สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 6 - 12 พ.ค. 2555

ก๊าซพิษรั่วอีกที่นิคมฯเหมราชคนงานเจ็บ 50 คน

เมื่อเวลาประมาณ 19.00 น. วันที่ 6 พ.ค. ที่นิคมอุตสาหกรรมเหมราช อ.มาบตาพุด จ.ระยอง เกิดเหตุก๊าซพิษมีกลิ่นฉุนรั่วอีก ที่บริษัท อดิตยาเบอร์ล่าเคมีคัลส์ (ประเทศไทย) ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากโรงงานบีเอสที ที่เกิดเหตุถังสารเคมีระเบิดและเกิดเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 5 พ.ค.ที่ผ่านมาระยะทาง 4 ก.ม. ?ทั้งนี้ เหตุสารเคมีรั่วไหลที่บริษัท อดิตยาฯเกิดจากโรงงานหยุดเดินเครื่องฉุกเฉิน ทำให้ตัวปล่องของโรงงานปล่อยสารเคมีออกมา สารที่รั่วออกมาเป็นสารโซเดียมไฮโปคลอไรด์(Sodium hypochlorite NaOCl) ที่เป็นสารตั้งต้นทำโซดาไฟ ?ส่งผลให้คนงานสูดดมเข้าไปหลายคน ทำให้เกิดอาการอ่อนแรง อ่อนเพลีย และแสบคอ เจ้าหน้าที่ของบริษัทปิดกั้นบริเวณไม่ให้บุคคลภายนอกเข้าไป โดยผู้ที่จะเข้าไปได้ต้องสวมชุดและหน้ากากป้องกันเนื่องจากเป็นสารเคมี อันตราย เบื้องต้นมีการทยอยนำผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการสูดดมสารพิษประมาณ 50 รายนำส่งโรงพยาบาลมาบตาพุด โรงพยาบาลบ้านฉาง และโรงพยาบาลระยอง ทั้งนี้ บริษัทอดิตยาฯเป็นผู้ผลิตโซดาไฟ คลอรีน และอีพ็อกซี่เรซิ่น

(แนวหน้า, 6-5-2555)

ธุรกิจรองเท้า-สิ่งทอเล็งย้ายฐานไปเพื่อนบ้าน

นายชนินทร์ จิตต์โกมุท นายกสมาคมรองเท้าไทย เปิดเผยว่า จากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันขณะนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรองเท้าอย่างมากเนื่องจากเป็น อุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งแรงงานสูง โดยเฉพาะกว่า 50% อาศัยแรงงานต่างด้าวเมื่อแรงงานฝีมือขั้นต่ำต้องปรับเพิ่มจึงส่งผลต่อเนื่อง ไปยังแรงงานฝีมือที่ต้องขยับตามเพื่อรักษาคนงานเอาไว้ เนื่องจากภาวะขาดแคลนแรงงานฝีมือทำให้เกิดการดึงตัวแรงงานสูงขึ้น

"เมื่อเราเพิ่มค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวันโดยไม่ได้คำนึงถึงประสิทธิภาพด้านฝีมือเป็นการสร้างมาตรฐานใหม่ให้ แรงงานต่อรองมากขึ้น ธุรกิจจึงต้องจ่ายเพิ่มในทุกระดับ ซึ่งเอกชนไม่ได้ว่าถ้ารัฐบาลจะขึ้นค่าแรงแต่ขอให้มองเรื่องการพัฒนาฝีมือ ประกอบด้วย และมีมาตรการมาส่งเสริมเอกชนบ้างเช่น การส่งเสริมเอกชนไปทำตลาดต่างประเทศ ให้เงินสนับสนุนบางส่วนไปเพิ่มประสิทธิภาพด้านแรงงาน ฯลฯ แต่กลับเป็นว่าเอกชนต้องพึ่งตนเองเป็นหลัก ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน เอกชนเขากลับได้รับการส่งเสริมทุกด้าน" นายชนินทร์กล่าว

นายชนินทร์กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ผลิตรองเท้ากำลังมองหาทางออกคือการพิจารณาย้ายลงทุนไปยังแนวตะเข็บ ชายแดนไทยเพื่อรับแรงงานต่างด้าวและการย้ายไปยังประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะ พม่าเนื่องจากพม่าเริ่มเปิดประเทศคาดว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งแรงงานต่างด้าวคง ย้ายกลับถิ่นฐานเดิม ไทยจะพึ่งแรงงานต่างด้าวไม่ได้อีกต่อไปและที่สุดธุรกิจรองเท้าไทยจะอยู่ได้ เฉพาะส่วนของการทำเทรดเดอร์เท่านั้น

ด้านนายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ปรับเพิ่มขึ้น 300 บาทต่อวันนำร่อง 7 จังหวัดและ 40% ในจังหวัดที่เหลือนั้นยอมรับว่าส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่ให้ทุกระบบต้องปรับ เพิ่มขึ้นแต่การได้แรงงานที่มีฝีมือยังเหมือนเดิมและอาจไม่จูงใจให้แรงงาน ขั้นต่ำพัฒนาฝีมือตนเอง ดังนั้นธุรกิจเองหากหาเครื่องจักรทดแทนได้ก็คงจะต้องลงทุนเพิ่มแต่ธุรกิจใด ที่ยังจำเป็นต้องใช้แรงงานเชื่อว่าที่สุดคงจะต้องมองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

นายพากร วังศิลาบัตร ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า ขณะนี้โรงงานในพื้นที่จ.พระนครศรีอยุธยามีการติดป้ายประกาศรับแรงงานใหม่ เข้าทำงานจำนวนมากตั้งแต่หลังเทศกาลสงกรานต์เนื่องจากโรงงานเริ่มมีการ ฟื้นฟูกิจการจากภาวะน้ำท่วม ซึ่งก่อนหน้านั้นแรงงานเกือบ 1 แสนคนต้องว่างงานชั่วคราว อย่างไรก็ตามภาพรวมแรงงานดังกล่าวยังคงเข้าสู่ระบบไม่เต็มที่เพราะโรงงานบาง แห่งยังรอเครื่องจักรใหม่และบางแห่งปิดกิจการรวมถึงการย้ายไปยังพื้นที่อื่น

"ต้องยอมรับว่าแรงงานโดยรวมยังคงขาดแคลนโดยเฉพาะแรงงานฝีมือขั้นต่ำ เพราะคนไทยส่วนหนึ่งยังเลือกงานอยู่ ถ้ารัฐไม่จัดระบบการศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการ ก็จะต้องอาศัยแรงงานต่างด้าวมากขึ้นและที่สุดโรงงานส่วนหนึ่งต้องมองการย้าย ฐานไปเพื่อนบ้าน"

(ข่าวสด, 7-5-2555)

"Times New Roman"">สภาฯ ผู้ป่วยจากการทำงาน ร้องจัดตั้งกองทุนผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษ "Times New Roman"">

7 พ.ค. 55 – สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ฉบับที่ 1 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

แถลงการณ์ฉบับที่ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">1

สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย


สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย ในสมัชชาคนจน ซึ่งเป็นองค์กรที่รวบรวมสมาชิกที่มีทั้งคนงานและชุมชนที่ประสบปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยและประสบอันตรายจากการทำงานและมลพิษสิ่งแวดล้อม รวมกลุ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 ดำเนินการร่วมเรียกร้องสิทธิ และ ผลักดันนโยบายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กับ รัฐบาลในนามสมัชชาคนจนมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการทำงานร่วมกับเครือข่ายผู้นำด้านสุขภาพในพื้นที่อุตสาหรรมต่างๆที่ทำ งานขับเคลื่อนร่วมกัน ทั้งยังเข้าร่วมเครือข่ายคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย เหตุการณ์ระเบิดของโรงงานบริษัทกรุงเทพ ซินธิติกส์ ในนิคมอุตสาหกรรมมาบพุด  จังหวัดระยอง ผลิตสารโพลีเมอร์ผสมกับยาง เป็นชิ้นส่วนในการผลิตถุงมือยาง ทำให้เกิดไฟไหม้อย่างรุนแรงและมีสารสารโทลูอีน และสารอื่นๆ ที่ระเหยคละคลุ้งส่งผลกระทบให้กับชุมชนเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งได้ในอนาคต เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2555 ถือว่าเป็นความบกพร่องประมาทเลินเล่อ ของสถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จนเป็นเหตุให้สะเทือนขวัญต่อสังคมไทยอีกครั้งหนึ่ง ที่มีคนงานเสียชีวิตฉับพลัน 12 ศพ บาดเจ็บกว่า 130 ราย และในวันต่อ จากโรงงานระเบิด
เพียง 4 กิโลเมตร ก็เกิดสารเคมีรั่วไหลภายในบริษัทไทยคลอ คาลี ดีวิชั่น จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช ทำให้คนงานเจ็บป่วยฉับพลันกว่า 50คน ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลมาบตาพุด เหตุการณ์เช่นนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเรื่อยมาจนเป็นที่เดือดร้อนรำคาญ ของคนในชุมชนดังกล่าว เหตุการณ์ระเบิดโรงงานครั้งนี้นับเป็นข่าวสร้างความเสียหายอีกครั้งหนึ่งต่อ ภาพลักษณ์ของสังคมและประเทศชาติ  ที่อาจทำให้ถูกมองว่ามีแต่นโยบายที่มุ่งเน้นแต่การพัฒนาอุตสาหกรรม  จนละเลยขาดระบบการป้องกันตรวจสอบ จากเหตุการณ์โศกนาฎกรรมโรงงานตุ๊กตาเคเดอร์ไฟไหม้ เมื่อวันที่ 10พฤษภาคม 2555 ผ่านมาจะครบรอบ 19 ปี สถานการณ์เรื่องสุขภาพความปลอดภัยในการทำงาน ชีวิตคนงานก็ยังต้องตกอยู่ในสภาวะวิกฤต เสี่ยงภัยอยู่ทุกวินาที ทั้งภัยเครื่องจักรอันตราย และจากสารเคมีที่ร้ายแรง  รวมไปถึงปัญหาในการเข้าไม่ถึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย ของสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยฯ จึงมีความเห็นและขอเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล  ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน ต่อกรณีนี้ดังนี้

ข้อเสนอเร่งด่วนดังนี้

1.ให้คนงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตในครั้งนี้ได้เข้าถึงสิทธิการดูรักษา อย่างดีและได้เข้าถึงสิทธิตามกฎหมายกองทุนเงินทด แทน                                                                                                              

2.ให้นายจ้างจ่ายเงินชดเชยเพื่อแสดงความรับผิดชอบนอกเหนือกฎหมาย

3.ให้ตรวจสอบสถานประกอบการณ์ที่มีอันตรายโดยเร่งด่วนและยุติการผลิตจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไขให้ปลอดภัย

ข้อเสนอในระยะยาว ดังนี้

1.รัฐต้องมีนโยบายแผนงานแห่งชาติพัฒนาระบบงานอาชีวเวชศาสตร์เพื่อให้มี การผลิตบุคลกรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวด ล้อมที่มีคุณภาพและปริมาณเพียงพอในระยะยาว การจัดตั้งคลินิกโรคจากการทำงาน ที่ต้องคำนึงถึงมาตรฐาน การจัดบริการที่สามารถทำให้ลูกจ้าง นายจ้างเข้าถึงได้ง่าย

2.ต้องมีนโยบายชัดเจนที่จะพัฒนาส่งเสริมป้องกันการประสบอันตรายหรือเจ็บ ป่วยจากการทำงานเพื่อลดการสูญเสียในอนาคตของลูกจ้าง นายจ้างลดรายจ่ายการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน

3.ต้องให้มีนโยบายส่งเสริมเรื่องตรวจสุขภาพลูกจ้าง ที่สอดคล้องกับปัจจัยเสี่ยงในการทำงานตามกฎกระทรวงอย่างต่อเนื่องโดยลูกจ้าง มีสิทธิเลือกแพทย์สถานพยาบาล.เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นใจของลูกจ้าง

4.รัฐบาลลงสัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศที่จำเป็นต่อบริการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้
-ฉบับที่ ๑๕๕ ว่าด้วย ความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย  ค.ศ.๑๙๘๑ (พ.ศ.๒๕๒๔)
-ฉบับที่ ๑๖๑ ว่าด้วย การบริการอาชีวอนามัย ค.ศ.๑๙๘๕ (พ.ศ.๒๕๒๘)
-ฉบับที่ ๑๘๗ ว่าด้วยกรอบงานส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานและอาชีวอนามัย ค.ศ.๒๐๐๖ (พ.ศ.๒๕๔๙)

5.ร่วมกับเครือข่ายแรงงาน สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยงานจากการฯ องค์กรนายจ้าง องค์กรลูกจ้าง และภาคีเครือข่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบันการศึกษาที่ผลิต/อบรมบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทวงอุตสาหกรรม และกระทรวงอื่นๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ ร่วมกันพัฒนารูปแบบการทำงาน ด้านอาชีวอนามัยฯ  เพื่อนำไปสู่ วัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน

6.การบังคับใช้กฎหมาย พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างจริงจัง

7.เร่งจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ ทำงานที่เป็นองค์กรมหาชน มีส่วนร่วม และ บูรณาการ มาทำงานด้านการคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน ให้กับแรงงานไทย โดยเน้นมีศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์และ โครงสร้างกรรมการต้องมาจากการสรรหา

8.การงดใช้แร่ใยหิน  ชดเชยผู้ป่วย

9.จัดตั้งกองทุนผู้ประสบภัยจากการทำงานและมลพิษ

ณ.วันที่ 7 พฤษภาคม 2554

สมบุญ สีคำดอกแค สภาสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากากรทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย    

(ประชาไท, 7-5-2555)  

คนงานตกนั่งร้านตึกใบหยกดับ 3 ศพ

มื่อเวลา 14.15 น. วันที่ 7 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเกิดเหตุพนักงานติดสติ๊กเกอร์ภายนอกอาคารใบหยก 2 ถนนราชปรารภ แขวงราชปรารภ เขตราชเทวี ตกจากนั่งร้านเสียชีวิต 3 ศพ โดยก่อนเกิดเหตุได้มีพนักงานจำนวน 5 คน ขึ้นไปบนนั่งร้าน เพื่อติดสติ๊กเกอร์บริเวณด้านนอกอาคารดังกล่าว โดยนั่งร้านจอดอยู่บริเวณชั้น 69 จากความสูงของอาคารทั้งหมด 89 ชั้น แต่จู่ๆ นั่งร้านได้เกิดหักกลาง ทำให้คนงาน 3 คนพลัดตกลงมา

โดยศพแรกติดค้างอยู่ที่สนามไดร์ฟกอล์ฟบนชั้น 18 ส่วนศพที่สองติดค้างอยู่บริเวณสระน้ำชั้นที่ 20 และศพที่สามติดค้างอยู่ชั้นที่ 36 ซึ่งผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ศพ ยังไม่ทราบชื่อและภูมิลำเนา ส่วนคนงานอีก 2 คนที่รอดชีวิตอย่างหวุดหวิด เพราะสามารถกระโดดเกาะนั่งร้านที่หักไว้ได้ทัน และเจ้าหน้าที่ของอาคารต้องทุบกระจกออกไปช่วยไว้ได้ ท่ามกลางความหวาดเสียว

(เดลินิวส์, 7-5-2555) "Times New Roman"">

นายกฯ จี้รมว.อุตสาหกรรมวางระบบโรงงานปลอดภัย เข้มต่อใบอนุญาต

ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่แทนโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ก่อนเริ่มการประชุมครม. น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่มีเหตสารคลอรีนรั่วไหลจากโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จ.ระยอง โดยพบว่า โรงงานของบริษัท อดิตยาเบอร์ล่าเคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด เคยปล่อยให้สารเคมีรั่วไหลมาแล้ว จึงเกิดคำถามว่า ทำไมถึงมีการต่อใบอนุญาต ทั้งๆ ที่เคยทำผิดระเบียบ ก่อนจะมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมวางระบบโรงงานอุตสาหกรรม ใหม่ เพื่อสร้างความปลอดภัย อีกทั้ง ให้ประสานกับกระทรวงมหาดไทยดูแลประชาชนให้อยู่ร่วมกับโรงงานได้ นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังเป็นห่วงแรงงานที่ได้รับอุบัติเหตุเครนหักที่ตึกใบหยก พร้อมกำชับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานดูแลทรัพย์สินและคุณภาพชีวิตแรง งานอีกด้วย

(มติชนออนไลน์, 8-5-2555) "Times New Roman"">

กสร.เร่งตรวจสอบกรณีคนงานตกนั่งร้านเสียชีวิต

นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวถึงกรณีพนักงานบริษัทคิว แอดเวอร์ไทซิ่ง 5 คน พลัดตกลงจากนั่งร้าน ชั้น 68 ของอาคารใบหยก สกายทาวเวอร์ 2 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ขณะขึ้นไปติดป้ายโฆษณาสินค้า ทำให้เสียชีวิตทันที 3 คน และบาดเจ็บอีก 2 คน ว่า กรณีนี้แรงงานที่บาดเจ็บระบุว่านั่งร้านมีรอยร้าวอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการทำงานไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตรวจแรงงานไปตรวจสอบสถานที่เกิดเหตุว่ากรณีดัง กล่าวเป็นความบกพร่องของบริษัทผู้รับเหมาติดป้ายโฆษณาหรือไม่ ทั้งนี้ พระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 ระบุชัดเจนว่า นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ได้มาตรฐานให้กับคนงาน และมีหน้าที่กำกับดูแลให้แรงงานสวมใส่อุปกรณ์ดังกล่าวในการปฏิบัติงาน และหากพบว่าแรงงานไม่ปฏิบัติ นายจ้างมีสิทธิระงับการปฏิบัติงาน และไม่ต้องจ่ายค่าจ้างขณะเดียวกันก็กำหนดให้คนงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ความ ปลอดภัยด้วย

อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่ควบคุมการปฏิบัติงานของลูกจ้างตามพระราชบัญญัติความ ปลอดภัยฯ จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 8-5-2555) mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ประกันสังคมเผยพร้อมจ่ายเงินทดแทน เหตุบึ้มโรงงานมาบตาพุด

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน สั่งให้สำนักงานประกันสังคมจ่ายเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน โดยพร้อมจ่ายเงินให้กับแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ระเบิดของ บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส จำกัด ซึ่งได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว เพียงแต่รอหลักฐานจากญาติผู้เสียชีวิตเท่านั้น โดยแบ่งเป็นค่ารักษาพยาบาลจำนวน 104 ราย เป็นเงิน 4.5 ล้านบาท ค่าทำศพผู้เสียชีวิตจำนวน 12 ราย รายละ 30,000 บาท เป็นเงิน 360,000 บาท และค่าทดแทนกรณีเสียชีวิตจำนวน 12 ราย เป็นเงิน 13,824,000 บาท รวมเป็นเงิน 18,684,000 บาท

ด้าน ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม แถลงว่า กรณีการเกิดเหตุระเบิดของ บริษัท บีเอสทีฯ และการเกิดสารเคมีรั่วไหลของบริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมิคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งในการดูแลพื้นที่อุตสาหกรรม ทั้งมาบตาพุดและพื้นที่อุตสาหกรรมอื่นๆโดยนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทุกนิคมอุตสาหกรรม เขตประกอบการอุตสาหกรรมและสวนอุตสาหกรรมสอบทานแผนป้องกันความเสี่ยงทั้งหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงในเรื่องของสารพิษ สารไวไฟ สารเคมี ให้มีการสอบทานกระบวนการซ่อมบำรุงของโรงงานอุตสาหกรรมและให้มีการตรวจคุณภาพ การดำเนินงานอย่างเข้มข้น พร้อมทั้งแผ่นป้องกันความเสี่ยงให้มีการดำเนินการสอบทานทุกไตรมาส รวมถึง เวลาที่จะเสนอขอต่อใบอนุญาตโรงงาน ต้องนำส่งแผนป้องกันความเสี่ยงที่ต้องสอบทานด้วยว่าแผนดังกล่าวสามารถ ปฏิบัติได้จริง และให้มีการสอบทานโรงงานที่มีข้อบกพร่องเกิดเหตุซ้ำซาก และทบทวนมาตรการในการต่อใบอนุญาตใหม่ให้เข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิม

รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า จากนี้ไปภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลชุดนี้ ที่จะสร้างมาตรฐานเป็นโรงงานปลอดภัยและชุมชนอยู่รวมได้ นอกจากนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมทำงานร่วมกับกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัด จัดให้มีระบบแจ้งข้อมูลระหว่างนิคมอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม โดยให้มีการแจ้งข้อมูลไปยังชุมชน ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลนี้ นายกรัฐมนตรีขอให้มีการบูรณาการศูนย์ข้อมูล โดยให้มีการประมวลข้อมูลข่าวสาร ให้สามารถนำไปใช้สั่งการโดยมีผู้รับผิดชอบโดยตรง

รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า ทั้งนี้ ให้ชี้แจงภาคประชาชนรับทราบข้อมูลทันทีที่เกิดเหตุและข้อมูลดังกล่าวจะต้อง ไปในทิศทางเดียวกัน โดยให้เริ่มจากพื้นที่ที่เกิดเหตุ เชื่อมโยงข้อมูลไปยังระดับจังหวัด และให้เชื่อมโยงข้อมูลจากศูนย์ อีเอ็มซี สแควร์ซึ่งเป็นศูนย์ที่ดูแลข้อมูลของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กน อ.)มายังศูนย์ข้อมูลของสำนักนายกรัฐมนตรีอีกทั้ง นายกรัฐมนตรีให้กระทรวงอุตสาหกรรมตรวจสอบ ฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินและแผนป้องกันภัยชุมชน โดยให้ทำงานร่วมกับกระทรวงหมาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงานและภาคประชาชน ซึ่งให้มีการบูรณาการแผนและเชื่อมโยงกับแผนป้องกันภัยในระดับจังหวัด

(เนชั่นทันข่าว, 8-5-2555) "Times New Roman"">

คนงาน ชินเอ บุก ก.แรงงาน จี้ช่วยเจรจานายจ้าง หวั่นล้มสหภาพฯ

ก.แรงงาน 8 พ.ค.-กลุ่มคนงานจากโคราช 300 คนบุก กระทรวงแรงงานปิดบันไดทางขึ้น-ลิฟต์ จี้กระทรวงแรงงานช่วยเหลือ หวั่นนายจ้างล้มล้างสหภาพแรงงาน ด้านอธิบดี กสร.วอนแรงงานเจรจาอย่างสันติอย่ากดดันเกินไป
 
คนงานบริษัท ชินเอไฮเทค จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งอยู่ภายในเขตอุตสาหกรรมสุรนารี จ.นครราชสีมา ประมาณ 300 คนได้เดินทางมาชุมนุมใต้ตึกกระทรวงแรงงาน เรียกร้องให้กระทรวงแรงงาน หาทางช่วยเหลือ หลังชุมนุมเรียกร้องให้สวัสดิการแต่กลับถูกเลิกจ้าง โดยบางช่วงของการชุมนุมได้มีความพยายามในการกดดันเจ้าหน้าที่ให้เร่งช่วย เหลือด้วยการปิดทางขึ้นลงอาคารทั้งบันไดและลิฟต์โดยสารด้วย
 
นายสมพร รอจันทร์ รองประธานสหภาพชินเอไฮเทค กล่าวว่า ที่ผ่านมาเกิดสหภาพแรงงานได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน ในเรื่องสวัสดิการต่างๆ จำนวน 35 ข้อ เช่น ขอเพิ่มค่าอาหาร จัดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น การพักร้อนฉุกเฉิน และให้จัดสนามกีฬา แต่การเจรจากับนายจ้างถึง 6 ครั้งไม่เป็นผล ขณะเดียวกัน นายจ้างได้สั่งเลิกจ้างคณะกรรมการสหภาพด้วยแสดงให้เห็นถึงเจตนาว่า บริษัทต้องการล้มล้างสหภาพแรงงาน จึงอยากเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานช่วยเหลือในการเจรจาให้นายจ้างรับคนงาน ทั้งหมดกลับเข้าทำงานตามปกติ

ด้านนายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า ได้นัดตัวแทนนายจ้าง ลูกจ้างมาเจรจาหาข้อสรุปในวันนี้ แต่กลับเจอกดดันด้วยการปิดทางเข้าออกอาคารสร้างความเดือดร้อนให้ข้าราชการ และประชาชนที่มาติดต่อราชการ ถือเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ที่สำคัญยังส่งผลให้นายจ้างเกิดความกังวลและไม่เดินทางมาเจรจาด้วย อย่างไรก็ตาม กสร.จะพยายามช่วยแรงงานเจรจากับบริษัทเพื่อหาข้อสรุปต่อไป.

(สำนักข่าวไทย, 8-5-2555) "Times New Roman"">

ทำบุญครบรอบ 19 ปี เหตุเพลิงไหม้โรงงานตุ๊กตาเคเดอร์

10 พ.ค. 55 - นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์  ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  เป็นประธานในพิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เสียชีวิต ในโอกาสครบรอบ 19 ปี เหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตตุ๊กตาเคเดอร์  หรือ วันความปลอดภัยในการทำงานแห่งชาติ  10 พฤษภาคม ที่สำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

นายอนุสรณ์ ระบุว่า จากรายงานของกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม พบว่า สถิติการประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานของลูกจ้าง  ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี  ล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ร้อยละ 1.79 ของคนงานทั้งหมด อย่างไรก็ตาม อยากเห็นตัวเลขสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานกลายเป็นศูนย์ ซึ่งทุกฝ่ายทั้งนายจ้าง-ลูกจ้าง ภาครัฐรวมถึงชุมชน ต้องช่วยกันสร้างความปลอดภัยในการทำงานให้เกิดขึ้น พร้อมกระตุ้นเตือนให้สังคมมีจิตสำนึกในเรื่องความปลอดภัยจากการทำงานอย่าง ต่อเนื่อง

ด้านนางรัศมี ศุภเอม  อดีตคนงานเคเดอร์  กล่าวว่า  ยังจดจำเหตุการณ์เมื่อ 19  ปีที่ผ่านมาได้ดี เพราะต้องหนีตายด้วยการกระโดดลงมาจากชั้น 3 ของโรงงาน จนกระดูกสันหลังหัก กลายเป็นคนทุพพลภาพ  แม้จะพอเดินได้แต่ก็ไม่ปกติ จึงอยากฝากให้สถานประกอบการดูแลความปลอดภัยคนงานให้มากขึ้น และแจ้งเตือนคนงานทันทีที่เกิดเหตุอันตรายหรือไฟไหม้

ในงานนอกจากพิธีทำบุญแล้ว ยังมีการจัดพิธีรำลึกถึงเหตุการณ์  เช่น การขับร้องเพลงตุ๊กตา ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  การสาธิต 10 บัญญัติปฏิบัติตนพ้นจากเหตุเพลิงไม้และการปฐมพยาบาล  การสาธิตการกู้ภัยด้วยหุ่นยนต์ค้นหา

(สำนักข่าวไทย, 10-5-2555) "Times New Roman"">

เพลิงไหม้โรงงานหน้านิคมฯโรจนะโชคดีดับทัน

เกิดเหตุเพลิงไหม้ภายในโรงงานโนชั่น (ประเทศไทย ) จำกัด เลขที่ 1/48 ม.5 ต.คานหาม อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนพลาสติกขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม โรจนะ และตรงข้ามโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่ของนิคมอุตสาหกรรมโรจนะชื่อโรงงาน โรจนะพาวเวอร์ โดยมีถนนกว้างเพียง 6 เมตรขวางกั้นเท่านั้น อย่างไรก็ตามคนงานและรปภ.ได้ใช้อุปกรณ์ถังดับเพลิงที่มีประจำอยู่ในพื้นที่ ปรับปรุงฉีดพ่นใส่จุดที่เพลิงไหม้ และสามารถดับเพลิงลงได้อย่างรวดเร็วโดยใช้เวลาประมาณ 5 นาทีเท่านั้น แต่ไม่มีทรัพย์สินใด ๆเสียหายมากนัก และไม่มีคนงานได้รับบาดเจ็บ
         
ทั้งนี้พบว่าโรงงานดังกล่าวที่เกิดเพลิงไหม้เป็นโรงงานที่อยู่ระหว่าง การดำเนินการปรับปรุงอาคารและสายพาการผลิตสาเหตุเพราะถูกน้ำท่วมหนักเมื่อ เดือนตุลาคม 54 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันยังไม่สามารถเปิดสายพานการผลิตในโรงงานได้ โดยยังไม่มีคนงานผลิตมาทำงานในโรงงานแต่คนงานจำนวนมากของโรงงานได้ไปผลิต ชิ้นงานทดแทนในที่อื่นเป็นการชั่วคราวปัจจุบันในพื้นที่โรงงานแห่งนี้คงมี แต่พนักงานประจำออฟฟิตกว่า 20คนเท่านั้นที่เข้าทำงานในสำนักงาน
         
นายเรวัต ประสงค์ นายอำเภออุทัย กล่าวว่า โชคดีที่สามารถดับเพลิงลงได้อย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากการฝึกซ้อมของโรง งานและความเข้มของภาครัฐที่ประสานความร่วมมือผ่านทางโรงงานคนงาน การนิคมแห่งประเทศไทย ภาครัฐ และท้องถิ่นที่ร่วมกันฝึกซ้อมเผชิญเหตุมาโดยตลอดซึ่งทุกวันนี้โรงงานในนิคม อุตสาหกรรมโรจนะจำนวนมากยังอยู่ระหว่างการปรับปรุงโรงงานจึงมีการก่อสร้างใน โรงงานแทบทุกแห่งเพราะรับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปี 54ซึ่งทางจังหวัดและอำเภอได้เน้นย้ำให้ทุกโรงงานเพิ่มความเข้มในการดำเนิน การปรับปรุงในระดับสูงสุดเพื่อความปลอดภัยและมีอุปกรณ์เผชิญเหตุเช่นถังดับ เพลิง ไว้ประจำพร้อมแบบ 100%

(โลกวันนี้, 10-5-2555) "Times New Roman"">

แรงงานร้องขอความปลอดภัยในการทำงาน-ยกเลิกใช้แร่ใยหิน

10 พ.ค.- แรงงานร้องขอความปลอดภัยในการทำงาน เสนอตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อม ยกเลิกใช้แร่ใยหินทันที เดินหน้าหาข้อพิสูจน์ทางการแพทย์ ช่วยแรงงานที่ได้รับผลกระทบ

นางสมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันค่าครองชีพที่สูงขึ้นทำให้โรงงานแต่ละแห่งเร่งกำลังการผลิต ส่งผลต่อแรงงานต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้ผลผลิตมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงเกิดอันตรายต่อสุขภาพ และสารพิษ โดยขาดการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง และไม่มีเครือข่ายอาชีวอนามัยเพื่อแรงงาน จึงเรียกร้องให้กระทรวงแรงงานจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานขึ้น เพื่อให้มีคณะทำงาน นำไปสู่การตั้งศูนย์ร้องเรียน และบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น การยกเลิกการใช้แร่ใยหินตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นต้น

นพ.อดุลย์ บัณฑุกุล สมาพันธ์อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน กล่าวว่า ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมที่ต้องใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบกว่า 100 ประเภท และยังมีแร่ใยหินที่จะได้รับจากการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างอีกมาก ซึ่งสมาพันธ์อาชีวอนามัยฯ จะประสานความร่วมมือแพทย์ พยาบาล ทุกระดับ และพยาธิแพทย์ เพื่อเก็บข้อมูล ค้นหาผู้ป่วยจากแร่ใยหิน โดยการซักประวัติผู้ป่วยมะเร็งเยื่อหุ้มปอดว่ามีประวัติการทำงานอะไร ให้นำไปสู่การรวบรวมข้อเท็จจริง เป็นหลักฐานทางการแพทย์ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายที่ชัดเจนต่อไป

ด้านนายพุทธิ เนติประวัติ สหพันธ์แรงงานก่อสร้างและคนทำไม้แห่งประเทศไทย กล่าวว่า แม้ ครม. มีมติเห็นชอบ ห้ามนำเข้าแร่ใยหินไครโซไทล์ แต่ปัจจุบันมีผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่เพียง 2 รายเท่านั้นที่ประกาศเลิกใช้แร่ใยหิน ซึ่งกลุ่มคนงานก่อสร้างถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยจากแร่ใยหิน แต่ในประเทศไทยการพิสูจน์โรคว่าเกิดจากการทำงานทำได้ยาก เนื่องจากไทยมีแพทย์ด้านอาชีวเวชศาสตร์น้อยมาก หากเจ็บป่วยแพทย์ก็จะลงความเห็นเพียงว่าเป็นมะเร็งปอดโดยไม่มีการพิสูจน์ต่อ ทำให้แรงงานเหล่านี้ต้องเจ็บป่วยโดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือใด ๆ เพราะผู้ประกอบมักอ้างว่าไม่สามารถพิสูจน์ได้จริงว่าเกิดจากการทำงานในช่วง ที่เป็นลูกจ้างของตน เนื่องจากกว่าจะเกิดโรคแรงงานส่วนใหญ่จะมีการย้ายการทำงานไปแล้ว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจริงจังในการแก้ปัญหานี้

(สำนักข่าวไทย, 10-5-2555) "Times New Roman"">

แรงงานบ่นอุบ ค่าจ้าง 300 บาทได้จริง แต่เงื่อนไขทำงานเปลี่ยน

ที่โรงแรมสยามซิตี้ มูลนิธิฟรีดริค เอแบรท์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย จัดโครงการเสวนาเรื่อง "นโยบายค่าจ้างที่เป็นธรรม แนวคิดและประสบการณ์ของยุโรปและไทย" โดย Dr.Thorsten Shulten นักวิจัยจากสถาบันวิจัยเศรษฐศาสตร์สังคมประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ประสบการณ์ในประเทศยุโรปเกี่ยวกับการขึ้นแรงงานนั้นเกิดใน 2 รูปแบบ คือในเชิงการใช้รูปแบบกฎหมายและการตกลงร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง กระทั่งการเจรจาแบบไตรภาคีคือนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของสหภาพแรงงาน ที่ใช้ต่อรองกับนายจ้าง โดยที่คำนึงในผลิตภาพของผลิตภัณฑ์ อีกทั้งกลไกของรัฐสภาก็ควรจะมีบทบาทในการตรวจสอบในการติดตามเรื่องความเป็น ธรรมของค่าแรงด้วย

ส่วนในมุมมองจากสังคมไทยนั้น ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการพูดคุยกันเรื่องค่าจ้าง 300 บาท ที่รัฐบาลมีนโยบายการปรับไปเมื่อเร็วๆนี้นั้น ตัวแทนของกลุ่มสหภาพแรงงานในภาคต่างๆ ทั้งภาคยานยนต์ ไฟฟ้า สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ฯลฯ ร่วมสรุปว่า แม้จะมีการเพิ่มค่าจ้างต่อวันจริงๆ แต่สวัสดิการอื่นกลับโดนลดลงจากเดิม ในรูปแบบต่างๆ หรือในส่วนของผู้ที่มีรายได้เกิน 300 บาท ต่อวันอาจจะมีการใช้วิธีปรับตามขั้นบันได ตามฐานเงินเดือนซ่างแม้จะมีรายๆได้เพิ่มจริงแต่ก็ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ เศรษฐกิจที่พบเจอ

นายชาลี ลอยสูง คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า ตั้งแต่มีการปรับขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน ตามนโยบายของรัฐบาล เมื่อ 1 เมษายนที่ผ่านมา มี 73 กรณีที่ร้องเรียนเข้ามาด้วยความไม่เป็นธรรม โดยส่วนใหญ่ระบุว่ามีการขึ้นเงินเดือนจริง แต่เป็นไปในรูปแบบการนำสวัสดิการมารวมกับค่าจ้าง300บาท ซึ่งมีจำนวนประมาณร้อยละ 300 จากกรณีทั้งหมด ส่วนที่ไม่ปรับเลยที่ร้องเรียนมามีประมาณ 12 ราย ซึ่งก็เป็นธุรกิจที่หลากหลาย ไม่ได้ยึดติดกับอุตสาหกรรมอาทิ บริษัทผลิตจิวเวอรี่ ร้านอาหาร นอกจากนี้ยังมีการขึ้นค่าแรงให้จริง แต่ปรับวิธีการทำงานใหม่ อาทิ แต่เดิมใช้เหมาจ่าย แต่มีการจ่ายเป็นรายวัน การจ้างเป็นรายเดือนหรือรายวัน กระทั่งมีเงื่อนไขการทำงานที่ต่างไปจากเดิม หรือบางกรณีแรงงานอยากจะบอกข้อมูลแต่ก็กลัวจะตกงาน จึงต้องทนรับการเอาเปรียบต่อไป

นายพอพันธ์ อุยยานนท์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า ถึงเศรษฐกิจจะโต แต่ยังไม่มีอะไรการันตีว่าผลกำไรที่บริษัทได้จะถูกส่งมายังแรงงาน ซึ่งนั้นก็จะเป็นหนึ่งในสาเหตุของความเหลื่อมล้ำทางสังคม ตนมองว่ามีปัญหาโครงสร้างหลักๆ ที่ต้องให้ความสำคัญคือ 1.การกำหนดชั่วโมงของการทำงานที่บางบริษัททำงานมากกว่า 8 ชั่วโมง ซึ่งมากเกินไปและประสิทธิภาพการผลิตไม่สัมพันธ์กับค่าจ้าง 2.ทัศนคติของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมักถูกกว่าการช่วยเหลือเป็นไปในแนวทางการรับบริจาค แต่ไม่การันตีถึงความเข้มแข็งในการจ้าง ทั้งที่สำคัญแม้เศรษฐกิจจะโตแต่ถ้าสวัสดิภาพแรงงานไม่ขยับตามก็จะเป็นการ เติบโตทางเศรษฐกิจแบบไม่มีคุณภาพ

(เนชั่นทันข่าว, 11-5-2555) "Times New Roman"">

เหยื่อแรงงาน รง.รองเท้าบุรีรัมย์ถูกลอยแพ ได้เงินชดเชยแล้ว 5.8 ล้าน

 นายพันธ์ศักดิ์ ศรีนุชศาสตร์ สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยถึงความคืบหน้า กรณีแรงงานกว่า 180 คน ที่ได้รับผลกระทบจาก บริษัท บุรีรัมย์ แพน ฟุตแวร์ จำกัด สาขา อ.ลำปลายมาศ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนรองเท้าได้ปิดกิจการ เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา
      
ล่าสุดทางสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ดำเนินการติดตามเร่งรัดเงินชด เชยและเงินค่าจ้างค้างจ่าย จากทางโรงงานให้กับแรงงานที่มีอายุงานตั้งแต่ 120 วันขึ้นไป ให้ได้รับเงินตามที่กฎหมายกำหนดครบทุกรายแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 5 ล้าน 8 แสนบาท
      
พร้อมกันนี้ยังได้ประสานงานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานในพื้นที่ รวมทั้งสถานประกอบการ เพื่อจัดหาตำแหน่งงานว่างช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับแรงงานกลุ่มดัง กล่าวด้วย
      
หากแรงงานรายใดต้องการฝึกฝีมือในด้านต่างๆ ตามความถนัดก็จะประสานไปยังศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อเข้าทำการฝึกทักษะฝีมือฟรีโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเพื่อนำความรู้ไปประกอบ อาชีพอิสระ และเข้าสู่ระบบการจ้างงานในโรงงานต่างๆ เพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนให้กับแรงงานที่ถูกเลิกจ้างด้วยนายพันธ์ศักดิ์ กล่าว

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์ 12-5-2555) mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท