Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis
 
อ่านบทความ “ปัญหาธรรมกาย-พระไพศาล-มหาเถรสมาคม-สุรพศ และบททดลองเสนอเกี่ยวกับสถานะของสถาบันศาสนาในสังคมไทย” เก่งกิจ กิติเรียงลาภ แล้ว ผมยอมรับว่าเขียนได้ดีหากเป็นประเด็นที่เรากำลังถกเถียงกันว่า “ศาสนาควรเป็นอิสระจากรัฐหรือไม่” ซึ่งผมก็พูดไปหลายครั้งแล้วว่าผมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงให้ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐในอนาคต mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
แต่ประเด็นที่เก่งกิจอ้างถึงข้อเสนอของหลวงพี่ไพศาล วิสาโล และผม ในการอ้างอิง “กรอบพระธรรมวินัย” ตรวจสอบการพูดถึงชีวิตหลังความตายของสตีฟ จ็อบส์ ของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายว่าผิดวินัยสงฆ์หรือไม่นั้น เป็นประเด็นปัญหา “การดำเนินการทางพระธรรมวินัย” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
โดยหน่วยงานที่มี “บารมีพอ (?)” (ถ้าทำตามระบบพระธรรมวินัยจริงๆ คณะสงฆ์วัดพระธรรมกายก็ตรวจสอบกันเองได้ หรือคณะสงฆ์ที่เป็นผู้ปกครองตามลำดับชั้น เช่นเจ้าคณะตำบล อำเภอ จังหวัด ภาค แต่เขาไม่ตรวจสอบกันเองหรอกครับ หน่วยงานตามลำดับชั้นก็ไม่มีบารมีพอที่จะรับผิดชอบดำเนินการได้) คือ “มหาเถรสมาคม” (แม้มหาเถรฯก็ยังมีคำถามว่าเอาเข้าจริงมีบารมีพอหรือไม่ เพราะจากประสบการณ์ที่ผ่านมา มหาเถรฯไม่เคยดำเนินการกับพระสงฆ์ผู้ทรงอิทธิพลทางสังคมที่มีปัญหาคล้ายๆ กันนี้เลย) แต่ที่ต้องระบุถึงมหาเถรฯ เพราะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบสูงสุดที่มีอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
ทีนี้ปัญหาการดำเนินการทางวินัยก็มาสัมพันธ์กับปัญหาว่า “มหาเถรฯมีความชอบธรรมที่จะดำเนินการทางพระธรรมวินัยหรือไม่?” ปัญหานี้เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงหลักๆ 4 ประการ คือ
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
1.ความสัมพันธ์ภายใต้ระบบพระธรรมวินัยระหว่างหมาเถรฯกับวัดพระธรรมกาย (และวัดทั่วประเทศ) อธิบายได้ว่าทั้งมหาเถรและวัดพระธรรมกายมีความเสมอภาคภายใต้ระบบพระธรรมวินัยเดียวกัน คือเป็นพระภิกษุในนิกายเถรวาทที่ต้องปฏิบัติตามวินัยสงฆ์ 227 ข้อเช่นกัน ยึดหลักคำสอนในพระไตรปิฎกเถรวาทเช่นกัน
 
2.ความสัมพันธ์ภายใต้กฎหมายคณะสงฆ์ที่ออกโดยรัฐไทยระหว่างหมาเถรฯกับวัดพระธรรมกาย อธิบายได้ว่า มหาเถรอยู่ในสถานะของผู้ปกครอง วัดพระธรรมกาย (และวัดทั่วประเทศ) อยู่ในสถานะผู้ใต้ปกครอง แต่ทั้งสองฝ่ายมีความเสมอภาคทางกฎหมาย
 
3.ความสัมพันธ์ภายใต้ระบบพระธรรมวินัยและกฎหมายดังกล่าว มีเงื่อนไขหลักๆ ว่า ทั้งสองฝ่ายมีโอกาสได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามหลักพระธรรมวินัยและกฎหมายเหมือนกัน และต้องรับผิดชอบในมาตรฐานเดียวกันหากใครละเมิดพระธรรมวินัยและกฎหมาย เช่นในแง่สิทธิประโยชน์พระภิกษุที่เป็นกรรมการมหาเถรฯ มีสิทธิได้รับ “สมณศักดิ์” พระที่วัดพระธรรมกายก็ได้รับสิทธินี้เช่นดัน (ดังเจ้าอาวาสและรองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายก็ได้รับ) และ/หรือพระในวัดพระธรรมกาย รวมทั้งพระทุกวัดในนิกายเถรวาทมีสิทธิที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการมหาเถรฯเช่นกัน หากมีคุณสมบัติครบตามที่กฎหมายบัญญัติ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
ในแง่การรับผิดชอบทางพระธรรมวินัยและกฎหมาย หากพระภิกษุที่เป็นกรรมการมหาเถรฯ หรือพระวัดพระธรรมกาย (และวัดทั่วประเทศ) “ยักยอกเงินวัดไปใส่ชื่อบัญชีเงินฝากส่วนตัว” ย่อมต้องอาบัติปาราชิกและรับผิดตามกฎหมายของรัฐอย่างเสมอภาคกัน mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:red">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
4.ภายใต้ความสัมพันธ์ทั้ง 3 ข้อที่ว่ามา ทั้งพระในมหาเถรฯและพระวัดพระธรรมกายต่างมีเสรีภาพที่จะอ้างอิงหลักพระธรรมวินัยและหลักกฎหมาตรวจสอบกันและกันอย่างเท่าเทียม เช่น สมมติว่าพระวัดพระธรรมกาย (และพระทั่วประเทศ) พบข้อเท็จจริงว่าพระภิกษุในมหาเถรอวดอุตตริมนุสสธรรม ก็สามารถอ้างอิงอาบัติปาราชิกข้อที่ 4 เรียกร้องให้ดำเนินการไต่สวนเอาผิดพระภิกษุในมหาเถรตามวิธีการและขั้นตอนที่กำหนดไว้ภายใต้ “กรอบพระธรรมวินัยที่เป็นพุทธบัญญัติ” (ไม่ใช่มหาเถรฯ หรือ ฯลฯ บัญญัติ) mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> "Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
ฉะนั้น ภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบันนี้ อธิบายได้ว่า พระในกรรมการมหาเถรฯ พระวัดพระธรรมกาย และพระสงฆ์ทั่วประเทศมีความเสมอภาคทางพระธรรมวินัยและกฎหมาย และมีเสรีภาพในการตรวจสอบกันและกันโดยใช้มาตรฐานเดียวกันได้ อีกทั้งยังมีเสรีภาพที่จะแยกนิกายเป็น “ศาสนาที่เป็นอิสระจากรัฐ” แบบ “สันติอโศก” เป็นต้น ได้ด้วย mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">แต่ในความเป็นจริงจะตรวจสอบกันหรือไม่ ที่ไม่ตรวจสอบเป็นเพราะไม่มีวัฒนธรรมการตรวจสอบ หรือ ฯลฯ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ระบบไม่ได้ปิดโอกาสในการตรวจสอบ mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">ที่ควรสังเกตไว้ ณ ที่นี้คือ เมื่อใครก็ตามกล่าวว่า มหาเถรฯเป็นเผด็จการโดยโยงไปเทียบกับระบบที่ถูกปกป้องด้วย ม.112 หรือเปรียบเทียบมหาเถรฯกับธรรมกายเหมือน คณะรัฐประหารกับคุณทักษิณนั้น ข้อเท็จจริงก็คือว่า ไม่มีกฎหมายห้ามหมิ่นมหาเถรฯ (มีเพียงกฎหมายห้ามหมิ่นสมเด็จพระสังฆราชซึ่งมีอัตราโทษเท่ากับ “หมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา”) ใครจะด่ามหาเถรว่า “ห่วย” ออกทีวี หรือเสนอให้ยกเลิกระบบมหาเถรในเวทีสาธารณะที่ไหนก็ได้ ไม่ผิดกฎหมาย ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างมหาเถรฯ กับวัดพระธรรมกายนั้นก็เป็นไปโดยสมัครใจทั้งสองฝ่าย และเป็นไปในทางที่เป็นมิตร ไม่ได้มีลักษณะเชิงปฏิปักษ์หรือ “นอกรีต” เหมือนกรณี “พระเกษม” หรือ “สันติอโศก” หรือเหมือน “คณะรัฐประหารกับคุณทักษิณ”
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
จึงสรุปได้ ณ ตอนนี้ว่าภายใต้ระบบที่เป็นอยู่จริง “การดำเนินการตามกรอบพระธรรมวินัย” อธิบายได้ว่า ระบบเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายตรวจสอบความ “แฟร์” ได้ การเรียกร้องให้ให้กรอบพระธรรมวินัยตรวจสอบกรณีเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย หรือตรวจสอบพระภิกษุในกรรมการมหาเถรสมาคม และพระภิกษุรูปใดๆ ก็ตาม จึงมี “ความชอบธรรม” ที่อธิบายได้ด้วยหลักการและเหตุผล และเป็นไปได้ในทางปฏิบัติตามสภาพที่เป็นอยู่จริง color:red">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
ประเด็นต่อมาคือ “ปัญหาศาสนาควรเป็นอิสระจากรัฐ” มีความสัมพันธ์ในเชิงตรรกะอย่างจำเป็น/อย่างไม่มีทางเลือกอื่น (necessary) กับ “ความชอบธรรม” ในการดำเนินการทางพระธรรมวินัยหรือไม่? "Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
คำว่า “ความสัมพันธ์เชิงตรรกะอย่างจำเป็น” หรืออย่างไม่มีทางเลือกอื่น เราอาจอธิบายให้เห็นภาพพจน์ด้วยวิธีอธิบายที่พูดกันในทางปรัชญาว่า “เงื่อนไขจำเป็น” และ “เงื่อนไขพอเพียง” เช่น ออกซิเจนเป็นเงื่อนไขจำเป็นของการติดไฟ หมายความว่าขาดออกซิเจนไฟจะติดไม่ได้ ส่วนฟืน ถ่าน และ ฯลฯ ที่เป็นเชื้อเพลิงคือเงื่อนไขพอเพียงของการติดไฟ
 
ในกรณีการดำเนินการทางพระธรรมวินัยของเถรวาท “กรอบอ้างอิง” ที่เป็นเงื่อนไขจำเป็นของ “ความชอบธรรม” คือ “หลักพระธรรมวินัย” ส่วนกรอบสถานะมหาเถรสมาคม กรอบศาสนาเอ็นอิสระจากรัฐ กรอบศาสนาขึ้นต่อรัฐประชาธิปไตย รัฐราชาธิปไตย รัฐเผด็จการอื่นๆ เป็นเงื่อนไขพอเพียง เงื่อนไขจำเป็นตอบโจทย์เรื่อง “ความชอบธรรม” หมายความว่า หากขาดกรอบอ้างอิงคือ “หลักพระธรรมวินัย” ความชอบธรรมไม่อาจมีได้ ส่วนเงื่อนไขพอเพียงเป็นเรื่องของ “ประสิทธิภาพ” ที่อาจต่างกันในการช่วยให้การดำเนินการบรรลุความชอบธรรม
 
คือการดำเนินการทางพระธรรมวินัยนั้น ถ้าสามารถอธิบาย ตรวจสอบได้ว่าใช้วิธีการ ขั้นตอน ถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัยทุกประการ ก็ถือว่ามี “ความชอบธรรม” ส่วนการดำเนินการโดยมหาเถร โดยพุทธขึ้นกับรัฐประชาธิปไตยแบบไทย หรือพุทธเป็นอิสระจากรัฐ (ที่ดำเนินการอย่างอิสระของกลุ่มชาวพุทธเอกชนต่างๆ) นั้น ก็ต้องดำเนินการโดยอ้างอิง หรือให้เป็นไปตาม “กรอบพระธรรมวินัย” เท่านั้น เพราะกรอบพระธรรมวินัย (ที่พุทธะบัญญัติไว้ว่าต้องเป็นกลาง ตรวจสอบได้) เป็นเงื่อนไขที่ขาดไม่ได้ของ “ความชอบธรรม”
 
เพื่อให้เห็นภาพ โปรดนึกถึงข้อเท็จจริงว่า คณะสงฆ์เถรวาทภายใต้ระบบการปกครองของมหาเถรสมาคมปัจจุบัน มีการดำเนินการทางพระธรรมวินัยหลายเรื่องอย่างเป็นปกติ คือวิถีชีวิตประจำวันของพระสงฆ์ต้องปฏิบัติตามพระธรรมวินัยตั้งแต่การกิน การอยู่ การกำหนดบทบาทหน้าที่อุปัชฌาย์อาจารย์กับลูกศิษย์ คุณสมบัติและบทบาทหน้าที่ของพระสงฆ์ที่เป็นนวกะ มัชฌิมะ เถระ ก็เป็นไปตามกรอบที่พระธรรมวินัยกำหนด การปฏิบัติตามวินัยสงฆ์ 227 ข้ออย่างเสมอภาคกัน และรับการตรวจสอบอย่างเสมอภาคกันก็เป็นไปตามกรอบพระธรรมวินัยกำหนด
 
การดำเดินการปรับอาบัติ หรือเอาผิดการละเมิดวินัยสงฆ์ตั้งแต่ข้อ 1-227 ก็ดำเนินการอยู่เป็นปกติ และหลายวิธีการ เช่นลงปาฎิโมกข์ ปลงอาบัติ อยู่กรรม กักบริเวณ ให้สละสมณะเพศ รวมทั้งการประกอบพิธีอุปสมบท รับกฐิน ฯลฯ ก็ดำเนินการโดยอ้างอิงกรอบพระธรรมวินัย หรือเป็นไปตามที่พุทธะบัญญัติให้ทำทั้งสิ้น โดยที่ไม่เกี่ยวกับว่าศาสนาจะเป็นอิสระจากรัฐหรือไม่ แม้ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐแล้วก็ยังต้องยึดกรอบพระธรรมวินัยเป็นหลักเหมือนเดิม “การปรับอาบัติปาราชิก” เป็นเพียงกรรมวิธีหนึ่งของการดำเนินการทางพระธรรมวินัยเท่านั้น หากใช้ข้ออ้างว่าเพราะ “ศาสนาไม่เป็นอิสระจากรัฐ” จึงไม่มีความชอบธรรมที่จะปรับอาบัติปาราชิกกับพระ ก. (เป็นต้น) ก็เท่ากับว่าการดำเนินการทางพระธรรมวินัยใดๆ ดังตัวอย่างที่ยกมาเป็นต้น ก็ต้องไม่มีความชอบธรรมไปโดยปริยาย "Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
ความเห็นของเก่งกิจที่ว่า mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> "Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
ปัญหาใหญ่ก็คือ ข้อเรียกร้องของอ.สุรพศให้ “พระธรรมวินัย” เข้ามาจัดการกับสงฆ์จะเป็นไปได้ (หรือไม่ ไม่ใช่ปัญหาของคนไม่มีศาสนาแบบผู้เขียน เพราะสุดท้ายแล้ว ชาวพุทธก็ต้องเป็นคนออกแบบกันเองว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างไร โดยไม่ให้รัฐมายุ่ง) ก็ต่อเมื่อเราปลดล็อคปัญหา secularism ให้ได้เสียก่อนต่างหาก – เพราะสุดท้ายแล้ว สังคมที่ไม่แยกศาสนาออกจากรัฐจะเจอสภาพ “หนีเสือปะจระเข้” คือ พยายามจัดระเบียบให้พระและศาสนิกชนเข้าที่เข้าทางโดยไม่ได้ใช้ศรัทธาหรือความยินยอม แต่ใช้อำนาจรัฐและการบังคับแบบที่อ.สุรพศเสนอ -- ตราบใดที่ยังแยกรัฐออกจากศาสนาไม่ได้ ตราบใดที่องค์กรสงฆ์พึ่งพิงเงินปีละหลายพันล้านจากเงินงบประมาณ ตราบใดที่มหาเถรสมาคมผูกขาดการตัดสินถูกผิดไว้ที่ตัวเอง ฯลฯ ข้อเรียกร้องของอ.สุรพศจะไม่มีความหมายตั้งแต่แรก – ยิ่งดึงดันให้มหาเถรสมาคมไปจับผิด/ผูกขาด/จัดการกับ “พวกนอกรีต” มากเท่าไร ยิ่งสถาบันศาสนาเกาะติด/อ้างอิงอำนาจตัวเองกับรัฐ สถาบันทางศาสนา (รวมถึงคำสอน) ยิ่งจะโดดเดี่ยวและห่างไหลจากความสามารถในการปรับตัวอยู่ร่วมกับโลกประชาธิปไตยมากขึ้นทุกที – สุดท้ายจะกลายเป็นส่วนหนึ่ง/ซากเดนของสังคมเก่าแบบเดียวกับสถาบันจารีตนิยมทั้งหลายที่รอวันผุพังไป "Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
นี่คือตัวอย่างของคำวิจารณ์ของเก่งกิจที่ไม่ได้ตรงกับ “เนื้อหา” ที่ผมพูดและเขียนไปแล้วแต่อย่างใด ไม่ได้ตรงกับ “หลักการ” ที่ผมอ้างอิง และ “เจตนา” ของผมแต่อย่างใด โดยเฉพาะ “ข้อความย้อมสี” ที่ว่า “...ยิ่งดึงดันให้มหาเถรสมาคมไปจับผิด/ผูกขาด/จัดการกับ “พวกนอกรีต” มากเท่าไร ยิ่งสถาบันศาสนาเกาะติด/อ้างอิงอำนาจตัวเองกับรัฐ สถาบันทางศาสนา (รวมถึงคำสอน)...”  เพราะตาม “ข้อเท็จจริง” ที่ผมพูด (ในเวทีเดียวกัน) และเขียนๆ ไปนั้น ผมไม่เคยเสนอให้จัดการกับ “พวกนอกรีต” ใดๆ ทั้งสิ้น ผมไม่เคยเสนอให้ใช้อำนาจรัฐมาจัดการ ผูกขาด แต่ผมเสนอให้ใช้ “กรอบการดำเนินการตามหลักพระธรรมวินัย” เข้ามาจัดการกับพระในนิกายเดียวกันที่เสมอภาคภายใต้หลักพระธรรมวินัยและหลักกฎหมายเดียวกัน แม้จะดำเนินการโดยมหาเถรสมาคมก็ต้องดำเนินการไปตามกรอบพระธรรมวินัยที่ตรวจสอบได้ว่า “แฟร์” กับทุกฝ่ายเท่านั้น ไม่ใช่ผมเสนอว่า มหาเถรสมาคมจะออ “กฎหมายพิเศษ” มาจัดการกับเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายหรือพระรูปใดๆ ได้ตามอำเภอใจ (หากเป็นเช่นนั้นผมคนหนึ่งต้องออกมา “คัดค้าน” อย่างถึงที่สุดแน่นอน พระสงฆ์และชาวพุทธส่วนใหญ่ก็คงยอมไม่ได้เช่นกัน)
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
การพูดให้เกิดความเข้าใจไปในทำนองว่า “มหาเถรสมาคมเท่ากับรัฐ” อาจทำให้คนเข้าใจเสมือนว่ามหาเถรฯคือ “คนนอก” ที่รัฐส่งมาปกครองพระสงฆ์และชาวพุทธทั้งประเทศ และให้อำนาจเผด็จการแก่มหาเถรฯ ที่จะทำอะไรตามอำเภอใจก็ได้ จึงจินตนาการไปว่า mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">...พยายามจัดระเบียบให้พระและศาสนิกชนเข้าที่เข้าทางโดยไม่ได้ใช้ศรัทธาหรือความยินยอม แต่ใช้อำนาจรัฐและการบังคับแบบที่อ.สุรพศเสนอ -- ตราบใดที่มหาเถรสมาคมผูกขาดการตัดสินถูกผิดไว้ที่ตัวเอง ฯลฯ..” mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> เป็นต้น mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> "Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
แท้จริงแล้ว ภายใต้ระบบที่เป็นอยู่ มหาเถรสมาคม คือ “คนใน” ของ “คณะสงฆ์เถรวาทไทย” ความชอบธรรมในการปกครองคณะสงฆ์ยึดโยงอยู่กับพระธรรมวินัยที่พระสงฆ์และชาวพุทธเถรวาทยึดถือร่วมกัน ตามกฎหมายสงฆ์ที่มีอยู่ มหาเถรฯ ไม่มีอำนาจออกฎระเบียบ คำสั่งที่ขัดแย้งกับพระธรรมวินัยเถรวาทตามอำเภอใจอย่างไรก็ได้ (เช่นจะออกกฎให้พระมีเมียไม่ได้ เป็นต้น) หากมหาเถรฯใช้อำนาจเกินเลยไปจากพระธรรมวินัยกำหนด ชาวพุทธก็ตรวจสอบ เรียกร้องให้แก้ไขได้ กฎหมายใดๆ จะออกได้ก็ต้องผ่านการตรวจสอบในระบบรัฐสภา สถานะที่ไม่เป็นประชาธิปไตยของมหาเถรฯนั้น คือ ไม่ได้ยึดโยงกับพระสงฆ์และชาวพุทธทั่วไปผ่าน “การเลือกตั้ง” ไม่มีการแบ่งแยกอำนาจถ่วงดุลเหมือน พ.ร.บ.สงฆ์ 2484 แต่โดยกรอบพระธรรมวินัยเถรวาทไม่อนุญาตให้รัฐออกกฎหมายใดๆ ที่ให้อำนาจมหาเถรฯ เป็น “เผด็จการเต็มรูปแบบ” อย่างที่เรียกว่า “บังคับศรัทธา” หรือ “ผูกขาดการตัดสินถูกผิดไว้ที่ตัวเอง” เท่านั้นได้ (โปรดดูที่ผมได้อธิยายให้เห็นแล้วตั้งแต่ต้น)
 
สถานะที่ไม่เป็นประชาธิปไตยดังกล่าวของมหาเถรฯ ย่อมเป็นปัญหาที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยต่อไปเพื่อให้การดำเนินการทางพระธรรมวินัย การศึกษาพุทธศาสนามีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่า มหาเถรฯตามที่เป็นอยู่นี้จะหมด “ความชอบธรรม” ในการดำเนินการทางพระธรรมวินัย หากอธิบายด้วยหลักการพระธรรมวินัย และตรวจสอบได้ว่าการดำเนินการเอาผิดทางวินัยสงฆ์ (เป็นต้น) กับพระภิกษุรูปใดๆ ถูกต้องชอบธรรมตามหลักพระธรรมวินัยที่พุทธะบัญญัติไว้ทุกประการ
 
สำหรับผมแล้วประเด็น “ศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ” หรือ “รัฐโลกวิสัย”  เป็นประเด็นถกเถียงที่อ้างอิงหลักเสรีนิยมเพื่อสร้าง “รัฐเสรีประชาธิปไตย” ที่ “รัฐต้องเป็นกลางทางศาสนา” หลักการนี้เกี่ยวข้องโดยตรงหรืออย่างจำเป็นกับ “ความชอบธรรม” ของ “รัฐที่เป็นกลางทางศาสนา”  ไม่เกี่ยวโดยตรงกับ “ความชอบธรรมในการดำเนินการทางพระธรรมวินัย” ตามนิกายเถรวาท อย่างที่อ้างกันว่า “ถ้าศาสนาไม่เป็นอิสระจากรัฐแล้ว การดำเนินการทางพระธรรมวินัยก็ไม่ชอบธรรม” mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman";color:red"> 
ขอยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติว่า (ย้ำ “สมมติ”) พระรูปหนึ่งที่เป็นกรรมการมหาเถรฯ ไปเยี่ยมวัดพระธรรมกายแล้วแอบดื่มเหล้าในกุฏิ บังเอิญพระในวัดธรรมกายมาพบเข้า แล้วเรียกร้องให้คณะกรรมการมหาเถรฯเอาผิดทางวินัยสงฆ์ตามกรอบพระธรรมวินัย เราไม่อาจอ้าง “อย่างสมเหตุสมผล” ได้ว่า พระวัดพระธรรมกายจะมาเรียกร้องให้คณะกรรมการมหาเถรฯ ดำเนินการเช่นนั้นไม่ได้ เพราะ “ศาสนายังไม่เป็นอิสระจากรัฐ”  หรือในทางตรงกันข้าม สมมติว่าพระจากวัดพระธรรมกายรูปหนึ่งไปเทศนาอวดอุตตริที่วัดของพระที่เป็นกรรมการมหาเถรฯ แล้วพระกรรมการมหาเถรฯ เรียกร้องให้ดำเนินการเอาผิดตามกรอบพระธรรมวินัยในมาตรฐานเดียวกัน เราก็จะคัดด้านด้วยข้ออ้าง “ศาสนายังไม่เป็นอิสระจากรัฐ” ไม่ได้อีกเช่นกัน "Times New Roman";color:red">
mso-fareast-font-family:"Times New Roman""> 
จะว่าไปในรัฐไทยปัจจุบัน ศาสนาหลักๆ ล้วนขึ้นต่อรัฐ กรมการศาสนาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการก็จัดงบประมาณอุดหนุนทุกศาสนา ศาสนาอิสลามก็ออกกฎหมายเรื่องการศึกษา งบประมาณ ฯลฯ ผ่านรัฐสภา ถ้าใช้เหตุผล “ศาสนาไม่เป็นอิสระจากรัฐ” ใช้ภาษีรัฐ ฯลฯ ก็เท่ากับว่า การตรวจสอบกันด้วยหลักความเชื่อ กฎกติกาภายในศาสนาต่างๆ ก็ไร้ความชอบธรรม และเป็นไปไม่ได้ทั้งหมด mso-fareast-font-family:"Times New Roman"">
 
สรุป ผมไม่ได้คัดค้านข้อเสนอศาสนาเป็นอิสระจากรัฐ ไม่ได้ดีเฟนว่าสถานะของมหาเถรสมาคมเหมาะกับสังคมประชาธิปไตย แต่ดีเฟน “ความชอบธรรมของการดำเนินการทางพระธรรมวินัย” ตามหลักการพุทธเถรวาทว่า “เป็นไปได้” ในระบบที่เป็นอยู่ปัจจุบัน และดีเฟนว่า พระสงฆ์/ชาวพุทธเถรวาทมีเหตุผลที่จะยืนยันหลักพระธรรมวินัยในพระไตรปิฎกรองรับความชอบธรรมในการตรวจสอบการกระทำผิดวินัยของพระสงฆ์ แม้ศาสนาจะเป็นอิสระจากรัฐในอนาคต

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net