รัฐบาล : ใช้น้ำท่วมสร้างแบรนด์ดีมั๊ย แต่ต้อง....

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

 

ภาพน้ำท่วมปีนี้เริ่มปรากฎให้เห็นบ้างแล้วในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะหลายๆจังหวัดภาคเหนือ ส่งผลกระทบประชาชนเดือดร้อนอีกครั้ง ขณะที่รัฐบาลก็เร่งเดินหน้าแก้ไขเต็มสูบโดยไม่ชักช้า 
 
ส่วนหนึ่งเพราะมีบทเรียนจากเหตุการณ์ปีที่แล้ว
 
อีกส่วนเพราะต้องการสะท้อนถึงความพร้อม ความสามารถบริหารจัดการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน ภาคเอกชน นักลงทุน ฯลฯ 
 
เห็นผลเมื่อ จ.สุโขทัย น้ำลดสู่ปกติใน 2 วัน (ขณะที่เขียนต้นฉบับนี้)
          
แต่ก็มิอาจนิ่งนอนใจ เพราะขึ้นชื่อว่า ภัยธรรมชาติ เป็นอะไรที่ยากจะควบคุมป้องกัน ถึงป้องกันได้ ก็ไม่เบ็ดเสร็จ ได้ส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนต้องรอตั้งรับ แก้ไขเป็นเรื่องๆเฉพาะหน้าไป 
 
ที่น่ายินดี ก็คือ ท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ปีนี้รุกเร็ว ลงพื้นที่สุโขทัยด้วยตนเอง 
 
มองในมุมประชาสัมพันธ์(PR) ที่ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ถือว่า รัฐบาลได้(คะแนน) สามารถ“เอาอยู่” แต่ก็ต้องไปดูในจุดท่วมอื่นๆด้วย หากแก้ไขได้ผลเร็วเช่นนี้ ย่อมสะท้อนถึงภาวะผู้นำ    
 
หลังจากที่ปีที่แล้ว โดนไปอ่วมเหมือนกัน    
 
ในฐานที่สนใจPR ก็มีมุมมองที่อยากนำเสนอ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อ่าน หรือผู้สนใจ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจเห็นด้วย เห็นต่าง หรือเห็นแย้งผู้เขียน เพื่อเป็นแง่คิดหลากหลายให้สังคม โดยมองว่า เมื่อปีนี้มีแนวโน้มที่ดี “เอาอยู่” หากจะนำเรื่องน้ำท่วม มาใช้เป็นแบรนด์(Brand)รัฐบาล จะดีหรือไม่ ประการใด
 
รัฐบาลทำอะไรบ้างในน้ำท่วมปีนี้ สร้างงานโครงการอะไรบ้างที่เป็นการเตรียมความพร้อม หยิบตรงนั้นมาทั้งหมด แล้วสื่อสารสังคม ชูที่เด่นๆออกมาให้เห็น ชูแล้วย้ำ ชูแล้วย้ำต่อเนื่องผ่านสื่อ อาจเป็นรูปแบบ สปอตทีวี หรืออื่นๆ  มิเพียงสร้าง แต่ช่วงชิงการรับรู้จดจำที่ดี
 
สังคมรับรู้จดจำภาพปีที่แล้วไม่ค่อยดีเท่าไร สร้างแบรนด์ใหม่ให้รับรู้จดจำภาพปีนี้แทน แต่รัฐบาลต้อง “เอาอยู่” ให้ได้ตลอดฤดูฝนปีนี้  หากทำได้ ก็เป็นโอกาสทางการประชาสัมพันธ์  
 
ทำอย่างไรให้น้ำท่วม เป็นแบรนด์เชิงบวก แล้วสื่อสารสังคม ย้ำภาพอนาคตน้ำท่วมไม่ใช่เรื่องน่ากลัวจนเกินเหตุ แต่สามารถบริหารจัดการได้ 
 
ซึ่งโฆษกรัฐบาลและทีมงานประชาสัมพันธ์รัฐบาล จะช่วยนายกรัฐมนตรีได้ 
 
ผู้เขียนยังมองว่า ถ้ารัฐบาลเล่นเรื่องแบรนด์(บ้าง) น่าจะดี กลวิธีการบริหารใด ถ้าเป็นประโยชน์ต่อประชาชน วันนี้ถึงเวลาระดมใช้ทุกทาง
 
การสร้างแบรนด์ เป็นกลวิธีหนึ่ง จากแบรนด์น้ำท่วม สู่แบรนด์การบริหารด้านอื่นๆต่อไป  เชื่อว่ารัฐบาล มีสิ่งที่อยากจะชูให้สังคมเห็นภาพที่โดดเด่น และยอมรับ ไม่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือหลายสิ่ง
 
โดดเด่นเท่าใด ยิ่งสะท้อนภาวะผู้นำเท่านั้น 
 
เป็นโอกาสและความท้าทายไม่น้อย 
 
มองภารกิจรัฐบาลที่มีมากมายหลายด้าน งานหลายหน้า เยอะแยะไปหมด ทั้งงานนโยบาย งานที่ต้องเน้นทำเชิงรุก การแก้ไขปัญหา งานเร่งด่วนเฉพาะหน้า งานประจำ ฯลฯ 
 
หลายด้านหรือไม่หลายด้าน ดูจากจำนวนกระทรวงก็เหนื่อยแล้ว 20 กระทรวงก็ 20 ด้าน(ดูจากชื่อกระทรวง) 
 
แต่ละกระทรวง แยกไปกี่ด้าน ดูจากจำนวนกรม ไหนจะรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานเทียบเท่ากรมอีก 
 
ดูกันหลวมๆ ก็เข้าไป 200-300 ด้าน(ดูจากชื่อกรม ชื่อรัฐวิสาหกิจ ชื่อหน่วยงานเทียบเท่ากรม) หรือกว่านั้น นี่ดูมิติหน่วยงาน ดูมิติอื่นด้วยจะขนาดไหน
 
ะให้ประชาชนรับรู้และจดจำ 200-300 ด้าน ภาพคงเบลอ ดูง่ายๆ 200-300 ด้านนี้ ไปสู่ประชาชน เดี๋ยวกรมนั้น กรมนี้เข้าไป กระทรวงนั้น กระทรวงนี้ลงไป สัมผัสโดยตรงยังจำไม่ได้ใครเข้าไปพื้นที่ตำบลหมู่บ้านบ้าง 
 
ถ้าเช่นนั้น เลือกให้ประชาชนรับรู้และจดจำที่เด่นๆ จะดีมั๊ย ส่วนจะให้ภาพรัฐบาลเด่นอะไร เน้นอะไร จะชูด้านใด ขึ้นกับผู้นำรัฐบาล 
 
มีคำถามชวนคิด : เลือกหยิบ 1-2 ด้านทำให้โดดเด่น แรงๆไปเลย ให้ประชาชนทั่วประเทศโฟกัสผลงานตรงกัน จะดีหรือไม่ ประการใด 
 
สร้าง “แบรนด์” แล้วตีปี๊บพีอาร์แบรนด์นั้นออกไปสู่สังคม สาธารณะเป็นระยะๆต่อเนื่อง อาจไตรมาสละแบรนด์ยังได้ ไตรมาสต่อมา เลือกหยิบอีก 1-2 ด้านขึ้นมาชู และไตรมาสต่อๆไปก็เช่นกัน ยุคใหม่นี้เป็นไปได้หมด ถ้าจำเป็น   
 
เป็นแบรนด์รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เช่น “แบรนด์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” “แบรนด์สร้างสุข สลายทุกข์” “แบรนด์เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นต้น
 
ได้ “แบรนด์รัฐบาล” แล้ว ถ้าเห็นว่าจำเป็นและเหมาะสม อาจมอบนโยบายให้แต่ละกระทรวงไปสร้าง “ แบรนด์กระทรวง” ก็เป็นไปได้อีก          
กระทรวงมหาดไทย จะชูอะไรเป็นแบรนด์ในปี 2 ของรัฐบาล
 
กระทรวงสาธารณสุข จะเน้นอะไร 
 
พาณิชย์ เกษตร อุตสาหกรรม จะให้ประชาชนโฟกัสอะไร รวมถึงกระทรวงอื่นๆ ก็เช่นกัน 
 
มิเพียงหวังผลประชาชนจดจำได้ แต่ยังเป็นเข็มทิศนำทาง เพื่อการทำงานอย่างมีพลังและเป้าหมาย
 
ตรงทิศทางเพียงใด ขึ้นกับแบรนด์ที่ชู  
 
เปรียบการทำงาน เหมือนการวิ่งแข่ง รัฐบาลกระทรวงเป็นนักวิ่ง ลู่วิ่งเป็นแบรนด์ เส้นชัยเป็นเป้าหมาย ประชาชนผู้ชมรอบสนาม จะโฟกัส
ชื่นชมคนวิ่งถึงเส้นชัยเป็นคนแรก เป็นใคร มาจากไหน เก่งอย่างไร ดังนั้น วิ่งตามแบรนด์ที่ชู ซึ่งมาจากรัฐบาลกระทรวงเลือกแล้ว เพื่อไปถึงเส้นชัยหรือเป้าหมายก่อนใคร  
 
ลดหลั่นลงมาอันดับ 2 อันดับ 3 ยังมีคนกล่าวถึงบ้าง เข้าเส้นชัยอันดับ 5,6,.. หรือท้ายๆ ก็แผ่วหน่อยเป็นธรรมดา  
 
เข้าเส้นชัยอันดับ 1 เป็นใครก็ได้ มีแบรนด์ก็เด่นสุด คนโฟกัสและจดจำ     
 
 เป็นรัฐบาล ก็ต้องแข่ง เป็นการแข่งสร้างผลงาน สร้างประโยชน์ให้ประเทศ ประชาชน          
 
กระทรวง ก็เช่นกัน ต้องแข่งการทำงาน แข่งให้บริการประชาชน จะขับเคลื่อนผลักดันอะไรเข้าเส้นชัยก่อน  
 
อยู่ที่รัฐบาล กระทรวง จะเลือกหยิบอะไรชูเป็นแบรนด์ ไม่ว่านโยบาย งานโครงการ หรือผลงานที่ต้องการเน้น และอยากให้โดดเด่นที่สุด 
 
แบรนด์ชัด การทำงานชัด  
          
งานใหญ่ๆ หลักๆ ต้องรีบฉวยชูเป็นแบรนด์ ส่วนงานลดหลั่นรองๆ อันดับ 2, 3, 4, 5...ก็ว่าไป ขึ้นกับบริบทและความเหมาะสม อย่าลืมว่าภารกิจรัฐบาลมีทั้งงานนโยบาย งานที่ต้องเน้นทำเชิงรุก การแก้ไขปัญหา งานเร่งด่วนเฉพาะหน้า และงานประจำ อยู่ที่การจัดและให้ความสำคัญอย่างไร
 
เพื่อให้การบริหารงานปีที่ 2 “เอาอยู่”
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท