84 นักวิชาการยื่น จม.นายกฯ ค้านข้อสรุปกรมเจรจาฯ ที่ให้ยอมรับทริปส์พลัส เอฟทีเอกับอียู

 

ชี้ข้อสรุปของกรมเจรจาการค้าเป็นการสรุปที่บิดเบือนจากความเป็นจริง และไม่ได้มีการใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ ซึ่งจะชี้นำทิศทางที่ผิดพลาดให้แก่รัฐบาลที่มีนโยบายสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ

5 ก.ย.55/กรุงเทพฯ  

จากการที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ พยายามเร่งให้เกิดการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป และได้ทำข้อสรุปเสนอต่อนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีว่า ควรให้ไทยมีท่าทีการเจรจาที่ยืดหยุ่นและยอมรับข้อผูกพันที่มากกว่า TRIPs หรือยอมรับ TRIPs Plus โดยให้เหตุผลว่า การคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา (Data Exclusivity) เพิ่มเติม 5 ปี จะไม่มีผลกระทบต่อราคายาในปัจจุบัน และการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยา อาจมีผลทำให้ยาสามัญ (Generic drugs) วางตลาดได้ช้าลงแต่ไม่เกิน 5 ปี จึงทำให้ผลกระทบต่อยามีจำกัดนั้น

ผศ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี หัวหน้าหน่วยวิจัยเภสัชศาสตร์สังคม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า นักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ การแพทย์ การสาธารณสุข การพัฒนาสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้งสิ้น 84 คน ได้ทำจดหมายถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คัดค้านข้อสรุปของกรมเจรจาการค้าฯ ที่ให้ยอมรับทริปส์พลัส หากทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป

“ข้อสรุปของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในฐานะเลขานุการการประชุมระดับสูงเพื่อพิจารณาเตรียมการเปิดการเจรจาการค้าเสรีของไทย เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ที่ผ่านมาเป็นการสรุปที่บิดเบือนจากความเป็นจริง และไม่ได้มีการใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องที่มีอยู่ ซึ่งจะชี้นำทิศทางที่ผิดพลาดให้แก่รัฐบาลของนายกฯยิ่งลักษณ์ที่มีนโยบายสำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ

เพราะการคุ้มครองข้อมูลทดสอบยาหรืออีกนัยหนึ่งคือ การผูกขาดข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยา (data exclusivity) เป็นการสร้างระบบการผูกขาดทางการตลาดยาขึ้นใหม่ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “สิทธิบัตรอำพราง” เพื่อเพิ่มการผูกขาดของสิทธิบัตรที่มีอยู่เดิม โดยอาจมีระยะเวลาการผูกขาดเพิ่มมากขึ้นถึง 10 ปี  และจากประสบการณ์ในหลายประเทศ เช่น โคลัมเบีย หลังจากที่สหภาพยุโรปบังคับให้มีการผูกขาดข้อมูลยา 10 ปี ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของประเทศเพิ่มขึ้นถึง 340 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (10,200 ล้านบาท) ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยในไทย ที่พบว่า ถ้าปล่อยให้มีการผูกขาดข้อมูลการขึ้นทะเบียนตำรับยาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 (ซึ่งเป็นปีที่ทำการศึกษา) ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านยาของไทยในอีกห้าปีข้างหน้า (พ.ศ. 2556)  จะสูงถึง 81,356 ล้านบาทต่อปี

พวกเราในฐานะนักวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ การแพทย์ การสาธารณสุข การพัฒนาสังคม การคุ้มครองผู้บริโภค และการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ทั้ง 84 คนจึงได้ทำจดหมายเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรียืนยันที่จะกำหนดไว้ในกรอบการเจรจาเอฟทีเอ ไทย-สหภาพยุโรปที่จะไม่รับข้อเรียกร้องที่เกินไปกว่าความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ความตกลงทริปส์  ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. 2554 และยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559  และขอให้การเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปที่จะมีขึ้นรอผลการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติกำลังดำเนินการอยู่ โดยที่ พวกเราพร้อมให้ความสนับสนุนด้านวิชาการแก่รัฐบาล เพื่อให้การเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ผลประโยชน์กับประเทศชาติอย่างสูงสุดและสร้างความยั่งยืนของระบบงบประมาณเพื่อการเข้าถึงยาของประชาชน”

ทั้งนี้จดหมายดังกล่าวได้สำเนาถึงนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี, นายบุญทรง เตริยาภิรมณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และนายวิทยา บูรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขด้วย                           

รายชื่อนักวิชาการถึงนายกรัฐมนตรี คัดค้านข้อสรุปของกรมเจรจาการค้าฯ ต่อการทำเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป

 

ลำดับที่

ชื่อ

หน่วยงาน

1

ผศ.ดร.นิยดา  เกียรติยิ่งอังศุลี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2

ผศ.ดร.มนุพัศ โลหิตนาวี

มหาวิทยาลัยนเรศวร

3

ดร.ภก.ศราวุฒิ อู่พุฒินันท์

มหาวิทยาลัยนเรศวร

4

ภญ.ดร.อารยา ศรีไพโรจน์

กระทรวงสาธารณสุข

5

ภก.จรัญวิทย์  แซ่พัว

สงขลา

6

อ.ราตรี แมนไธสง

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

7

ภก.ดร..สมศักดิ์ อาภาศรีทองสกุล

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

8

อ.อิสรา จุมมาลี

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

9

ดร.อุษาวดี มาลีวงศ์

กพย.

10

ผศ.ดร.ศิริตรี สุทธจิตต์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

11

รศ.ดร.พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

12

ศ.สุริชัย หวันแก้ว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

13

รศ.ดร.ฉันทนา บรรพศิริโชติ หวันแก้ว

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

14

รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

15

รศ.ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

16

ผศ.ดร.ยุพดี ศิริสินสุข

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

17

ผศ.ดร.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

18

อ.ดร.นฤมล อรุโณทัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

19

รศ.นพ.สุธี รัตนมงคลกุล

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

20

ภญ.ศิริพร จิตรประสิทธิ์ศิริ

ฉะเชิงเทรา กระทรวงสาธารณสุข

21

รศ.ดร.นุศราพร เกษสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

22

ผศ.นพ.ดร.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

23

รศ.ดร.อมรรัตน์ รัตนศิริ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

24

ผศ.สุณี เลิศสินอุดม

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

25

นุชรี วงศ์สมุท

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

26

สุภาพรรณ พลังศักดิ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

27

ศิริพร เจริญศุข

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

28

จิราพร เจียมจิตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

29

ศศิวัลย์ พรภักดี

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

30

วรรณิภา คำโคกกรด

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

31

ปาริชาต ชิตกูล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

32

พิสณฑ์ ทองสง่า

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

33

สุกานดา โสตถิโสภณ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

34

ชูเกียรติ จันทา

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

35

พิมพ์อัปสร โพธิ์เกษม

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

36

ผศ.ดร.วิบูลย์ วัฒนนามกุล

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

37

ผศ รักษวร ใจสะอาด

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

38

ดร วรรณี ชัยเฉลิมพงษ์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

39

รศ ดร จุฬาภรณ์ ลิมวัฒนานนท์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

40

รศ ดร สุพล ลิมวัฒนานนท์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

41

รศ ดร วัชรี คุณกิตติ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

42

ผศ ดร มณีรัตน์ รัตนามหัทธนะ

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

43

ผศ ทิพาพร กาญจนราช

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

44

นิพิฐพนธ์ สีอุปลัด

ขอนแก่น

45

พญ.นงนุช มารินทร์

เชียงราย

46

นพ.ชัยวุฒิ จันดีกระยอม

มหาสารคาม

47

นพ.อภิชัย  ลิมานนท์

มหาสารคาม

48

นพ.กัมปนาท โกวิทางกูร

ร้อยเอ็ด

49

นพ.สุรพงษ์ ผานาค

ขอนแก่น

50

นพ.ปิยวัตร ตุงคโสภา

อุดรธานี

51

นพ.พิสุทธิ์  ศรีอินทร์จันทร์

เลย

52

นพ.นริศ   เพชรบ่อใหญ่   

อำนาจเจริญ

53

นพ.เสกสรรค์ จวงจันทร์

ศรีสะเกษ   

54

นพ.วรวิทย์  เจริญพร

ยโสธร

55

พญ.อมรรัตน์ ปิตะพรหม

อุบลราชธานี

56

นพ.ศาสตรา เข็มบุบผา

บุรีรัมย์

57

นพ.พุทธา สมัดไชย

ชัยภูมิ

58

นพ.เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ

นครศรีธรรมราช

59

นพ.บัณฑิต พิทักษ์

มหาสารคาม

60

นพ.ไพรัตน์ สงคราม

มหาสารคาม

61

พญ.พัชรียา  ศรีสุข

มุกดาหาร

62

นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ

ขอนแก่น

63

นางวัชระษา พิทักษ์

มหาสารคาม

64

ภญ.กันต์กมล กิจตรงศิริ   

ยโสธร

65

ภก.องอาจ มณีใหม่               

มหาวิทยาลัยพะเยา

66

ภก.จรัญวิทย์  แซ่พัว             

สงขลา

67

แบงค์  งามอรุณโชติ

ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

68

ชลนภา อนุกูล

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

69

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ

สงขลา

70

นพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ

สงขลา

71

ผศ.สายพิณ หัตถีรัตน์

มหาวิทยาลัยมหิดล

72

นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์

มหาวิทยาลัยมหิดล

73

ภญ.สรีรโรจน์ สุขกมลสันต์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

74

ภก.ปรุฬห์ รุจนธำรงค์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

75

ภก.ศิวาวุธ มงคล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

76

ดร.นฤพร สุตัณฑวิบูรณ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

77

ผศ.ภญ.ดร.กรแก้ว จันทภาษา

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

78

ภก.ภาณุโชติ ทองยัง

สมุทรสงคราม

79

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์

สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

80

ศ.ดร.กาญจน์พิมล ฤทธิเดช

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

81

ผศ.ภญ.ดร.ปิยะรัตน์ นิ่มพิทักพงศ์

มหาวิทยาลัยนเรศวร

82

พญ.วันดี โภคกุล

กระทรวงสาธารณสุข

83

ผศ.ภญ.สำลี ใจดี

 

84

นพ.มงคล ณ สงขลา

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท