Skip to main content
sharethis

พนง.มหา'ลัยร้อง ศธ.ขอขึ้นเงินเดือน 


เมื่อวันที่ 6 ก.ค. นายสุมิตร สุวรรณ ประธานเครือข่ายพนักงานมหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา กล่าวระหว่างการเสวนาวิชาการเรื่อง"การระดมความคิดเพื่อหาแนวปฏิบัติที่เป็น ธรรมต่อพนักงานมหาวิทยาลัย" ตอนหนึ่งระบุว่า เครือข่ายฯ ได้ระดมความคิดเห็นพนักงานมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก เพื่อเสนอแนวทางปฏิบัติหรือเกณฑ์กลาง ในการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัย 5 ด้าน

นายสุมิตรกล่าวว่า 1.ด้าน สวัสดิการและผลประโยชน์เกื้อ กูล ควรได้รับไม่น้อยกว่าข้าราช การ โดยเฉพาะค่ารักษาพยาบาลของบิดา มารดา คู่สมรสและบุตร, กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กอง ทุนสวัสดิภาพบุคลากร 2.โครงสร้าง ค่าตอบแทน/อัตราเงินเดือนแรกบรรจุ โดย 2 ปีแรก ให้จ้างพนักงานสายวิชาการไม่ต่ำกว่า 1.5 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ, สายสนับสนุนวิชาการไม่ต่ำกว่า 1.3 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ ระยะ 2 ปีถัดมา สายวิชาการได้ในอัตราไม่ตำกว่า 1.6 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ, สายสนับสนุนได้ไม่ต่ำกว่า 1.4 เท่าของเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ 3.การได้รับเงินประจำตำแหน่ง 4.การออกจากงาน เมื่อพนักงานผ่านการทดลองงาน 1 ปี ให้สัญญาต่อไปจนถึง 60 ปี และให้ยกเลิกสัญญาจ้างได้ถ้าไม่ผ่านการประเมิน และ 5.การมีส่วนร่วมในการบริหาร

"ที่ผ่านมาทางเครือข่ายฯ เคยทำเรื่องเสนอปัญหาต่อนายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ และได้รับการตอบรับโดยมอบหมายให้ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเข้ามาช่วยประสานแก้ไข โดยทางเครือข่ายฯ คาดหวังจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีขึ้น แต่หากยังไม่มีอะไรคืบหน้าก็จะยื่นหนังสือถึง รมว.ศึกษาธิการอีกครั้ง รวมทั้งจะยื่นหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีให้พิจารณาด้วย" ประธานเครือข่ายพนักงาน มหาวิทยาลัยในสถาบันอุดมศึกษา กล่าว

นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขา ธิการคณะกรรมการการอุดม ศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า ข้อเสนอของทางเครือข่ายฯ มีความเป็นไปได้ในหลายเรื่องที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จะช่วยผลักดันให้ได้ โดยเฉพาะแนวปฏิบัติหรือเกณฑ์กลางของพนักงานมหาวิทยาลัยมีความเป็นไปได้สูง เพราะเชื่อว่าผู้บริหารมหาวิทยาลัยต่างๆ ต้องการที่จะทำมาตรฐานกลางขึ้นมาอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องของอัตราเงินเดือนของพนักงานราชการ การประเมินผลการปฏิบัติ การปรับเงินเดือน อย่างไรก็ตาม หากมีมาตรฐานกลางขึ้นมา ความเหลื่อมล้ำของพนักงานมหาวิทยาลัยในแต่ละแห่งจะลดน้อยลง.

(ไทยโพสต์, 7-7-2555)

 

โวย พอช.ขวางแรงงานซื้อบ้าน-ที่ดิน

นายณรงค์  เพ็ชรประเสริฐ  ที่ปรึกษาสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคงแรงงานสังคมเพื่อน จำกัด เปิดเผยว่าสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ระดับจังหวัดปราจีนบุรีในเขตอุตสาหกรรมกบินบุรี 304 กีดกันการปล่อยสินเชื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มออมทรัพย์ของแรงงานที่นำเสนอ โครงการขอสินเชื่อจัดตั้งหมู่บ้านแรงงานด้วยการออมทรัพย์จัดซื้อที่ดินเป็น ของตัวเอง และขอสินเชื่อสนับสนุนที่จะได้มาซึ่งการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตน เอง

ขณะที่แนวคิดใหม่ที่เป็นโครงการนำร่องของกลุ่มแรงงาน 71 ครอบครัว นำเสนอต่อ พอช. คือ ทางกลุ่มสามารถออมเงินได้ครอบครัวละ 3 หมื่นบาทโดยทางกลุ่มสามารถจัดซื้อที่ดินได้แล้ว15 ไร่  จัดซื้อได้ราคาไร่ละ 1.4 แสนบาท หรือ ตารางวาละ 350 บาท โดยสมาชิกสหกรณ์ในกลุ่มคนตกลงร่วมกันแบ่งการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินคนละ 50 ตารางวาเท่าๆกันโดยเสนอขอสินเชื่อ พอช. จำนวน 19 ล้านบาท หรือเฉลี่ยครัวเรือนละ 3 แสนบาท เพื่อมาก่อสร้างบ้านระยะเวลาผ่อนชำระ 10 ปี

นายณรงค์ กล่าวว่าทาง พอช. ระดับจังหวัดพยายามบังคับให้กลุ่มแรงงานไปเช่าที่ดินของราชพัสดุเป็นเวลา 30 ปี ซึ่งแนวคิดดังกล่าวไม่มีหลักประกันได้ว่าเมื่อเช่าที่ดินรัฐสร้างบ้านไปแล้ว ครบสัญญา 30 ปี ลูกหลานของกลุ่มแรงงานจะยังสามารถอยู่อาศัยในบ้านหลังดังกล่าวหรือโดนเวนคืน หรือไม่

ทั้งนี้ทาง พอช.ได้บังคับให้ทางกลุ่มแรงงานจัดสรรที่อยู่อาศัยแบบบ้านมั่นคง คือ หนึ่งครัวเรือนไม่ควรมีบ้านใหญ่กว่า 25 ตารางวา ไม่ควรมีกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง แต่ควรเช่าที่ดินรัฐ 30 ปีสร้างบ้าน เหมือนกับคนจนเมืองในพื้นที่ชุมชนแออัด

นายณรงค์ กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวอยากเรียกร้องให้ผู้บริหาร หรือ บอร์ด พอช. ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการจัดสรรที่อยู่อาศัยให้กับชาวบ้านใหม่ทั้งใน ระดับโครงสร้าง องค์กร พอช.  เพราะการจัดสรรที่อยู่อาศัยรูปแบบใหม่ต้องตอบสนองวิถีชีวิต อาชีพ การรวมกลุ่มเพื่อสร้างความเข้มแข็งในการต่อรอง และการเข้าถึงกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของตนเองด้วย

อยากให้ทาง พอช.เข้าใจวิถีชีวิตของแรงงานที่ส่วนใหญ่ต้องเช่าบ้านอยู่ใกล้ๆโรงงาน เงินเดือนค่าโอทีที่ได้มาหมดไปกับค่าเช่าบ้านจนแทบไม่เหลือเงิน แต่หากมีการรวมกลุ่มเป็นชุมชนเป็นหมู่บ้านแรงงานจะได้ช่วยเสริมสร้างความ เข้มแข็งและอาชีพเสริมขึ้นได้ภายในชุมชนนายณรงค์ กล่าว

(โพสต์ทูเดย์, 8-7-2555)

จังหวัดแพร่ จัดสำรวจผลกระทบต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล ไตรมาส 3

นางสาวรุ่งฤดี พัฒนชัยวิทย์ สถิติจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ ให้ความร่วมมือกับกระทรวงแรงงาน ดำเนินการสำรวจ ผลกระทบต่อการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 เพื่อให้มีข้อมูลสำหรับใช้วิเคราะห์ และประเมินผลตามนโยบายของรัฐบาล เรื่อง การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแรงงานในแต่ละจังหวัด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการ และการวางแผนกำหนดนโยบายบริหารด้านค่าจ้าง และค่าตอบแทนแรงงาน และใช้เป็นข้อมูลสำหรับการกำกับ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของลูกจ้าง ให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ตลอดจนใช้ค่าจ้าง และค่าตอบแทนแรงงานเป็นข้อมูลประกอบการช่วยเหลือแก่เจ้าของสถานประกอบการ และแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ

สำหรับจังหวัดแพร่ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานสถิติจังหวัดแพร่ จะทำการสัมภาษณ์ประชากรอายุ 15 ปี ขึ้นไป ซึ่งในสัปดาห์แห่งการสำรวจเป็นผู้มีงานทำที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนส่วนบุคคล และครัวเรือนกลุ่มบุคคลประเภทคนงานในจังหวัดแพร่ ที่มีสถานภาพการทำงานเป็นนายจ้าง และลุกจ้างเอกชนเท่านั้น ระหว่างวันที่ 1-12 ของเดือนกรกฎาคม สิงหาคม และกันยายน พ.ศ. 2555

สำนักงานสถิติจังหวัดแพร่ จึงขอให้ครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่างในการสำรวจ โปรดตอบสัมภาษณ์ตามความเป็นจริง หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานสถิติจังหวัดแพร่ โทรศัพท์ 054-511-234 หรือขอตรวจดูบัตรประจำตัวของเจ้าหน้าที่

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 8-7-2555)

ประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนมั่นใจระบบบริการ รักษา มะเร็ง

8 ก.ค. 55 - นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม เปิดเผยว่า สำนักประกันสังคม ให้ความคุมครองการรักษาพยาบาลแก่ผู้ประกันตนครอบคลุมทุกโรค รวมถึงโรคมะเร็ง โดยผู้ประกันตนที่เจ็บป่วยเป็นโรคมะเร็งจะได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐาน การรักษาของราชวิทยาลัยภายใต้การกำกับดูแลของแพทยสภา หากสถานพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิไม่มีศักยภาพในการรักษาพยาบาล ทางสำนักงานฯ มีกลไกในการกำกับตรวจสอบคุณภาพการรักษาของสถานพยาบาลอย่างเข็มงวด โดยคณะที่ปรึกษาทางการแพทย์ และการพยาบาล และมีบทลงโทษสำหรับสถานพยาบาลที่ให้การรักษาผู้ประกันตนไม่ได้ตามมาตรฐาน หรือปฏิเสธการรักษาผู้ประกันตน ตั้งแต่ตักเตือน  ลดศักยภาพ จนถึงขั้นยกเลิกสัญญา

หากกรณีสถานพยาบาลให้การรักษาผู้ประกันตนไม่เป็นไปตามมาตรฐานทางการ แพทย์ สำนักงานฯ จะส่งเรื่องให้แพทยสภาดำเนินการ นอกจากนี้สำนักงานฯ ยังมีระบบการชดเชยค่ารักษาพยาบาล เฉพาะสำหรับโรคมะเร็ง โดยให้สถานพยาบาลขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนที่ป่วย เป็นโรคมะเร็ง เพื่อให้ผู้ประกันตนได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นประโยชน์ ในการติดตามข้อมูลการรักษาพยาบาลของผู้ประกันตน ดังนั้นขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจ ในระบบบริการทางการแพทย์ของประกันสังคมได้ว่าไม่ด้อยไปกว่าระบบการรักษา พยาบาลของกองทุนประกันสุขภาพ หากมีปัญหาข้อสงสัยสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง และทุกจังหวัด โทร 1506 ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

(เดลินิวส์, 8-7-2555)

ส.ป.ก.ถกแก้ขาดแรงงานเกษตร

กระทรวงเกษตรฯ - นายวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เปิดเผยว่า ส.ป.ก.ได้ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดงานชุมนุมเครือข่ายเกษตรกรรุ่นใหม่ ระหว่างวันที่ 12-14 ก.ค.นี้ ที่ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพบางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจและภัยน้ำท่วมในปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมมาก พบปัญหาว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรมีจำนวนลดน้อยลง เหลือเพียงร้อยละ 40 และในอนาคตอาจเหลือเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น

เกษตรกรส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงวัย มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 45-50 ปี ทำให้เกิดปัญหาขาดแรงงานเกษตรกรวัยหนุ่มสาว ดังนั้นต้องเสริมสร้างความมั่นคงด้านเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่สนใจก้าวสู่อาชีพเกษตรกรมากขึ้น

(ข่าวสด, 9-7-2555)

ครม.เตรียมพิจารณาปรับขึ้นค่าครองชีพรัฐวิสาหกิจให้ถึง 15,000 บาท

8 ก.ค. 55 - รายงานข่าวแจ้งว่า  กระทรวงแรงงานเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 10 กรกฎาคม 2555  พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ (รสก.) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครส.) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2555 เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ต้องการให้ประชาชนมีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพตามภาวะเศรษฐกิจค่าครองชีพ แพง  และเพื่อให้เท่าเทียมกับราชการได้ปรับเพิ่มเบี้ยค่าครองชีพไปก่อนหน้านั้น แล้ว

ทั้งนี้ การจ่ายเบี้ยค่าครองชีพให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิก จ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของราชการโดยอนุโลม โดยให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถดำเนินการเมื่อคณะกรรมการพิจารณาเห็นชอบ ด้วยการใช้เงินงบประมาณของรัฐวิสาหกิจ คาดว่าจะทำให้รัฐวิสาหกิจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นรวมประมาณ 746.88 ล้านบาทต่อปี แต่ยังไม่นับรวมกรณีผู้มีเงินเดือนไม่ถึง 9,000 บาทต่อเดือน เมื่อรัฐวิสาหกิจต้องนำส่งรายได้เข้าคลังในอัตราร้อยละ 40 จะทำให้เงินนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจลดลง 298.75 ล้านบาท

ปัจจุบัน พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดมีจำนวน 271,762 คน แบ่งเป็นลูกจ้างบรรจุวุฒิปริญญาตรีและมีค่าจ้างต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน จำนวน 31,224 คน หากปรับเพิ่มค่าครองชีพจะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 62,24 ล้านบาทต่อเดือน ขณะที่พนักงานและลูกจ้างวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรีและเงินเดือนไม่ถึง 9,000 บาท มีจำนวน 21,571 คน จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 21.84 ล้านบาทต่อเดือน

(สำนักข่าวไทย, 9-7-2555)

สศค.จับตาค่าแรง 300 เพิ่มยอดคนว่างงาน

9 ก.ค. 55 - นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ขณะนี้ สศค. มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาท จะส่งผลกระทบทำให้อัตราการว่างงานขยายตัวขึ้น จึงได้สั่งการให้ทีมคณะทำงานของ สศค.เฝ้าจับตาเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม จากการติดตามดัชนีการว่างงานในเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่ายังมีข้อมูลที่ไม่ชัดเจน โดยในส่วนของภาคก่อสร้าง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องใช้แรงงานขั้นต่ำวันละ 300 บาทค่อนข้างมาก ในเดือน เม.ย.55 มีอัตราการว่างเพิ่มขึ้นแล้วประมาณ 10,000 ราย แต่ก็ยังไม่สามารถระบุได้ว่ามาจากสาเหตุของการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ หรือไม่ ทาง สศค.จึงต้องขอเวลาในการเฝ้าติดตามสถานการณ์เพื่อความชัดเจน อีกประมาณ 1-2 เดือน จึงจะสามารถระบุได้ว่าการปรับขึ้นค่าจ้างงานแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท กระทบต่ออัตราการว่างงานหรือไม่

ขณะนี้ข้อมูลที่เรามีอยู่ยังไม่ชัดเจนพอที่จะบอกได้ว่า การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างแรงงานวันละ 300 บาท ส่งผลกระทบทำให้เกิดอัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นหรือไม่ โดยจากตัวเลขว่างงานเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา พบว่าภาคการก่อสร้างที่ต้องใช้แรงงานขั้นต่ำเยอะมีการว่างงานเพิ่มขึ้นแล้ว ประมาณหมื่นราย แต่ก็ยังบอกไม่ได้ว่าสาเหตุการเลิกจ้างเพราะการปรับขึ้นค่าจ้างหรือไม่ เรากำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดอยู่ ขอเวลาอีกประมาณ 1-2 เดือนน่าจะมีความชัดเจน

นายสมชัย กล่าวต่อว่า ในวันที่ 12 ก.ค.นี้ กระทรวงการคลังจะเป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาร่วมระหว่างธนาคารเพื่อการพัฒนา แห่งเอเชีย (เอดีบี) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ภายใต้หัวข้อ ทางเดินสู่เสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจโลก โดยจะมีผู้นำองค์กรทั้งสอง คือ นายฮารุฮิโกะ คุโรดะ ประธานเอดีบี และนางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ เข้าร่วมการเสวนา ทั้งนี้ การสัมมนาดังกล่าวถือเป็นครั้งแรกที่ผู้นำองค์กรทั้งสองจะได้มีโอกาสแลก เปลี่ยนความคิดเห็นในการกำหนดบทบาทของเอเชียต่อเศรษฐกิจโลก

นอกจากนั้น การสัมมนาดังกล่าวยังมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐกิจโลกเข้ามาร่วมอีกมากกว่า 20 คน จากธนาคารกลางของประเทศต่างๆ รวมถึงกระทรวงการคลัง และองค์กรระหว่างประเทศที่สำคัญ โดยจะมีการเสวนาใน 3 หัวข้อ ประกอบด้วย 1.เสถียรภาพและการเติบโตของเศรษฐกิจที่ทั่วถึง 2.การบริหารความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ และ 3.แนวทางการป้องกันและความร่วมมือในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ.

(ไทยรัฐ, 9-7-2555)

พนักงานบริษัทไทยเรย่อน อ่างทอง ยังคงปักหลักประท้วง ขอขึ้นค่าแรง

อ่างทอง 10 ก.ค.- พนักงานบริษัทไทยเรย่อนกว่า 200 คน ชุมนุมประท้วงภายในบริษัท เพื่อขอขึ้นค่าแรง ตั้งแต่ช่วงเย็นที่ผ่านมา โดยมีการส่งตัวแทนไปเจรจากับผู้บริหารบริษัท โดยมีเจ้าหน้าที่สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน รวมทั้งตำรวจร่วมเป็นคนกลาง แต่การเจรจาไม่เป็นผล พนักงานจึงปิดอาคารทำการ ไม่ยอมให้เจ้าหน้าที่ออกมาภายนอก ทำให้ทั้งหมดติดอยู่ภายบนชั้น 2

พนักงานคนหนึ่งเปิดเผยว่า เหตุประท้วงเกิดจากพนักงานไม่พอใจที่บริษัทปรับขึ้นเงินเดือนให้พนักงานที่ เข้ามาใหม่ตามค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท/วัน แต่พนักงานที่เข้ามาทำก่อนไม่ได้รับการปรับเพิ่ม

(สำนักข่าวไทย, 10-7-2555)

รัฐวิสาหกิจเฮ ป.ตรีขึ้นหมื่นห้า เงินเดือนสูงกว่า 5 หมื่นแห้วต่อ ครม.ไม่ใจอ่อน

เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 55 ที่ผ่านมา น.ส.ศันสนีย์ นาคพงศ์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ รวม 52,815 คน จากจำนวนลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่มีอยู่ทั้งสิ้น 271,762 คน เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่ต้องการให้ความช่วยเหลือกลุ่ม ผู้มีรายได้น้อยเพื่อให้มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีพตามภาวะเศรษฐกิจที่ปรับ สูงขึ้น

โดยลูกจ้างที่ได้รับเงินเพิ่มในลักษณะค่า ครองชีพชั่วคราวในครั้งนี้ประกอบด้วย 1. ลูกจ้างที่บรรจุวุฒิปริญญาตรี และมีค่าจ้างต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท จะได้รับค่าจ้างเป็นเดือนละ 15,000 บาท มีจำนวน 31,224 คน ทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 62.23 ล้านบาท 2. ลูกจ้างที่บรรจุในตำแหน่งที่ใช้วุฒิการศึกษาต่ำกว่าระดับปริญญาตรีและมีค่า จ้างต่ำกว่าเดือนละ 9,000 บาท จะได้รับค่าจ้างเป็นเดือนละ 9,000 บาท มีจำนวน 21,591 คน มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 21.84 ล้านบาท รวมแล้วจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเดือนละ 84.07 ล้านบาท

ทั้งนี้  มติ ครม.ให้ใช้เงินงบประมาณของแต่ละรัฐวิสาหกิจเอง และกำหนดว่าการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพครั้งนี้ ถือเป็นการจ่ายชั่วคราว ไม่ถือเป็นค่าจ้าง รวมทั้งไม่เป็นฐานในการคำนวณสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่ลูกจ้าง และหาก ครม.มีมติยกเลิกการจ่ายเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวของทางราชการ ก็ให้รัฐวิสาหกิจยกเลิกการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวแก่ลูกจ้างด้วย

สำหรับกรณีที่มีพนักงานรัฐวิสาหกิจเรียกร้องให้ปรับโครงสร้างเงินในกรณี พนักงานมีเงินเดือนสูงกว่า 50,000 บาทต่อเดือนด้วยนั้น นายหาญส์ หิมะทองคำ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม.เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 (ฝ่ายเศรษฐกิจ) ที่มีนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เป็นประธาน ที่ว่า เห็นควรยืนยันตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 28 มี.ค.2554 ที่ให้ปรับค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ 65 แห่ง ในอัตราไม่เกิน 5% เท่ากันทุกตำแหน่ง ซึ่งมีผลไปแล้วตั้งแต่ 1 เม.ย.2554 เป็นต้นมา ภายใต้เงื่อนไขว่า เมื่อมีการปรับอัตราค่าจ้างใหม่แล้ว จะต้องมีค่าจ้างเดิมรวมกับที่ปรับใหม่ไม่เกิน 50,000 บาท ขณะเดียวกัน ควรนำผลการศึกษาการปรับโครงสร้างเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ ทั้งระบบมาประกอบการพิจารณาด้วย

โดยการเข้า ครม.ในครั้งนี้ เกิดขึ้นเนื่องจากมีลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ 300 คน ยื่นหนังสือต่อกระทรวงแรงงานให้เสนอ ครม.ทบทวนมติ ครม.ใหม่ แต่ภายหลังได้ทบทวนแล้ว คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 เห็นว่าการปรับค่าจ้างให้กับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจมีเจตนารมณ์ในการช่วยเหลือ ลูกจ้างที่มีเงินเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท ขณะที่ผู้มีรายได้เกินกว่าเดือนละ 50,000 บาทถือว่าเป็นผู้มีรายได้สูง สามารถดำรงชีพได้โดยภาครัฐไม่ต้องช่วยเหลือ นอกจากนี้ การขึ้นเงินเดือนให้ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจทั้งหมด จะสร้างภาระต่องบประมาณของภาครัฐในระดับสูง

โดยจากข้อมูลพื้นฐานของรัฐวิสาหกิจลูกจ้างทั้งหมด 271,726 คน แบ่งเป็นลูกจ้างที่มีเงินเดือนไม่เกิน 50,000 บาท จำนวน 203,284 คน และลูกจ้างที่มีเงินเดือนเกิน 50,000 บาท จำนวน 68,442 คน คิดเป็น 74.81% และ 25.19% ของลูกจ้างทั้งหมดตามลำดับ

คณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีความเห็นด้วยว่า การพิจารณาปรับขึ้นเงินเดือนลูกจ้างรัฐวิสาหกิจตามตำแหน่งอาจไม่เหมาะสม เนื่องจากมีความแตกต่างของโครงสร้างและฐานเงินเดือนของแต่ละองค์กร ดังนั้น การใช้ระดับเงินเดือนเป็นเกณฑ์การปรับอัตราค่าจ้างจึงมีความเหมาะสมแล้ว อีกทั้งกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพิจารณาหาแนวทางการปรับ ปรุงโครงสร้างเงินเดือนพนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจในภาพรวมให้เหมาะสม และอยู่ระหว่างรอผลการศึกษาของคณะทำงานพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือน พนักงานและลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

ทั้งนี้  มีข้อมูลพื้นฐานที่ได้สำรวจจากรัฐวิสาหกิจ 57 แห่ง จาก 67 แห่ง ระบุว่า การขึ้นเงินเดือนให้กับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น 5% โดยกลุ่มที่มีเงินเดือนไม่เกิน 50,000 บาท จะทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ 2555-2557 จำนวน 3,265 ล้านบาท 3,897 ล้านบาท และ 3,854 ล้านบาท ตามลำดับ และถ้าปรับขึ้นให้กับผู้มีเงินเดือนตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในปีงบ 2555-2557 จำนวน 3,684 ล้านบาท, 4,487 ล้านบาท และ 3,926 ล้านบาท ตามลำดับ.

(ไทยรัฐ, 11-7-2555)

รมว.แรงงานยังย้ำส่งแรงงานตั้งท้อง 3 เดือนกลับประเทศไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงข่าวองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น)ขอให้กระทรวงแรงงาน ชี้แจงแนวคิดการส่งกลับแรงงานต่างด้าวที่ตั้งครรภ์ 3 เดือน กลับประเทศต้นทาง ว่า ไม่มีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้น เป็นเพียงการสอบถามแนวความคิด ซึ่งได้ยืนยันไปว่า เรื่องนี้เป็นเพียงแนวคิดที่ต้องการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย ไม่ให้เพิ่มจำนวนจนส่งผลกระทบต่อความมั่นคง เชื่อว่าหากทุกฝ่ายร่วมกันออกมาตรการที่รัดกุมและชัดเจนจะสามารถแก้ปัญหาการ ค้ามนุษย์ในประเทศไทยได้ ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่การละเมิดสิทธิมนุษยชนตามที่องค์กรอิสระ(เอ็นจีโอ)กล่าว อ้าง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ประเด็นที่มีการทำหนังสือชี้แจงไปยังสหประชาชาติ เป็นช่วงที่ประเทศสหรัฐอเมริกา จะจัดอันดับประเทศที่ถูกจับตามองว่ามีการค้ามนุษย์ ใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับในรูปแบบที่เลวร้าย จนส่งผลให้ไทยไม่ตกไปอยู่ในอันดับที่ 3 อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการให้กรมการสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)และกรมการจัดหางาน (กกจ.) เร่งศึกษาเกณฑ์การจัดอันดับ ดังกล่าว เพื่อปฏิบัติได้ถูกต้อง และไม่ถูกกล่าวหาว่ามีการค้ามนุษย์ในประเทศไทย

(สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์, 13-7-2555)

เล็งนำเข้าแรงงานแอฟริกาแทนแรงงานพม่า ก่อสร้าง-ประมง-สิ่งทอ

 
ธุรกิจไทยเล็งนำเข้าแรงงานผิวดำจากทวีป แอฟริกา แทนพม่า กัมพูชา ลาว ที่เริ่มทยอยกลับบ้าน อุตสาหกรรมประมงอ่วมหนัก เพราะใช้แรงงานต่างด้าวมาก กว่าครึ่ง ขณะที่อุตฯก่อสร้างโอดเดือดร้อนไม่แพ้กัน หลาย โรงงานแก้ปัญหาด้วยการย้าย ฐานการผลิต บิ๊กฯอาหารทะเลแนะแอฟริกาทำเลทองทั้งด้าน แรงงานและการลงทุนถือเป็น เสือตัวใหม่ต่อจากอาเซียน

แหล่งข่าวในกลุ่มธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ เปิดเผย สยามธุรกิจว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่กำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤติแรง งาน เนื่องจากใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างพม่า ลาว กัมพูชา เป็นหลัก แต่ปัจจุบันแรงงานเหล่านี้เริ่มทะยอยกลับบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะแรงงานชาวพม่า ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

แหล่งข่าวคนเดิมกล่าวต่อไปว่า หลายบริษัทแก้ปัญหาด้วยการนำเข้าแรงงานจากประเทศอื่นที่อยู่ไกลออกไป เช่น แรงงานจากประเทศอินโดนีเซีย แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณงานที่มีมากกว่าคน จึงมองหาทำเลอื่นนอกภูมิภาค โดยมองไปที่กลุ่มประเทศแอฟริกา หรือแรงงานผิวดำ

"ก่อนหน้านี้เราเคยเดินทางไปสำรวจแรงงานในทวีปแอฟริกา พบว่ามีความสามารถไม่แพ้คนเอเชีย ที่สำคัญค่าแรงบ้านเขายังถูกกว่าบ้านเรามาก เพราะฉะนั้น เขาจึงอยากมาทำงานในเมืองไทย" แหล่งข่าว กล่าว

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันบริษัทยังไม่ได้เริ่มนำเข้าแรงงานดังกล่าว เนื่องจากภายหลังไปสำรวจพบว่า นอกจากแรงงงานแอฟริกาจะมีจำนวนมากแล้ว ธุรกิจก่อสร้างในภูมิภาคดังกล่าวก็กำลังเติบโต มีโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมากมาย บริษัทฯจึงคิดว่าแทนที่จะนำเข้าแค่แรงงาน ก็น่าจะเข้าไปลงทุนที่นั่นด้วย

"ตอนนี้เรากำลังศึกษากฎระเบียบการลงทุนว่าต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง แต่การนำเข้าแรงงานผิวดำยังคงไม่ล้มเลิก เพราะถึงอย่างไร ธุรกิจหลักของเราก็ยังอยู่ในเมืองไทย ถ้าแรงงานขาดแคลน เราก็คงต้องนำเข้าแรงงานจากแอฟริกาแทนแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างแน่ นอน"

ด้านนายธรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการ บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟร์เซ่น โปรดักส์ เปิดเผย ็สยามธุรกิจิ ว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานมีมานานพอสมควรแล้ว โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารทะเล โรงงานหลายแห่งเลือกใช้วิธีย้ายฐานการผลิตไปประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อใช้แรงงานในประเทศเหล่านั้น โดยส่วนตัวมองว่าการขึ้นค่าแรง 300 บาทต่อวัน น่าจะช่วยให้แรงงานต่างชาติสนใจเข้ามาทำงานบ้านเรามากขึ้น

"การที่บางบริษัทนำเข้าแรงงานผิวดำจากแอฟริกาถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเหล่านี้มีทักษะความสามารถ ความอดทน และขยันใช้ได้ สำหรับไทยยูเนี่ยนฯเราไม่ได้ใช้แรงงงานเหล่านี้ในเมืองไทย แต่เราก็มีโรงงานในทวีปแอฟริกา และใช้แรงงานเหล่านั้นอยู่แล้ว" นายธีรพงศ์ กล่าว

นายธีรพงศ์ยังกล่าวอีกว่า ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตต่อจากทวีปเอเชีย และอาเซียน เนื่องจากทรัพยากรและกำลังซื้อมีมาก เศรษฐกิจอยู่ในช่วงการขยายตัว การเข้าไปลงทุนในทวีปดังกล่าวถือว่าน่าสนใจมาก

สำหรับผลการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว ข้อมูล ณ วันที่ 19 ก.ค.2554 มีนายจ้างยื่นขอจดทะเบียน 164,474 รายจำนวนแรงงานต่างด้าวทั้งสิ้น 984,535 คนแยกเป็นแรงงานพม่า 643,095 คน กัมพูชา 238,586 คนและลาว 102,854 คน ปัจจุบันคาดว่าแรงงานต่างด้าวที่มาจดทะเบียนทั้งหมดกว่า 1 ล้านคนไม่นับรวมแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในไทยโดยผิดกฎหมายและลักลอบเข้ามาตาม แนวชายแดนไทย ซึ่งหน่วยงานราชการพยายามจับกุมส่งกลับประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยแรงงานต่างด้าวส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมประมง ก่อสร้าง และสิ่งทอ

(สยามธุรกิจ, 13-7-2555)

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net