การเมืองท้องถิ่นเบื้องหลังความรุนแรงใน Aceh

ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ

เหตุการณ์ยิงกันตายอย่างต่อเนื่องในอาเจะห์ดูเหมือนยังไม่เบาบางลง เป็นความรุนแรงที่มีลักษณะเกาะกลุ่มอย่างเป็นระบบและอันตราย กำลังเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายประชาธิปไตยและความเป็นมนุษย์ในจังหวัดแห่งนี้ ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องตอบสนองการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนและอย่างมีกลยุทธ์ที่จะหยุดความโหดร้าย และการรื้อฟื้นความยุติธรรม

ดังเหตุการณ์สุดสลดเมื่อวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนห้าคนถูกฆ่าตายและอีกกลุ่มหนึ่งได้รับบาดเจ็บ กูโนโก คนงานก่อสร้างคนหนึ่งเป็นผู้เสียชีวิตคนล่าสุดในช่วงเวลา 21 ชั่วโมงของหอผู้ป่วยหนักที่โรงพยาบาลในท้องถิ่นแห่งหนึ่ง ซึ่งเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดเป็นผู้อพยพที่ยอมละทิ้งบ้านเรือนของพวกเขาเพียงเพราะต้องการมาทำงานหาเงินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว

เป็นเรื่องหน้าเศร้าใจที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ระบุไว้ว่า ความรุนแรงได้กลายเป็นอาชญากรรมที่เกิดขึ้นโดยทั่วไปและไม่มีอะไรที่จะมารบกวนการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้กำหนดไว้ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์นี้ได้ แต่การฆาตกรรมอย่างเป็นระบบและการเพิ่มจำนวนของความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานนี้เผยให้เห็นว่า ความโหดร้ายเกี่ยวข้องกับบางสิ่งบางอย่างที่ใหญ่กว่า

มีข้อสันนิฐานสามข้อที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของความรุนแรงในอาเจะห์ ข้อแรกคือ ความรุนแรงที่เชื่อมโยงกับการเมืองท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกตั้งในระดับภูมิภาคหรือที่เรียกกันว่า “pilkada” การฆาตกรรมเกิดขึ้นบนบรรทัดฐานของความขัดแย้งที่เกี่ยวพันธ์กับการเมืองท้องถิ่น

ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นดูเหมือนจะมีรากเหง้าจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ของอดีตกองกำลังของกลุ่มแบ่งแยกดินแดน (GAM) ซึ่งขณะนี้มีอย่างน้อยสามกลุ่มด้วยกัน คือ กลุ่มสวีเดนที่มีการจัดการตนเองในรูแบบพรรคการเมือง Aceh Party กลุ่มภายในประเทศที่นำโดยผู้ว่าราชการจังหวัด Yusuf Irwandi และรองผู้ว่า Muhammad Nasar และกลุ่มที่สามซึ่งถูกกันอยู่ภายนอกที่ไม่ได้เข้าสู่การเมืองท้องถิ่น ซึ่งการแข่งขันทางการเมืองระหว่าง Nasar และ Irwandi ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นได้เพิ่มความซับซ้อนของการเมืองท้องถิ่นเพิ่มขึ้น

ความรุนแรงที่เกิดขึ้นก่อนมีการเลือกตั้งสามารถยืนยันได้ว่าทั้งสองประเด็นมีความเชื่อมโยงกัน ความรุนแรงเกิดขึ้นจากแรงจูงใจทางการเมือง กลุ่มสิทธิมนุษยชน Imparsial ได้ตั้งข้อสังเกตว่ามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นในช่วงการเลือกตั้งท้องถิ่นในอาเจะห์ เมื่อดูจากเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นช่วงการเลือกทั้งผู้นำท้องถิ่นที่ผ่านมาในปี 2006 2009 และ 2012

ในปี 2011 และ 2012 มีการกระทำความรุนแรงที่ถูกบันถึกไว้ถึง 17 ครั้ง มี 15 เสียชีวิตและบาดเจ็บอีก 17 คน ในช่วงของการเลือกตั้งระดับภูมิภาคปีที่ผ่าน มีรายงานว่านักเคลื่อนไหวทางการเมืองของ Aceh Party 8 คนถูกฆ่าตายโดยตำรวจไม่สามารถจับคนร้ายได้

ข้อสันนิฐานที่สอง คาดว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นเชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมืองและเรื่องเศรษฐกิจ อย่างเช่นการต่อสู้เพื่อการเข้าถึงและควบคุมทรัพยากรทางเศรษฐกิจในอาเจะห์ระหว่างกลุ่มต่างของอดีตกองกำลัง GAM สื่อท้องถิ่นรายงานว่า ความขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่ชนะในการทำโครงการพัฒนาต่างๆ กับคนที่แพ้ไม่ได้โครงการที่ทำให้ถูกกันออกไป นั่นเป็นเหตุให้เป้าหมายในการฆาตกรรมต่างๆ ล้วนเป็นคนงาน

ข้อสันนิฐานที่สามคือ การพัฒนาการของอุดมการณ์ชาตินิยมที่ปฏิเสธรัฐศูนย์กลาง ส่งผลให้เกิดช่องว่างระหว่างผู้อพยพเข้ามาใหม่กับคนอาเจะห์ดั้งเดิม ซึ่ง Djoko Suyanto รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงและกฎหมายได้ยืนยันแนวคิดนี้และบอกว่าเหตุฆ่ากันตายไม่เกี่ยวกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนยันเป็นเรื่องความขัดแย้งส่วนตัวของคนในชุมชน

การอธิบายว่าความไม่ลงรอยกันทางสังคมและเศรษฐกิจมีส่วนต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในอาเจะห์ เป็นเพียงการอำพรางความซับซ้อนที่เกิดขึ้นมากกว่า และคำอธิบายนี้ไม่ได้เป็นความพยายามให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายต่างท้าทายข้อสันนิฐานเหล่านี้เพราะเห็นว่าช่องว่างดังกล่าวไม่ได้มีอยู่จริง ทั้งๆ ที่เหยื่อของความรุนแรงก็คือกลุ่มที่เป็นผู้อพยพและแรงงานที่ยากจน

อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งประการหนึ่งที่ยืนยันว่าข้อสันนิษฐานที่เกี่ยวกับการเมืองท้องถิ่นเป็นจริง ซึ่งมีข้อสังเกตสี่ประการคือ ประการแรก การใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือทางการเมืองนั้นอันตราย ไม่มีความเป็นมนุษย์ ป่าเถื่อน ไม่เป็นที่ยอมรับของทุกศาสนา พวกเขาถูกฆ่าเพียงเพราะคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการที่จะส่งข่าวสารไปยังรัฐบาลแห่งชาติหรือผู้นำรัฐบาลท้องถิ่นในอาเจะห์

ประการที่สอง ความรุนแรงทำให้ภาพลักษณ์ของอาเจะห์เสื่อมเสีย ในฐานะจังหวัดหนึ่งที่บังคับใช้กฎหมายชาริอา ฆาตกรฆ่าคนเหล่านี้เป็นอันตรายยิ่งกว่าพวกพั๊งค์ที่ตำรวจอาเจะห์มัวแต่วิ่งไล่จับ ซึ่งตำรวจควรพยายามมากกว่านี้เพื่อเปิดโปงผู้อยู่เบื้องหลังการฆาตกรรม แทนที่ไล่จับพวกไม่เคร่งศาสนา

ประเด็นที่สาม การฆาตกรรมเผยให้เห็นว่ามีอาวุธปืนที่ผิดกฎหมายจำนวนมากยังคงหมุนเวียนอยู่ในอาเจะห์ แม้ว่าได้มีข้อตกลงสันติภาพที่ลงนามเมื่อปี 2005 ที่ผ่านมา ข้อเท็จจริงที่ว่าปืนจำนวนมากอยู่ในมือคนที่ผิดกฎหมายเป็นภัยต่อสันติภาพในจังหวัดแห่งนี้ ดังนั้นตำรวจควรดำเนินการปลดอาวุธจากพลเรือน

Fachry Ali นักวิเคราะห์ทางการเมืองบอกว่า เมื่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งท้องถิ่น ดังนั้นเงื่อนไขการแก้ปัญหาคือการอำนวยความสะดวกสำหรับทุกกลุ่มการเมือง การให้โอกาสที่เท่าเทียมกันกับทุกฝ่ายในจังหวัดแห่งนี้ และได้แนะนำว่าจำเป็นที่รัฐบาลต้องเลื่อนการเลือกตั้งออกไปเพื่อเอื้ออำนวยแก่ทุกฝ่าย

การเลื่อนวันเลือกตั้งออกไปจะช่วยให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีโอกาสที่จะพิมพ์บัตรลงคะแนนใหม่ รวมทั้งจัดการรณรงค์การเลือกตั้งใหม่และอื่นๆ วัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดของการเลื่อนวันเลือกตั้งในครั้งนี้ คือเพื่อที่จะเปิดโปงผู้กระทำความผิดที่อยู่เบื้องหลังความโหดร้ายและลงโทษพวกเขา ย่างก้าวอันนี้จะเป็นการส่งสารอันหนักแน่นว่าอินโดนีเซียสนับสนุนหลักนิติธรรมและให้ความเคารพชีวิตมนุษย์

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท