลู่ทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างโอไอซี กับรัฐบาลไทยจนกระทั่ง พ.ศ. 2550 ท่านเลขาธิการโอไอซี Ekmeleddin Ihsanoglu กับรัฐบาลไทยได้มีการลงนามร่วมหรือที่เรียกว่า Joint Press Statement จาก การลงนามครั้งนั้น จึงเป็นที่มาของบรรทัดฐานในการให้ความมือระหว่างองค์กรโอไอซีกับรัฐบาลไทยบน พื้นฐานของการให้เกียรติซึ่งกันและกันและไม่ได้เข้าแทรกแซงกิจการภายใน โอไอซีให้ความสนใจต่อไทย แต่ไม่ได้เป็นประเด็นเนื่องจากว่าประเทศไทยไม่ให้ความสำคัญกับคนมุสลิม แต่ที่ดีใจกลับมาในวันนี้ เห็นว่าเหตุการณ์รุนแรง การสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ถ้าเทียบกับอดีตที่ผ่าน วันนี้ลดลง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายิ่งดี ซึ่งผมจะได้นำเรียนท่านเลขาธิการโอไอซีทันทีหลังจากการเดินทางกลับจากการ เยือนประเทศไทยในครั้งนี้
 
สิ่งที่มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างทั้ง 2 ฝ่าย คือ ปัญหาภาคใต้ไม่ได้เป็นปัญหาทางศาสนา ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ อิสลามไม่ได้มีส่วน และที่สำคัญสิ่งที่เรามีท่าทีร่วมกันครั้งนี้คือ สาเหตุสำคัญมาจากเรื่อง ความต่างในเรื่องของอัตลักษณ์ ความต่างในเรื่องของชาติพันธุ์ ความต่างในเรื่องศาสนา ความต่างในเรื่องประเพณี ซึ่งอาจจะมีส่วนเล็กน้อยที่เข้ามาเสริม อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติสำหรับประเทศที่มีกลุ่มชนน้อยทั่วไปในโลกนี้
 
เพราะฉะนั้นแนวทางที่เห็นในวันนี้คือ ความรุนแรง การใช้กำลัง ไม่ได้เป็นแนวทางในการที่จะแก้ปัญหา แต่การแสวงหาแนวทางที่เป็นสันติ สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน การยอมรับในเรื่องสำคัญเหล่านี้ เป็นแนวทางที่จะนำไปสู่สันติภาพที่แท้จริง
 
หลังจากได้มีโอกาสพบปะกับหน่วยงานราชการและผู้บริหารระดับสูงในรัฐบาลเมื่อวาน นี้ มีความประทับใจในพัฒนาการที่เป็นไปทางบวก จึงอยากจะขอให้เรียนให้ทราบก็คือ รู้สึกดีใจที่เห็นว่ารัฐบาลได้เริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องการศึกษา เริ่มให้ความสำคัญกับการใช้ภาษาถิ่น คือการใช้ภาษามลายูควบคู่กับภาษาไทยในสถาบันการศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นมิตรหมายที่ดี และผมได้ทราบว่าเป็นโครงการนำร่องเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันนี้ได้มีการขยายและมีร้อยๆ โรงเรียนเข้าร่วมโครงการนี้ ซึ่งอย่างน้อยจะเป็นการรักษาซึ่งวัฒนธรรม อัตลักษณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนในพื้นที่ให้ความสำคัญ
 
ถัดมา ได้ทราบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญในเรื่องของการพูดคุยกับ ทุกฝ่าย รวมทั้งกลุ่มที่อาจจะมีความเห็นที่ต่างจากฝ่ายบ้านเมือง ซึ่งเห็นว่าเป็นก้าวสำคัญที่จะไปสู่ความเข้าอกเข้าใจในอนาคต 
 
ประเด็นที่อยากจะเรียนให้ท่านทั้งหลายทราบอีกประเด็นหนึ่งคือ ได้มี การพูดถึงพ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่บังคับใช้ในพื้นที่ซึ่งผมและคณะได้มีการยกประเด็นนี้ขึ้นมาหารือกับหน่วย งานเกี่ยวข้อง ก็ดีใจที่ได้ทราบว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉิน จะต้องมีการพิจารณายกเลิกในอนาคต และขึ้นอยู่ว่าหากสถานการณ์ความมั่นคงในพื้นที่ต่างๆ ดีขึ้น พ.ร.ก.ฉุกเฉินก็จะต้องพิจารณายกเลิกไปและอาจจะต้องใช้กฎหมายปกติเข้ามาแทนที่ ซึ่งโอไอซีเห็นว่า พ.ร.ก. ฉุกเฉิน อาจจะมีส่วนที่ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ เพราะฉะนั้นทางโอไอซีมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
 
ที่สำคัญท่าที่ที่ชัดเจนของโอไอซี คือ โอไอซีประณามเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะก่อ ให้เกิดขึ้นมาจากกลุ่มใดหรือฝ่ายใด
 
โอไอซีขอประณามการเข่นฆ่าชีวิตของประชาชนผู้บริสุทธิ์ โดยไม่ได้เลือกว่าเขาจะเป็นคนมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิม เพราะหลักการของอิสลามชัดเจน อัล-กุรอานบอกว่าผู้ใดฆ่าชีวิตหนึ่งชีวิต เหมือนกับว่าเขาฆ่ามนุษย์ทั้งโลก อัลกุรอานไม่ได้บอกว่า ชีวิตตรงนี้หมายถึงพุทธหรือมุสลิม ทุกชีวิตมนุษย์ทุกคนมีความสิทธิเท่าเทียมกัน
 
สิ่ง ที่ทางโอไอซีได้ร้องขอให้รัฐบาลไทยดำเนินการคือส่งเสริมและสนับสนุนให้ รัฐบาลใช้แนวทางแก้ปัญหานี้ด้วยสันติวิธี โอไอซี มีท่าที่ที่ชัดเจนว่าไม่สนับสนุนให้มีการแบ่งแยกดินแดนหรือแยกดินแดนส่วนนี้ ออกจากประเทศไทย 
 
 


     

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net