Skip to main content
sharethis

กพอ.เห็นชอบยกร่างพรบ.พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา

เมื่อวันที่ 19 ส.ค.2555 รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ที่มีศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) เป็นประธาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีมติตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด โดยชุดแรกมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิสภา ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เป็นประธาน ยกร่างพ.ร.บ.พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.... จะเชิญตัวแทนจากเครือข่ายพนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณารายละเอียดต่าง ๆ ที่จะนำไปกำหนดไว้ในร่างพ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว โดยที่ประชุมให้คณะกรรมการฯ ไปดูด้วยว่ากฎหมายที่ออกมาเอื้อให้กับข้าราชการที่อยู่ในสถาบันอุดมศึกษาได้ ด้วยหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยาก ต้องมีกฎหมายหลายฉบับ เพราะขณะนี้ ข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษามีอยู่จำนวนไม่มาก และคิดว่าน่าจะน้อยลงเรื่อย ๆ

รศ.นพ.กำจร กล่าวต่อว่า ส่วนคณะกรรมการอีกชุด มีนายถนอม อินทรกำเนิด ผู้ทรงคุณวุฒิ ก.พ.อ. เป็นประธาน เพื่อศึกษาเรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการทั้งหมด โดยที่ผ่านมาพบว่ามีบางประเด็นที่ต้องแก้ไข อาทิ เดิมกำหนดให้ผู้ที่จะเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) จะต้องมีผลงานวิชาและผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทางวิชาการ เปลี่ยนเป็น ต้องมีผลงานวิชาหรือผลงานที่ตีพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือทางวิชาการ และมาเพิ่มว่าต้องเป็นผลงานที่มีผลกระทบทางสังคมด้วย ซึ่งเท่ากับว่าทำให้การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการยากขึ้นไปอีกเป็นต้น ดังนั้น ควรมีการยกเครื่องการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการใหม่ทั้งระบบ โดยมีเป้าหมายว่าระเบียบการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการใหม่ต้องทำให้คนสามารถ เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้เร็วขึ้น แต่ไม่ใช่ง่ายขึ้น รวมถึงให้ดูด้วยว่า จะนำผลงานสายรับใช้สังคมมาใช้เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการได้อย่างไร โดยทั้ง 2 ประเด็นคือ การยกร่าง พ.ร.บ.พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา และการแก้ไขระเบียบการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นเรื่องที่รัฐมนตรีว่าการศธ. สนับสนุนตั้งแต่แรก เพราะถือว่าเป็นเรื่องที่จะทำประโยชน์ให้กับบุคคลากรในสถาบันอุดมศึกษาในภาพ รวม

(เนชั่นทันข่าว, 20-8-2555)

คสรท.ระบุแรงงานกว่า 50% เป็นหนี้นอกระบบ

นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงภาระหนี้สินของกลุ่มผู้ใช้แรงงานในปัจจุบัน โดยยอมรับว่า ขณะนี้แรงงานในระบบกว่า 50% เป็นหนี้จากการกู้เงินนอกระบบมากที่สุด ซึ่งสาเหตุของการเป็นหนี้นอกระบบนั้น ส่วนหนึ่งมาจากรายได้ รวมถึงค่าจ้างของผู้ใช้แรงงานไม่สะท้อนกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเช่าบ้าน ซึ่งแรงงานก็คาดหวังว่าจะนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากนโยบายรัฐบาลมาชำระหนี้ เดิมที่มีอยู่ให้ลดลง แต่ก็ไม่สามารถทำได้  เพราะต้องนำเงินมาจ่ายค่าครองชีพ  จึงทำให้ต้องหันมาเป็นหนี้นอกระบบ ซึ่งถ้าแรงงานบางคนไม่มีเงินมาจ่ายหนี้ ก็ต้องลาออกจากงานเพื่อหนีหนี้ กลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาอาชญากรรมตามมา ดังนั้น จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้แรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการปรับขึ้นค่าจ้าง รวมถึงการดูแลราคาสินค้า นอกจากนี้ รัฐบาลควรออกมาตรการควบคุมราคาค่าเช่าบ้าน ห้องพัก หอพัก โดยอาจจะกำหนดเป็นราคากลางของห้องเช่า เพื่อให้เป็นธรรมกับผู้ใช้แรงงาน เพราะทุกวันนี้ผู้ประกอบการที่พัก ได้ขึ้นค่าเช่าโดยไม่คำนึงถึงรายได้ของผู้ใช้แรงงาน

(ไอเอ็นเอ็น, 20-8-2555)

อาชีวะ ฟุ้งพร้มรับอาเซียน เชื่อปี 56 เด็กแห่เรียนป.ตรี สายอาชีพ

อาชีวศึกษาจัดงานสถาปนาครบรอบ 71 ปี ศักดาย้ำอาชีวะต้องก้าวไปข้างหน้าเตรียมพร้อมรับเข้าอาเซียน ทั้งเน้นผลิตบุคลากรที่มีทักษะและฝีมือแรงงาน ยกระดับการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมทั้งจะเร่งสร้างความมีวินัย ความอดทน ฟุ้งเชื่อเมื่อเปิดป.ตรีสายปฏิบัติการในปี 56 จะมีคนสนใจเรียนอาชีวะมากขึ้น

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 20-8-2555)

พนง.ยาสูบได้เฮ คลังชง ครม.เพิ่มวันหยุดประจำปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุม ครม.วันที่ 21 ส.ค. กระทรวงการคลัง ขอความเห็นชอบการปรับเพิ่มจำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีสำหรับพนักงานของโรง งานยาสูบ (รยส.) ที่ทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จาก 10 วันทำงาน เป็น 13 วันทำงาน ตามมติของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ในคราวประชุมครั้งที่ 5/25554 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 เพื่อให้เป็นตามนัยพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 มาตรา 13 วรรคสาม ทั้งนี้ ให้ รยส. บริหารจัดการองค์กรภาพรวมโดยมิให้ผลกระทบต่อการผลิตยาสูบ ค่าใช้จ่ายองค์กร และคำนึงถึงฐานะทางการเงินเป็นสำคัญ ให้คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พิจารณาความเหมาะสมของจำนวนวันหยุด พักผ่อนประจำปี สำหรับพนักงานรัฐวิสาหกิจโดยรวม โดยเฉพาะพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอายุการทำงานตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป เพื่อให้รัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติเป็นหลักเกณฑ์เดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจโดย รวม.

(ไทยรัฐ, 20-8-2555)

ทูตอิสราเอลอำลาตำแหน่ง-"ปู"ขอบคุณช่วยสนับสนุนแรงงานไทย

วันที่ 20 ส.ค.  น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ต้อนรับนายอิตซ์ฮัก โซฮัม (Mr. Itzhak Shoham) เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย ที่เข้าเยี่ยมคารวะเพื่ออำลาเนื่องในโอกาสครบวาระการดำรงตำแหน่ง โอกาสนี้ เอกอัครราชทูตรัฐอิสราเอลประจำประเทศไทย กล่าวว่า ในช่วงดำรงตำแหน่งได้ผลักดันให้การจัดหาแรงงานไทยเพื่อไปทำงานในอิสราเอลถูก ต้องตามกฎหมาย และได้รับความยุติธรรม รวมทั้งดำเนินการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานในภาคเกษตรอิสราเอลตามความตกลงแรง งานไทย-อิสราเอล การจัดทำความตกลงการค้าไทย-อิสราเอล และการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงกลาโหมไทย-อิสราเอลว่าด้วยการ คุ้มครองข้อมูลและสิ่งอุปกรณ์ที่มีชั้นความลับร่วมกันด้วย

ขณะที่นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณที่อิสราเอลให้การสนับสนุนไทยในหลายสาขา อาทิ ด้านแรงงาน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหวังว่าการประชุม Working Group Dialoque (WGD) ไทย-อิสราเอล ครั้งที่ 7 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 4 ก.ย.นี้ จะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน และขยายความร่วมมือไปยังสาขาอื่นๆ ต่อไปในอนาคต

(ข่าวสด, 20-8-2555)

ครูฟิตเนสร้องก.แรงงาน แคลิฟอร์เนียว้าวไม่จ่ายค่าจ้าง

เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม ตัวแทนกลุ่มครูสอนฟิตเนสของศูนย์ฟิตเนส "แคลิฟอร์เนีย ว้าว" จาก 8 สาขาทั่วกรุงเทพฯ จำนวน 20 คน ได้เข้าร้องเรียนต่อสำนักคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน เพื่อขอความช่วยเหลือ กรณีบริษัทไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมาย
 
นายชยังกร ทับทิมทอง ครูสอนฟิตเนส สาขาเอสพลานาด กล่าวว่า บริษัทเริ่มจ่ายค่าจ้างล่าช้ามาตั้งแต่ต้นปี 2555 ล่าสุดปิดสาขาแล้ว 7 แห่ง เหลือเพียงเอสพลานาดที่ยังเปิดให้บริการ ทั้งนี้ บริษัทมีพนักงานเกือบ 1,000 คน ขณะที่มีสมาชิกทั่วประเทศประมาณ 170,000 คน แต่หลังจากบริษัทขาดสภาพคล่อง ทำให้พนักงานเกิดความไม่มั่นคง นอกจากจะค้างจ่ายค่าจ้างแล้ว ยังจะให้พนักงานลาออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชย
 
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดี กสร. กล่าวว่า กสร.เคยเชิญนายจ้างมาชี้แจงแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่มาตามนัด จึงจะเรียกมาชี้แจงอีกเป็นครั้งสุดท้าย หากไม่มาจะทำการวินิจฉัยข้อเท็จจริงเพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ หากนายจ้างไม่ยอมจ่ายค่าจ้างจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ จะเรียกนายจ้างมาพบและจะวินัจฉัยให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน

(มติชน, 21-8-2555)

ประกันสังคม เตรียมพร้อมใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด นายจ้างค้างชำระเงินสมทบแล้วไม่นำส่ง

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน เปิดเผย ต่อสื่อมวลชน กรณีนายจ้างติดค้างชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เหตุนายจ้างหักเงินสมทบในส่วนของนายจ้าง ผู้ประกันตนแล้วไม่นำส่ง สำนักงานประกันสังคม ซึ่งจากการประมวลผลข้อมูลหนี้ค้างชำระ ณ วันที่ 10 สิงหาคม 2555 พบหนี้ค้างชำระลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2555 คือจำนวนสถานประกอบการค้างชำระจำนวน 33,071 ราย จำนวนเงิน 4,047 ล้านบาท ลดลงเหลือ 32,385 ราย จำนวนเงิน 3,980 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้แยกตามสถานะของสถานประกอบการคือ สถานะ(A) นายจ้างยังประกอบกิจการอยู่เป็น จำนวน 18,412 ราย จำนวนเงิน 2,240 ล้านบาท สถานะ(S) หยุดกิจการไปแล้ว จำนวน 13,335 ราย จำนวนเงิน 1,660 ล้านบาท และสถานะ(C)เลิกกิจการกับกระทรวงพาณิชย์จำนวน 638 ราย จำนวนเงิน 78 ล้านบาท

ขณะนี้สำนักงานประกันสังคมได้มีแนวทางมาตรการดำเนินการกับนายจ้างที่ติด ค้างชำระหนี้ ตามขั้นตอน คือ แจ้งเตือนและเชิญพบ กรณีนายจ้างมาพบ จะได้รับหนังสือรับสภาพหนี้โดยมีหลักทรัพย์ หรือบุคคลค้ำประกัน หากผิดนัดไม่ชำระ 2-3 ครั้ว จะดำเนินการกับบุคคลหรือหลักทรัพย์ทันที หากในกรณีนายจ้างไม่มาพบตามหนังสือเชิญ สำนักงานประกันสังคมจะดำเนินคดีขัดคำสั่ง พนักงานเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้จะจัดส่ง รายชื่อนายจ้างชำระหนี้และประวัติไม่ดีให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฝ้าระวังและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยกัน ในกรณี ที่นายจ้างต้องการความช่วยเหลือทางด้านที่ปรึกษาทางการเงินและการลงทุน ทางสำนักงานประกันสังคมจะจัดส่งคณะทำงานเข้าช่วยเหลือ สำหรับนายจ้างที่มีเจตนาไม่ชำระเงิน หรือไม่ใส่ใจในข้อกฎหมายใดๆ เลยจะใช้มาตรการดำเนินการยึด อายัดและขายทอดตลาดหลักทรัพย์ และหากมีมูลหนี้สูงจะทำการฟ้องล้มละลาย สำหรับนายจ้าง ที่ปิดกิจการไปแล้ว หากสำนักงานประกันสังคมติดตามนายจ้างได้ก็จะดำเนินการเช่นเดียวกับสถาน ประกอบการ สถานะยังดำเนินกิจการอยู่หากไม่สามารถติดตามนายจ้างได้ หรือคดีหมดอายุความตามกฎหมายแล้วจะดำเนินการปรับปรุงค่าหนี้ทางบัญชี ให้เหลือเป็นหนี้จริงเท่านั้น

เลขาธิการฯ กล่าวต่อไปว่า สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่ โดยอยู่ระหว่างทำข้อตกลงเพื่อร่วมมือกับกรมสรรพกร ในการให้กรมสรรพากรรับชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมเพื่อให้นายจ้างได้ ตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสังคมโดยรวม ซึ่งผลการใช้มาตรการดังกล่าว ในปี 2556 จะดำเนินการใช้หนี้ค้างชำระลดลงได้เหลือ 2,000 ล้านบาท จากจำนวนหนี้ทั้งหมด 4,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ขอฝากนายจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคมอย่าเบียดบังซ่อนเร้นไม่ยอมจ่ายเงิน สมทบให้ลูกจ้าง หากสำนักงานประกันสังคมตรวจพบนายจ้างจะต้องจ่ายทั้งเงินสมทบพร้อมเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ยังไม่นำส่ง หรือส่วนที่ขาดอยู่จนครบ และถูกดำเนินคดีทางกฎหมาย ยังส่งผลกระทบต่อ ลูกจ้าง/ผู้ประกันตน หรือผู้ที่พบเห็นการกระทำดังกล่าว แจ้งข้อมูลเบาะแส ได้ที่สำนักงานประกันสังคม กรุงเทพมหานครพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง/จังหวัด/สาขา/ที่ท่านสะดวก

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน

สอบถามประกันสังคม โทร.1506 ให้บริการ 24 ชั่วโมง / www.sso.go.th

(บ้านเมือง, 21-8-2555)

ร.ร.พิจิตร ป่วนทั้ง จว.นโยบายปูป.ตรีหมื่นห้า ทำพิษ/ถูกครูพิเศษ-ภารโรงขอขึ้นค่าจ้าง

(21 ส.ค.55) นายชาติชาย เจียมศรีพงษ์ นายก อบจ.พิจิตร เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารโรงเรียนระดับประถม-มัธยม จำนวน 79 แห่ง ว่า ตามที่ อบจ.พิจิตร สนับสนุนงบประมาณปีละเกือบ 7 ล้านบาท ให้ผู้บริหารสถานศึกษานำไปจ้างครูสอนคอมพิวเตอร์ตามดุลยพินิจ และอำนาจที่เหมาะสม ซึ่งเป็นการอุดหนุนแบบจ่ายขาดไม่มีพันธะผูกพัน กับ อบจ.พิจิตร ผู้บริหารโรงเรียนต่างๆนำไปบริหารจัดการจ่ายเงินเดือนเป็นอัตราจ้างเดือนละ 8,300 บาท แต่ปรากฏว่า ด้วยนโยบายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐบาล ที่กำหนดว่า สิ้นปีนี้จะให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท จบปริญญาตรีจะต้องได้เงินเดือน 15,000 บาท จึงทำให้ครูจ้างสอนคอมพิวเตอร์ตามโรงเรียนต่างๆออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องของเงินเดือนๆละ 15,000 บาท

จนทำให้บรรดาผู้บริหารโรงเรียน รวมตัวกันมาประชุมปรึกษาหารือกับ คณะผู้บริหารของ อบจ.พิจิตร ซึ่งได้ข้อสรุปว่า อบจ.พิจิตร ไม่สามารถจะหาเงินจำนวนดังกล่าวมาจ่ายให้ได้ เนื่องจากภาระที่มีอยู่ก็หนักมากพออยู่แล้ว จึงให้คำแนะนำกับผู้บริหารของโรงเรียนต่างๆ ว่า หากต้องจ้างครูสอนคอมพิวเตอร์เหล่านั้นต่อแล้ว ไม่จ่ายตามนโยบายของรัฐบาล ก็อาจถูกฟ้องต่อศาลปกครองหรือถูกฟ้องร้องศาลแรงงาน ซึ่งความผิดคงไม่ตกต่อ อบจ.พิจิตร ที่เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ แต่ความผิดจะไปตกกับผู้บริหารของโรงเรียนต่างๆที่เป็นผู้ว่าจ้าง

นายชาติชาย บอกว่า ตนได้แจ้งต่อที่ประชุมผู้บริหารโรงเรียนว่า อบจ.พิจิตร ไม่สามารถจะจัดงบเพิ่มเติมให้ได้อีกแล้ว จึงไม่สามารถสนองนโยบายของรัฐบาลได้ เนื่องจากไม่มีเงินมากพอขนาดนั้น ดังนั้นถ้าครูที่มีอยู่ประสงค์จะรับจ้างสอนคอมพิวเตอร์ต่อไปก็ต้องทำสัญญา กันใหม่ว่า พึงพอใจกับเงินเดือนในอัตรา 8,300 บาท ไม่เช่นนั้นก็ต้องลดจำนวนครูผู้สอน เพื่อเอาเงินไปเพิ่มให้กับคนที่ว่าจ้างให้เป็นครู และต้องให้วิ่งรอกสอนคนละอย่างน้อย 2-3 โรงเรียน ซึ่งถ้าทำตามวิธีนี้ จะต้องใช้วิธีจับฉลากให้ออกเกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนครูที่มีอยู่

นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง ก็ยังได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นักการภารโรงที่จ้างในอัตราเงินเดือย 6,700 บาท/เดือน ก็เรียกร้องจะเอาเงินเดือนๆละ 9,000 บาท หรือวันละ300 บาทด้วย จึงทำให้โรงเรียนหลายแห่งขาดแคลนภารโรงเช่นกัน

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 21-8-2555)

ครม.มีมติอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ

ครม.มีมติอนุมัติให้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่ง ชาติ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ โดยมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ โดยองค์ประกอบของคณะกรรมการฯประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกรุงเทพมหานคร ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผู้อำนวยการสำนักงานแรงงานระหว่างประเทศ (ประจำประเทศไทย) อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงานนอกระบบ รศ.ดร.นฤมล นิราทร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงานนอกระบบ นายกิรศักดิ์ จันทรจรัสวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงานนอกระบบ นางสุวัฒนา ศรีภิรมย์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแรงงานนอกระบบ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ นายบัณฑิตย์ ธนชัยเศรษฐวุฒิ ผู้อำนวยการมูลนิธิอารมณ์พงศ์พงัน นางพูลทรัพย์ สวนเมือง ตุลาพันธุ์ ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ นางสุจิน รุ่งสว่าง ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ นายสมคิด ด้วงเงิน ประธานเครือข่ายแรงงานนอกระบบ นางสาวอรุณี ศรีโต ผู้แทนศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ เขตปริมณฑล โดยมีรองปลัดกระทรวงแรงงานที่ได้รับมอบหมาย เป็นกรรมการและเลขานุการ ที่ปรึกษาวิชาการแรงงาน และผู้อำนวยการสำนักเศรษฐกิจการแรงงาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

(เนชั่นทันข่าว, 22-8-2555)

ชี้แรงงานอีสานประสบอันตรายจากการทำงานต่ำ

(22 ส.ค.) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน จัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือปี 2555 ภายใต้หัวข้อ ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนอย่างมั่นใจ แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดีโดยมีนายวิสา คัญทัพ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเปิดงาน ณ ขอนแก่นฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
      
ภายในงานดังกล่าวมีหน่วยงานสังกัดกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใน พื้นที่ 20 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยหน่วยงานภาคเอกชน ทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการผลิตสินค้าด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย ร่วมกิจกรรมออกบูธให้ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งจำหน่ายสินค้าด้านความปลอดภัยในการทำงาน มาร่วมออกบูธอย่างคับคั่ง
      
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า การจัดสัปดาห์ความปลอดภัยในการทำงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยและ สุขอนามัยของทำงานทุกสาขาอาชีพ เป็นเวทีแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีปัจจุบัน ทบทวนบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
      
จากข้อมูลสำนักงานประกันสังคมพบว่า ในปี 2554 อัตราการประสบอันตรายจากการทำงานรวมทุกกรณีเฉลี่ยของ 20 จังหวัดภาคอีสานอยู่ที่ 7.71 รายต่อลูกจ้าง 1,000 คน ลดลงจากปีที่แล้วที่มีอัตรา 10.41 หรือลดลงร้อยละ 25.94 และถือได้ว่าภาคอีสานมีอัตราประสบอันตรายน้อยกว่าอัตราการประสบอันตรายจาก การทำงานรวมทุกกรณีในภาพรวมทั้งประเทศ ซึ่งอยู่ที่อัตรา 15.76 รายต่อลูกจ้าง 1,000 คน
      
ส่วนมาตรการสำคัญที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานใช้เพื่อแก้ปัญหา อันตรายจากการทำงาน คือมาตรการทางกฎหมายควบคู่ไปกับมาตรการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการเห็นความ สำคัญของการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ที่มีผลต่อภาพลักษณ์และศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจของสถานประกอบกิจการ เช่น โครงการประกวดสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
      
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกล่าวต่อว่า ในปีนี้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเตรียมแรงงานให้พร้อมก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 โดยประเทศไทยต้องแสดงศักยภาพให้ประชาคมโลกเห็นว่า ไทยมีทรัพยากรแรงงานที่มีคุณภาพ สามารถสร้างงานได้อย่างมีคุณค่า ด้วยกระบวนการทำงานที่ปลอดภัยทุกขั้นตอน ไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย ทั้งต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค และไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

(ASTV ผู้จัดการออนไลน์, 22-8-2555)

ก.แรงงานได้งบกว่า 3.6 หมื่นล้านเตรียมพร้อมรับ AEC

นายสง่า ธนสงวนวงศ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้สภาผู้แทนราษฎรได้ให้ความเห็นชอบร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2556 โดยในส่วนของกระทรวงแรงงาน(รง.)ได้รับงบประมาณทั้งหมดกว่า 36,525 ล้านบาท แยกเป็นงบรายกรมได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานกว่า 1,346 ล้านบาท กรมการจัดหางาน(กกจ.)กว่า 1,046 ล้านบาท กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน(กพร.)กว่า 2,126 ล้านบาท กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน(กสร.)กว่า 1,086 ล้านบาท และสำนักงานประกันสังคม(สปส.)กว่า 30,920 ล้านบาทโดยในจำนวนนี้เป็นเงินสมทบกองทุนประกันสังคมกว่า 24,700 ล้านบาท

นายสง่า กล่าวอีกว่า โดยภาพรวมแล้วกระทรวงแรงงานได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นกว่า 20,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 131.85 เนื่องจากรัฐบาลเพิ่มวงเงินชำระหนี้เงินสมทบกองทุนประกันสังคมซึ่งปัจจุบัน รัฐบาลค้างจ่ายอยู่หลายหมื่นล้านบาท ทั้งนี้ เมื่อแยกเป็นรายกรมได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานได้งบเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.76 กกจ.ได้งบเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.71 กพร.ได้งบเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.62 กสร.ได้งบเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.44 และสปส.ได้งบเพิ่มขึ้น 187.68 โดยในปีที่แล้วสปส.ได้รับงบเพียงกว่า 11,165 ล้านบาท

"หลังจากนี้ในช่วงต้นเดือนกันยายนนี้ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ จะเข้าสู่วุฒิสภา เพื่อให้ข้อเสนอแนะโดยไม่มีการตัดงบประมาณใดๆอีก ทั้งนี้ ภารกิจของกระทรวงแรงงานที่อยากจะให้เห็นผลเป็นรูปธรรมในช่วง 3 เดือนข้างหน้าหรือภายในวันที่ 1 มกราคม 2556 คือ การดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลและนโยบายของนายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงานโดยเฉพาะการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาทใน 70 จังหวัดที่เหลือ การเตรียมความพร้อมแรงงานเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) เช่น การพัฒนาทักษะฝีมือ ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน รวมถึงทักษะไอทีให้แก่แรงงานไทย การพัฒนาแรงงานในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อให้เด็กรุ่นใหม่เรียนจบ แล้วมีงานทำ และลดจำนวนผู้ว่างงาน โดยให้ทั้ง 5 หน่วยงานสังกัดรง.บูรณาการการทำงานร่วมกันและทำงานเชิงรุก เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีเอกภาพและเห็นผลงานชัดเจน" เลขานุการรมว.แรงงาน กล่าว

นายสง่า กล่าวต่อไปว่า ส่วนการเตรียมความพร้อมแรงงานเพื่อรองรับเออีซีนั้น กระทรวงแรงงานจะตั้งคณะกรรมการพัฒนาแรงงานเพื่อรองรับเออีซีโดยมีผู้บริหาร กระทรวงแรงงาน รวมทั้งเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก เช่น อาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ทีดีอาร์ไอมาร่วมเป็นคณะกรรมการ และจะจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมารองรับ โดยเบื้องต้นจะจัดตั้งเป็นหน่วยงานย่อยๆในสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานภายใน เดือนกันยายนนี้ หลังจากนั้นในอนาคตจะยกระดับขึ้นมาเป็นระดับสำนัก โดยจะมอบให้รองปลัดกระทรวงแรงงานดูแล เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมแผนงาน ยุทธศาสตร์และข้อมูลต่างๆด้านเออีซีของทั้ง 5 หน่วยงาน ซึ่งจะทำให้การขับเคลื่อนภารกิจในการพัฒนาแรงงานรองรับเออีซีเป็นไปอย่างมี เอกภาพและมีประสิทธิภาพ.

(เนชั่นทันข่าว, 22-8-2555)

สปส.ตั้งกก.สอบทุจริตเบิกค่ารักษาพยาบาล

นายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ได้ตรวจสอบว่าพบเจ้าหน้าที่กองคลังซึ่งเป็นพนักงานลูกจ้างของ สปส.มีพฤติกรรมทุจริตในการเบิกค่ารักษาพยาบาลภายในสำนักงานประกัน สังคม(สปส.) ทั้งนี้ เบื้องต้นได้ย้ายเจ้าหน้าที่กองคลังคนดังกล่าว ซึ่งรับผิดชอบเรื่องการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปปฏิบัติงานในตำแหน่งอื่น เนื่องจากขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยตนได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดำเนินการในเรื่องนี้และมีรองเลขาธิการส ปส.เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง เบื้องต้นพบว่ามีการเบิกค่าเอ็กซเรย์ร่างกายของเจ้าหน้าที่ในสปส.หลายคน เป็นวงเงินกว่า 50,000 บาท อย่างไรก็ตาม คาดว่าวงเงินที่มีการทุจริตน่าจะมียอดสูงกว่านี้ แต่ยังไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ จะต้องรอตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน

"จากการเรียกมาสอบถามเจ้าหน้าที่ยืนยันว่าไม่มีการตรวจตามที่เบิกค่า รักษาพยาบาล ดังนั้น จึงได้ทำหนังสือตรวจสอบข้อมูลไปยังโรงพยาบาลที่เจ้าหน้าที่สปส.ใช้บริการว่า มีกี่รายที่ทำการตรวจร่างกายด้วยการเอ็กซเรย์ รวมทั้งมีการตรวจร่างกายในลักษณะใด และมีค่ารักษาพยาบาลจำนวนเท่าใดบ้าง ขณะนี้กำลังรอโรงพยาบาลแจ้งข้อมูลกลับมา หากโรงพยาบาลแจ้งข้อมูลกลับมา ก็จะสามารถสรุปข้อเท็จจริงได้ หากพบว่ามีการทุจริตจริงก็ต้องแจ้งความดำเนินคดีและให้เจ้าหน้าที่ที่กระทำ ผิดออกจากสปส. เนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดร้ายแรง" เลขาธิการสปส. กล่าว

ด้านนายเผดิม สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน(รมว.รง.) กล่าวว่า ได้กำชับไปยังเลขาธิการสปส.ให้ตรวจสอบอย่างรัดกุม หากพบว่ามีการทุจริตให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาด เนื่องจากเป็นเงินสมทบที่มาจาก 3 ฝ่ายทั้งนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาล ในการนำมาดูแลสิทธิประโยชน์ต่างๆของผู้ประกันตนกว่า 10 ล้านคน รวมทั้งในการนำมาดูแลรักษาพยาบาลและสิทธิประโยชน์ต่างๆของผู้ประกันตนและ เจ้าหน้าที่สปส.ด้วย

(เนชั่นทันข่าว, 22-8-2555)

คค.นัดการท่าเรือฯ แจง หลังถูกผู้บริหารขู่

นายอนันต์ รัตนพันธ์ พนักงานการสินค้า 6 การท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันนี้ ผู้แทนพนักงานแต่ละสายงาน กว่า 100 คน เดินทางมายื่นหนังสือเพื่อขอความเป็นธรรมถึง พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะที่กำกับดูแลการท่าเรือฯ โดยในปัจจุบัน พนักงานของการท่าเรือที่ฟ้องร้องศาล เนื่องจากการท่าเรือฯ จ่ายค่าทำงานล่วงเวลาที่ยังจ่ายไม่ครบตามมาตรฐานขั้นต่ำ ของสภาพการจ้างในรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้มีการดำเนินการฟ้องร้องถึง 3 ครั้ง และศาลได้พิพากษาให้ชนะคดีแล้ว แต่ทางการท่าเรือฯ ไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล รวมทั้งจะมีการจ้างทนายมาฟ้องดำเนินคดีอาญากับพนักงานกลับด้วย นอกจากนี้ ในปัจจุบัน พนักงานที่ร่วมฟ้องศาล ได้ถูกผู้บริหารระดับสูงข่มขู่ว่า จะไม่ได้รับการพิจารณาเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งประจำปี หรือถึงขั้นจะถูกไล่ออกทั้งหมดอย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการรับหนังสือจากพนักงานการท่าเรือฯ ว่า ในวันพุธที่ 29 ส.ค.นี้ ได้นัดหารือกับตัวแทนพนักงานในเรื่องดังกล่าว เพื่อหาทางออกของปัญหาต่อไป

(ไอเอ็นเอ็น, 23-8-2555)

วอลเลย์บอลเพื่อชาติเบี้ยซ้อมนักกีฬาเทียบเท่าค่าแรงขั้นต่ำ

รายได้ในการฝึกซ้อมของนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย จากทางสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ได้มีมารตฐานในการให้ค่าตอบแทนการฝึกซ้อมต่อเดือน จำนวนเงินเดือนล่ะ 9,000 บาท ตกเฉลี่ยต่อวัน 300 บาท ซึ่งเท่ากับรายได้ค่าแรงขึ้นต่ำที่ทางรัฐบาลได้ตั้งขึ้น

ส่วนข้อมูลได้รับยืนยันได้จากจากร.ท.จักรสุวรรณ โตเจริญ เลขาธิการสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย ซึ่งทุกข้อมูลทางสมาคมไม่มีการปิดบังแต่อย่างใดและพร้อมที่จะให้ประชาชนได้ รับทราบและเข้าใจในทิศทางเดียวกัน

จากกรณีเบี้ยเลี้ยงการฝึกซ้อมของนักกีฬาวอลเลย์บอลทีมชาติไทย ได้รับเงินในการฝึกซ้อมต่อเดือน เดือนล่ะ 9,000 บาท โดยเป็นมารตฐานที่ทุกทีมในสมาคมจะได้รับ

ไม่ว่าจะเป็น วอลเลย์บอลทีมชาติชาย-หญิง ,เยาวชนชาย-หญิง , ยุวชนชาย-หญิง ตลอดจนทีมวอลเลย์บอลชายหาดทุกชุด ในการรับเงินนักกีฬาจะได้รับต่อเมื่อมีการเข้าเก็บตัวฝึกซ้อมเพื่อเข้าร่วม แข่งขันในรายการต่างๆที่ทางสมาคมได้ส่งสมัครเพื่อเข้าร่วม

(ไอเอ็นเอ็น, 23-8-2555)

คนงานโลหะ ปิโตเรียม เคมีภัณฑ์ สิ่งทอ ประเทศไทยร่วมเดินหน้าความเป็นหนึ่ง

เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2555ทีผ่ามา คนงานโลหะฯ เคมีภัณฑ์ และสิ่งทอ ได้ประชุมร่วมกันที่ห้องประชุมสำนักงาน สมาพันธ์แรงงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ ยานยนต์และโลหะ แห่งประเทศไทย (TEAM) เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ การทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งด้านวิชาการ และภาคสนาม ก่อนนำไปสู่การควบรวมเป็น IndustriALL THAILAND ในอนาคต โดยมีองค์กรสมาชิกฯ ที่เข้าร่วมประชุมดังนี้

สมาพันธ์แรงงานเครื่องใช้ไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ ยานยนต์และโลหะแห่งประเทศไทย (TEAM) สหพันธ์แรงงานปิโตเรียมและเคมีภัณฑ์แห่งประเทศไทย (ICEM) สหพันธ์แรงงาน สิ่งทอ แห่งประเทศไทย (ITGWFT) สภาองค์การลูกจ้างแรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย (ALCT)

จากการประชุมในครั้งนี้มีข้อสรุปแนวทางการควบรวมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับขบวนการแรงงาน ตามนโยบายขององค์กรแม่ต่างประเทศ

1.  จัดตั้งคณะทำงาน  จากผู้แทนของแต่ละองค์กรเพื่อประชุมและประสานงานร่วมกัน   โดยจะคัดเลือกเข้ามาองค์กรละ ไม่ต่ำกว่า 5 คน   โดยให้แต่ละองค์กรไปคัดสรรกรรมการเอง

2.  จัดประชุมร่วมกันในรูปแบบสัญจร  เดือนละ 1 ครั้ง ผลัดเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพในการต้อนรับ กรณีที่ใดไม่พร้อมในรอบการประชุมให้ TEAM รับผิดชอบแทนในเดือนนั้น ๆ

3.  ในขณะที่ยังควบรวมกันไม่ได้  ให้ใช้กิจกรรมเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดความเป็นพี่เป็นน้องและรักใคร่กลมเกลียวกันมากขึ้น  โดยการทำกิจกรรมทุกครั้งถ้าต้องทำเสื้อให้ใช้โลโก้ IndustriALL THAILAND เพื่อบ่งบอกความเป็นตัวตนที่มีจุดยืนคือเป็นองค์กรเดียวกัน

4.  คณะทำงานที่มีการประชุมกัน จะต้องมีการทำแผนงานและกิจกรรมร่วมกัน ทำแผนระยะยาวเพื่อก้าวเดินไปข้างหน้าร่วมกัน  มีการเรียนรู้เรื่องของโครงสร้างและข้อจำกัดความเป็นตัวตนของแต่ละองค์กร เพื่อปรับเปลี่ยนแนวคิดร่วมกัน

5.  เมื่อเรามีความกลมเกลียวกันมากขึ้นแล้ว  จะมีการจัดสัมมนาคณะกรรมการทุกองค์กรร่วมกัน เพื่อการควบรวม  และเปิดตัวต่อสาธารณะชนว่าเราคือ IndustriALL ประเทศไทย

6.  จึงเกิดแนวความคิดในเรื่องของการรวมตัวกันของขบวนการแรงงาน  ซึ่งจะต้องรวมภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อจะได้ช่วยเหลือ  พึ่งพาและร่วมกันสร้างความเข้มแข็ง สร้างอำนาจต่อรองทั้งภายในประเทศและร่วมกับต่างประเทศ ต้องร่วมกันทำให้เสียงของแรงงานดังขึ้นต้องดังพอที่จะทำให้รัฐบาลแต่ละ ประเทศหันมาฟังและหันมาให้ความสำคัญกับการแก้ไขประเด็นปัญหาของแรงงาน  จึงมีนโยบายให้กับประเทศสมาชิกฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์  ปรับแนวความคิดเพื่อให้สอดคล้องกับองค์กรต้นสังกัดคือ  INDUSTRIALL โดยเริ่มจากการจัดประชุมพูดคุยหารือร่วม  การวางแผนงานและการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อนำไปสู่กันควบรวมองค์กรในแต่ละประเทศสมาชิกฯ จึงก่อให้เกิดการจัดการประชุมร่วมกันตามแผนงานในครั้งนี้

ธีระวุฒิ เบญมาตย์ นักสื่อสารแรงงาน สมุทรปราการ รายงาน

(ว๊อยซ์เลเบอร์, 25-8-2555)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net