Skip to main content
sharethis

‘ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม’ เคลื่อนขบวนถึงกรุงเทพฯ ค้างคืนหน้าประตู 4 ทำเนียบ หลังเจรจาไม่คืบรอนัดนายกฯ แก้ไขปัญหาพรุ่งนี้ จากที่ช่วงเช้าร่วมเครือข่ายสลัม 4 ภาค ยื่นหนังสือยูเอ็น ‘วันที่อยู่อาศัยสากล’

 
 
วันนี้ (1 ต.ค.55) คาราวานมอเตอร์ไซค์ของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือ พีมูฟ (pmove) จากภาคเหนือและเครือข่ายจากทั่วประเทศนับพันคน เคลื่อนขบวนถึงกรุงเทพฯ ตามนัดหมายจัดชุมนุมใหญ่เพื่อทวงคืนนโยบายของคนจน อาทิ นโยบายโฉนดชุมชนและธนาคารที่ดิน จากที่กว่า 1 ปีที่ผ่าน ได้พยายามติดตาม และผลักดันให้กลไกการแก้ไขปัญหาแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ
 
สื่เนื่องจากที่พีมูฟ ซึ่งประกอบไปด้วย เครือข่ายสลัม 4 ภาค สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสาน (คปอ.) สมัชชาคนจนกรณีเขื่อนปากมูล (สคจ.) เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) เครือข่ายปฏิรูปที่ดินเทือกเขาบรรทัด (คปบ.) สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) เครือข่ายเกษตรพันธสัญญา เครือข่ายสิทธิสถานะบุคคล และกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล ได้แถลงข่าวนัดรวมตัวตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 ก.ย.55 (คลิกอ่าน)
 
 
 
นอกจากนั้น เมื่อเวลาประมาณ 09.00 น. พีมูฟร่วมกับเครือข่ายสลัม 4 ภาค เดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยไปยื่นหนังสือถึงคณะกรรมธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิก (UN Economic and Social Commission for Asia and the Pacific - UNESCAP) ที่อาคารสำนักงานสหประชาชาติเพื่อให้รัฐบาลนานาประเทศตระหนัก และให้ความสำคัญของปัญหาการไร้ที่อยู่อาศัย รวมทั้งให้มีมาตรการ และนโยบายในการแก้ปัญหา เนื่องวันที่อยู่อาศัยสากล
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขบวน พีมูฟ เดินทางจากอาคารสำนักงานสหประชาชาติมารวมตัวกันที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาลในช่วงบ่าย เรียกร้องให้มีการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาของเครือข่าย พร้อมเสนอให้การแก้ปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยเป็นวาระแห่งชาติ โดยในเวลาประมาณ 14.00 น. ตัวแทนทางเครือข่ายได้เดินทางเข้าไปร่วมพูดคุยกับตัวแทนรัฐบาลในทำเนียบรัฐบาล
 
ประเด็นการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับตัวแทนของพี่มูฟ ประกอบด้วย 1.การปรับปรุงกลไกแก้ไขปัญหาของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม 2.การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเรื่องที่ดิน ในรูปแบบโฉนดชุมชน 3.การจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์กรมหาชน) 4.กรณีโครงการนำร่องธนาคารที่ดินภาคเหนือ 5 หมู่บ้าน 5.กรณีสินเชื่อบ้านที่อยู่อาศัย (โครงการบ้านมั่นคง) 6.กรณีคนไร้บ้าน 7.กรณีการจัดทำเขตวัฒนธรรมพิเศษ (ชาวเลราไวย์) 8.กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล และ 9.กรณีเครือข่ายสิทธิสถานะบุคคลและกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล
 
นายเหมราช ลบหนองบัว ประธานเกษตรกรทุ่งซำเสี้ยว อ.เกษตรกรสมบูรณ์ จ.ชัยภูมิ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินภาคอีสานหนึ่งในตัวแทน 10 คนของพีมูฟ กล่าวภายหลังเสร็จสิ้นการเจรจาว่า การพูดคุยมี นพ.ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมืองเข้าร่วม แต่ผลการเจรจาไม่คืบหน้า เนื่องจากตัวแทนรัฐบาลอ้างว่า ทั้ง 9 เรื่อง นายกรัฐมนตรีสามารถเป็นผู้ตัดสินใจได้เพียงคนเดียว ดังนั้นจะประสานไปยังนายกฯ และขอร้องให้ผู้ชุมนุมกลับบ้านไปก่อน อีก 3-4 วัน เมื่อติดต่อนายกฯ ได้แล้ว จะเชิญตัวแทนเข้ามาร่วมเจรจาในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากได้รับคำตอบ ผู้ชุมนุมต่างแสดงความไม่พอใจ และได้ให้เวลา 10 นาทีเพื่อประสานนายกฯ แต่จนกระทั่งเวลาประมาณ 15.30 น. ไม่มีสัญญาณตอบกลับจากฝ่ายรัฐบาล ผู้ชุมนุมจึงลุกขึ้นมารวมตัวที่หน้าประตูเพื่อกดดันให้นายกฯ อออกมาเจรจาหรือให้คำตอบที่ชัดเจน ทำให้เกิดการผลักดันกันไปมาระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจกับกลุ่มผู้ชุมนุมประมาณ 2-3 ครั้ง ที่บริเวณหน้าประตู นอกจากนั้นกลุ่มผู้ชุมนุมยังมีการนัดหมายกันว่าจะเดินทางไปบ้านนายกฯ ในช่วงเย็นเพื่อทวงถามถึงการแก้ปัญหา
 
ภายหลังจากที่มีการปะทะกัน ทางรัฐบาลได้ส่งสัญญาณถึงแกนนำกลุ่มผู้ชุมชุม โดยมีข้อเสนอ 2 ข้อ คือ ขอตัวแทนเข้าร่วมเจรจาอีกครั้ง และขอร้องไม่ให้นำขบวนไปยังบ้านนายกฯ 
 
ภาพโดย: เอก ตรัง
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผลการเจรจารอบที่สอง ตัวแทนรัฐบาลรับปากจะศึกษารายละเอียดในเรื่องดังกล่าว พร้อมทั้งประสานให้ผู้ชุมนุมส่งตัวแทนจำนวน 15 คนได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (2 ต.ค.) เวลา 09.00 น.ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี พร้อมระบุว่านายกรัฐมนตรีจะเร่งพิจารณาข้อเรียกของทางเครือข่าย
 
อย่างไรก็ตามในวันนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมตกลงค้างคืนกันที่ข้างทำเนียบรัฐบาล เพื่อติดตามผลการเจรจาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งหากผลเป็นที่พอใจก็จะสลายการชุมนุม แต่หากปัญหาไม่ได้รับการแก้ไขก็จะมีการร่วมกันพิจารณาถึงแนวทางการเคลื่อนไหวต่อไป
 
"หากนายกฯ ไม่ยอมออกมาร่วมเจรจาในการแก้ไขปัญหาเหมือนที่เคยสัญญาไว้อีก ทางกลุ่มพีมูฟจะปีนรั้วทำเนียบเพื่อเข้าไปพบเอง" นายเหมราชกล่าว 
 
     ภาพโดย: ฮาริ บัณฑิตา
 
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้พีมูฟได้สรุปความล้มเหลว 1 ปีกลไกการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาลพร้อมข้อเสนอไว้ดังนี้ 
 

สรุปความล้มเหลว 1 ปีกลไกการแก้ปัญหาร่วมกับรัฐบาล

กลุ่มปัญหา

สภาพปัญหา

ผลการดำเนินงาน

ปัญหา/อุปสรรค

ข้อเสนอ

การแก้ไขปัญหาภายใต้คณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขบวนการปะชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ ๑๕/๒๕๕๕)

๑.ความเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน

๒.ความเดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัย

๓. ปัญหาที่เกิดจากการสร้างเขื่อน

๔. ปัญหาการไร้สิทธิสถานะและชาติพันธุ์

๕.ปัญหาจากเหมืองและโรงไฟฟ้า

๖. ปัญหาการทำเกษตรพันธสัญญา

๗.ปัญหาความไม่เป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม

๑.คณะกรรมการฯ มีการประชุมไปแล้ว ๒ ครั้ง

ไม่สามารถดำเนินการในทางปฏิบัติได้เนื่องจากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล)ไม่ทำตามนโยบาย

๑.ปรับปรุงคณะกรรมการใหม่ โดยให้นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธาน และให้เปลี่ยนรองประธานกรรมการฯ (รมต.วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล) ออก

กลุ่มปัญหาที่ดินในความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๑/๒๕๕๕)

-การประกาศเขตพื้นที่ป่าตามกฎหมายประเภทต่างๆเช่น อุทยานแห่งชาติ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สวนป่าทับที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของชุมชน โดยไม่มีการสำรวจตรวจสอบที่ชัดเจนก่อน

-ชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีทั้งในทางอาญาในข้อหาบุกรุก และคดีแพ่งเรียกค่าเสียหาย โดยมีข้อกล่าวหาว่าชาวบ้านที่อาศัยทำกินในเขตป่าเป็นผู้ต้องหาสำคัญที่ทำให้อากาศของโลกร้อนขึ้น

-รัฐบาลนำข้อเสนอของขปส.บรรจุไว้เป็นนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา โดยมีแนวทางจะสนับสนุนให้คนอยู่กับป่า / แก้ไขกฎหมายป่าไม้๕ฉบับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ/ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำและทะเล และแก้ไขปัญหาคดีโลกร้อนกับคนจน (ตามนโยบายข้อ ๕ นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

-ยังไม่มีการเปิดประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา

-ไม่มีการเปิดการประชุมร่วม

-รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล) ยืนยันในที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.จะใช้กลไกคณะกรรมการบูรณาการจัดการที่ดินทั้งระบบ ซึ่งเป็นแนวทางที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และเน้นการแก้ปัญหาแบบปัจเจก ไม่สนับสนุนสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดิน(โฉนดชุมชน)

-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ยอมรับแนวทางโฉนดชุมชนเนื่องจากนโยบายไม่มีความชัดเจน

 

เปิดประชุมอนุกรรมการฯและให้สนับสนุนแนวทางดังนี้

-สนับสนุนให้ชุมชนสามารถอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินเขตป่าได้ภายใต้หลักสิทธิชุมชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และเร่งจัดให้มีโฉนดชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชน

-ในระหว่างการดำเนินการแก้ปัญหาร่วมกัน ให้ยุติการจับกุม ไล่รื้อ ชาวบ้านสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม

-ยุติการใช้โมเดลเรียกค่าเสียหายทางแพ่งซึ่งขัดกับหลักการทางวิชาการ(คดีโลกร้อน)

กลุ่มปัญหาที่สาธารณประโยชน์และที่ดินเอกชนปล่อยทิ้งร้าง (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๒/๒๕๕๕)

ปัญหาที่สาธารณประโยชน์

-มีการประกาศเขตที่สาธารณประโยชน์ทับที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชุมชน ทำให้เกิดข้อพิพาทโต้แย้งเรื่องสิทธิ์ ชาวบ้านถูกจับกุมดำเนินคดีทั้งทางอาญาและทางแพ่ง

ปัญหาที่ดินเอกชนปล่อยทิ้งร้าง

- การกระจายการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรม  ที่ดินส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนส่วนน้อยและผู้ร่ำรวย ทำให้เกษตรกรไม่สามารถเข้าถึงที่ดินได้ 

-ที่ดินถูกทำให้เป็นสินค้า มีการกว้านซื้อที่ดิน ปั่นราคา กักตุนไว้โดยปล่อยทิ้งร้างไม่ใช้ประโยชน์ และไม่เคยมีการเพิกถอนตามมาตรา ๖ ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ระบุให้อำนาจอธิบดีในการเพิกถอนเอกสารสิทธิหากไม่มีการใช้ประโยชน์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

-ที่ดินมีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบ ทับที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน

-เกิดข้อพิพาทในทางคดีระหว่างเอกชน(นายทุน) กับชุมชน

ยังไม่มีการเปิดประชุมคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา

-ไม่มีการเปิดการประชุมร่วม

-รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล) ยืนยันในที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.จะใช้กลไกคณะกรรมการบูรณาการ ซึ่งใช้แนวทางที่ปราศจากการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และเน้นการแก้ปัญหาแบบปัจเจก ไม่สนับสนุนสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดิน(โฉนดชุมชน)

เปิดประชุมอนุกรรมการฯและให้สนับสนุนแนวทางดังนี้

-ให้มีการตรวจสอบเอกสารสิทธิที่คาดว่าจะมีการออกโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

-กรณีที่กรณีที่พบว่ามีการออกเอกสารสิทธิ์โดยมิชอบ หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์เดิมทอดทิ้งไม่ทำประโยชน์เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดให้ดำเนินการเพิกถอนที่ดิน และให้สิทธิแก่สหกรณ์ปฏิรูปทีดินในพื้นที่จัดสรรให้กับสมาชิกที่ทำประโยชน์อยู่เดิม

-สนับสนุนให้ชุมชนจัดการที่ดินร่วมกัน ภายใต้หลักการสิทธิชุมชนและโฉนดชุมชน

-ให้มีการเปลี่ยนแปลงประธานคณะอนุกรรมการ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นผู้ควบคุมดูแลกรมที่ดินมานั่งเป็นประธานเพื่อให้สามารถเดินหน้าแก้ไขปัญหาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว

-ให้กรมที่ดินเร่งดำเนินการส่งมอบพื้นที่ที่ผ่านการอนุมัติของคณะกรรมการประสานงานเพื่อจัดให้มีโฉนดชุมชน(ปจช.)เพื่อจัดทำโฉนดชุมชน

กรณีปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๕/๒๕๕๕)

ประชาชนขาดสิทธิและสถานะบุคคลตามสิทธิที่ควรจะได้รับ

 

ยังไม่มีการเปิดประชุมคณะอนุกรรมการ

ยังไม่มีการเปิดประชุมร่วม

เร่งรัดให้มีการเปิดประชุมคณะอนุกรรมการฯ

กรณีปัญหาปัญหาเกษตรพันธสัญญา (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๔/๒๕๕๕)

เกษตรกรที่ทำเกษตรกับบริษัทขนาดใหญ่แล้วติดภาระหนี้สินและขาดทุนจากการทำเกษตรแบบพันธสัญญา

มีการตั้งคณะทำงานขึ้น ๓ชุดเพื่อทำการศึกษาสภาพปัญหาเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยอยู่ในระหว่างการดำเนิน

-

ให้เร่งรัดดำเนินการศึกษาสภาพปัญหาเรื่องเกษตรพันธสัญญาตามมติของคณะอนุกรรมการฯ

กรณีปัญหาที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๕/๒๕๕๕)

ปัญหาการไล่รื้อชุมชนแออัด และการดำเนินการสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยสำหรับคนจนดำเนินการต่อตามโครงการบ้านมั่นคงได้ไม่ต่อเนื่อง เพราะงบประมาณส่วนที่เหลือ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ยังไม่ได้รับการอนุมัติ ซึ่งหากมีเหตุการณ์ไฟไหม้ ไล่รื้อชุมชน การพัฒนาคุณชีวิตและสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้กับคนไร้บ้าน จะดำเนินการได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ

มีการดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการ ฯ ไป ๑ ครั้ง โดยมีปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในการประชุม ผลการประชุมได้พิจารณาการดำเนินงานของโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งการอนุมัติงบประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้รัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาฯ นำเรื่องการอนุมัติงบประมาณเข้าที่ประชุมชุดใหญ่และคณะรัฐมนตรีต่อไป ส่วนกรณีโครงการชุมชนใหม่คนไร้บ้านให้มีการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ ๘ มีนาคม ๒๕๕๔

รัฐบาลไม่ให้ความสำคัญการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนแบบมีส่วนร่วม  โดยการไม่สนับสนุนงบประมาณโครงการบ้านมั่นคง และให้ความสำคัญกับโครงการบ้านเอื้ออาทร มากกว่าโครงการบ้านมั่นคงที่สนับสนุนให้ชาวชุมชนได้มีส่วนร่วมในการออกแบบชุมชน

ให้รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ ที่เหลือจำนวน 3,000 ล้าน ตาม มติ อนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและสินเชื่อ เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕

กรณีปัญหาที่ดินที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๖/๒๕๕๕)

๑.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช

๒.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ จิระ – ขอนแก่น

๓.โครงการก่อสร้างทางด่วนศรีรัช ช่วงต่อขยาย

 

 

-ได้มีการเจรจากับทางกระทรวงคมนาคม โดยมี รมช.พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก เป็นประธานในที่ประชุม และลงดูพื้นที่ร่วมกัน

 

-ได้มีการประชุมหารือการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย

อนุกรรมการยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดกับการแก้ไขปัญหาและ ทางกระทรวงไม่ตอบสนองแนวนโยบายโครงการบ้านมั่นคง

ให้ฝ่ายการปฏิบัติงานได้ทำตามนโยบายโครงการบ้านมั่นคง

กรณีปัญหาคดีความ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๗/๒๕๕๕)

๑.การฟ้องดำเนินคดีกับชาวบ้านในกรณีพิพาทที่ดินและอื่น ๆ

ชั้นเจ้าพนักงานสอบสวน การควบคุมตัวออกมาโดยพลการ โดยอ้างว่าเป็นความผิดซึ่งหน้า ซึ่งในทางข้อเท็จจริง พฤติการณ์ของเจ้าพนักงานขาดองค์ประกอบข้อเท็จจริงอย่างชัดแจ้ง กล่าวคือ มีการสนธิกำลังกันเป็นจำนวนมาก เจ้าหน้าที่บางหน่วยมาจากต่างจังหวัดห่างไกลที่เกิดเหตุ

ชั้นการพิจารณาสำนวนคดีของพนักงานอัยการ โดยส่วนใหญ่แล้ว คดีที่เจ้าพนักงานสอบสวนส่งสำนวนให้อัยการ จะไม่มีการสอบพยานเพิ่มเติม และจะส่งฟ้องศาลต่อไป ในขณะที่ชาวบ้านได้พยายามเข้าให้ข้อมูล

ชั้นการพิจารณาคดีของศาล คดีความของชาวบ้านที่เกิดขึ้นโดยส่วนใหญ่จะเป็นคดีอาญา ข้อหาบุกรุกที่ดินของรัฐ ทั้งพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมายประเภทต่าง ๆ และที่สาธารณประโยชน์ ส่วนที่เหลือจะเป็นคดีแพ่งที่หน่วยงานในฐานะโจทก์ฟ้องขับไล่ และในพื้นที่ป่าไม้ภายหลังการฟ้องคดีอาญาแล้ว โจทก์จะฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง

ซึ่งการนำพยานหลักฐานเข้าต่อสู้คดีในศาล จะเป็นเอกสารการทำประโยชน์ในที่ดิน ที่ไม่ใช่หลักฐานตามประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจะมีน้ำหนักในการพิจารณาน้อย เมื่อเทียบกับเอกสารทางราชการของโจทก์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายในการกำกับดูแลพื้นที่นั้น ๆ จึงเชื่อได้ว่าชาวบ้านเป็นผู้บุกรุกพื้นที่ดังกล่าว

๒.การเข้าไม่ถึงกระบวนการยุติธรรม

เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ยืดเยื้อ ยาวนาน ภาระค่าใช้จ่ายยิ่งมากขึ้น การเกิดคดีความต้องมีค่าเดินทางไปศาล ค่าเอกสาร ค่าทนาย ค่าหลักทรัพย์ประกันตัว  และสิทธิการทำประโยชน์ในพื้นที่พิพาทที่ถูกดำเนินคดีย่อมเป็นไปอย่างจำกัด บางกรณีมีการปิดหมายบังคับคดีให้ชาวบ้านออกจากพื้นที่ พร้อมรื้อถอนไม้ผล สิ่งปลูกสร้าง ที่อยู่อาศัยออกไปด้วย ยิ่งก่อผลกระทบต่อการทำมาหากินของชาวบ้านหนักมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถดำเนินต่อสู้ทางคดีได้อย่างเต็มที่และท้ายที่สุดไม่สามารถต่อสู้ได้เลย

ดำเนินการจัดประชุมอนุกรรมการกรณีปัญหาคดีความ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ไป ๒ ครั้งครั้งที่ ๑ วันที่ ๒๔ กรกฎาคม๒๕๕๕ ซึ่งมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงยุติธรรม(นายปรีชา ธนานันท์) เป็นประธานในการประชุม ผลการประชุมได้

๑.พิจารณาให้มีการตั้งคณะทำงานขึ้นมา ๑ คณะ จำนวน ๑๕ คน เพื่อดำเนินการศึกษารากฐานของสภาพปัญหา/ตรวจสอบข้อเท็จจริง/เสนอแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาคดีความ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม

๒.แก้ปัญหากรณีเร่งด่วน ๒ กรณี –กรณีบ้านสันติพัฒนา

-กรณีการขออภัยโทษ นายประเวศน์ ปันป่า (ซึ่งได้รับอภัยโทษแล้ว )

ครั้งที่ ๒ วันที่ ๒๔ กันยายน ๒๕๕๕ ผลการประชุมพิจารณา

๑.ให้มีการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะทำงานให้ครอบคลุมปัญหา พร้อมกับให้มีแผนการลงพื้นที่ของคณะทำงานเพื่อตรวจสอบ ศึกษาปัญหาในพื้นที่ โดยใช้งบจากสำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี

๒.กรณีปัญหาเร่งด่วน

-กรณีชุมชนหนองกินเพล จังหวัดอุบลราชธานี

-กรณีชุมชนบ้านโป่ง จังหวัดเชียงใหม่

-กรณีการพิสูจน์หลักฐานสาเหตุไฟไหม้บ้านพักสหกรณ์การเกษตรปากมูล

- มีการประชุมคณะทำงานฯจำนวน ๒ ครั้ง เมื่อวันที่ ๓๑ สิงหาคมและวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๕ โดยอนุกรรมการอนุมัติแนวทางของคณะทำงาน คือการทำงานศึกษาวิจัยระยะยาวและการลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีเร่งด่วน

- กรอบการศึกษายังไม่มีความชัดเจน

-ให้เร่งรัดอนุมัติและเบิกจ่ายงบประมาณในการศึกษาวิจัยปัญหาคดีความ กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมตามมติของคณะอนุกรรมการฯ

-ให้คณะอนุกรรมการฯหาแนวทางในการยุติหรือชะลอการดำเนินคดีกับชาวบ้านที่กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกับรัฐบาล

 

 

กรณีปัญหาผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวล โรงไฟฟ้าแม่เมาะ และโรงโม่หิน (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๘/๒๕๕๕)

๑.เป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลใน ๓ จังหวัด ดังนี้

๑.๑) โรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท พลังงานสะอาดดี ๒ จำกัด ในพื้นที่บ้านไตรแก้ว ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย              

๑.๒) โรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท บัวสมหมายไบโอแมส จำกัด ในพื้นที่ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี

๑.๓) โรงไฟฟ้าชีวมวลของบริษัท โรงไฟฟ้าบ้านตาก จำกัด ในพื้นที่หมู่ที่ ๑๑ บ้านวังไม้สร้าง ตำบลตากออก อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก  

๒.ราษฎรตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ซึ่งได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

๓.ผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ (จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก)

๔.ผู้ได้รับผลกระทบจากเหมืองหินเขาคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

๕.ผลกระทบจากการประกอบอุตสาหกรรมเหมืองหิน ชนิดหินปูนเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้าง  
 โรงโม่หินศักดิ์ชัย ตำบลทุ่งนาเลา อำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ

 

มีการประชุมอนุกรรมการไปแล้ว ๑ ครั้งวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๕  ผลการประชุมดังนี้ ๑.เรื่องโรงไพฟ้าชีวมวลจังหวัดอุบลราชธานีและเชียงรายให้จังหวัดไปรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติมภายใน ๒ เดือน จังหวัดตากรองผู้ว่าฯยืนยันจะไม่มีการอนุญาตให้ออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. ๔)

๒.ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าและเหมืองแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้กลับไปรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม ๒ เดือน

๓.ปัญหาผลกระทบจากเหมืองแร่ทองคำ (จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ และพิษณุโลก) ความเป็นมาของโครงการ ประธานอนุกรรมการฯจะลงพื้นที่ดูข้อมูลในพื้นที่เอง

ส่วนกรณีปัญหาเหมืองหินเขาคูหา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลาและโรงโมหินศักดิ์ชัยจังหวัดชัยภูมิให้เลื่อนไปพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาให้ได้ข้อยุติและไม่ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล

ให้มีการเปิดประชุมอนุกรรมการครั้งที่ ๒ โดยด่วน

กรณีปัญหาเขื่อนปากมูล (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๙/๒๕๕๕)

๑. ชาวบ้านสูญเสียอาชีพประมงมาเป็นเวลากว่า ๒๐ ปี

๒.ระบบนิเวศของแม่น้ำมูนได้รับความเสียหายอย่างมาก ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องฟื้นฟู

๑. มีการแต่งตั้งอนุกรรมการขึ้นมา ๑ คณะ และมีการประชุมไปแล้วหนึ่งครั้งเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๕ แต่ในการประชุมครั้งดังกล่าว ไม่มีข้อสรุปอะไร

๑. มติ ครม.วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔

๒. มีการตั้งกรรมการซ้ำซ้อน

๓. รัฐมนตรี ฯ ไม่ให้ความสำคัญ ซื้อเวลา

๑. ยกเลิก มติ ครม.วันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๕

๒. ให้ นำมติที่ประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๓ มาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาเขื่อนปากมูล

๓. ให้อนุกรรมการ ฯ เร่งประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาโดยเร็ว

กรณีปัญหาที่ดินในพื้นที่เขตปฏิรูป ปัญหาอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน จ.เชียงใหม่และปัญหาเก็บน้ำห้วยฝั่งแดง จ.อุบลราชธานี (คำสั่งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของขปส.ที่ ๑๐/๒๕๕๕)

กรณีปัญหาที่ดินในพื้นที่เขตปฏิรูป จ.สงขลา

กรมศุลกากรขอใช้พื้นที่ในการขยายสร้างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่ทับที่ดินทำกินของชุมชน จำนวน ๗๒๐ ไร่ ๓ งาน ๙๐ ตารางวา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรณีปัญหาเก็บน้ำห้วยฝั่งแดง จ.อุบลราชธานี การสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยฝั่งแดงทับที่ทำกินของชาวบ้าน

 

- มีการแจกเอกสารสิทธิ์ ส.ป.ก ๔-๐๑ ข ให้กับชาวสวนจำนวน ๓๘ ราย

- มีการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ เขตปฏิรูปที่ดิน ปัญหาอ่างเก็บน้ำแม่ปิงตอนบน จังหวัดเชียงใหม่ และปัญหาอ่างเก็บน้ำห้วยฝั่งแดง จังหวัดอุบลฯ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมติในที่ประชุม เห็นชอบในการแต่งตั้งคณะกรรมการทำงานร่วมกัน เพื่อศึกษาถึงผลกระทบในเชิงระบบนิเวศวิทยา และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ และสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยรอบทั่วไป และนำผลที่ได้มาเสนอต่อคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาฯ เพื่อใช้สำหรับในการประชุมครั้งต่อไป

·         ตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาระดับอำเภอ โดยคณะทำงานมีมติว่าให้ดำเนินการลดระดับน้ำลง ๑๕๐ ซม.เพื่อศึกษาผลกระทบ  แล้วทำการปรับเพิ่ม/ลดระดับน้ำ จนกว่าจะเป็นที่พอใจของราษฎรทั้งสองฝ่าย  (ฝ่ายผู้เดือดร้อน
กับฝ่ายที่อ้างว่าใช้ประโยชน์จากอ่างเก็บน้ำฯ)

·         หากน้ำยังคงท่วมที่ทำกินของชาวบ้านจำนวนเท่าไร  ให้มีการจัดหาที่ดินทดแทนให้กับชาวบ้าน 

·         สถานการณ์ปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะลดน้ำได้ตามมติที่ได้มีการตกลงกันไว้กับชาวบ้าน เนื่องจากกรมชลประทาน จังหวัดอุบลฯ ใช้วิธีการลดน้ำ
ที่ไม่ถูกต้องน้ำยังคงท่วมขังที่ทำกิน ชาวบ้านยังไม่สามารถทำกินได้ดังเดิม)

·         ล่าสุดคณะอนุกรรมการฯ ชุดที่ ๑๐  ได้ประชุมกันวันที่  ๒๗ กรกฎาคม  ๒๕๕๕  มีมติให้แต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด  ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนฝ่ายราชการและตัวแทนฝ่ายชาวบ้าน  โดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธาน  เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป

·  ถูกลิดรอนสิทธิ์ใน ส.ป.ก. ที่ชาวบ้านได้รับ

·  ได้มีการพยายามไกล่เกลี่ยต่อรองให้ชาวบ้านรับค่าเยียวยาชดเชย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรมชลประทาน จ.อุบลฯ สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยฝั่งแดงไปโดยพลการทั้งๆ ที่ชาวบ้านต้องการฝายน้ำล้น

·         ให้พิจารณาพื้นที่แห่งใหม่ในการขยายสร้างด่านศุลกากรสะเดา ที่ไม่มีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

·         ให้ชุมชนทำการเกษตรกรรมต่อไปตามเจตนารมณ์ของ ส.ป.ก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

·         ให้ดำเนินการลดระดับน้ำขั้นต้น ๑๕๐ ซม.ทันที 

·         กำหนดมาตรการ  ค่าชดเชยเยียวยา
และค่าเสียโอกาส
ในการทำกิน ตามเวลาที่เสียไป จำนวน ๑๕ ปี 
ให้เหมาะสม
และเป็นธรรม

·         ให้ปรับสภาพและฟื้นฟูที่ดินหลังจากได้ลดน้ำแล้วเพื่อให้ชาวบ้านสามารถทำกินได้ดังเดิม

·         จัดหาที่ดินทำกิน
ตามจำนวนที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน

ให้ปรับรูปแบบ
จากอ่างเก็บน้ำ
เป็นฝายน้ำล้น 
ตามที่เคยให้ข้อมูลกับชาวบ้านไว้ก่อนการก่อสร้าง (สร้างฝายน้ำล้น 
ได้น้ำพอดีทำนา 
น้ำไม่ท่วม )

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net